แคร์สุขภาพ

เช็กลิสต์ 10 พฤติกรรมที่คุณ(อาจ)พลาด ขณะเลือกซื้อประกันสุขภาพ

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
ตรวจทาน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
Published: September 13,2024
  
Reviewed: September 16, 2024
ซื้อประกันสุขภาพ

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า การเลือกประกันสุขภาพให้กับตัวเอง หรือบุคคลที่เรารักนั้นสำคัญมาก เพราะหลายครั้งที่ประกันสุขภาพช่วยแบ่งเบาภาระด้านการเงินเมื่อเกิดเจ็บป่วยที่ไม่คาดฝัน แต่การเลือกซื้อประกันสุขภาพที่ดี เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเรานั้นมักจะมีเงื่อนไข มีปัจจัย ให้เลือกมากมาย และด้วยรายละเอียดที่มากมาย หลายครั้งการเลือกซื้อประกันสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่ยาก และอาจพลาด ได้ประกันสุขภาพที่ไม่ครอบคลุมได้

แล้วแบบนี้มีอะไรที่คนส่วนใหญ่มองข้ามไปบ้างไหมนะ? วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาคุณไปเช็กลิสต์ดูกันสิว่ามีอะไรบ้างที่หลายคนมองข้ามในการซื้อประกันสุขภาพบ้างนะ?

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    เลือกซื้อประกันสุขภาพโดยข้อมูลยังไม่ครบถ้วน

    ข้อมูลในการซื้อประกันทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต ประกันรถยนต์ รวมไปถึงประกันสุขภาพ ข้อมูลต่าง ๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเราจำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลประกันสุขภาพที่ครบถ้วนในการประกอบการตัดสินใจก่อนการซื้อเสมอ โดยข้อมูลที่เราควรมีไว้เพื่อประกอบการตัดสินใจนั้น เบื้องต้นจะมีดังนี้

    • รายละเอียดความคุ้มครอง ว่าแต่ละแผนประกันนั้นคุ้มครองครอบคลุมอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น การรักษาตัวในโรงพยาบาล, การดูแลผู้ป่วยนอก และสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เช่น ค่าชดเชยเมื่อต้องหยุดงาน, ให้ความคุ้มครองโรคร้ายแรงอื่น ๆ เป็นต้น
    • เบี้ยประกัน ไม่เพียงแค่เบี้ยประกันที่เราต้องจ่ายรายปีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงค่าใช้จ่ายรวมอื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียม, ค่าเบิกเคลมสูงสุดในกรณ๊ที่ต้องใช้ประกัน นอกจากนี้อย่าลืมเปรียบเทียบประกันในแต่ละแผนด้วย
    • เช็กรีวิวจากลูกค้าที่ซื้อประกันฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเบิกเคลมและการบริการลูกค้า เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ ตัดสินใจ
    • เคลมยุ่งยากหรือไม่ เพราะบางแห่งอาจจะให้เบี้ยประกันและความคุ้มครองที่ดี แต่เบิกเคลมยาก ต้องสำรองจ่ายเองบ่อย ๆ อาจจะไม่ตอบโจทย์การหมุนเงินของเรา ก็อาจจะเลือกประกันสุขภาพเจ้าอื่นแทน

    เลือกแผนประกันที่มีความคุ้มครองไม่เพียงพอ

    ประกันสุขภาพแต่ละแบบแผนจะให้ความคุ้มครองไม่เหมือนกัน ดังนั้น การเลือกกรมธรรม์ที่ไม่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของเรา หรือให้ความคุ้มครองไม่เพียงพออาจทำให้เกิดภาระด้านการเงินในภายหลังได้ เช่น หากคุณเป็นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ การเลือกประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมเรื่องการคลอดบุตร

    หากกังวลในเรื่องของการเป็นโรคร้าย ให้เลือกประกันสุขภาพที่ครอบคลุมด้านโรคร้ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน รวมไปถึงการดูแลรักษาของแพทย์เฉพาะ หรือถ้าใครที่ใช้ชีวิตเป็นหลักอยู่ที่ต่างจังหวัด อาจจะต้องเลือกประกันสุขภาพให้ครอบคลุมถึงโรงพยาบาลในเครืออื่น ๆ 

    อย่าลืมว่าการรักษาในแต่ละปี มักจะมีราคาสูงเพิ่มขึ้นตามค่าเงินเฟ้อ การเลือกประกันสุขภาพที่ครอบคลุมตั้งแต่แรกจะช่วยลดความกังวลต่าง ๆ ในเรื่องค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ค่ารักษาพยาบาลสำหรับการพบแพทย์เฉพาะทาง และการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอาจมีราคาสูง

    เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการคุ้มครองที่ไม่เพียงพอ ควรเลือกแผนที่ให้การคุ้มครองที่ดีในขณะที่รักษาระดับเบี้ยประกันให้เหมาะสม การเลือกกรมธรรม์ที่สอดคล้องกับความต้องการและงบประมาณของคุณจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด 

    ปกปิดประวัติทางการแพทย์

    ตามเงื่อนไขของการซื้อประกันสุขภาพ ผู้ซื้อประกันจำเป็นจะต้องบอกประวัติทางการแพทยืแก่บริษัทฯเสมอ ทั้งนี้เพื่อใช้ในการประเมินค่าเบี้ยประกัน ประเมินถึงความเสี่ยงต่าง ๆ แต่ในบางครั้ง ผู้ทำประกันอาจมีการบอกประวัติทางการแพทย์ไม่หมด หรือมองว่าไม่จำเป็น แต่ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่  ก็อาจเสี่ยงที่ทางประกันฯบอกยกเลิกกการเคลม หรือมองว่าสัญญาเป็นโมฆะได้ ดังนั้น การเปิดเผยประวัติทางการแพทย์อย่างโปร่งใสในทุกครั้งที่ทำประกันฯ จะช่วยให้บริษัทประกันภัยจัดหาความคุ้มครองที่เหมาะสมและลดความเสี่ยงในการเคลมประกันได้

    ประวัติทางการแพทย์

    พึ่งพาประกันที่นายจ้างจัดหามาให้มากเกินไป

    ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าหลากหลายบริษัทฯที่ทำงานอาจจะให้สวัสดิการที่ดี นอกจากประกันสังคมฯที่เป็นประกันสิทธิ์พื้นฐานแล้ว อาจให้ประกันสุขภาพกลุ่มที่สามารถเบิกเคลมได้หลากหลายและครอบคลุม จนหลายคนอาจละเลยที่จะทำประกันสุขภาพกันได้

    แน่นอนว่าการได้ทำงานในบริษัทฯที่มอบสัวสดิการประกันให้ดีขนาดนี้ย่อมเป็นเรื่องที่ดี แต่การพึ่งพาประกันสุขภาพที่นายจ้างจัดหาให้เพียงอย่างเดียว ก็มีความเสี่ยงได้! แม้ว่าประกันประเภทนี้จะสะดวกสบาย เบิกเคลมได้ง่าย แต่มักจะครอบคลุมแค่การรักษาพื้นฐานหรืออาการเจ็บป่วยทั่วไปเท่านั้น เนื่องจากถูกออกแบบมาให้ดูแลในภาพรวมเท่านั้น ประกันสุขภาพกลุ่มจึงไม่ครอบคลุมไปถึงการเจ็บป่วยเฉพาะทาง เช่น โรคร้ายอย่าง โรคหัวใจ มะเร็งชนิดต่าง ๆ เป็นต้น 

    นอกจากนี้ หากมีเหตุจำเป็นทำให้คุณเปลี่ยนงาน คุณอาจสูญเสียความคุ้มครองประกันสุขภาพเหล่านี้ได้ง่าย ๆ ดังนั้น เราจึงขอแนะนำว่าให้ซื้อประกันสุขภาพที่เหมาะสม ครอบคลุม กับไลฟ์สไตล์ของคุณติดตัวไว้สักแบบแผนจะช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ลงได้ หรือบางคนอาจเลือกซื้อประกันสุขภาพที่เพิ่มความคุ้มครองในส่วนที่ทางประกันจากนายจ้างไม่มี ปรับให้เหมาะกับความต้องการด้านสุขภาพของคุณก็ได้เช่นกัน!

    มองข้ามรายละเอียดปลีกย่อยในกรมธรรม์

    เรียกได้ว่าเป็นจุดที่หลายคนมักจะมองข้าม และพลาดไป เนื่องจากบางบริษัทฯแม้จะมีการเขียนชี้แจ้ง แต่ด้วยเอกสารที่มีหลายหน้า มีการเขียนตัวเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ทำให้เราหลายคนอาาจมองข้ามไป ซึ่งบางครั้งอาจส่งผลเสียต่อเราเมื่อต้องยื่นเบิกเคลม ในกรณีแย่ที่สุดอาจไม่สามารถเบิกเคลมได้ ทั้ง ๆ ที่เราคิดว่าเบิกได้ ดังนั้น การพิจารณา และอ่านรายละเอียดปลีกย่อแยในกรมธรรม์ต่าง ๆ ให้ครบถ้วน จึงเป้นเรื่องที่จำเป็นมาก ๆ

    รายละเอียดปลีกย่อย มักรวมถึงข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เช่น ข้อจำกัดของกรมธรรม์, ระยะเวลารอคอย, ค่าใช้จ่ายร่วม และการยกเว้นความคุ้มครอง เป็นต้น 

    การเข้าใจรายละเอียดเหล่านี้จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด และทำให้คุณรับรู้ถึงความคุ้มครองอย่างเต็มที่ หากมีข้อสงสัย ควรตรวจสอบรายละเอียดปลีกย่อยอย่างถี่ถ้วน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ รวมไปถึงการสอบถามทางบริษัทฯเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน

    ประกันที่มีส่วนร่วมจ่าย

    เข้าใจผิดเกี่ยวกับเงื่อนไขประกันที่มีส่วนร่วมจ่าย

    การเข้าใจผิดเกี่ยวกับประกันที่มีส่วนร่วมจ่าย (Co-payment) นับได้ว่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ดังนั้น การเข้าใจเงื่อนไขการประกันที่มีส่วนร่วมจ่ายจะช่วยให้คุณจัดการค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้นและใช้ประโยชน์จากความคุ้มครองประกันสุขภาพได้อย่างเต็มที่ และเลือกกรมธรรม์ที่ดีที่สุดสำหรับความต้องการของคุณ

    ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ประกันที่มีส่วนร่วมจ่าย เป็นประกันสุขภาพที่มีการกำหนดสัดส่วนความรับผิดชอบการจ่ายค่ารักษาพยาบาลในแต่ละครั้งที่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์นั้น เช่น หากกรมธรรม์ของคุณมีเงื่อนไขการจ่ายร่วม 10% เมื่อเจ็บป่วย และค่ารักษาพยยาบาลของคุณต้องจ่าย 100,000 บาท คุณจะต้องจ่าย 10,000 บาท และประกันจะครอบคลุมส่วนที่เหลือ 90,000 บาท นั่นเอง

    โดยสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของการจ่ายร่วมจะแตกต่างกันไปตามกรมธรรม์ ดังนั้นเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นหมายความว่าคุณจะต้องจ่ายมากส่วนต่างมากขึ้นไปด้วย  ในทางกลับกัน เปอร์เซ็นต์ที่ต้องร่วมจ่ายต่ำ อาจหมายถึงเบี้ยประกันที่สูงขึ้น และเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ควรตรวจสอบรายละเอียดการจ่ายร่วมในกรมธรรม์อย่างรอบคอบ

    อย่าลืมว่า แม้เปอร์เซ็นต์ของการจ่ายร่วมอาจจะดูน้อย ไม่ได้จ่ายมากมายอะไร แต่หากถึงเวลาจะต้องจ่ายจริงก็อาจมีผลกระทบอย่างมากต่อเงินในกระเป๋า และในบางจังหวะ หากการเงินไม่เอื้อ อาจมีเงินก้อนไว้ไม่เพียงพอต่อการจ่ายได้นะ

    ซื้อแค่เพื่อลดหย่อนภาษี

    การซื้อประกันต่าง ๆ เพื่อเป็นการลดหย่อนภาษี จัดได้ว่าว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะได้ลดหย่อนภาษีรายปีแล้ว ยังได้รับความคุ้มครองอีกด้วย

    แต่การเลือกซื้อประกันสุขภาพโดยมุ่งเน้นเพียงแค่การลดหย่อนภาษีแต่เพียงอย่างเดียว ทำให้หลายคนอาจเลือกประกันสุขภาพเพียงผ่าน ๆ เน้นเลือกกรมธรรม์ที่ออกแบบมาลดหย่อนภาษี ทำให้มีเบี้ยประกันที่ต่ำ ขาดความคุ้มครองทางการแพทย์ที่จำเป็น หรือมีค่าหักลดหย่อน และค่าใช้จ่ายร่วมที่สูง ในคราวที่ต้องใช้งานจริง  นอกจากนี้ การลดหย่อนภาษีด้วยประกันสุขภาพเองก็มีข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละปีอีกด้วย 

    ดังนั้น แทนที่จะเน้นที่การลดหย่อนภาษี ควรให้ความสำคัญกับการค้นหาแผนประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับความต้องการทั้งด้านสุขภาพและเงินในกระเป๋าจะดีกว่า

    ประกันที่มีส่วนร่วมจ่าย

    อายุยังน้อย ยังไม่จำเป็นต้องซื้อ

    หลายคนติดภาพว่าประกันสุขภาพนั้นเหมาะกับกลุ่มวัยกลางคนมากกว่า เนื่องจากบางคนมองว่าตอนนี้ยังแข็งแรง การซื้อประกันสุขภาพอาจได้ไม่คุ้มเสีย บางปีก็จ่ายไปโดยเสียเปล่าโดยไม่มีการเบิกเคลม แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความเจ็บป่วยนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย และการเลือกวื้อประกันสุขภาพตั้งแต่อายุยังน้อยจะช่วยให้คุณประหยัดได้มากกว่า!

    เพราะเมื่อคุณซื้อประกันสุขภาพในตอนอายุที่มากขึ้น ความเสี่ยงต่าง ๆ ด้านสุขภาพย่อมมีมากตามไปด้วย ทำให้เบี้ยประกันสุขภาพจะมีราคาที่ค่อนข้างสูง และมีโอกาสสูงที่จะโดนปฎิเสธการรับทำประกัน เนื่องจากอายุ และอาจรวมไปถึงปัญหาสุขภาพที่มีอยู่

    กลับกัน หากคุณเลือกซื้อประกันตั้งแต่อายุน้อย คุณจะได้สิทธิ์จ่ายเบี้ยประกันน้อยกว่า ให้ความคุ้มครองแบบต่อเนื่อง นอกจากนี้ หลายกรมธรรม์ยังมีระยะเวลารอคอยสำหรับโรคที่เป็นมาก่อน ซึ่งอาจกินเวลา 2 – 4 ปี หากคุณซื้อประกันล่าช้า คุณอาจต้องเผชิญกับระยะเวลารอคอยเหล่านี้ในเวลาที่คุณต้องการความคุ้มครองมากที่สุดก็ได้!

    ดังนั้น การซื้อประกันในขณะที่คุณยังอายุน้อยและสุขภาพดีจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ และรับประกันว่าคุณจะได้รับความคุ้มครองเมื่อถึงคราวจำเป็นอย่างแน่นอน!

    ไม่คำนึงถึงการจำกัดความรับผิดในประกัน

    ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า การจำกัดความรับผิด คือ การจำกัดความรับผิดในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัย / ความรับผิดส่วนแรก

    ซึ่งการมองข้ามการจำกัดความรับผิดในกรมธรรม์ประกันสุขภาพ อาจนำไปสู่ค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดและความคุ้มครองที่ไม่เพียงพอ เช่น วงเงินที่สามารถเคลมได้สำหรับค่าห้อง ค่ารถพยาบาล หรือค่ารักษาโรคเฉพาะทาง และการเข้าใจข้อจำกัดเหล่านี้จะช่วยหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และทำให้มั่นใจว่าคุณได้รับความคุ้มครองที่เพียงพอ

    เช่น หากกรมธรรม์ของคุณจำกัดค่าห้องไว้ที่ 1% ของวงเงินความคุ้มครอง และคุณมีวงเงินความคุ้มครอง 500,000 บาท แสดงว่าคุณจะสามารถเคลมค่าห้องได้สูงสุด 5,000 บาท/วัน ในกรณีที่ต้องจ่ายค่าห้องพักที่มากกว่านั้น จะต้องออกส่วนต่างแทน 

    นอกจากนี้ กรมธรรม์มักจะมีข้อจำกัดในด้านการรักษาเฉพาะทาง ซึ่งอาจทำให้คุณต้องเสียค่าใช้จ่ายเองมากขึ้น และเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ในตอนที่เลือกแบบแผน เลือกกรมธรรม์ ควรตรวจสอบข้อจำกัดเหล่านี้อย่างละเอียดด้วย

    สัญญาเพิ่มเติมในประกันสุขภาพ

    ไม่เลือกทำสัญญาเพิ่มเติมในประกันสุขภาพ

    หลายคนมักจะมองว่าการซื้อส่วนคุ้มครองจากประกันเพิ่มเติม หรือ ทำสัญญาเพิ่มเติมนั้นไม่คุ้มค่า และเสียเงินมากกว่าเดิมโดยใช่เหตุ แต่ในทางกลับกัน หากคุณเลือกซื้อส่วนเสริมจะช่วยเติมเต็มและคุ้มครองจากความเสี่ยงทางสุขภาพที่เฉพาะเจาะจงได้เป็นอย่างดี เช่น  มะเร็ง หัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง หรือแม้แต่การซื้อประกันส่วนเสริมอย่างการรักษาทันตกรรมก็น่าสนใจไม่น้อย

    จริงอยู่ที่บางโรค ทางประกันสุขภาพจะยังคงให้ความดูแลคุ้มค่า แต่ยอดวงเงินที่เบิกได้อาจจะจำกัด การซื้อสัญญาเพิ่มเติมในประกันสุขภาพจะช่วยเพิ่มคุ้มครองให้ครอบคลุม และเพิ่มวงเงินการรักษาได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณกังวล มีแนวโน้มความเสี่ยงในโรคดั่งกล่าว หรือถ้าคุณต้องเดินทางบ่อย การเลือกส่วนเสริมความคุ้มครองการรักษาทั่วโลกอาจช่วยคุณรับมือกับค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ในต่างประเทศได้ดีมากขึ้น

    สำหรับการเลือกซื้อสัญญาเพิ่มเติมนั้น เบื้องต้นอาจพิจารณาจากความคุ้มครองเดิมจากประกันสุขภาพที่เลือกทำก่อนว่าขาดตกอะไรบ้าง เช่น หากคุณต้องการการรักษาทันตกรรมเพิ่มเติม ก็อาจเลือกซื้อสัญญาเพิ่มเติมที่เพิ่มความดูแลด้านทันตกรรม, บางคนอาจจะกังวลเพราะคนในบ้านมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง การเลือกซื้อสัญญาเพิ่มเติมที่ให้ความคุ้มครองโรคร้ายต่าง ๆ ก็นับว่าน่าสนใจ

    จากนั้นลองปรึกษาเจ้าหน้าที่ฯ หรือผู้เชี่ยวชาญในการเลือกซื้อสัญญาเพิ่มเติมว่าควรซื้อสัญญาฯแบบไหน เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมแล้ว!

    นี่ก็คือ 10 เช็กลิสต์ ที่หลายคนมักจะพลาดขณะที่ทำประกันสุขภาพ และนี่เป็นเพียงคำแนะนำจาก แรบบิท แคร์ บางส่วนเท่านั้น สำหรับใครที่มองหาประกันสุขภาพพร้อมผู้เชี่ยวชาญที่คอยให้คำปรึกษา รวมถึงช่วยเปรียบเทียบประกันสุขภาพต้องนี่เลย! ประกันสุขภาพ จาก แรบบิท แคร์ ไม่เพียงแต่ประกันสุขภาพเท่านั้น แต่ยังมีประกันอื่น ๆ อีกมากมายที่ช่วยให้คุณหมดกังวลได้ทั้งเรื่องสุขภาพ การเดินทาง หรือแม้แต่ด้านการเงิน คลิกเลย!


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024