
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
เคยสงสัยกันไหมว่าวัคซีน HPV คืออะไรกันแน่นะ? ช่วยได้เรื่องป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้จริงหรือเปล่า? แล้วเริ่มฉีดได้ที่อายุเท่าไหร่ จำเป็นไหมที่ต้องเป็นเพศหญิงแต่เพียงอย่างเดียว ราคาแพงมากไหม? วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ วัคซีน HPV กันให้มากยิ่งขึ้นกัน!
ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจก่อนว่า เชื้อไวรัส HPV (Human papilloma virus) คือ เชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคภัยหลากหลายโรค โดยที่รู้จักกันคือสายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกและทวารหนัก และ สายพันธุ์ 6 และ 11 ที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ และแน่นอนว่าในปัจจุบันยังไม่มียารักษา
HPV สาเหตุสำคัญของมะเร็งต่าง ๆ และสามารถเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง! แต่ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะเราสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน HPV เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ ซึ่งการฉีดวัคซีนครบถ้วน จะช่วยป้องกันมะเร็งที่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ได้มากถึง 70% เลยทีเดียว เบื้องต้น วัคซีน HPV มีอยู่ 3 ชนิด ดังนี้
สำหรับวัคซีน HPV สามารถฉีดได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 – 45 ปี ยกเว้นหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนที่ไม่ควรฉีด และจะมีประสิทธิภาพลดความเสี่ยง ช่วยป้องกันโรคได้ดีที่สุด หากฉีดวัคซีนก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก
สำหรับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน HPV มักไม่รุนแรง เป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วคร่าว และหายได้เอง โดยอาจมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น
อย่างที่ แรบบิท แคร์ ได้แนะนำข้างต้นแล้วว่า ไวรัส HPV เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ มากมาย และหนึ่งในนั้นคือ มะเร็งปากมดลูก โดยอาการมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้น จะมี ดังนี้
อาการเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งปากมดลูก หรือโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธ์ แรบบิท แคร์ ขอแนะนำว่า นี่คือสัญญาณเท่านั้น ยังคงต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป
ที่สนใจคือ มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคร้ายในผู้หญิงที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของไทย เป็นรองเพียงมะเร็งเต้านม มีอัตราเสียชีวิตสูงมากถึง 50%
นอกจากนี้ โรคมะเร็งปากมดลูกจะติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก ไม่ได้มาจากกรรมพันธุ์เหมือนโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้มักจะพบการติดเชื้อในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และหากผู้ชายได้รับเชื้อไวรัสดังกล่าวไป ก็อาจแพร่เชื้อไวรัสสู่ผู้อื่นได้เช่นกัน
ดังนั้น การจะป้องกันได้ นอกเหนือจากการซื้อประกันสุขภาพ หรือซื้อประกันโรคร้ายแรงเอาไว้แล้ว การป้องกันด้วยการฉีดวัคซีน HPV จึงเป็นแนวทางป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคอื่น ๆ เช่น มะเร็งปากช่องคลอด, มะเร็งทวารหนัก, หูดหงอนไก่, มะเร็งอวัยวะเพศ ได้อีกด้วย
วัคซีนมีตั้ง 3 ชนิด แล้วต้องเลือกฉีดอย่างไรบ้าง? แรบบิท แคร์ บอกเลยว่าไม่ยาก! เพราะโดยพื้นฐานแล้ว วัคซีนทุกชนิดนั้นจะแตกต่างกันไปตามราคาและความคุ้มครอง โดยคุณสามารถเลือกฉีดแบบ 2 สายพันธุ์ก่อนก็ได้หากมีงบที่จำกัด แต่ถ้าอยากให้ได้ความคุ้มครองโรคที่ครอบคลุม การฉีดแบบ 9 สายพันธุ์เลยก็นับว่าน่าสนใจ ซึ่งจะแลกกับราคาวัคซีนที่มีราคามากขึ้น เนื่องจากราคาวัคซีนนั่น เริ่มต้นที่หลักพันขึ้นไป และหากต้องการฉีดแบบครบทุกเข็ม บางแห่งมีราคามากถึงหลักหมื่น
โดยจากคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้ให้คำแนะนำว่า ควรฉีดก่อนการมีเพศสัมพันธ์ เป็นช่วงวัยที่ได้รับประโยชน์สูงสุดของการฉีดวัคซีน HPV สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ขวบขึ้นไป สำหรับการฉีดในเพศหญิงอายุตั้งแต่ 9-45 ปี ตรวจมะเร็งปากมดลูกแต่อย่างใด และในเพศชาย ก็สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่ อายุ 9-26 ปี
ทั้งนี้ควรรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการฉีดเสมอ เนื่องจากสภาพร่างกายของคนเรานั้นแตกต่างกันออกไป และสำหรับใครที่กังวลว่าต้องเว้นระยะเท่าไหร่ในการฉีด ในปัจจุบัน หลากหลายโรงพยาบาลได้จัดทำแพคเกจการฉีดวัคซีน HPV รวมถึงจัดเวลาการนัดหมายฉีดวัคซีน พร้อมแพทย์คอยให้คำแนะนำ ทำให้คุณหมดความกังวลต่อการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกได้มาก
ไม่อยากกังวลว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นอายุเท่าไร การฉีดวัคซีน HPV ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้ และสำหรับใครที่กังวลว่าราคาวัคซีนจะเป็นภาระด้านการเงินก็ไ่ต้องกังวลไป เนื่องจากทุกวันนี้หลายโรงพยาบาลเปิดโอกาสให้คุณสามารถใช้บัตรเครดิตในการรูดจ่ายได้
จะดีแค่ไหน ถ้าคุณมีบัตรเครดิตคู่ใจที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ สามารถผ่อนจ่ายได้ และถ้ายังไม่รู้ว่าจะเลือกบัตรเครดิตเจ้าไหนดี ปรึกษากับเรา แรบบิท แคร์ สิ เพราะนอกจากจะมีประกันสุขภาพไว้คอยคุ้มครองคุณแล้ว เรายังเข้าใจถึงภาระการเงินต่างๆ ที่คุณต้องแบกรับ ช่วยเลือกสรรผู้ช่วยด้านการเงินให้คุณได้
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
บทความแคร์สุขภาพ
เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ
โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?