3 อาการต้องรู้! หมาไอ หมาอ้วก หมาเป็นหวัด วิธีแก้สุนัขป่วยเบื้องต้น คืออะไรบ้าง?
แม้ว่าจะดูแลน้องหมาใกล้ชิดมากแค่ไหนก็ตาม แต่ก็อาจต้องมีบ้างที่จู่ๆ น้องหมาแสดงอาการแปลกๆ ไม่ว่าจะอาเจียน เซื่องซึม หรือหมาสะอึกผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของโรคอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ แรบบิท แคร์ รวบรวมอาการและโรคยอดฮิตน้องหมา พร้อมวิธีรักษาเเละค่าใช้จ่ายเบื้องต้นที่ต้องรู้ และทำไมการมีประกันสุนัขติดตัวไว้จะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการรักษาน้องหมาได้ไม่มากก็น้อยมาฝาก
1. โรคเชื้อราในสุนัข
1.1 สาเหตุของโรคเชื้อราในสุนัข
โรคเชื้อราในสุนัข (Dermatophytosis) เกิดจากการติดเชื้อราในหลายกลุ่ม ซึ่งทำให้เกิดอาการระคายเคือง บริเวณผิวหนังกําพร้าชั้นขี้ไคล เส้นขน และเล็บ มักพบความเสี่ยงติดเชื้อราในกลุ่มสัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (อายุน้อย หรืออายุมาก) ผิวหนังมีบาดแผลเปิด รวมถึงสุนัขที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมมีความชื้นสูง โดยมักพบเชื้อราดังกล่าวตามสปอร์ที่อยู่ตามสิ่งแวดล้อม หรืออุปกรณ์ที่มีการสัมผัสกับผิวหนังของสุนัข เช่น แปรง หวี หรือกรรไกรตัดเล็บ รวมถึงอาจพบเชื้อได้ตามพื้นดินทั่วไป จากสุนัขที่เลี้ยงแบบเปิด หรือสัตว์กัดแทะขนาดเล็ก เช่น หนู กระรอก
1.2 อาการโรคเชื้อราในสุนัข
อาการสำคัญของโรคเชื้อราสุนัขที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน คือ อาการขนร่วงเป็นหย่อมๆ ไม่ว่าจะเป็นร่วงจุดใดจุดหนึ่ง ร่วงหลายวง หรือร่วงกระจาย โดยมักพบร่วมกับสะเก็ดแห้ง รังแค ผื่น หรือตุ่มแดง อาจจะมีอาการคันหรือไม่คันร่วมด้วยอย่างไรก็ตาม แม้ว่าสุนัขจะมีลักษณะภายนอกขนสวยเงางามตามปกติ แต่อาจมีเชื้อราแฝงอยู่แต่ยังไม่แสดงอาการทางผิวหนัง และสุนัขตัวดังหล่าวยังสามารถเป็นพาหะในการแพร่กระจายเชื้อราให้สัตว์อื่นๆ หรือคนได้อีกด้วย
โอกาสในการติดเชื้อราจะเพิ่มมากขึ้นตามปัจจัยความเสี่ยงๆ ต่างของสุนัข ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพร่างกาย ภูมิคุ้มกัน อายุของสัตว์ (ลูกสุนัข หรือสุนัขอายุมาก) จำนวนและชนิดของเชื้อรา การขาดสารอาหารหรือ แม้กระทั่งความเครียด ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สุนัขมีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อราได้
1.3 วิธีการรักษาและค่ารักษาโรคเชื้อราในสุนัข
ลักษณะของอาการโรคเชื้อราในสุนัขอาจมีอาการคล้ายกับโรคอื่นๆ ได้หลายโรค ไม่ว่าจะเป็นอาการแพ้ทั่วไป เช่น แพ้อาหาร แพ้น้ำยาทำความสะอาด แพ้น้ำลายไรหมัด ภาวะผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรีย หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เจ้าของสุนัขจึงควรนำสุนับเข้าพบสัตวแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย ก่อนที่จะทำการรักษาด้วยตัวเอง เพราะนอกจากอาจจะรักษาได้ไม่ถูกต้องเเล้ว ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้โรคลุกลามอีกด้วย
วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคเชื้อราในสุนัขทำได้หลายวิธี เช่น การตรวจเส้นขน การตรวจหาสารเรืองแสง การตรวจชิ้นเนื้อหรือการเพาะเชื้อ ซึ่งเป็นวิธีการวินิจฉัยโรคเชื้อราในสุนัขที่แม่นยำที่สุดในปัจจุบัน โดยใช้เวลารอผลตรวจจากการเพาะเชื้อประมาณ 10 วัน โดยค่าตรวจเพาะเชื้อเริ่มต้นอยู่ที่ 1,500-3,000 บาท
กรณีที่มีเชื้อราเพียงเล็กน้อย สุนัขอาจหายได้ด้วยภูมิคุ้มกันตัวเองภายในระยะเวลาประมาณ 10-16 สัปดาห์ แต่การรักษาเชื้อราที่ถูกวิธีจะช่วยลดเวลาของการติดเชื้อรา และลดการแพร่กระจายเชื้อราไปยังสัตว์เลี้ยง หรือคนอื่นๆ ได้ด้วย โดยวิธีการรักษาที่มักใช้ในการรักษาโรคเชื้อรา คือ การใช้ยาหรือแชมพูกำจัดเชื้อรา ร่วมกับการใช้ยารับประทาน รวมถึงการใช้น้ำยาทำความสะอาดบริเวณที่สุนัขอยู่ โดยใช้ร่วมกันในการรักษาต่อเนื่องอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์
2. โรคไข้หัด หรือโรคหัดสุนัข
2.1 สาเหตุของโรคหัดสุนัข
โรคไข้หัดสุนัขมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัส Canine Distemper Virus โดยแบ่งเป็นการสัมผัสเชื้อโดยตรงจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของสุนัขที่ป่วยเป็นโรคหัดผ่านการหายใจ และการสัมผัสเชื้อทางอ้อมจากการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ร่วมกัน มักพบการเกิดโรคหัดในสุนัขอายุน้อยกว่า 4 เดือน ซึ่งเป็นช่วงสำคัญที่วัคซีนอยู่ในระหว่างก่อนสร้างภูมิคุ้มกันได้เต็มที่ หรือสุนัขที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสโรคหัดไม่สามารถทนอยู่ได้นานในสภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป แต่จะสามารถแพร่กระจายโรคได้นานหลายสัปดาห์เมื่ออยู่ภายในร่างกายของสุนัขที่ป่วย และรักษาหายแล้ว
2.2 อาการโรคหัดสุนัข
อาการของโรคหัดสุนัขจะมีตั้งเเต่ลักษณะอาการที่ไม่รุนแรง หรืออาการเจ็บป่วยเล็กน้อยไปจนถึงขั้นอาการรุนเเรงจนอาจตายได้อย่างรวดเร็ว โดยลักษณะอาการสำคัญของโรคไข้หัดสุนัขจะเริ่มจากอาการมีไข้ มีน้ำมูก อาเจียน และท้องเสีย รวมถึงอาการไม่อยากอาหาร สูบผอม หมาไอ หายใจลำบาก และตาอักเสบ
อย่างไรก็ตาม เจ้าของสุนัขส่วนใหญ่อาจชะล่าใจ และมักพาสุนัขที่เจ็บป่วยจากโรคหัดสุนัขมาพบสัตวแพทย์เมื่อมีอาการในระยะรุนแรง หรืออาการใกล้ระยะสุดท้ายก่อนตาย ซึ่งสังเกตได้จากสุนัขจะมีอาการทางสมอง ไม่ว่าจะเป็นอาการชักกระตุกแบบเคี้ยวฟัน กล้ามเนื้ออ่อนแรง เดินไม่คล่อง หรืออัมพาต
2.3 วิธีการรักษาและค่ารักษาโรคหัดสุนัข
การตรวจรักษาสุนัขที่เป็นโรคไข้หัด จะใช้การสังเกตอาการเฉพาะโรคร่วมกับการตรวจเชื้อ หรือการตรวจแอนติเจน (Antigen) ของเชื้อไวรัส Canine Distemper Virus ที่เป็นต้นเหตุของโรคหัดสุนัข ด้วยการส่งตรวจพยาธิวิทยาสารคัดหลั่งต่างๆ ของสุนัข ไม่ว่าจะเป็นน้ำมูก น้ำลาย หรือปัสสาวะ ซึ่งต้องดำเนินการโดยสัตว์แพทย์เท่านั้น เจ้าของสุนัขไม่สามารถทำการตรวจแอนติเจนเองได้
ค่ารักษาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคหัดสุนัข ได้แก่ ค่าตรวจทางโลหิตวิทยา (CBC) 150-300 บาท ค่าตรวจปัสสาวะ 100-500 บาท ค่าตรวจทางปรสิตวิทยา 500-1,000 บาท ค่าตรวจทางพยาธิวิทยา 500-1,000 บาท หรือชุดตรวจโรคไข้หัดสุนัข 500-1,000 บาท
การรักษาโรคหัดสุนัขจะยังไม่มียารักษาเฉพาะโรคหัดโดยตรง แต่จะเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น สุนัขตาอักเสบ วิธีรักษาด้วยการหยอดยาเฉพาะ หรือหยอดน้ำตาเทียม ไม่ว่าจะเป็นการให้สารน้ำ การให้ยาลดอาเจียน การให้ยาปฏิชีวนะ หรือการให้ยากันชัก แม้ว่าสุนัขจะได้รับการรักษาจากสัตวแพทย์แล้วก็ตาม เเต่สุนัขบางตัวอาจไม่ตอบสนองต่อการรักษา ทำให้อาจมีโอกาสตายเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงสุนัขที่ตอบสนองต่อการรักษา อาจมีอาการทางสมองหลงเหลืออยู่เช่นกัน แม้ว่าจะรักษาโรคหัดหายแล้วก็ตาม
วิธีป้องกันโรคไข้หัดสุนัขที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนกระตุ้น โดยสามารถเริ่มฉีดวัคซีนครั้งแรกได้ตั้งเเต่สุนัขอายุครบ 2 เดือน และฉีดวัคซีนที่จำเป็นต่อสุนัขให้แล้วเสร็จเมื่อสุนัขอายุครบ 4-6 เดือน จากให้ให้ฉีดวัคซันกระตุ้นปีละหนึ่งครั้งอย่างต่อเนื่อง รวมถึงหมั่นทำความสะอาดบริเวณบ้าน และบริเวณที่อยู่ของสุนัขด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีทีสุดในการทำลายเชื้อไวรัสโรคหัดสุนัข
3. โรคท้องร่วง หรือโรคบิด
3.1 สาเหตุของโรคบิดในสุนัข
โรคบิดท้องร่วงในสุนัขเกิดจากเชื้อบิด หรือเชื้อโปรโตซัว (Protozoa) 2 กลุ่ม ชื่อว่า Cocidia และ Giardia มักพบเชื้อบิดดังกล่าวเกาะอยู่บริเวณผนังลำไส้และขยายตัวเพื่อแย่งดูดซึมสารอาหารในสุนัข ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร และระบบขับถ่ายอย่างรุนแรง
เชื้อบิดสามารถแพร่พระจายออกมาพร้อมกับอุจจาระของสุนัขที่เป็นโรคบิด ซึ่งสามารถแพร่กระจายต่อไปยังสุนัขตัวอื่นๆจากการที่กินอุจจาระทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งตั้งใจ ไม่ว่าจะเป็นการกินน้ำจากแหล่งน้ำที่มีเชื้อบิดเจือปนอยู่ การเลียเท้าที่มีอุจจาระปนเปื้อนอยู่ หรือการสัมผัสหรือกินหญ้าที่มีเชื้อโรคบิดตกค้างอยู่ โดยเชื้อบิดสามารถตกค้างหรือปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นานหลายสัปดาห์ และจะเริ่มเเสดงอาการภายหลังจากการรับเชื้อใน 3-10 วัน
3.2 อาการโรคบิดในสุนัข
เมื่อสุนัขได้รับเชื้อโปรโตซัวเข้าไป เชื้อบิดดังกล่าวจะเริ่มแบ่งตัวและแย่งการดูดซึมสารอาหารที่กระเพาะอาหารและลำไส้ของสุนัข รวมถึงขัดขวางการทำงานลำไส้และผนังลำไส้ ทำให้เริ่มเกิดอาการสำคัญของโรคบิดในสุนัข คือ ภาวะท้องเสียเรื้อรั้ง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ โดยนอกจากจะเกิดอาการท้องเสียต่อเนื่องแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหาในระบบทางเดินอาหาร เบื่ออาหาร หมาอ้วก อาเจียน น้ำหนักลด เซื่องซึม หรือสภาวะขาดน้ำร่วมจนทำให้เกิดอาการช็อคได้
อย่างไรก็ตาม สุนัขบางตัวอาจไม่แสดงอาการท้องเสียจากโรคบิดให้เห็นอย่างชัดเจน เจ้าของสุนัขจึงอาจต้องอาศัยการสังเกตอุจจาระสุนับร่วมด้วย โดยสุนัขที่มีอาการโรคบิดจะมีอุจจาระนิ่ม มีกลิ่นแรง และมีเมือกหรือคราบไขมันมากผิดปกติ ในขณะที่หากมีอาการรุนแรง อาจถ่ายเหลวเป็นน้ำ หรือมีเลือดปนออกมาด้วย
3.3 วิธีการรักษาและค่ารักษาโรคบิดในสุนัข
วิธีการรักษาโรคบิดในสุนัขจะเริ่มจากการวินิจฉัยจากประวัติการรักษา (ถ้ามี) อาการเจ็บป่วยในปัจจุบัน และการตรวจพยาธิวิทยาด้ยการส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจหาเชื้อบิดจากอุจจาระสุนัข หากไม่พบเชื้อบิดในการตรวจครั้งเเรก อาจต้องตรวจหาเชื้อซ้ำใหม่อีกครั้งใน 1-2 วันถัดไป รวมถึงอาจใช้ชุดทอดสอบเฉพาะ (ELISA) ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท
เมื่อสามารถวินิจฉัยได้เเล้วว่าสุนัขป่วยด้วยเชื้อบิด สัตว์แพทย์จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวินะสำหรับฆ่าเชื้อและยาถ่ายพยาธิร่วมกันในระยะเวลา 7-10 วัน โดยในรายที่มีภาวะขาดน้ำจากอาการท้องเสีย และอาเจียนนั้น อาจมีการสั่งให้น้ำเกลือเพิ่ม รวมถึงกรณีที่หากเป็นลูกสุนัข จะต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องการการเกิดภาวะช็อกจากการขาดน้ำอย่างรุนแรง
วิธีการป้องกันโรคบิด คือ การดูแลรักษาความสะอาดภายในบริเวณบ้าน หรือบริเวณที่สุนัขอาศัยอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดอุจจาระทันทีเพื่อลดโอกาสการเเพร่เชื้อโรคบิด การทำความสะอาดชามอาหารสุนัขเป็นประจำ การทำความสะอาดเท้าของสุนัขทุกครั้งหลังจากออกไปเดินนอกบ้านมา รวมถึงการถ่ายพยาธิสุนัขตามกำหนด เพื่อป้องกันการเกิดโรคบิด
วิธีแก้สุนัขป่วยเบื้องต้น คือ การหมั่นเช็กอาการผิดปกติของสุนัข ไม่ว่าจะเป็นลักษณะภายนอกของตัวสุนัข เล็บ ขน พฤติกรรมการกิน การนอน หรือแม้กระทั่งการขับถ่ายที่อาจผิดปกติไป เพราะเมื่อเหตุการณ์ป่วยที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น แรบบิท แคร์ พร้อมช่วยดูแลทันทีด้วยประกันภัยสุนัขที่ให้ความคุ้มครองครบทั้งค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ สูงสุด 10,000 บาท/ครั้ง และค่ารักษาพยาบาลจากอาการเจ็บป่วย สูงสุด 5,000 บาท/ครั้ง รวมถึงค่าวัคซีนป้องกันโรค และค่าดูแลฝากเลี้ยง รับคำแนะนำฟรีจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมรับสิทธิพิเศษเมื่อซื้อประกันกับ แรบบิท แคร์ โทรเลย 1438 หรือ rabbitcare.com
ขอบคุณข้อมูลจาก
– ดร.สพ.ญ. รัถยาภรณ์ ง๊ะสมัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
– สพ.ญ.อาภาพร เพียรรุ่งโรจน์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สรุป
โรคเชื้อราในสุนัขซึ่งสามารถติดต่อจากสุนัขสู่สุนัข หรือจากสุนัขสู่คนได้ เชื้อราเหล่านี้จะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและชื้น โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสในสุนัขก็มีบ้าง ซึ่งสามารถติดต่อจากสุนัขสู่สุนัขได้ง่าย เชื้อไวรัสนี้จะแพร่กระจายผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย และละอองฝอยจากสุนัขที่ติดเชื้อ หากสุนัขของคุณมีอาการของโรคใดโรคหนึ่งข้างต้น ควรรีบพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้อง
Tawan มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 2 ปี เขียนด้านยานยนต์ ประกันยานยนต์ที่ Rabbit Care และ Asia Direct
มีใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตและนายหน้าประกันวินาศภัย มีความเชี่ยวชาญด้านประกันรถยนต์และประกันชีวิต