บริษัท ไทยประกันชีวิต
ข้อมูลทั่วไปของบริษัท ไทยประกันชีวิต (Thailife Insurance)
นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา การประกันชีวิตเริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทย โดยมีบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินกิจการและตั้งสำนักงานตัวแทนเพื่อขายประกันชีวิตแบบตลอดชีพ มีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เอกอัครมหาเสนาบดี เป็นผู้ถือกรมธรรม์แรก อย่างไรก็ตาม การประกันชีวิตยังไม่ได้รับความนิยมมากนักในช่วงนั้น
หลังจากก่อตั้งกองประกันภัย สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมในปี พ.ศ. 2472 ธุรกิจประกันชีวิตเริ่มแพร่หลายขึ้น มีบริษัทประกันชีวิตต่างชาติเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มบุคคลคนไทยก่อตั้งบริษัทประกันชีวิตที่เป็นของคนไทยขึ้นครั้งแรก
อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 บริษัทประกันชีวิตต่างชาติจึงปิดกิจการและกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม ซึ่งส่งผลให้ผู้เอาประกันชีวิตในประเทศไทยเสียหายอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ คนไทยและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของไทยในสมัยนั้นรวมตัวกันก่อตั้งบริษัทประกันชีวิตของคนไทยเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2485 ภายใต้ชื่อ "บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด" เป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกของคนไทยที่มุ่งสร้างหลักประกันที่มั่นคงให้กับครอบครัวคนไทย
บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัดเริ่มดำเนินกิจการประกันชีวิตครั้งแรกด้วยทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท และมีสำนักงานแรกตั้งอยู่ที่เลขที่ 25-27 ถนนเยาวราช กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2500 ได้ย้ายสำนักงานมาตั้งอยู่ที่เลขที่ 624 ตึกสหธนาคาร และในปี พ.ศ. 2502 ได้ย้ายสำนักงานมาตั้งอยู่ที่อาคาร 8 ถนนราชดำเนิน โดยในช่วงนี้ไทยประกันชีวิตได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารและระบบบริหารงานในรูปแบบใหม่ ซึ่งนายวานิช ไชยวรรณเป็นผู้นำและนายอนิวรรตน์ กฤตยากีรณ์เป็นกำลังสำคัญในการปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารงานที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งไทยประกันชีวิตได้รับความเชื่อมั่นและความศรัทธาจากมหาชนเพิ่มขึ้นตามลำดับ และก้าวขึ้นเป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นแนวหน้าของคนไทยในปัจจุบัน
คณะผู้บริหาร Thailife Insurance
- เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) ประธานกรรมการ
- พระยาชัยสุรินทร์ กรรมการ
- นายหลุย พนมยงค์ กรรมการ
- นายบุญล้อม พึ่งสุนทร กรรมการ
- นายปพาฬ บุญ-หลง กรรมการ
- นายวิจิตร์ ลุลิตานนท์ กรรมการ
- นายเชวง เคียงศิริ กรรมการ
- นายโล่เต็กชวน บูลสุข กรรมการ
ผลิตภัณฑ์ประกันภัยของ Thailife Insurance
ประกันชีวิตจากไทยประกันชีวิต (Thailife Insurance) นำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า รวมถึงประกันชีวิตเพื่อการออมเงินระยะยาว ประกันชีวิตผู้สูงอายุ แผนประกันชีวิตแบบสะสมมูลค่า และผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุน รวมถึงบริการด้านการบริหารจัดการการลงทุนให้กับลูกค้าด้วย
ประกันชีวิต จาก ไทยประกันชีวิต
ประกันออมทรัพย์ จาก ไทยประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ จาก ไทยประกันชีวิต
ประกันอุบัติเหตุ จาก ไทยประกันชีวิต
ประกันโรคร้ายแรง จาก ไทยประกันชีวิต
ที่ตั้งและข้อมูลติดต่อ
บริษัท ไทยประกันชีวิต (Thailife Insurance)
123 ถ.รัชดาภิเษก ดินแดง กรุงเทพฯ 10400
เบอร์โทรศัพท์ : 02-247-0247
เวลาทำการ ไทยประกันชีวิต
ไทยประกันชีวิต สำนักงานใหญ่
วันทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์
เวลาทำการ : 08.30-17.00 น.
คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย
ขั้นตอนการเคลมประกัน Thailife Insurance ทำอย่างไร?
บริษัทไทยประกันชีวิต มีแอปพพลิเคชัน Thai Life Insurance เพื่อให้ลูกค้าสามารถเคลมออนไลน์ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว มีให้บริการทั้งในระบบ IOS และ Android โดยขั้นตอนการเคลม มีดังนี้
1. เข้าสู่ระบบแอปพลิเคชัน Thai Life Insurance
2. เลือกเมนู “เคลม”
3. กรอกข้อมูลสาเหตุและวันที่เกิดเหตุหรือเจ็บป่วย
4. อัปโหลดเอกสารใบรับรองแพทย์
5. กรอกข้อมูลรับเงินสินไหม บริษัทฯ จะโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ที่ผูกด้วยบัตรประชาชนหรือบัญชีออมทรัพย์
การยื่นเคลมออนไลน์ จะใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วันทำการ และชื่อ- นามสกุล ที่ปรากฎในเอกสารยื่นเคลม จำเป็นต้องตรงกับเจ้าของบัญชีผู้ใช้งานแอปพลิเคชันด้วย แต่หากลูกค้าไม่สะดวกในการเคลมออนไลน์ ก็สามารถเคลมผ่านตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยได้เช่นกัน
โรงพยาบาลคู่สัญญาของบริษัท Thailife Insurance
บริษัท ไทยประกันชีวิต (Thailife Insurance) มีโรงพยาบาลคู่สัญญาชั้นนำของประเทศที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย ประกันสุขภาพไทยประกันชีวิต ที่สามารถใช้บริการได้ เพื่อให้ลูกค้าได้รับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ โดยสามารถเลือกใช้บริการที่โรงพยาบาลคู่สัญญา ไทยประกันชีวิตได้ตามต้องการ โดยเอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่ทางราชการออกให้ โดยมีรูปเจ้าของบัตร และบัตรประจำตัวผู้เอาประกันภัย ซึ่งมีขั้นตอนการขอใช้บริการ ดังนี้
- แจ้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวผู้เอาประกันภัยก็ได้เช่นกัน
- กรอกรายละเอียดต่าง ๆ ในแบบฟอร์มเรียกร้องค่าทดแทน โดยทางโรงพยาบาลจะเป็นผู้ติดต่อกับบริษัทประกันเองเพื่อตรวจสอบสิทธิ์เบื้องต้น
- บริษัทประกันจะรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ให้แก่โรงพยาบาลโดยตรง แต่โรงพยาบาลอาจมีการเก็บค่าใช้จ่ายส่วนเกินเพียงบางส่วนจากลูกค้า
ดังนั้นก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แนะนำให้ตรวจสอบ
รายชื่อสถานพยาบาลคู่สัญญาทั้งหมดของ Thailife Insurance ก่อนล่วงหน้าเพื่อความถูกต้อง