ประเภทรถยนต์ รถ B Segment คืออะไร? แตกต่างจาก Segment รถประเภทรถยนต์อย่างไร?
ประเภทรถยนต์ B Segment Car หรือประเภทรถยนต์ชนิดที่ 2 ตามหลักเกณฑ์การจัดประเภทรถยนต์ (Car Classification) ของคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) คือ รถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ใหญ่กว่าขนาดเครื่องยนต์ของรถ A Segment
รถ B Segment ต้องมีขนาดเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1,000 c.c - 1,500 c.c มีพื้นที่ใช้สอยภายในรถสำหรับบรรจุสัมภาระ หรือบรรทุกผู้โดยสารเพิ่มขึ้น แต่ยังมีขนาดเล็กคล่องตัว เหมาะสำหรับการขับขี่ในเมือง และราคาไม่สูงเหมือนกับภาพรวมการใช้งานของรถ A Segment Car อาจถูกเรียกตามประเภทย่อยของ Segment รถในชื่อ B-Segment Sedan, B-Segment Hatchback หรือ SUV B-Segment
แม้ว่าขนาดเครื่องยนต์ของรถ B Segment ตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมาธิการยุโรปจะมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องยนต์ของรถอีโค่คาร์ (Eco Car) โดยทั่วไป แต่หากพิจารณาตามหลักเกณฑ์การจัดประเภทรถยนต์ของประเทศไทยที่เน้นพิจารณาตามขนาดของตัวรถ อัตราการสิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิง และการปล่อยมลพิษจะนับรวมรถอีโค่คาร์อยู่ในกลุ่มรถ B Segment ด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างรถ B Segment หรือ Segment รถประเภท B ที่มียอดขายสูงสุดในทวีปยุโรป 10 อันดับแรก ได้แก่ Renault Clio, Peugeot 208, Opel/Vauxhall Corsa, Toyota Yaris, Volkswagen Polo, Dacia Sandero, Ford Fiesta, Citroen C3, Mini Mini Hatch, Renault Zoe
ตัวอย่างประเภทรถยนต์รถ B Segment ที่จำหน่ายในประเทศไทย หรืออยู่ในระหว่างเตรียมเปิดให้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ ตัวอย่างเช่น Suzuki Swift, Toyota Vios, Toyota Yaris Ativ, Honda City, Nissan Almera โดยราคาเริ่มต้นของรถ B Segment คือ 494,000 - 624,000 บาท และราคาสูงสุดของรถ B Segment ณ ขณะนี้ คือ 3,700,000 บาท
รถ B Segment ยอดนิยมในไทยมีรุ่น/ยี่ห้ออะไรบ้าง?
ยี่ห้อรถยนต์ B Segment Car ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ Honda, Toyota, Mazda, Nissan, Suzuki, Audi, BMW, MG, Mini ครอบคลุมทั้งในกลุ่มรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเครื่อง หรือรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยตัวอย่างรถ B Segment ยอดนิยมที่มีจัดจำหน่ายอยู่ในไทยและอยู่ในระหว่างเตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการในไทยเร็วๆ นี้ มีดังต่อไปนี้
- Honda Brio
- Honda Mobilio
- Honda City
- Honda City Hatchback
- Honda HR-V
- Honda Jazz
- Toyota Vios
- Toyota Yaris
- Toyota Yaris-Ativ
- Toyota Avanza
- Toyota C-HR
- Toyota Sienta
- Mazda 2
- Mazda CX-3
- Nissan Almera
- Nissan Kicks e-POWER
- Nissan Note
- Suzuki Swift
- Audi A1 Sportback
- Audi Q2
- BMW I3S
- Kia Soul EV
- MG 3
- MG ZS-EV
- MG VS HEV
- Mini 3-Door Hatch
- Mono 5-Door Hatch
- Mini Clubman
- Mini Convertible
- Mini Cooper-SE
- Mitsubishi Attrage
- Ssangyong Tivoli
- Subaru XV
- Volvo XC 40
- Peugeot 2008
- Hozon Neta V
- Hyundai Creta
- Chery Tiggo 7
- BYD Atto 3
เลือกซื้อรถ B Segment รุ่นไหนดี? รุ่นไหนขายดีที่สุด?
รถ B Segment ปัจจุบันในท้องตลาดมีให้เลือกหลากหลายรุ่น เนื่องจากเป็น Segment รถที่ได้รับความนิยมสูงในประเทศไทย เนื่องจากมีความคล่องตัวสูง เหมาะสำหรับการขับขี่ในเมือง ราคาจับต้องได้ใกล้เคียง กับ A Segment Car แบ่งออกเป็นรถ B-Segment Hatchback และรถ B-Segment Sedan
รถ B Segment Hatchback หรือรถ Hatchback คือ รถขนาดเล็กที่มีลักษณะโดยรวมคล้ายรถซีดานแต่จะมีช่วงท้าย (กระจกบังลมและฝากระโปรงหลัง) ที่มีลักษณะสั้นและตัดตรง ไม่ลาดเอียงเหมือนในรถซีดานทั่วไป และมีหน้าต่างและบานพับสำหรับเปิดปิดบริเวณฝากระโปรงหลัง ทำให้มักถูกเรียกว่ารถ 3 ประตู หรือ 5 ประตู โดยนับจากประตูฝั่งซ้าย/ขวา และฝากระโปรงหลังอีก 1 ประตูนั่นเอง มียอดขายรถ Eco Car/B-Segment Hatchback (เรียงตามลำดับ) ในช่วงที่ผ่านมาดังนี้
- Honda City Hatchback
- Toyota Yaris Hatchback
- Suzuki Swift
- Suzuki Celerio
- Mazda 2 Hatchback
- Mitsubishi Mirage
- Nissan March
- Nissan Note
- MG 3
- Honda Jazz
รถ B Segment Sedan หรือรถ Sedan คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล หรือรู้จักในชื่อทั่วไปว่ารถเก๋ง 4 ประตู สำหรับรถยนต์ประเภท Sedan (ซีดาน) จะมีที่นั่งผู้โดยสารและคนขับ 4 ที่นั่งหรือมากกว่า มีหลังคารถเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของรถโดยที่ไม่สามารถถอดออกหรือเปิดประทุนได้ มีการติดตั้งเครื่องยนต์ของรถไว้บริเวณกระโปรงรถด้านหน้า และมีพื้นที่เก็บของอยู่บริเวณด้านหลังรถ มียอดขายรถ Eco Car/B-Segment Sedan (เรียงตามลำดับ) ในช่วงที่ผ่านมาดังนี้่
- Toyota Yaris Ativ
- Honda City Sedan
- Mazda 2 Sedan
- MG 5
- Nissan Almera
- Mitsubishi Attrage
- Suzuki Ciaz
- Toyota Vios
รถ B Segment มีเบี้ยประกันรถแตกต่างจาก Segment รถอื่นๆ อย่างไร?
การคำนวณเบี้ยประกันรถยนต์ ภาคสมัครใจสำหรับประเภทรถยนต์ (Car Segment) ที่แตกต่างกัน จะต้องทราบรหัสรถยนต์ที่ระบุในตารางกรมธรรม์ก่อน จึงจะสามารถคำนวณเบี้ยประกันรถยนต์ได้อย่างถูกต้อง โดยรหัสรถยนต์ของรถ B Segment คือ 110 (การใช้ส่วนบุคคล) และ 120 (การใช้เพื่อการพาณิชย์) ตามลักษณะการใช้งานรถยนต์ และประเภทรถยนต์ (Car Segment) แบบรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ใช้งานอยู่ในช่วง 2,000 ซี.ซี.
เมื่อทราบเลขรหัสรถ B Segment ตามที่ระบุในตารางกรมธรรม์แล้ว ต้องนำอัตราเบี้ยประกันภัยทั้ง 4 ประเภท มาคำนวณอัตราเบี้ยประกันของระยะเวลาการเอาประกันภัยเต็มปี ประกอบด้วยเบี้ยประกันภัยพื้นฐาน เบี้ยประกันเพิ่มความคุ้มครอง เบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันภัยเพิ่ม และเบี้ยประกันเพิ่มตามความเสี่ยง
เบี้ยประกันภัยพื้นฐาน หรือเบี้ยสำหรับจำนวนเงินความรับผิดพื้นฐานของ Segment รถ ทั้ง 8 ประเภทรถยนต์ (Car Segment) เพื่อกำหนดให้บริษัทประกันภัยใช้เบี้ยประกันภัยพื้นฐานในระดับที่ไม่ต่ำ หรือสูงกว่าเบี้ยประกันภัยพื้นฐานขั้นต่ำและขั้นสูงตามที่กำหนด โดยแบ่งคำนวณเบี้ยประกันภัยพื้นฐานตามประเภทกรมธรรม์ประกันชั้น 1 ชั้น 2 และชั้น 3 ตามลำดับ และใช้เป็นฐานในการคำนวณเบี้ยประกันร่วมกับตัวแปรอื่นๆ ต่อไป
เบี้ยประกันเพิ่มความุค้มครอง หรือเบี้ยประกันที่เพิ่มจำนวนเงินความรับผิดต่อบุคคลภายนอกที่เกินกว่าจำนวนเงินจำกัดความรับผิดชอบพื้นฐาน ครอบคลุมทั้งความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือการเสียชีวิตของบุคคลภายนอก และความรับผิดต่อความเสียหายในทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
เบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันภัยเพิ่ม หรือเบี้ยประกันเพิ่มตามความคุ้มครองเพิ่มเติมที่ระบุไว้ในสัญญาแนบท้ายของกรมธรรม์ประกันรถยนต์ ตัวอย่างเช่น ความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ความคุ้มครองประกันตัวผู้ขับขี่ ความคุ้มครองภัยน้ำท่วม หรืความคุ้มครองภัยธรรมชาติ
เบี้ยประกันเพิ่มตามความเสี่ยง หรือตัวแปรในการคำนวณเบี้ยประกันภัย โดยคำนวณตามภัยความเสี่ยงและความเสี่ยงของ Segment รถในแต่ละประเภท ประกอบด้วยลักษณะการใช้รถ ขนาดรถ อายุผู้ขับขี่ กลุ่มรถ อายุรถ เงินเอาประกันภัย และอุปกรณ์เพิ่มพิเศษ
ทั้งนี้ เบี้ยประกันรถตามประเภทของรถยนต์ทั้งรถ B Segment และ Segment รถอื่นๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 2.5 ของจำนวนเงินเอาประกันภัย