บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
ข้อมูลทั่วไปของทิพยประกันภัย (Dhipaya)
ทิพยประกันภัย เป็นบริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่ที่ดำเนินการดูแลและให้ความคุ้มครองคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยบริษัทมีแผนความคุ้มครองประกันภัยจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ ประกันภัยการเดินทาง ประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ ประกันอัคคีภัย และประกันภัยอื่น ๆ ทางบริษัท มุ่งมั่นที่จะเป็นเลิศในด้านการบริการ ยึดมั่นในคุณธรรม คสามรับผิดชอบต่อสังคม คุณค่าของบุคลากร และความสามัคคีปรองดอง เพื่อยกระดับให้เป็นบริษัทประกันวินาศภัยอันดับ 1 ในประเทศไทย
บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน โดยก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 ตามรายละเอียดดังนี้
- ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2494 โดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ด้วยทุนจดทะเบียน 2,000,000 บาท
- ปี พ.ศ. 2518 บริษัทก้าวสู่รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท 55.6%
- ปี พ.ศ. 2533 ได้เปิดอาคารสำนักงานใหญ่ ที่ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง และยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นบริษัทดีเด่นแห่งปี
- ปี พ.ศ. 2538 ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน พร้อม เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมี กระทรวงการคลัง, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารออมสิน, และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
- ปี พ.ศ. 2542 ทิพยประกันภัย ได้รับการรับรองระบบบริหารคุณภาพ ISO 9002 จากสถาบัน SGS Yarsley International Certification Services Limited แห่งประเทศอังกฤษ
- ปี พ.ศ 2546 บริษัทได้รับเกียรติบัตร The Best Performance – Financials 2003 จากตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย
- ปี พ.ศ. 2557 บริษัทได้รับรางวัล “Asia’s 200 Best under a Billion Award”
- ปี พ.ศ. 2563 Dhipaya ได้ออกแผนกรมธรรม์ประกันภัยไวรัสโคโรนา ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศ
- ปี พ.ศ. 2564 Dhipaya ครบรอบ 70 ปี และ บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TIPH เข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนหุ้น ทิพยประกันภัย หรือ “TIP” เดิม ซึ่งปรับไปเป็นบริษัทลูกที่เป็นแกนกลางของกลุ่มธุรกิจประกันภัยภายใต้ TIPH
คณะผู้บริหาร ทิพยประกันภัย
- นายสมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ
- นายประสิทธิ์ ดำรงชัย รองประธานกรรมการ, ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
- นายสีมา สีมานันท์ ประธานคณะกรรมการสรรหา, กำหนดค่าตอบแทน, และบริหารทรัพยากรบุคคล
- นางพรรณขนิตตา บุญครอง กรรมการตรวจสอบ
- นายยุทธนา หยิมการุณ ประธานคณะกรรมการบรรษัทภิบาล, กรรมการตรวจสอบ
- พลเอกสมชาย ธนะรัชต์ ประธานคณะกรรมการบริหาร
- นายวิทัย รัตนากร กรรมการบริหาร
- นางสาวจรูญศรี วันเกิดผล กรรมการบริหาร
- นางสาวนารีรัชย์ อริยประยูร ประธานคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
- นายสุรธันว์ คงทน ประธานคณะกรรมการบริหารการลงทุน
- นางรัชดาภรณ์ ราชเทวินทร์ กรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทน และบริหารทรัพยากรบุคคล
- นางสาวพนิดา มาคะผล กรรมการบรรษัทภิบาล
- ดร.สมพร สืบถวิลกุล กรรมการบริหาร, กรรมการบรรษัทภิบาล, กรรมการบริหารความเสี่ยง, กรรมการบริหารการลงทุน, กรรมการผู้จัดการใหญ่
- นางนงลักษณ์ เอี่ยมโชติ เลขานุการบริษัท, รองกรรมการผู้จัดการใหญ่
ผลิตภัณฑ์ประกันภัยของ ทิพยประกันภัย
ในปัจจุบัน บริษัทมีผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้ลูกค้าเลือกดังนี้
- ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
- ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
- ประกันภัยการเดินทาง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ประกันภัยอัคคีภัย และทรัพย์สิน
- ประกันภัยสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันโรคร้ายแรง และประกันมะเร็ง
- ประกันภัยภาคธุรกิจ
- ประกันภัยอื่น ๆ เช่น ประกันภัยสัตว์เลี้ยง ประกันภัยคนรักจักรยาน ประกันภัยไซเบอร์ เป็นต้น
ประกันชีวิต ทิพยประกันภัย
ประกันชีวิต ทิพยประกันภัย
- จ่ายเบี้ยสั้นแค่ 2 ปี
- รับเงินบำนาญจนถึงอายุ 90 ปี
- รับผลประโยชน์รวมสูงสุด 465%
- ลดหย่อนภาษีได้
- สมัครได้ตั้งแต่อายุ 20-54 ปี
ประกันรถยนต์ทิพยประกันภัย
ที่ตั้งและข้อมูลติดต่อ
1115 ถนนพระราม 3 แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
อีเมล : [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : 1736, 02-239-2049, 02-239-2200
เวลาทำการทิพยประกันภัย
วันจันทร์ - วันศุกร์
เวลา 08.30 - 16.30 น.
คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย
ทิพยประกันภัย เคลมประกันรถยนต์ช่องทางใดได้บ้าง?
ลูกค้าที่ทำประกันรถยนต์ทิพยประกันภัยผ่านแรบบิท แคร์ สามารถแจ้งเคลมประกันผ่านแรบบิท แคร์ ได้เลย เนื่องจากเราจะให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนกับคุณตลอด 24 ชั่วโมง ที่เบอร์ 1438 และจะคอยประสานงานเคลมระหว่างคุณกับบริษัทประกันภัยให้อย่างเต็มที่
แต่ทั้งนี้ลูกค้าสามารถเลือกติดต่อเคลมกับทางบริษัท Dhipaya โดยตรงได้เช่นกัน โดยโทรไปที่เบอร์ 1736 กด 1 หรือจะเคลมผ่านระบบออนไลน์ ที่ศูนย์ซ่อมมาตรฐานในเครือ และ Application Tip flash claim ได้ทันที
ตรวจสอบกรมธรรม์ ทิพยประกันภัย หากทำกรมธรรม์ประกันภัยหาย ต้องทำอย่างไร?
1. ติดต่อไปยังทิพยประกันภัย โดยแจ้ง ชื่อ ข้อมูล เบอร์กรมธรรม์กับเจ้าหน้าที่
2. ทางบริษัทสามารถถ่ายเอกสารสำเนากรมธรรม์ พร้อมประทับตรารับรองให้กับลูกค้า
3. หากต้องการแจ้งเคลม ข้อมูลของลูกค้าจะอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้ว่ามีประกันภัยกับบริษัทไว้หรือไม่
ลูกค้าทิพยประกันภัย หากต้องการยกเลิกประกันต้องทำอย่างไร?
ให้ลูกค้าติดต่อไปยังบริษัทโดยแจ้งเลิกเป็นรายอักษร ซึ่งบริษัทจะคืนเบี้ยให้ในอัตราตามเงื่อนไขที่กำหนด
ซื้อประกันรถยนต์ Dhipaya ผ่านออนไลน์ ดีกว่าซื้อผ่านนายหน้าอย่างไร?
เนื่องจากยุคสมัยได้เปลี่ยนไป ตลาดซื้อ-ขาย ประกันภัยก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้ลูกค้าสามารถซื้อประกันรถยนต์ผ่านออนไลน์ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งข้อดีของการซื้อประกันรถยนต์ ทิพยประกันภัยออนไลน์คือคุณสามารถเช็กราคาประกันแต่ละแผนได้อย่างรวดเร็ว สามารถเปรียบเทียบราคาและความคุ้มครองของแต่ละแผนประกันได้ง่าย หากถูกใจประกันแผนไหนก็เลือกซื้อได้ทันที ง่ายกว่า สะดวกสบายกว่า ไม่ต้องเสียเวลาติดต่อผ่านนายหน้าเพื่อซื้อประกันแบบเดิมที่ผ่านมา ทั้งนี้คุณสามารถติดต่อมาหาเราแรบบิท แคร์ เพื่อเช็กราคาเบี้ยประกันรถยนต์ Dhipaya ได้ทันที เรามีราคาพิเศษ พร้อมให้ความคุ้มครองอย่างครบถ้วน
เลือกประกันรถยนต์ ทิพยประกันภัย ดีไหม คุ้มค่าแค่ไหน?
เพราะทิพยประกันภัย เป็นบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ มีตัวเลือกความคุ้มครองที่หลากหลาย และมีการบริการหลังการขายอย่างมืออาชีพ การันตีได้ด้วยความไว้วางใจที่ได้รับจากคนไทยทั้งประเทศ หากคุณกำลังคิดจะหาประกันดี ๆ สักตัว แรบบิท แคร์ แนะนำให้ซื้อประกันรถยนต์ Dhipaya ไปเลย คุ้มค่าโดนใจแน่นอน