
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
วัณโรค เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่พบได้เยอะในคนไทย และถือว่าเป็น 1 ใน 10 สาเหตุการเสียชีวิตของคนทั่วโลก โดยกระทรวงสาธารณสุขจัดให้ประเทศไทยติด 1 ใน 14 ประเทศที่พบผู้เป็นวัณโรคสูง โดยมีผู้ติดเชื้อประมาณ 20 ล้านคน และพบผู้ป่วยวัณโรคที่มีอาการ สูงถึง 1.2 แสนคน/ปี
ซึ่งมีผู้ที่สามารถเข้าถึงระบบการรักษาได้เพียงแค่ร้อยละ 6 เท่านั้น อีกทั้งยังมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 12,000 ราย เพราะฉะนั้นวันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปรู้จักเจ้าวัณโรคให้มากขึ้น รวมถึงหาวิธีป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากวัณโรคกันด้วย
เพราะวัณโรคเป็น โรคร้ายแรงที่อันตราย และต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากทุก ๆ วันมีคนเป็นวัณโรคเพิ่มขึ้นทุกที ซึ่งก่อนอื่น เรามาดูถึงสาเหตุและอาการของวัณโรคเบื้องต้นกันก่อน
วัณโรค หรือ Tuberculosis มีสาเหตุการเกิดโรค จากเชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อโรคได้ทางอากาศ ไม่ว่าจะด้วยการ ไอ จาม การพูด รวมถึงการหายใจร่วมกัน แต่ทั้งหมดที่ว่ามานี้จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น หากคุณพักอาศัย เดินทาง หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีผู้ป่วยวัณโรคร่วมอยู่ด้วย
เมื่อพูดถึงอาการของวัณโรค จะแบ่งได้ 2 ระยะด้วยกัน คือ
1.ระยะแฝง เมื่อคุณได้รับเชื้อ จะไม่มีอาการใด ๆ เพราะเชื้อยังไม่ได้รับการกระตุ้น แต่อย่างไรก็ตาม เชื้อโรคก็ยังคงอยู่ในร่างกายเรา และสามารถนำไปสู่ระยะแสดงอาการได้ ดังนั้น ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง หากมีความผิดปกติต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา ป้องกันการแพร่เชื้อ และลดความเสี่ยงที่อาจจะนำไปสู่ระยะแสดงอาการต่อไป
ระยะแฝงที่โรคยังไม่แสดงอาการจึงมีความสำคัญและน่าเป็นห่วงกว่ามาก เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว หรือไม่ได้รับสัญญาณเตือนใดๆ จากร่างกายมาก่อน กว่าจะตรวจพบก็เข้าสู่ระยะแสดงอาการแล้ว
2.ระยะแสดงอาการ คือ ระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนเกิดอาการต่าง ๆ อาทิ ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก รู้สึกเจ็บเวลาหายใจหรือไอ อ่อนเพลีย มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกในเวลากลางคืน น้ำหนักลด และไม่อยากอาหาร มีอาการนอนไม่หลับ หายใจไม่สะดวก
สำหรับระยะแสดงอาการจะทำการรักษาได้ง่ายกว่า เพราะแพทย์จะให้การรักษาด้วยยา หรือวัคซีนไปตามอาการที่แสดงออก โดยผู้ป่วยแต่ละรายจะแสดงอาการไม่เหมือนกัน ทำให้ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีเดียวกันได้ จำเป็นที่ต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะ
มาเริ่มกันที่วัณโรคหลังโพรงจมูก ซึ่งเป็นกรณีศึกษาอยู่ในปัจจุบัน ถือเป็นวัณโรคนอกปอดที่พบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 และที่สำคัญ ผู้ป่วยถึง 1 ใน 3 มักจะไม่แสดงอาการป่วยใด ๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งประมาณร้อยละ 70 มีต่อมน้ำเหลืองโตที่คอ หรือมีก้อนเล็ก ๆ บริเวณหลังโพรงจมูก ด้วยสาเหตุที่พบผู้ป่วยจากวัณโรคชนิดนี้ค่อนข้างน้อย จึงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หรือไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที
มาต่อกันที่วัณโรคกระดูก เกิดจากการที่ได้รับเชื้อ จากนั้นก็ลุกลามแทรกซึมผ่านกระแสเลือด แล้วเข้าสู่กระดูก ส่งผลให้กระดูกเกิดการยุบตัว หลังโก่งงอ มีหนองหรือเศษกระดูก หมอนรองกระดูกเคลื่อน และยิ่งเชื้อโรคนี้เข้าสู่ไขสันหลัง จะส่งผลให้ผู้ป่วยกลายเป็นอัมพาตได้ ถือว่าเป็นวัณโรคที่มีระดับความรุนแรงสูง
วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง จะมีลักษณะแผลเป็นหนองที่บริเวณคอ อีกทั้งยังหายช้า แม้จะได้รับการรักษาแล้วก็ตาม ซึ่งระหว่างการรักษาก็มีโอกาสที่ต่อมน้ำเหลืองอื่น ๆ จะโตขึ้นมาได้อีก เมื่อรักษาหายแล้วก็อาจจะทิ้งร่องรอยแผลเป็นไว้กับผู้ป่วย สำหรับวัณโรคชนิดนี้ควรได้รับการรักษาเร่งด่วน เพราะต่อมน้ำเหลืองมีส่วนสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันจากเชื้อโรคต่างๆ
ลักษณะอาการของวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง คือ มีไข้ต่ำ น้ำหนักลง เบื่ออาหาร เริ่มมีอาการทางสมอง คือ ระดับความรู้สึกลดลง รวมถึงมีอาการคอแข็ง ซึ่งการค้นหาโรคนี้จะทำโดยการตรวจน้ำไขสันหลัง ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อต้องได้รับการรักษาหรือให้ยายาวนาน 9 – 12 เดือนเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นถ้ารู้สึกว่าร่างกายผิดปกติ หรือมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ช่องท้องเป็นอวัยวะที่เกิดวัณโรคได้ทุกส่วน ซึ่งตำแหน่งที่พบได้บ่อย คือ ลำไส้เล็กต่อลำไส้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดท้อง ท้องโต พบน้ำในช่องท้อง คลำพบก้อนในช่องท้อง ที่สำคัญต้องระวังอาการแตกของลำไส้ ที่สามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยจำนวนมากละเลยการพบแพทย์เพราะเข้าใจว่าเป็นโรคทางเดินอาหาร ทำให้รักษาไม่ทันท่วงที
นอกจากตัวอย่างวัณโรคที่เราได้บอกไว้ข้างต้น เชื้อโรควัณโรคยังแพ่กระจายไปยังส่วนอื่นๆได้อีก เช่น เยื่อหุ้มหัวใจ ทางเดินปัสสาวะ เยื่อหุ้มปอด เป็นต้น ซึ่งทุกตำแหน่งในร่างกายที่เชื้อโรคแพร่กระจายไป มีผลเสีย และเป็นอันตรายทั้งสิ้น
สำหรับการป้องกันวัณโรค เป็นเรื่องที่คุณต้องรู้ไว้ เพื่อที่จะระวังตัวได้ถูก และไม่เสี่ยงเป็นวัณโรค ซึ่งแนวทางที่เราจะแนะนำให้การป้องกันนี้ คือ
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี
บทความแคร์สุขภาพ
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?