สีของตกขาว บ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง

ใบไม้ร่าเริง
ผู้เขียน: ใบไม้ร่าเริง Published: January 26, 2021
ใบไม้ร่าเริง
ใบไม้ร่าเริง
มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี
Thirakan T
แก้ไขโดย: Thirakan T Last edited: March 19, 2024
Thirakan T
Thirakan T
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology
ตกขาว

“ตกขาว” เชื่อว่าผู้หญิงทุกคนต้องรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะว่าเป็นของเหลวที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติมาก ๆ ถ้าตกขาวเป็นสีขาวหรือใสและไม่มีกลิ่นเหม็น แต่ถ้าตกขาวนั้นมีสีที่ผิดปกติไปจากที่ได้เคยเป็นมา และมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ด้วยแล้ว นั้นแสดงว่าร่างกายของคุณเริ่มที่จะผิดปกติ ฉะนั้นแล้วควรสังเกตตกขาวให้ดีว่า มีสีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เพราะมันจะบอกได้ว่าเรากำลังเสี่ยงเป็นโรคอะไรอยู่ได้บ้าง และวันนี้ Rabbit Care มีข้อมูลดี ๆ เพื่อให้สังเกตสีของตกขาวกัน

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ตกขาว

    เช็คตกขาว 6 สีบ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรคอะไรอยู่

    1.ตกขาวเป็นสีใส หรือเป็นเมือกใส 

    ถ้าตกขาวของคุณมีสีขาวหรือใสและไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่คัน ในช่วงที่ตกไข่ในช่วงที่เป็นประจำเดือน ซึ่งตกขาวจะมีปริมาณมากและมีลักษณะเหลวใส หรือมีอาการต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ปวดท้อง หรือปวดปัสสาวะบ่อยถือว่าเป็นอาการตกขาวที่ปกติและจะหายไปได้เอง เพราะถือว่าในช่วงนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิงตามรอบประจำเดือนนั่นเอง แต่ถ้าสังเกตให้ดีแม้ตกขาวจะเป็นสีขาวแต่ถ้าเป็นฟองไหลออกมา และมีอาการคันด้วยแล้ว อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือช่องคลอดของคุณอาจเกิดจากการอักเสบได้ 

    2.ตกขาวเป็นสีเทา

    ถ้าตกขาวกลายเป็นสีเทาและมีกลิ่นเหม็นร่วมด้วยเป็นสัญญาณว่า ช่องคลอดเกิดอาการอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย และถ้ามีกลิ่นเหม็นมากขึ้นหรือคล้ายกลิ่นคาวปลาเค็ม ที่เกิดจากหลังหมดประจำเดือน หรือจากการร่วมเพศ หรือเกิดจากการใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ซึ่งอาการดังกล่าวอาจทำให้ติดเชื้อได้ ฉะนั้นแล้วถ้าสังเกตร่างกายแล้วมีอาการดังกล่าวก็ควรที่จะรีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรที่จะปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจนำมายังโรคร้ายแรงได้ 

    ตกขาว

    3.ตกขาวเป็นสีเหลือง

    ถ้าตกขาวเป็นสีเหลือง มีกลิ่นผิดปกติ กลิ่นคาวและมีอาการคัน ปัสสาวะขัด อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อหนองใน ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียไนซีเรีย โกโนเรียอี ทำให้ตกขาวกลายเป็นหนองสีเหลืองหรือมีสีเขียวปน ทำให้มีปริมาณมาก และมีกลิ่นเหม็น ร่วมถึงอาการปวดแสบขณะปัสสาวะร่วมด้วย หรือติดเชื้อพยาธิในช่องคลอดได้ หรือปากมดลูกอักเสบ หรือช่องคลอดอักเสบ หรือเกิดจากโรคหนองใน หรือติดเชื้อรา หรือเชื้อไวรัส เป็นต้น 

    4.ตกขาวเป็นสีเขียว

    ถ้าตกขาวเป็นสีเขียวหรือเหลืองแต่ไม่มีอาการคัน และไม่มีกลิ่น ซึ่งอาจจะเป็นตกขาวที่ปกติก็ไม่จำเป็นที่เราจะต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาแต่อย่างใด แต่ถ้าตกขาวเป็นสีเขียวและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวและมีปริมาณมากจนผิดปกติ หรือมีฟอง รวมถึงอาการคัน แสบ แดง เจ็บตรงอวัยวะเพศ หรือปัสสาวะแสบขัด อาจเกิดจากการติดเชื้อพยาธิในช่องคลอดที่มักเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป 

    5.ตกขาวเป็นสีน้ำตาล หรือเป็นสีแดง

    ถ้าตกขาวเป็นสีน้ำตาลหรือแดง ให้ลองสังเกตตัวเองว่าเกิดขึ้นในช่วงใด ถ้าเกิดขึ้นในช่วงที่รอบเดือนจะใกล้หมดในวันท้าย ๆ อาจเกิดจากเลือดของประจำเดือน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากตกขาวมีสีน้ำตาลออกแดง ๆ หรือมีเลือดออกผิดปกติแล้วปนออกมากับตกขาวในช่วงที่ไม่ได้มีประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพนั่นเอง หรือมีเลือดออกกะปริดกะปรอย ร่วมกับอาการปวดท้องน้อย ซึ่งอาจเป็นการส่งสัญญาณของการติดเชื้อที่ปากมดลูก ที่อาจส่งผลต่อปัญหาด้านสุขภาพได้

    6.ตกขาวเป็นสีชมพู

    ถ้าตกขาวเป็นสีชมพู ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะมักจะเกิดกับคุณแม่หลังคลอด เกิดจากการลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก หรืออาจเกิดจากการที่เลือดไปล้างหน้าเด็กตอนคลอดซึ่งมักจะเป็นสีชมพูจาง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นอาการปกติ รวมถึงผู้หญิงที่กำลังส่งสัญญาณของการที่จะมีรอบเดือนก็อาจจะเลือดออกมาปนกับตกขาวทำให้เป็นสีชมพู ซึ่งอาการแบบนี้ก็เป็นปกติเช่นกัน แต่ถ้าเกิดจากการหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ทำให้มีตกขาวปนเลือดออกมาหรือกลายเป็นสีชมพู นั่นแสดงว่าไม่ปกติความรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป  

    ตกขาว

    เมื่อรู้ถึงปัญหาความผิดปกติของตกขาวกันแล้ว สาว ๆ ก็ลองสังเกตตัวเองดูในแต่ละวันนั้นมีอาการหรือตกขาวเป็นสีอย่างไรกันบ้าง เพื่อที่ว่าจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที เพราะการค้นพบในช่วงต้น ๆ หรือแรก ๆ อาจจะทำให้การรักษานั้นหายเร็วขึ้น แต่ถ้าปล่อยปละละเลยไปอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงได้ แต่อย่างไรก็ดี ถ้าคุณมีประกันสุขภาพ ไม่ว่าจะเจ็บป่วยด้วยอาการอะไรก็ตาม เราสามารถที่จะรักษาได้ทันที ทำให้คลายกังวลต่ออาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ 

    สนใจทำประกันสุขภาพได้ที่ Rabbit Care ช่องทางออนไลน์ที่ทำให้คุณได้ในสิ่งที่คุณต้องการได้อย่างครบครัน 


    บทความแนะนำอื่นๆ : สุขภาพ & การแพทย์

    ขอประวัติการรักษาย้อนหลังได้หรือไม่? คำแนะนำ/ขั้นตอน สุขภาพจิต ดูแลยังไงไม่ให้พัง ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ความเครียด ตัวการ 10 โรคร้ายที่อาจมาเยือนไม่รู้ตัว ระวัง! 6 โรคร้ายสัญญาณเตือนเมื่อมีเหงื่อออกมากผิดปกติ รู้ทัน! วัณโรค ตัวการร้ายบ่อนทำลายสุขภาพ ของคนทุกวัย วัคซีน HPV คืออะไร? ทำไมทุกคนไม่ควรพลาด(ฉีด)! รู้ก่อนใคร ปลอดภัยชัวร์! เช็คอาการเตือนโรค PCOS  ธาลัสซีเมีย โรคเลือดทางพันธุกรรม ภัยร้ายที่ควรระวัง อาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายหนักที่พบบ่อย เสี่ยงมาก! คนเมือง กับ โรคซึมเศร้า วิธีรักษาสุนัขป่วย! 3 อาการ หมาไอ หมาอ้วก หมาเป็นหวัด กัวซา หินถูผิว สำหรับแม่ท้อง และเบบี๋น้อย โรค RSV คืออะไร เชื้อที่เด็กติดได้เพราะถูกหอมแก้ม

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 44724

    แคร์สุขภาพ

    เรื่องอันตรายที่มักเกิดในหน้าฝน และคุณต้องระวัง!!

    หน้าฝน ฤดูกาลที่มีทั้งคนชอบ และไม่ชอบ แน่นอนว่าสำหรับคนที่ชอบหน้าฝนอาจจะด้วยเหตุผลเพราะหน้าฝนช่วยทำให้รู้สึกชุ่มชื่น ชุ่มฉ่ำ
    กองบรรณาธิการ
    26/03/2025
    Rabbit Care Blog Image 99716

    แคร์สุขภาพ

    Co-payments: Navigate Health Insurance & Thailand’s New Rules

    Navigating the world of health insurance can be complex, filled with terms and conditions that often leave individuals feeling confused. One such term is "co-payment," a crucial aspect of understanding your healthcare costs. This guide provides a detailed explanation of co-payments, exploring their role in health insurance, how they differ from other cost-sharing mechanisms, and their impact on your overall healthcare expenses. Moreover, we'll
    Nok Srihong
    28/02/2025