ซื้อประกันรถกับแรบบิท แคร์ แคร์คุณเรื่องอะไรบ้าง
การันตี
เจอราคาเจ้าไหนถูกกว่า
ผ่อน 0% 10 เดือน
ผ่อนสบาย ช่องทางไหนก็ได้ ไม่ต้องใช้บัตรเครดิต
รับส่วนลดสูงสุด 2,000 บาท
มอบส่วนลดพิเศษให้คุณทันที
ประหยัดได้
ไม่มีเคลม ปีต่อไป ลด 50% ระบุชื่อผู้ขับขี่ลดเพิ่ม 20%
เปรียบเทียบได้เอง
รวมผลิตภัณฑ์ไว้ในที่เดียว จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ
ฟรี! บริการ
โดย Inter Partner Assistance
ศูนย์ซ่อมครอบคลุมทั่วไทย
อยากซ่อมรถแบบไหน ที่ไหน
มีเจ้าหน้าที่ แนะนำตลอดการซื้อ
คอยช่วยเหลือตลอดการซื้อกรมธรรม์
บริษัทประกันภัยชั้นนำที่เราคัดสรรมาให้คุณ
รีวิวจากลูกค้าที่ซื้อประกันรถยนต์ของเรา
คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย
พ.ร.บ. คืออะไร?
ประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.) คือ การทำประกันให้กับยานพาหนะที่กฎหมายบังคับให้ยานพาหนะทุกคัน ทุกประเภท เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ บิ๊กไบค์ และอื่น ๆ ที่ต้องทำประกันภัยตัวนี้
หากไม่ทำ หรือ พ.ร.บ. หมดอายุแล้วไม่ต่ออายุ จะถือว่าผิดกฎหมาย มีโทษทางกฎหมาย เช่น ปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท , จ่ายค่าเสียหายเองทั้งหมด, ไม่สามารถยื่นต่อภาษีรถ หรือต่อทะเบียนรถได้, ต้องเสียค่าปรับสำหรับการชำระภาษีรถย้อนหลัง
ในปัจจุบัน การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะคุณสามารถต่อ พรบ.ได้ทางออนไลน์ หรือต่ออายุ พร้อม ๆ กับการทำประกันภาคสมัครใจในบางบริษัทประกันฯ ได้เช่นกัน
พ.ร.บ. คุ้มครองความเสียหายอะไรบ้าง?
พ.ร.บ. จะช่วยคุ้มครอง ชดเชย ค่าเสียหายเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็น ค่ารักษาพยาบาล, ค่าปลงศพในกรณีที่เสียชีวิต ภายใน 7 วัน ไม่ว่าผู้จับจะเป็นฝ่ายผิดหรือไม่ก็ตาม
คุ้มครองชดเชยค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น โดยการได้รับค่าชดเชยนี้ จะต้องได้รับการพิสูจน์ความถูกผิดตามกฎหมายแล้ว หรือก็คือ การจ่ายค่าชดเชยเพิ่มเติมให้ ในกรณีที่ผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก
อยากต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ ต้องทำยังไง?
การต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ นั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ไม่ต่างจากการต่อประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ คุณสามารถดำเนินการต่าง ๆ ได้เอง ดังนี้
- เข้าสู่เว็บไซต์ e-service ของกรมการขนส่งทางบก
- เมื่อเข้าสู่ระบบได้แล้ว ให้คลิกที่ ชำระภาษีรถประจำปี > ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต
- กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ จากนั้นกดลงทะเบียนรถ เพื่อกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ
- คลิกที่ช่อง ยื่นภาษี > ซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์ โดยสามารถเลือกซื้อกับ บริษัทประกันภัยตามที่เลือกได้
- เมื่อทำการซื้อเรียบร้อยแล้ว กรอกรายละเอียด ประกัน เลขที่กรมธรรม์ และวันที่สิ้นสุด
- จากนั้น คลิกไปที่ กรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร เพื่อกรอกที่อยู่สำหรับการจัดส่ง
- เลือกวิธีการชำระเงิน กรณีพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถ ให้นำไปชำระ ณ เคาน์เตอร์หรือตู้ ATM ที่ร่วมโครงการ
- หลังจากนั้นชำระเงินแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะส่ง ใบเสร็จรับเงิน, เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และ กรมธรรม์ พ.ร.บ. ให้ทางไปรษณีย์ และสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปบันทึกได้ ณ หน่วยงานทะเบียนกรมการขนส่งทางบกทั่วประเทศ
หรือในบางกรณี หากทำประกันภัยรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ภาคสมัครใจอยู่แล้ว สามารถแจ้งทางบริษัทประกันภัยฯ หรือแรบบิท แคร์ ได้ว่า ต้องการ ต่อ พรบ. เพื่อให้ช่วยดำเนินการได้เช่นกัน นอกจากนั้น ยังสามารถร่วมกิจกรรมเพื่อรับ พ.ร.บ. ฟรี จากแรบบิท แคร์ ได้อีกด้วย
พ.ร.บ. รถยนต์ สำคัญอย่างไร?
ประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. เป็นประกันรถยนต์ที่ผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคนต้องทำตามข้อบังคับทางกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติของการประกันรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
กล่าวคือ การทำ พ.ร.บ.รถยนต์นั้นเป็นเหมือนการเตรียมรองรับความเสี่ยงเบื้องต้นจากการใช้งานรถยนต์เอาไว้ รถยนต์ทุกคันจะต้องทำประกันภัยภาคบังคับ และต่ออายุ พ.ร.บ. รถยนต์ ให้คงสถานะเอาไว้ตลอด หากตรวจพบว่า พ.ร.บ. มีการขาดอายุ แต่ยังนำรถยนต์มาใช้งานบนท้องถนน จะมีความผิดและมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์นั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ใช้รถยนต์ แต่เชื่อว่าหลายท่านอาจมีอุปสรรคในการเดินทางไปยังกรมการขนส่งทางบกเพื่อทำการต่อ พ.ร.บ. ปัญหานี้จะหมดไปเพราะปัจจุบันท่านสามารถต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ได้แล้ว สามารถทำได้ที่บ้าน ในวัน-เวลาที่สะดวกได้เลย
ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
- เล่มทะเบียนรถยนต์ตัวจริง พร้อมสำเนา ใบสำเนาเล่มประจำรถ ซึ่งเอกสารสถาบันการเงินจะส่งเอกสารมาให้อยู่แล้ว เพราะเป็นใบที่ระบุข้อมูลของรถ คือ เลขตัวถัง เลขเครื่อง ชื่อเจ้าของรถ ฯลฯ
- พ.ร.บ. รถยนต์ หลายคนยังคงเข้าใจผิดว่าในเมื่อทำประกันสมัครใจแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำประกันภาคบังคับ เพราะประกันชั้นต่าง ๆ ก็คุ้มครองได้อยู่แล้ว แต่กับการทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. รถยนต์นั้นเป็นพื้นฐานของประกันรถยนต์รูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้สามารถขับขี่ยานยนต์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
- เอกสารตรวจสภาพรถยนต์ หรือมีชื่อเต็ม ๆ ว่า เอกสารรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ จากสถานตรวจสภาพรถยนต์ของกรมการขนส่งทางบก หรือเอกชน (ตรอ.) สำหรับรถยนต์ที่มีอายุทะเบียน 7 ปีขึ้นไป เพราะต้องตรวจสภาพรถยนต์ว่า พร้อมใช้งานได้จริงหรือไม่
ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ติดตั้งแก๊ส ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
- เล่มทะเบียนรถยนต์ตัวจริง พร้อมสำเนา ใบสำเนาเล่มประจำรถ ซึ่งเอกสารสถาบันการเงินจะส่งเอกสารมาให้อยู่แล้ว เพราะเป็นใบที่ระบุข้อมูลของรถ คือ เลขตัวถัง เลขเครื่อง ชื่อเจ้าของรถ ฯลฯ
- พ.ร.บ. รถยนต์ หลายคนยังคงเข้าใจผิดว่าในเมื่อทำประกันสมัครใจแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำประกันภาคบังคับ เพราะประกันชั้นต่าง ๆ ก็คุ้มครองได้อยู่แล้ว แต่กับการทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. รถยนต์นั้นเป็นพื้นฐานของประกันรถยนต์รูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้สามารถขับขี่ยานยนต์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
- เอกสารตรวจสภาพรถยนต์ หรือมีชื่อเต็ม ๆ ว่า เอกสารรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ จากสถานตรวจสภาพรถยนต์ของกรมการขนส่งทางบก หรือเอกชน (ตรอ.) สำหรับรถยนต์ที่มีอายุทะเบียน 7 ปีขึ้นไป เพราะต้องตรวจสภาพรถยนต์ว่า พร้อมใช้งานได้จริงหรือไม่
- เอกสารตรวจรับรองติดตั้งแก๊ส กรณีที่รถเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงไปเป็นแก๊ส (ไม่รวมที่ติดตั้งจากโรงงาน) ไม่ว่าจะเป็น LPG หรือ CNG ต้องมีใบรับรองการติดตั้งและตรวจสภาพจากผู้เชี่ยวชาญแนบไปด้วย