ทำไมต้องซื้อประกัน OPD และ IPD
กับ
แคร์ค่ารักษา
คุ้มครองกรณีบาดเจ็บ
หรือเจ็บป่วย
แคร์ค่าห้อง
จ่ายค่าห้อง
แคร์โรคร้าย
คุ้มครองการรักษามะเร็ง* เคมีบำบัด รังสีบำบัด และอีกมากมาย
แคร์สุขภาพ
คุ้มครองทุกปัญหาสุขภาพ ทั้งโรคทั่วไป โรคร้ายแรง และ โควิด-19
แคร์ความคุ้มครองเพิ่ม
ไม่ต้องจ่ายเงินเองยามเจ็บป่วย เพราะเราเหมาจ่ายให้ครบทุกบิล
แคร์ทั่วโลก
ดูแลคุณอย่างครอบคลุม
ประกันสุขภาพ IPD OPD
ลงทะเบียนรับความแคร์ง่าย ๆ ใน 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 : เลือกแผนที่ใช่
ค้นหาแผนประกันภัยจากบริษัทชั้นนำ พร้อมเปรียบเทียบราคาคุ้มค่า เพื่อเลือกความคุ้มครองที่ตอบโจทย์คุณ
ขั้นตอนที่ 2 : ใส่ข้อมูลส่วนตัว
กรอกข้อมูลส่วนตัวของผู้ซื้อ เพื่อรับการติดต่อกลับ จากผู้เชี่ยวชาญด้านแผนประกันภัยของ
ขั้นตอนที่ 3 : เลือกซื้อความแคร์
เลือกซื้อแผนประกันภัย พร้อมรับความ
บริษัทประกันภัยชั้นนำที่เราคัดสรรมาให้คุณ
คำถามและข้อสงสัยที่พบบ่อย
ประกัน IPD-OPD เหมาะสำหรับคุณหรือไม่?
ใคร ๆ ก็อยากมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงด้วยกันทั้งนั้น แต่ในบนเส้นทางแห่งความจริงไม่ได้สวยงามอย่างที่คิดเสมอไป เพราะโรคต่าง ๆ ย่อมคุกคามตัวเราได้เสมอ ทำให้ตัวเราเองนั้นสามารถที่จะเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นแล้วการป้องกันที่ดีที่สุดคือการมีประกัน OPD (ผู้ป่วยนอก) และประกัน IPD (ผู้ป่วยใน) ที่จะเข้ามาช่วยดูแลค่ารักษาพยาบาลได้อย่างครอบคลุม
โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่มีเพียงแค่ประกันสังคมอาจจะไม่เพียงพอต่อการรักษาโรคอื่น ๆ ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น รวมถึงผู้ที่ถือบัตรทอง 30 บาทของทางภาครัฐบาลที่เข้ามาช่วยเหลือก็อาจจะไม่เพียงพอเช่นกัน และยิ่งร้ายไปกว่านั้นกับผู้ที่ไม่มีหลักประกันถ้านสุขภาพอะไรเพื่อมารองรับเลย ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความอุ่นใจให้กับตัวเราเองในยามเจ็บป่วย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรมีติดตัวไว้ เพราะถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ที่จะเข้ามารุมเร้าได้
- โดยประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก OPD สามารถเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 6 - 69 ปี ซึ่งการชำระเบี้ยประกัน สามารถเลือกชำระได้ทั้งแบบรายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือน และแบบรายเดือน ที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั่วไปสูงสุดไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี หรือชดเชยค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุไม่เกิน 1 ครั้งต่อวัน ตัวอย่างเช่น นางสาวเอ (นามสมมุติ) ได้ซื้อประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก โดยจ่ายค่าเบี้ยประกันต่อปี 15,000 บาทต่อปี จะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุดที่ 60,000 บาทต่อปี และเบิกค่ารักษาพยาบาลได้สูงสุดไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี หรือไม่เกิน 1 ครั้งต่อวัน เป็นต้น
- ส่วนประกันสุขภาพผู้ป่วยใน IPD เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองกรณีต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน ตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อทำการรักษาตามคำสั่งของแพทย์ ซึ่งโดยปกติแล้วประกันประเภทนี้จะมีการกำหนดวงเงินในการรักษาพยาบาลไว้ เช่น ค่าห้องต่อวัน ค่ายา ค่าผ่าตัด รวมถึงกำหนดวงเงินในการรักษาพยาบาลต่อครั้ง ตัวอย่างเช่น นางสาวเอ (นามสมมุติ) ได้ซื้อกรมธรรม์ประกันผู้ป่วยนอกไว้ด้วยวงเงินคุ้มครอง 200,000 บาท จะทำการเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ไม่เกิน 20,000 บาทหรือไม่เกิน 30 ครั้งต่อปีในรอบกรมธรรม์แต่ละปี ซึ่งอาจจะมีค่าห้องพักและค่าอาหารไม่เกินวันละ 1,200 บาท และค่ารักษาพยาบาลทั่วไปไม่เกิน 15,000 บาทต่อครั้งเป็นต้น
ฉะนั้นแล้วเพื่อเป็นการป้องกันให้ตัวเราเองมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ ควรจำเป็นอย่างที่จะต้องมีประกันสุขภาพ OPD และประกันสุขภาพ IPD จะสามารถช่วยคุณในยามเจ็บป่วยได้อย่างแน่นอน ซึ่งสามารถเปรียบเทียบค่าเบี้ยประกันได้ที่ Rabbit Care
ประโยชน์ของประกัน OPD (ผู้ป่วยนอก) มีอะไรบ้าง?
“อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสิรฐ” คำพูดนี้หลายคนคงได้ยินคุ้นหูกันจนชิน แต่การเจ็บป่วยก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะมาในตอนไหน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ และหากร่างกายไม่แข็งแรงก็จะยิ่งเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าคนอื่น ๆ ฉะนั้นแล้วการเตรียมความพร้อมที่ดีถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งด้วยการทำประกันสุขภาพ OPD (ผู้ป่วยนอก) หรือชื่ออย่างเป็นทางการก็คือ Out-Patient-Department ให้ความคุ้มครองครบในเรื่องค่ารักษาพยาบาล โดยที่เราไม่ต้องสำรองจ่ายไปก่อน เพราะโรงพยาบาลจะทำการหักค่ายา ค่าแพทย์ ค่าทำแผล หรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในสัญญากรมธรรม์ประกันสุขภาพของเรานั่นเอง
ทั้งนี้ประกันสุขภาพ OPD (ผู้ป่วยนอก) ถือเป็นเกราะป้องกันปราการด่านแรกที่จะเป็นตัวช่วยในการรรักษาก่อนโรคต่าง ๆ นั้นจะบานปลายไปสู่โรคร้ายได้ หากเราไม่ได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที ถ้าเรามีประกัน OPD จะทำให้มั่นใจ และอุ่นใจทุกครั้งต่อการรักษาโดยไม่ต้องห่วง หรือกังวลในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล ทำให้ผู้ถือกรมธรรม์สบายใจได้ เพราะประกันประเภทนี้มีการเคลมที่ง่าย และรวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก
สำหรับประกัน OPD (ผู้ป่วยนอก) เป็นการรับการรักษาโดยที่ไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่สามารถรับการรักษาและกลับบ้านได้ เพราะเนื่องจากเป็นการรักษาอาการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย อาทิเช่น ปวดศีรษะ ตัวร้อน เป็นไข้หวัด ท้องเสีย ปวดหลัง ปวดเอว โรคกระเพาะ หรือออฟฟิศซินโดรม เป็นต้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินที่ไม่สูงมากนัก แต่จะเป็นค่าใช้จ่ายแค่ค่ายา ค่าแพทย์ที่ทำการตรวจรักษานั่นเอง
นอกจากนี้ ประกันสุขภาพ OPD ยังให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย หรือการได้รับการฉีดวัคซีนบางประเภท และเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมด้วย ขณะเดียวกันยังสามารถนำเบี้ยประกันมาใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้อีกด้วย นอกจากนี้เพื่อให้เกิดการครอบคลุมที่มากยิ่งขึ้น ผู้ที่ถือกรมธรรม์ยังสามารถซื้อประกันชีวิตพ่วงได้อีกด้วย รวมถึงประกัน IPD (ผู้ป่วยใน) หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ In-Patient-Department ซึ่งจะให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เช่น ค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่ายา ค่าแพทย์ ค่าผ่าตัด รวมถึงการรักษาฟัน และการรักษาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยที่มีค่าใช้จ่ายสูงและค่าอื่นๆ เป็นต้น
ถ้าหากใครไม่อยากกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล ประกันสุขภาพ OPD สามารถช่วยคุณได้เมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วยอย่างแน่นอน เพราะเป็นประกันสุขภาพที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของคุณ ในยามที่ต้องเจ็บป่วยกระทันหัน
ประโยชน์ของประกัน IPD (ผู้ป่วยใน) มีอะไรบ้าง?
ประกันสุขภาพ IPD (Inpatient Department) เป็นประเภทของประกันภัยที่คุ้มครองการรักษาพยาบาลเมื่อต้องนอนโรงพยาบาลหรือผ่านการผ่าตัด เป็นการป้องกันความเสียหายทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นจากค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล ดังนั้น ประโยชน์ของประกันสุขภาพ IPD สามารถแบ่งออกเป็นหลายด้านได้ดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาล ประกันสุขภาพ IPD จะคุ้มครองค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล เช่น ค่าห้องพักโรงพยาบาล ค่าอาหาร ค่ายา ค่าหัตถการ ค่าแพทย์ และค่าบริการต่างๆ ซึ่งสามารถคุ้มครองได้ตามเงื่อนไขและขอบเขตความคุ้มครองที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
- การตรวจสุขภาพ บางบริษัทประกันภัยอาจจะคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพก่อนเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล ซึ่งช่วยให้ได้รับการรักษาและดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหรือการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวกับสุขภาพ
- การตรวจรักษาโรคร้ายแรง ประกันสุขภาพ IPD ยังคุ้มครองการตรวจรักษาโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ หรือเบาหวาน ซึ่งอาจต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากในการรักษาพยาบาล การตรวจรักษาและอื่นๆ แต่ละบริษัทประกันภัยอาจมีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่ต้องระบุไว้ในกรมธรรม์
- การเลือกโรงพยาบาล หากมีการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่เป็นพันธมิตรกับบริษัทประกันภัย ผู้เอาประกันภัยอาจได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เช่น ไม่ต้องเสียเงินเองหรือจ่ายเงินน้อยกว่าในกรณีที่ไปรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่ไม่เป็นพันธมิตรกับบริษัทประกันภัย
- สิทธิประโยชน์อื่นๆ บางบริษัทประกันภัยอาจมีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมให้กับนักประกันภัย เช่น การคุ้มครองต่อการติดเชื้อโควิด-19 การจัดการเรื่องสุขภาพให้กับลูกค้า และการให้บริการต่างๆ ซึ่งเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น
โดยรวมแล้ว ประกันสุขภาพ IPD เป็นการป้องกันความเสียหายทางการเงินจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงมาก และมีสิทธิประโยชน์หลากหลายที่ช่วยให้ผู้ประกันภัยได้รับการคุ้มครองที่ดีขึ้น แต่ละบริษัทประกันภัยอาจมีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขที่ต้องระบุไว้ในกรมธรรม์ ดังนั้น การเลือกประกันสุขภาพ IPD ควรพิจารณาด้วยความรอบคอบและต้องมีการศึกษาเงื่อนไขและข้อจำกัดต่างๆ ที่แตกต่างกันไปของแต่ละบริษัทประกันภัย เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองที่เหมาะสมและมีประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน
มีงบจำกัด สามารถซื้อประกันสุขภาพ IPD-OPD ได้หรือไม่?
เพราะทุกวันนี้ ความจำเป็นของประกันสุขภาพกับทุกคนในยุคปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ใครที่คิดจะซื้อประกันสุขภาพ แต่เงินในกระเป๋านั่นช่างไม่เป็นใจเอาเสียเลย แบบนี้เรามาลองวางแผนกันก่อนซื้อประกันสุขภาพกันดีกว่า
1. ตรวจสอบดูสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน
ก่อนที่เราจะซื้อประกันสุขภาพเสริมเพิ่มเติมนั้น เราควรตรวจสอบดูให้ดีเสียก่อนว่า คุณมีสิทธิ์ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับสุขภาพอะไรบ้างก่อนการวางแผนซื้อประกัน เพราะสิทธิ์เหล่านี้นับเป็นสวัสดิการพื้นฐานที่เราพึงมีเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น
- ประกันสังคม สวัสดิการที่ลูกจ้างทุกคนพึงมี นอกจากเรื่องรักษาพยาบาลแล้ว ยังช่วยในเรื่องอุบัติเหตุ ได้รับผลประโยชน์ในกรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และ กรณีว่างงาน ได้อีกด้วย แต่มีข้อจำกัดว่า ต้องเข้ากับโรงพยาบาลที่เข้าระบบประกันสังคมเท่านั้น
- ประกันสุขภาพกลุ่มหรือสวัสดิการเพิ่มเติมจากบริษัท นอกเหนือจากประกันสังคมที่เราใช้ ๆ กันอยู่ แต่ละที่จะมีระเบียบในการเบิกจ่ายแตกต่างกันไป แต่หลักๆ ก็จะได้สิทธิ์ในการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่กำหนด มีข้อเสียว่า ถ้าเราออกจากที่ทำงานดั่งกล่าว ก็จะไม่ได้ประกันเหล่านี้ติดตัวออกไปด้วย
- บัตรทอง 30 บาท ในกรณีที่ไม่ได้เข้าระบบประกันสังคม หรือเข้าระบบข้าราชการ
2. มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
การเลือกทำประกันสุขภาพในแต่ละที่ คุณควรยึดหลักความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพของคุณเอง การใช้ชีวิต มีไลฟ์สไตล์แบบไหน มีเงินในกระเป๋าเท่าไหร่ เป็นต้น หากคุณยังหนุ่มยังแน่น เบี้ยประกันสุขภาพ ต่อทุนก็จะไม่สูงมาก หากในอนาคตมีเงินเพิ่มมากขึ้น สามารถซื้อเพิ่มเพื่อเป็นออฟชั่นเสริมในอนาคตก็ยังได้
3. เงินในกระเป๋ามีเท่าไหร่
อย่างที่ทราบกันดีว่า ประกันสุขภาพ ส่วนมากจะมีเบี้ยที่แพ้ เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงหลายเรื่อง หลายอย่าง การตรวจหรือตอบสุขภาพก็เข้มงวด ทำให้การเลือกซื้อประกันสุขภาพต่าง ๆ รวไมปถึง ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน และ ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก ก็ต้องคิดดี ๆ ก่อนซื้อด้วย
4. อย่าลืมศึกษาทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ
ทุกบริษัทประกัน ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือแม้กระทั่ง ประกันรถยนต์ ประกันออมทรัพย์แบบต่างๆ มักจะมีเงื่อนไข มีการจ่ายเบี้ยประกัน การได้เงินคืนไม่เท่ากัน ดังนั้นควรศึกษาให้ดีทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ ไม่ว่าจะเป็น การหารีวิวประกันสุขภาพจากที่อื่น ๆ ตามเน็ตมาเปรียบเทียบ หรือ ศึกษาจากโบรกเกอร์ประกัน อย่าง rabbit care ประกอบการตัดสินใจ ก็จะช่วยให้คุณเลือกสรรการวางแผนซื้อประกันแบบต่าง ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น
ประกันสุขภาพ OPD, ประกันสุขภาพ IPD ช่วยคุณได้อย่างไร?
แน่นอนว่า ไม่ใช่แค่ประกันโรคร้ายอย่างเดียวที่สามารถดูแลคุณได้ แต่ในบางบริษัท ประกันประเภท OPD หรือ ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก สามารถช่วยชดเชยโรคร้ายได้ในบางโรค เช่น โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจ ได้เช่นกัน
แต่ทริคที่น่าสนใจมาก ๆ ในการทำประกันสุขภาพ แม้ว่าจะมีโรคร้ายทางประกันก็รับผิดชอบคือ การแจ้งความจริงเรื่องโรคที่เป็นอย่างตรงไปตรงมา แน่นอนว่าบางแห่งอาจจะบอกปัด แต่บางแห่งเมื่อตรวจสอบแล้วผ่านเกณฑ์ของบริษัท ก็อาจจะมีเพิ่มเบี้ยประกันขึ้นบ้าง
แต่ทั้งนี้ ในตอนที่เริ่มต้นทำประกันนั้น หากกังวลว่าคุณจะสามารถทำได้หรือไม่ หรือ ข้อยกเว้นประกันสุขภาพ ควรเริ่มต้นศึกษาและสอบถามทางบริษัทประกันดูก่อน เพื่อไม่ให้พลาดผลประโยชน์ต่าง ๆ นั่นเอง สำหรับใครที่อยากจะเริ่มต้นทำประกันสุขภาพ แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนนี้ ก็มีตามนี้เลย
- เลือกรูปแบบประกันสุขภาพผู้ป่วยใน และ ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก ที่คุณต้องการ และอย่าลืมศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของตัวคุณ
- ติดต่อบริษัที่ต้องการ ซื้อประกันสุขภาพ หรือ โบรกเกอร์ประกันภัย เพื่อปรึกษา หรือ เปรียบเทียบประกันสุขภาพ ว่าอะไรเหมาะสมกับคุณที่สุด
- กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเอง และตอบคำถามสุขภาพ ควรตอบอย่างเน้นย้ำ และตรงไปตรงมา ไม่ปกปิดข้อมูลความจริง เพราะนั่นจะทำให้คุณเสียประโยชน์ และถูก ยกเลิกกรมธรรม์ ได้ภายหลัง