

บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด
ข้อมูลทั่วไปของบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (THE VIRIYAH INSURANCE)
"วิริยะประกันภัย" หรือ Viriyah Insurance ถือว่าเป็นบริษัทประกันภัยชั้นนำของประเทศไทย โดยมีบริการหลากหลายรูปแบบ เช่น ประกันรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกันสุขภาพ ประกันที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ อีกมากมาย ภายใต้ความมุ่งมั่นในการให้บริการคุณภาพและความรับผิดชอบต่อสังคม วิริยะประกันภัยได้รับการยอมรับและความเชื่อมั่นจากลูกค้าทั่วไป ทั้งนี้โดยการจัดหาการประกันภัยที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในราคาที่เหมาะสม
สำหรับประวัติความเป็นมาของบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (THE VIRIYAH INSURANCE) นั้นเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2490 และร่ายเรียงมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีข้อมูลเบื้องต้นดังนี้
- 3 กุมภาพันธ์ 2490 "บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด" มีการจดทะเบียนก่อตั้งธุรกิจเริ่มต้นในชื่อว่า "บริษัทอาเซียพาณิชยการ จำกัด" โดยใช้ทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 5 ล้านบาท ในภาคเริ่มแรกของการดำเนินงาน บริษัทได้เสนอบริการประกันวินาศภัย ซึ่งจำกัดเฉพาะการประกันอัคคีภัยและการประกันภัยในทางทะเลและการขนส่ง
- 14 มกราคม 2517 เปลี่ยนชื่อเป็น "บริษัทอาเซียพาณิชย์การประกันภัย จำกัด"
- 16 มกราคม 2522 ขยายธุรกิจไปสู่การรับประกันภัยรถยนต์และการรับประกันภัยเบ็ดเตล็ด เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
- 22 กุมภาพันธ์ 2525 เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด" ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- พ.ศ.2530 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด สามารถครองส่วนแบ่งตลาดประกันภัยรถยนต์อันดับ 1 เป็นครั้งแรก
- พ.ศ.2535 ประสบความสำเร็จสูงสุดอีกครั้งในตลาดประกันวินาศภัยด้วยการครองส่วนแบ่งตลาดประกันวินาศภัย รวมทุกประเภทเป็นอันดับ 1
- พ.ศ.2553 เป็นปีแรกที่บริษัทฯ สร้างเบี้ยประกันภัยรับตรงก้าวขึ้นสู่หลัก 20,000 ล้านบาท
- 1 มิถุนายน 2555 มีการจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน ภายใต้ชื่อ “บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)”
- พ.ศ.2556 สามารถสร้างเบี้ยประกันภัยรับตรงก้าวขึ้นสู่หลัก 30,000 ล้านบาท
คณะผู้บริหาร วิริยะประกันภัย (THE VIRIYAH INSURANCE)
- นางสุวพร ทองธิว กรรมการผู้จัดการ
- นายมโนเลิศ ยุวอมรเมธี ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายใน
- นายอาจณรงค์ สุจริตวงศานนท์ ผู้จัดการฝ่ายบุคคล
- นางสาวมัลลิกา ตติยสถาพร ผู้จัดการฝ่ายกำกับการปฏิบัติงาน
- นางสาววิภัสสร ศรีเจริญ ผู้อำนวยการสำนักกรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าหน่วยงานบริหารความเสี่ยง
ผลิตภัณฑ์ประกันภัยของ วิริยะประกันภัย (THE VIRIYAH INSURANCE)
บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (THE VIRIYAH INSURANCE) ในปัจจุบันมีผลิตภัรฑ์ด้านประกันภัยทั้งหมด 6 ตัวด้วยกัน คือ วิริยะประกันภัย รถยนต์, วิริยะประกันภัย ประกันอุบัติเหตุ, ประกันสุขภาพวิริยะ, วิริยะประกันภัยสำหรับบ้านและทรัพย์สิน, วิริยะประกันภัยสำหรับธุรกิจและความรับผิดชอบ, วิริยะประกันภัยด้านการเงินและการค้ำประกัน และประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
เลือกประกันสุขภาพ จาก วิริยะประกันภัย ที่เหมาะกับคุณ
"
"ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ จาก วิริยะประกันภัย
ประกัน OPD และ IPD จาก วิริยะประกันภัย
ประกันภัยโรคร้ายแรง จาก วิริยะประกันภัย
วิริยะประกันภัย รถยนต์
ที่ตั้งและข้อมูลติดต่อ
บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (THE VIRIYAH INSURANCE) 121/28, 121/65 อาคารอาร์เอสทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
เบอร์โทรศัพท์ : วิริยะประกันภัย โทร 0-2129-8888
เวลาทำการ วิริยะประกันภัย
วิริยะประกันภัย สำนักงานใหญ่
วันทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์
เวลาทำการ : 08.30-17.00 น.
คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย
ขั้นตอนการเคลมประกัน วิริยะประกันภัย ทำอย่างไร?
เบื้องต้นการเคลมประกันกับทาง วิริยะประกันภัย สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ การเคลมวิริยะประกันภัย รถยนต์, การเคลมวิริยะประกันภัย สุขภาพ และการเรียกร้องสินไหมทดแทนประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ ซึ่งรายบะเอียดขั้นตอนการเคลมแต่ละรูปแบบมีดังนี้
การเคลมวิริยะประกันภัยรถยนต์
วิธีการเคลม ณ ที่เกิดเหตุ วิริยะประกันภัย
- โทรติดต่อตัวแทน วิริยะประกันภัย ผ่านเบอร์ 1557
- เตรียมรายละเอียดให้ครบถ้วน คือ ทะเบียนรถ ยี่ห้อ, บุคคลหรือทรัพย์สินที่ทำประกันภัย, หมายเลขกรมธรรม์, วัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ, ลักษณะการเกิดเหตุ, การตรวจสอบอุบัติเหตุ และชื่อสกุล เบอร์โทรศัพท์ของผู้เอาประกันภัยหรือผู้แจ้งเหตุ
วิธีการเคลมบริการวิริยะประกันภัย
- ทำการติดต่อตัวแทน วิริยะประกันภัย เพื่อนัดหมายวัน-เวลาล่วงหน้า
- สามารถเลือกสถานที่แจ้งเคลมได้ตามต้องการ เช่น บ้านพัก, สถานที่ทำงาน หรือห้างสรรพสินค้า
หรือสามารถใช้บริการ VClaim on VCall ดำเนินการแจ้งเคลมของ วิริยะประกันภัย ผ่านระบบวิดีโอคอลที่ทางบริษัทวิริยะประกันภัยจะดำเนินการให้อย่างครบถ้วน โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปที่ศูนย์บริการ หรือรอตัวแทนเข้าไปหา ณ สถานที่ต่าง ๆ
การเคลมวิริยะประกันภัย สุขภาพ
วิธีการการเคลมผู้ป่วยนอก (OPD) วิริยะประกันภัย
- ผู้เอาประกันจากวิริยะประกันภัยแสดงบัตรประกันสุขภาพ คู่กับบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางให้กับสถานพยาบาล
- ผู้เอาประกันพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา
- ผู้เอาประกันกรอกแบบฟอร์มการรักษาคนไข้นอก (OPD CLAIM FORM)
- สถานพยาบาลคู่สัญญาแจ้งยอดค่าใช้จ่ายให้กับผู้เอาประกันทราบ
- ผู้เอาประกันเซ็นชื่อรับทราบยอดค่ารักษาพยาบาล
- ผู้เอาประกันชำระค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินสิทธิ (กรณีที่ค่ารักษาพยาบาลเกินจากสิทธิความคุ้มครอง)
วิธีการเคลมผู้ป่วยใน (IPD) วิริยะประกันภัย
วันที่ผู้เอาประกันเข้ารักษาโรงพยาบาล
- ผู้เอาประกันจากวิริยะประกันภัยแสดงบัตรประกันสุขภาพ คู่กับบัตรประจำตัวประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง ให้กับสถานพยาบาล
- ผู้เอาประกันพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา
- แพทย์ลงความเห็นผู้เอาประกันมีความจำเป็นต้องรับเข้าไว้เป็นผู้ป่วยใน
- ผู้เอาประกันกรอกแบบฟอร์มการรักษาคนไข้ใน และ Fax Claim (IPD&FAX CLAIM FORM)
- โรงพยาบาลแจ้งผ่านระบบ Fax Claim มายังบริษัทฯ
- บริษัทฯ แจ้งยืนยันสิทธิความคุ้มครองให้กับโรงพยาบาลทราบ
วันที่ผู้เอาประกันออกจากโรงพยาบาล
- โรงพยาบาลแจ้งยอดค่ารักษาพยาบาลผ่านระบบ Fax Claim มายังบริษัทฯ
- ผู้เอาประกันรอใบตอบรับยืนยันอนุมัติยอดค่ารักษาพยาบาลจาก บริษัทฯ
- ผู้เอาประกันเซ็นชื่อที่ใบสรุปค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาล เพื่อรับทราบยอดค่ารักษาพยาบาลที่บริษัทฯ อนุมัติ
- ผู้เอาประกันชำระค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินสิทธิ (กรณีที่ค่ารักษาพยาบาลเกินจากสิทธิความคุ้มครอง)
โรงพยาบาลคู่สัญญาของบริษัท วิริยะประกันภัย
ทางบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด มีสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญารวมกันมากถึง 500 แห่งทั่วประเทศไทย ที่พร้อมอำนวยความสะดวกในการให้บริการ ด้านรักษาพยาบาลแก้ผู้เอาประกันถัย ลูกค้าที่มีกรมธรรม์ของทางวิริยะประกันภัย สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาของวิริยะประกันภัยได้โดยไม่ต้องทำการสำรองจ่าย ซึ่งตัวอย่างสถานพยาบาลที่โดดเด่นจากทั้งหมด คือ
- โรงพยาบาลเกษมราษฎร์
- โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
- โรงพยาบาลกรุงเทพ
- โรงพยาบาลพญาไท
- โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ
และนอกเหนือจากรายชื่อสถานพยาบาลที่ได้แนะนำไปในลิสต์ด้านบน ลูกค้าวิริยะประกันภัยทุกคนยังสามารถตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาล หรือรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมได้จากรายชื่อสถานพยาบาลคู่สัญญาทั้งหมดของบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด เพื่อตรวจเช็กความถูกต้องก่อนเข้ารับการรักษาอีกครั้ง