แคร์สุขภาพ

วัณโรค ภัยร้ายใกล้ตัว ที่ต้องเฝ้าระวัง!!

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Published July 03, 2019

วัณโรค เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่พบได้เยอะในคนไทย และถือว่าเป็น 1 ใน 10  สาเหตุการเสียชีวิตของคนทั่วโลก โดยกระทรวงสาธารณสุขจัดให้ประเทศไทยติด 1 ใน 14 ประเทศที่พบผู้เป็นวัณโรคสูง โดยมีผู้ติดเชื้อประมาณ 20 ล้านคน และพบผู้ป่วยวัณโรคที่มีอาการ สูงถึง 1.2 แสนคน/ปี

ซึ่งมีผู้ที่สามารถเข้าถึงระบบการรักษาได้เพียงแค่ร้อยละ 6 เท่านั้น อีกทั้งยังมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 12,000 ราย เพราะฉะนั้นวันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปรู้จักเจ้าวัณโรคให้มากขึ้น รวมถึงหาวิธีป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากวัณโรคกันด้วย

เรื่องของวัณโรค ที่คุณควรรู้

เพราะวัณโรคเป็น โรคร้ายแรงที่อันตราย และต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากทุก ๆ วันมีคนเป็นวัณโรคเพิ่มขึ้นทุกที ซึ่งก่อนอื่น เรามาดูถึงสาเหตุและอาการของวัณโรคเบื้องต้นกันก่อน

สาเหตุการเกิดหรือช่องทางการติดเชื้อวัณโรค

วัณโรค หรือ Tuberculosis  มีสาเหตุการเกิดโรค จากเชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อโรคได้ทางอากาศ ไม่ว่าจะด้วยการ ไอ จาม การพูด รวมถึงการหายใจร่วมกัน แต่ทั้งหมดที่ว่ามานี้จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น หากคุณพักอาศัย เดินทาง หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีผู้ป่วยวัณโรคร่วมอยู่ด้วย 

อาการของวัณโรค

เมื่อพูดถึงอาการของวัณโรค จะแบ่งได้ 2 ระยะด้วยกัน คือ 

1.ระยะแฝง เมื่อคุณได้รับเชื้อ จะไม่มีอาการใด ๆ เพราะเชื้อยังไม่ได้รับการกระตุ้น แต่อย่างไรก็ตาม เชื้อโรคก็ยังคงอยู่ในร่างกายเรา และสามารถนำไปสู่ระยะแสดงอาการได้ ดังนั้น ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง หากมีความผิดปกติต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา ป้องกันการแพร่เชื้อ และลดความเสี่ยงที่อาจจะนำไปสู่ระยะแสดงอาการต่อไป

ระยะแฝงที่โรคยังไม่แสดงอาการจึงมีความสำคัญและน่าเป็นห่วงกว่ามาก เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว หรือไม่ได้รับสัญญาณเตือนใดๆ จากร่างกายมาก่อน กว่าจะตรวจพบก็เข้าสู่ระยะแสดงอาการแล้ว

2.ระยะแสดงอาการ  คือ ระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนเกิดอาการต่าง ๆ อาทิ ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก รู้สึกเจ็บเวลาหายใจหรือไอ อ่อนเพลีย มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกในเวลากลางคืน น้ำหนักลด และไม่อยากอาหาร

สำหรับระยะแสดงอาการจะทำการรักษาได้ง่ายกว่า เพราะแพทย์จะให้การรักษาด้วยยา หรือวัคซีนไปตามอาการที่แสดงออก โดยผู้ป่วยแต่ละรายจะแสดงอาการไม่เหมือนกัน ทำให้ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีเดียวกันได้ จำเป็นที่ต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะ

วัณโรคเกิดขึ้นได้ที่ไหนบ้าง

  • วัณโรคหลังโพรงจมูก

มาเริ่มกันที่วัณโรคหลังโพรงจมูก ซึ่งเป็นกรณีศึกษาอยู่ในปัจจุบัน ถือเป็นวัณโรคนอกปอดที่พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 และที่สำคัญ ผู้ป่วยถึง 1 ใน 3 มักจะไม่แสดงอาการป่วยใด ๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งประมาณร้อยละ 70 มีต่อมน้ำเหลืองโตที่คอ หรือมีก้อนเล็ก ๆ บริเวณหลังโพรงจมูก  ด้วยสาเหตุที่พบผู้ป่วยจากวัณโรคชนิดนี้ค่อนข้างน้อย จึงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หรือไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที

  • วัณโรคกระดูก หรือ วัณโรคกระดูกสันหลัง

มาต่อกันที่วัณโรคกระดูก เกิดจากการที่ได้รับเชื้อ จากนั้นก็ลุกลามแทรกซึมผ่านกระแสเลือด แล้วเข้าสู่กระดูก ส่งผลให้กระดูกเกิดการยุบตัว หลังโก่งงอ มีหนองหรือเศษกระดูก หมอนรองกระดูกเคลื่อน และยิ่งเชื้อโรคนี้เข้าสู่ไขสันหลัง จะส่งผลให้ผู้ป่วยกลายเป็นอัมพาตได้ ถือว่าเป็นวัณโรคที่มีระดับความรุนแรงสูง

  • วัณโรคต่อมน้ำเหลือง

วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง  จะมีลักษณะแผลเป็นหนองที่บริเวณคอ อีกทั้งยังหายช้า แม้จะได้รับการรักษาแล้วก็ตาม ซึ่งระหว่างการรักษาก็มีโอกาสที่ต่อมน้ำเหลืองอื่น ๆ จะโตขึ้นมาได้อีก เมื่อรักษาหายแล้วก็อาจจะทิ้งร่องรอยแผลเป็นไว้กับผู้ป่วย สำหรับวัณโรคชนิดนี้ควรได้รับการรักษาเร่งด่วน เพราะต่อมน้ำเหลืองมีส่วนสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันจากเชื้อโรคต่างๆ 

  • วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง

ลักษณะอาการของวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง คือ มีไข้ต่ำ น้ำหนักลง เบื่ออาหาร เริ่มมีอาการทางสมอง คือ ระดับความรู้สึกลดลง รวมถึงมีอาการคอแข็ง ซึ่งการค้นหาโรคนี้จะทำโดยการตรวจน้ำไขสันหลัง ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อต้องได้รับการรักษาหรือให้ยายาวนาน 9 – 12 เดือนเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นถ้ารู้สึกว่าร่างกายผิดปกติ หรือมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

  • วัณโรคช่องท้อง

ช่องท้องเป็นอวัยวะที่เกิดวัณโรคได้ทุกส่วน  ซึ่งตำแหน่งที่พบได้บ่อย คือ ลำไส้เล็กต่อลำไส้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดท้อง ท้องโต พบน้ำในช่องท้อง คลำพบก้อนในช่องท้อง ที่สำคัญต้องระวังอาการแตกของลำไส้ ที่สามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยจำนวนมากละเลยการพบแพทย์เพราะเข้าใจว่าเป็นโรคทางเดินอาหาร ทำให้รักษาไม่ทันท่วงที

นอกจากตัวอย่างวัณโรคที่เราได้บอกไว้ข้างต้น เชื้อโรควัณโรคยังแพ่กระจายไปยังส่วนอื่นๆได้อีก เช่น เยื่อหุ้มหัวใจ ทางเดินปัสสาวะ เยื่อหุ้มปอด เป็นต้น ซึ่งทุกตำแหน่งในร่างกายที่เชื้อโรคแพร่กระจายไป มีผลเสีย และเป็นอันตรายทั้งสิ้น 

แนวทางป้องกันวัณโรค

สำหรับการป้องกันวัณโรค เป็นเรื่องที่คุณต้องรู้ไว้ เพื่อที่จะระวังตัวได้ถูก และไม่เสี่ยงเป็นวัณโรค ซึ่งแนวทางที่เราจะแนะนำให้การป้องกันนี้ คือ

  • ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และออกกำลังกายอยู่เสมอ
  • ใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอหรือจามในที่สาธารณะ
  • หากมีอาการผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นไอเรื้อรัง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร คลำพบก้อนผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์
  • ไม่ควรอยู่ใกล้กับผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค  หรือเมื่อต้องอยู่ร่วมบ้านเดียวกัน ก็ควรแยกข้าวของเครื่องใช้ออกจากกัน และทำความสะอาดอยู่เสมอ
  • หมั่นตรวจสุขภาพร่างกายให้เป็นประจำอยู่ทุกปี รวมถึงเอกซเรย์ปอดปีละครั้ง
  • ซื้อประกันสุขภาพ ดูแลตัวเอง เพราะเมื่อหากคุณเป็นวัณโรค ต้องมีระยะเวลาในการทานยาให้ครบกำหนด เพื่อให้อาการหายขาด ดังนั้นเพื่อเป็นการดูแลตัวเอง และช่วยเซฟเงินในกระเป๋าของตัวคุณเองซื้อประกันสุขภาพติดตัวไว้ รับรองช่วยคุณได้เยอะ หรือสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกประกันสุขภาพ ได้ที่นี่

บทความแคร์สุขภาพ

แคร์สุขภาพ

โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ? ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันมาก-น้อยแค่ไหน ?

โรคย้ำคิดย้ำทำ ฟังชื่อเผิน ๆ อาจดูเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่ร้ายแรงจริงหรือไม่ ?
Nok Srihong
25/04/2024

แคร์สุขภาพ

แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
Nok Srihong
22/04/2024