6 ปัญหาที่ควรป้องกันก่อนลูกเกิดด้วย ‘การฝากครรภ์’

Thirakan T
ผู้เขียน: Thirakan T Published: กรกฎาคม 24, 2025
Thirakan T
Thirakan T
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology
6 ปัญหาที่ควรป้องกันก่อนลูกเกิดด้วย ‘การฝากครรภ์’

การตั้งครรภ์ได้เปิดโอกาสให้คุณแม่สร้างสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นไปพร้อมกับการเติบโตของลูก หลายคนรู้สึกเหมือนฝันไป แต่ฝันนั้นคงไม่ได้สมบูรณ์หากไม่มีคนตรวจดูและรู้ดูแลจากภายใน เพื่อให้คุณแม่และลูกในครรภ์แข็งแรงสมบูรณ์ การเข้าพบสูตินรีแพทย์อย่างสม่ำเสมอจึงเปรียบเสมือนการได้รับการคุ้มครองจนสามารถจบการเดินทางอันยาวนานนี้ได้อย่างสวยงาม

ตรวจสุขภาพตอนตั้งครรภ์

ตรวจสุขภาพคู่สมรสช่วยลดเสี่ยงก่อนมีบุตร

การตรวจสุขภาพคู่สมรสทำให้เรารู้ถึงโอกาสเสี่ยงไว้ล่วงหน้าก่อนวางแผนมีลูก สกัดกั้นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเตรียมรับแผนสำรองกรณีฉุกเฉิน โดยแพทย์จัดโปรแกรมตรวจที่เหมาะสมสำหรับเราและสามี

ความเป็นไปได้ที่อาจเกิดโรค

  • ภาวะต้านหมู่เลือด หากหมู่เลือดของคุณแม่เป็น Rh- แต่สามีเป็น Rh+ โอกาสที่ลูกในครรภ์มี Rh+ และเลือดของแม่ทำอันตรายต่อลูกได้
  • ภาวะความผิดปรกติจากพันธุกรรม เช่น ตาบอดสี ออทิสติก ธาลัสซิเมีย ดาวน์ซินโดรม 
  • ภาวะติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ทั้งจากภาวะติดเชื้อและการได้รับสารเคมีก่อนการตั้งครรภ์
  • โอกาสการมีลูกยาก ซึ่งเกิดได้จากทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย เช่น ปริมาณของอสุจิที่ไม่เพียงพอ การตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ เนื้องอกในโพรงมดลูก
การฝากครรภ์

ปัญหาที่ควรป้องกันก่อนลูกเกิดด้วย ‘การฝากครรภ์’

การฝากครรภ์เป็นสิ่งสำคัญที่ครอบครัวและแพทย์ได้ตกลงร่วมกัน เพื่อดูแลทารกในครรภ์ให้ก้าวพ้นทุกการเติบโตอย่างราบรื่น หลังจากนั้นกุมารแพทย์จะเป็นอีกคนที่ร่วมดูแลลูกของเราอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามก็มีภาวะบางอย่างที่ทั้งคุณพ่อ คุณแม่ หรือคนใกล้ชิดควรรู้ เพื่อร่วมเฝ้าระวังร่วมกัน

1. ครรภ์เป็นพิษ

ครรภ์เป็นพิษเกิดจากความดันโลหิตสูงและมีโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงต่อทั้งแม่และลูก หากไม่ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด การฝากครรภ์จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที

2. ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

คุณแม่บางท่านอาจมีน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการของทารกและเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในอนาคต การตรวจคัดกรองและควบคุมอาหารจะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้

3.  ภาวะตั้งครรภ์ผิดปกติ

เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือการแท้งบุตร การฝากครรภ์จะช่วยให้แพทย์ตรวจพบความผิดปกติเหล่านี้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม

4.  ลดโอกาสการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก

โรคบางชนิดอย่างโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือบางกรณีการติดเชื้อโควิด-19 สามารถถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูกได้ การฝากครรภ์จะช่วยให้คุณแม่ได้รับคำแนะนำในการป้องกัน รวมถึงการพิจารณาการรับวัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงแก่สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมลูกและตัวลูกเอง

5.  ภาวะทุพโภชนาการ 

การรับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน เสี่ยงต่อภาวะพิการแต่กำเนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘การขาดกรดโฟลิก’ ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างสมองและไขสันหลัง การรับประทานอาหารเสริมโฟลิกตามคำแนะนำของแพทย์เป็นสิ่งสำคัญ

6.  ป้องกันอุบัติเหตุระหว่างตั้งครรภ์

การฝากครรภ์ทำให้คุณแม่ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับข้อควรระวังและการดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์

เพราะสุขภาพของลูกเริ่มต้นได้ตั้งแต่คุณแม่ยังตั้งครรภ์ อย่ารอให้เกิดปัญหาแล้วค่อยแก้ไข เริ่มต้นจากการฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ พร้อมวางแผนเลือกประกันสุขภาพที่คุ้มครองครบทั้งแม่และประกันสุขภาพเด็กสำหรับลูก เพื่อความอุ่นใจในทุกก้าวของการเป็นพ่อแม่มือใหม่

.

แหล่งอ้างอิง

พญ.ธิตินันท์ ตัณสถิตย์. (2567). ‘ครรภ์เป็นพิษ’ เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนต่อตัวแม่และทารก. สืบค้นเมื่อ 21 

กรกฎาคม 2568, จาก https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/630 

พญ.นันท์นภัส ปโรสิยานนท์. (2567). ‘ฝากครรภ์’ เริ่มเมื่อไหร่ถึงพอเหมาะ รู้ก่อนเป็นคุณแม่ได้เปรียบกว่า. สืบค้น

เมื่อ 21 กรกฎาคม 2568, จาก https://www.ram2hospital.com/news_detail/2379 

พญ.นันท์นภัส ปโรสิยานนท์. (2567). รู้จัก IUI (Intrauterine Insemination) ทางเลือกเพิ่มโอกาสผู้มีบุตรยาก. 

สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2568, จาก https://www.ram2hospital.com/news_detail/2731 

พญ.วันวิสาข์ ไชยชนะ. (2568). ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน รู้ก่อนค่อยอุ่นใจ. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2568, จาก

https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/2639

พญ.วันวิสาข์ ไชยชนะ. (2568). วัคซีนโควิด-19 : การรับวัคซีนสำหรับสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2568, จาก https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1194

บทความแคร์สุขภาพ

Rabbit Care Blog Image 44724

แคร์สุขภาพ

เรื่องอันตรายที่มักเกิดในหน้าฝน และคุณต้องระวัง!!

หน้าฝน ฤดูกาลที่มีทั้งคนชอบ และไม่ชอบ แน่นอนว่าสำหรับคนที่ชอบหน้าฝนอาจจะด้วยเหตุผลเพราะหน้าฝนช่วยทำให้รู้สึกชุ่มชื่น ชุ่มฉ่ำ
กองบรรณาธิการ
26/03/2025
Rabbit Care Blog Image 99716

แคร์สุขภาพ

Co-payments: Navigate Health Insurance & Thailand’s New Rules

Navigating the world of health insurance can be complex, filled with terms and conditions that often leave individuals feeling confused. One such term is "co-payment," a crucial aspect of understanding your healthcare costs. This guide provides a detailed explanation of co-payments, exploring their role in health insurance, how they differ from other cost-sharing mechanisms, and their impact on your overall healthcare expenses. Moreover, we'll
Nok Srihong
28/02/2025