แคร์ไลฟ์สไตล์

คนเมือง กับ สารพัดเรื่องซึม ๆ เศร้า ๆ

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: July 22,2020
โรคซึมเศร้า

ต้องยอมรับว่าการใช้ชีวิตในเมืองหลวงไม่ใช่เรื่องง่าย แถมยังดูจะยากเย็นสำหรับใครหลายคน เพราะไหนจะต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ ไหนจะต้องบริหารจัดการเรื่องเงินให้ตอบโจทย์ค่าครองชีพที่ไม่ใช่เล่น ๆ ทำให้กลายเป็นปัญหาอึดอัดใจ และแปรสภาพเป็นความเครียดสะสมในที่สุด ลองมาดูกันว่าเรื่องซึม ๆ เศร้า ๆ ของชีวิตคนเมืองมีอะไรบ้าง? และรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าได้ขนาดไหน?

โรคซึมเศร้า

สารพัดเรื่องซึม ๆ เศร้า ๆ ที่คนเมืองต้องแบกรับ

เพื่อน ๆ หลายคนเดินทางมาจากต่างจังหวักเพื่อหางานทำ และขวนขวายหาโอกาสที่ดีกว่าให้ชีวิตในวันข้างหน้า ทำให้ต้องยอมแบกรับหลาย ๆ เรื่องชวนอึดอัดใจเอาไว้ และผลสำรวจขององค์กรอนามัยโลก (2560) พบว่า คนจำนวน 1 ใน 4 ต้องเผชิญหน้ากับความผิดปกติทางจิตในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต และมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั่วโลกกว่า 300 ล้านคน ซึ่งวันนี้ Rabbit Care ก็ทำการสำรวจสาเหตุหลัก ๆ ของคนเมืองในกรุงเทพมหานครมาฝากกัน

1.สภาพเศรษฐกิจ

ใครว่าเศรษฐกิจเป็นเรื่องไกลตัว ยิ่งกลุ่มมนุษย์เงินเดือน หรือพนักงานบริษัทเอกชน คงรู้ดีว่าเศรษฐกิจนี่ยิ่งกว่าคำว่าใกล้ตัว เพราะไม่ว่าเศรษฐกิจจะผันผวนไปในทิศทางใดก็จะส่งผลต่อผลประกอบการและรายได้ของบริษัทไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่ากระทบมาถึงผลตอบแทน ปริมาณงาน รวมทั้งความกดดันต่าง ๆ เพื่อให้งานออกมาดี ซึ่งทำให้คุณต้องใช้ชีวิตกับการแข่งขันอยู่ตลอดเวลาเพื่อเอาตัวรอด ไหนจะต้องหางานที่มั่นคง หาเงินไว้ใช้จ่ายให้เพียงพอทุกเดือน และยังต้องนั่งวางแผนอนาคตอีกต่างหาก ไม่นับรวมคุณภาพชีวิตที่แปรผันตรงกับสภาพเศรษฐกิจอีกต่างหาก

2.โลกออนไลน์

ต้องยอมรับว่าสื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media เข้ามามีบทบาทสำคัญกับหนุ่มสาวยุคใหม่ โดยเฉพาะคนเมืองที่อยู่กับสมาร์ทโฟน และคอนเทนต์ออนไลน์ตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการไถนิวฟีดเพื่ออ่านข่าวบนรถไฟฟ้า หรือนั่งไล่ดูภาพในอินสตาแกรมของเพื่อน ๆ ช่วงพักกลางวัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะเข้ามามีอิทธิพลเหนือความคิดของคุณโดยไม่รู้ตัว บ้างก็เกิดความรู้สึกเปรียบเทียบ บ้างก็ประเมินคุณค่าของตัวเองต่ำ และก็มีหลายคนที่อ่านข่าวด้านลบมาก ๆ จนทำให้รู้สึกหดหู่และนำไปสู่ความรู้สึกเซ็ง ๆ เศร้า ๆ ที่ต้องอยู่ในสังคมแบบนี้

3.ค่านิยมของสังคมไทย

จะบอกว่าค่านิยมเปลี่ยนไปตามยุคสมัยก็ไม่ใช่ อาจจะต้องพูดว่าเพราะค่านิยมไม่ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย ทำให้คนเกิดภาวะเครียดขึ้นทุกวี่วัน เพราะยังมีหลายคนมีความเชื่อว่าความสำเร็จในชีวิตคือการทำงานดี ๆ มีสวัสดิการมั่นคง เงินเดือนสูง มีรถขับ มีบ้านสวย ๆ และแต่งงานสร้างครอบครัวที่อบอุ่น จึงยากที่จะคอยหลีกเลี่ยงคำถามจากคนกลุ่มนี้เมื่อต้องพบหน้า ไม่ว่าจะเป็น ป้าข้างบ้านที่คอยถามเรื่องเงินเดือน พี่สาวร้านอาหารตามสั่งที่ถามเรื่องแต่งงานบ่อย ๆ ทำให้เพื่อน ๆ หลายคนรู้สึกเบื่อกับการตอบคำถามและพาลไม่อยากพบเจอใครในที่สุด

4.ความโดดเดี่ยว

เมืองหลวงมีแสงสีและความศิวิไลซ์ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นความสุขของทุกคน บางคนรู้สึกโดดเดี่ยว เหงา และว้าเหว่ ทั้งที่มีคนรายล้อมมากมาย เพราะสุดท้ายแล้ว เราต้องการเพื่อนที่ไว้ใจจะเล่าสารทุกข์สุขดิบต่าง ๆ ได้ ต้องการคนที่คอยห่วงใยอย่างจริงใจ ยิ่งมนุษย์อย่างเราเป็นสัตว์สังคม เราคงหลีกเลี่ยงการพบปะสังสรรค์ หรือสร้างความสัมพันธ์ไม่ได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่เริ่มอยากรู้จักใครแล้วคนนั้นไม่เป็นอย่างที่คิด ก็จะพาลให้อยากใช้ชีวิตเงียบ ๆ คนเดียวมากกว่า จึงกลายเป็นที่มาของคนเมืองจำนวนมากที่มีนิสัยเก็บตัว ไม่ชอบเข้าสังคม และชอบอยู่คนเดียวมากกว่า


โรคซึมเศร้า

ประเภทของโรคซึมเศร้าที่เหล่าคนเมืองต้องรู้!

1.โรคซึมเศร้าแบบร้ายแรง (Major Depression)

ถือว่าเป็นโรคซึมเศร้าที่พบบ่อยในกลุ่มคนเมืองและหนุ่มสาววัยทำงาน เพราะโรคซึมเศร้าประเภทนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีเรื่องรบกวนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรียน การทำงาน เรื่องเงินทอง การนอนหลับ รวมทั้งนิสัยการกิน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะมีความผิดปกติทางอารมณ์ประมาณ 2 สัปดาห์ โดยจะมีอาการเศร้าสลดอย่างมาก ไม่อยากทำกิจกรรมใด ๆ และย้ำคิดย้ำทำกับเรื่องเดิม ๆ

สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแบบร้ายแรง หากได้รับรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยลดอัตราการฆ่าตัวตายลงได้ 

2.โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Dysthymia หรือ Persistent Depressive Disorder)

โรคซึมเศร้าแบบเรื้อรัง ผู้ป่วยจะไม่มีอาการทางอารมณ์ร้ายแรงมากนัก แต่ว่าจะเป็นเรื่อย ๆ อย่างต่ำ 2 ปี โดยมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ เบื่ออาหาร นอนมากผิดปกติ รู้สึกไม่มีคุณค่า อ่อนแรง และรู้สึกหดหู่ใจ บางรายอาจจะมีภาวะ Major depression ร่วมด้วย ซึ่งทำให้กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน แต่สามารถเจ้ารับการรักษาและบำบัดสภาพจิตใจได้

3.โรคซึมเศร้าอารมณ์สองขั้ว (Bipolar หรือ Manic-depressive Illness)

สำหรับภาวะซึมเศร้าประเภทนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติแบบอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) ร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนทางด้านอารมณ์อย่างสุดขั้วและแปรปรวนรุนแรง เช่น บางรายจะมีอารมณ์เซ็ง ๆ สลับกับอาการลิงโลด สำหรับโรคซึมเศร้าชนิดนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจและมักก่อให้เกิดปัญหาตามมา เช่น ตัดสินใจผิดพลาดแบบชั่วครู่ ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย และอาจมีความคิดฆ่าตัวตายในช่วงที่มีอาการซึมเศร้าได้เช่นกัน หากไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและรักษาอย่างถูกวิธี อาจจะทำให้กลายเป็นผู้ป่วยจิตเภทได้

นอกจากนี้ยังมีโรคซึมเศร้าประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์ อาทิ โรคซึมเศร้าหลังคลอดลูก โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (SAD) โรคซึมเศร้าก่อนมีรอบเดือน และโรคซึมเศร้าโรคจิต


โรคซึมเศร้า

จะเป็นคนเมืองที่สตรอง ต้องทำอย่างไร?

สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้องใช้ชีวิตในเมืองนี้ต่อไป เราขอแนะนำให้คุณเริ่มด้วยการสร้างพลังบวกให้ตัวเองและใช้ชีวิตอย่างสตรองทั้งกายใจ เพราะอย่างที่ทราบว่าสุขภาพกายและใจส่งผลต่อกันอย่างมาก หากคุณเจ็บป่วยบ่อย ๆ ย่อมทำให้มีความกังวล และเมื่อกังวลมาก ๆ ก็ทำให้นอนไม่หลับ และวนกลับมาเจ็บป่วยอีกครั้ง งั้นเริ่มดูแลตัวเองกันตั้งแต่วันนี้ จะได้ห่างไกลโรคซึมเศร้า!

  • ร่างกายต้องแข็งแรงไว้ก่อน
    เริ่มจากการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีสารอาหารสำคัญครบ 5 หมู่ และควรเลือกทานแต่พอดี ควบคู่กับการออกกำลังกายที่ชอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และอย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอ นอนให้เป็นเวลา และพยายามนอนให้ต่อเนื่องอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เพราะจะช่วยให้สมองปลอดโปร่งและแล่นฉิว
  • สุขภาพใจต้องไม่ป่วย
    หากคุณต้องอยุ่ในภาวะกดดัน มีเรื่องให้คิดมากมาย เราขอแนะนำให้ลองบาลานซ์เรื่องต่าง ๆ ให้เข้าที่เข้าทาง และค่อย ๆ คิดหาทางออกอย่างใจเย็น ไม่จำเป็นต้องเก็บทุกเรื่องมาคิด ขอให้คุณตั้งสติแน่วแน่ และโฟกัสที่ความรู้สึกของตัวเองไว้ก่อน ถ้าเมื่อไหร่รู้สึกจิตใจไม่ปกติ อารมณ์เริ่มแปรปรวน ก็ชวนเพื่อน หรือพ่อแม่ ไปพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อพูดคุยหาทางออก เพราะยุคนี้ใคร ๆ ก็ไปพบแพทย์ได้ทั้งนั้น ไม่ต้องกลัวว่าตัวเองจะดูเป็นคนป่วยหรอกนะ

ประกันสุขภาพ ก็เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับเพื่อน ๆ นะ โดยเฉพาะประกันสุขภาพที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของคุณมากที่สุด เพราะนอกจากดูแลทุกความกังวลของคุณแล้ว ยังรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายเมื่อต้องเข้ารับการรักษาโรคต่าง ๆ อีกด้วย ลองเข้ามาเปรียบเทียบเบี้ยประกันสุขภาพ กับ Rabbit Care สิคะ


 

บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

Rabbit Care Blog Image 96153

แคร์ไลฟ์สไตล์

เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
Thirakan T
27/08/2024
Rabbit Care Blog Image 89764

แคร์ไลฟ์สไตล์

แมวอ้วก แมวอาเจียน อันตรายไหม ? เป็นสัญญาณบ่งบอกอะไร ?

‘แมวอ้วก’ สถานการณ์ที่สำหรับเหล่าทาสแล้วคงถือเป็นเรื่องหนักอกหนักใจ ว่านายท่านแมวของเราเกิดความเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติในร่างกายอย่างไรหรือไม่
คะน้าใบเขียว
31/05/2024