แคร์สุขภาพ

ระวัง! 6 โรคร้ายสัญญาณเตือนเมื่อมีอาการ เหงื่อ ออกมาก

ผู้เขียน : ใบไม้ร่าเริง
ใบไม้ร่าเริง

มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี

close
แก้ไขโดย : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: November 7,2018
  
Last edited: June 18, 2024
เหงื่อ

เวลาที่เหงื่อไหลออกมามากๆ หลายคนอาจจะคิดว่า เกิดจากอากาศที่ร้อนจัด แต่ช้าก่อน! เมื่อมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น ให้พึงระวังไว้ด้วยว่า คุณอาจกำลังจะเป็นโรคร้ายอยู่ก็ได้ ดังนั้นควรสังเกตตัวเอง ถ้ามีอาการ เหงื่อ ไหลออกมามากๆ ต้องรีบไปพบแพทย์เป็นการด่วน เพราะเบื้องต้นแล้วอาจจะก่อให้เกิด 6 โรคร้ายตามมาก็เป็นได้

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    เหงื่อออกมากเกิดจากอะไร

    เหงื่อ ออกมากๆ เกิดจากอะไรได้บ้าง

    การที่เหงื่อไหลออกมามากๆ เกิดจาก 2 สาเหตุด้วยกัน อย่างแรกคือ การหลั่งเหงื่อมากเฉพาะจุด พบว่ามีความสัมพันธ์กับพันธุกรรม โดยพบว่ามีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะนี้สูงถึงประมาณ 30-65% และในกลุ่มคนที่มีความผิดปกติของยีนบางชนิดจะพบภาวะนี้ได้ประมาณ 25% แต่ในคนที่มียีนนั้นๆ ปกติ พบภาวะนี้ได้เพียงประมาณ 1%

    ขณะเดียวกันอาจจะเกิดจากการทำงานเพิ่มมากขึ้นของต่อมเหงื่อเฉพาะจุด จากการทำงานผิดปกติของประสาทอัตโนมัติ ที่ควบคุมต่อมเหงื่อที่จุดนั้นๆ ซึ่งประสาทอัตโนมัตินี้ ทำงานสัมพันธ์กับสมองส่วนลึกในสมองใหญ่ ที่เรียกว่า ไฮโปทาลามัส ซึ่งควบคุมการหลั่งฮอร์โมนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งเป็นสมองส่วนที่สัมพันธ์กับภาวะทางอารมณ์และจิตใจ

    ดังนั้นภาวะหลั่งเหงื่อมากจึงสัมพันธ์กับอารมณ์หรือจิตใจได้ นอกจากนี้การที่เหงื่อไหลออกมามากๆ อาจจะเป็นหนึ่งของสัญญาณโรคร้ายต่างๆ ตามมาได้

    เหงื่อ ออกมากๆ เป็นสัญญาณของโรคอะไรบ้าง

    ภาวะที่เหงื่อไหลออกมามากกว่าปกตินั้น อาจเป็นอาการบ่งบอกถึงโรคต่างๆ ได้ดังนี้

    1. โรคไทรอยด์เป็นพิษ

    โรคดังกล่าวทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญสูง สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย และหงุดหงิด ฉุนเฉียว เป็นต้น

    เหงื่อออกสาเหตุโรคไทรอยด์เป็นพิษ

    การป้องกันโรคไทรอยด์เป็นพิษ

    ไทรอยด์เป็นความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถป้องกันได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องคอยหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เคยป่วยด้วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ หากสิ้นสุดการรักษาแล้ว การติดตามผลในระยะยาวก็อาจเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อไม่ให้โรคไทรอยด์เป็นพิษกลับมาเป็นซ้ำอีก

    หากสูบบุหรี่ก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะการสูบบุหรี่จะทำให้ความเสี่ยงโรคไทรอยด์เป็นพิษเพิ่มมากขึ้น โดยในการติดตามผล แพทย์จะสั่งให้ตรวจเลือดเป็นระยะๆ เพื่อเฝ้าระวังอาการและเตรียมรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ


    2. วัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง

    ผู้หญิงวัยทองจะมีช่วงอายุระหว่าง 45-59 ปี และอายุที่มากขึ้นก็ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเพศลดน้อยลง จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยอาจจะมีความผิดปกติในหลายระบบของร่างกาย ทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไปและแบบเฉียบพลัน ทั้งนี้อาการวัยทองในแต่ละบุคคลจะมีความรุนแรงต่างกัน เช่น อาจจะมีอารมณ์หงุดหงิด นอนหลับยาก นอนไม่ค่อยหลับ มีอาการร้อนวูบวาบ หรือเหงื่อออกมากในตอนกลางคืน

    เหงื่อออกสาเหตุโรควัยทอง

    การป้องกันโรควัยทอง

    แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยว่า อาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นจากการหมดประจำเดือนจริงๆ ไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่น ซึ่งหากอาการที่เกิดขึ้นเป็นจากการหมดประจำเดือนจริง แต่ไม่ได้รบกวนชีวิตประจำวัน กรณีนี้ แพทย์ก็จะไม่ได้ทำการรักษา แต่จะให้เพียงคำแนะนำในการปฏิบัติตัวเท่านั้น อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะเป็นอยู่นานประมาณ 2-5 ปี มีเพียงประมาณ 5-15% ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเท่านั้นที่จะมีอาการดังกล่าวไปตลอดชีวิต

    ส่วนกรณีที่มีอาการมากจนรบกวนการใช้ชีวิต แพทย์จะทำการรักษาโดยอาจให้ฮอร์โมนทดแทน หรือหากท่านมีข้อห้ามในการใช้ฮอร์โมน แพทย์ก็จะเลือกใช้ยาตัวอื่นที่สามารถรักษาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นแทน


    3. โรคเบาหวาน

    อาการเหงื่อออกมากผิดปกติเป็นอาการข้างเคียงของโรคเบาหวาน โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายมาก เพราะผู้ป่วยอาจเป็นลมหรือหมดสติได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานควรพกของหวานติดตัวไว้ในยามที่ร่างกายส่งสัญญาณว่าระดับน้ำตาลในเลือดกำลังลดต่ำลงอย่างนี้ด้วย

    เหงื่อออกสาเหตุโรคเบาหวาน

    การป้องกันโรคเบาหวาน

    โรคเบาหวานในแต่ละชนิดสามารถป้องกันได้แตกต่างกัน ซึ่งโรคเบาหวานประเภทที่ 1 แทบไม่สามารถป้องกันการเกิดของโรคได้ เพราะสาเหตุมาจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ หรือเกิดจากกรรมพันธุ์ ในขณะที่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหาร การควบคุมน้ำหนักให้คง และการออกกำลังสม่ำเสมอ


    4. โรคอ้วน

    เมื่อน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน ชั้นไขมันใต้ผิวหนังจะหนาตัวขึ้น ทำให้ร่างกายระบายความร้อนได้ไม่ดี จำเป็นต้องระบายความร้อนภายในร่างกายออกมา ในรูปแบบเหงื่อมากกว่าคนน้ำหนักปกติ ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่าคนอ้วนมักจะมีอาการเหงื่อออกเยอะมากผิดปกติด้วย

    เหงื่อออกสาเหตุโรคเบาอ้วน

    การป้องกันโรคอ้วน

    ควรหลีกเลี่ยงและลดการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีไขมันสูงและมีน้ำตาล อย่างอาหารทอด เนื้อสัตว์ติดมัน ขนมหวาน ลูกอม น้ำหวาน น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ เพราะอาหารบางชนิด แม้จะรับประทานในปริมาณน้อย แต่มีปริมาณแคลอรี่และน้ำตาลสูง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนัก หรือปริมาณมากอย่างอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ด้วย


    5. โรคภาวะหัวใจล้มเหลว

    มีอาการเหงื่อออกมากผิดปกติ ร่วมกับอาการปวดแน่นที่หน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน เป็นลม ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดเลยค่ะ เพราะนี่เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งของภาวะหัวใจล้มเหลว ที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งถือว่าอันตรายมากเลยทีเดียว

    เหงื่อออกสาเหตุโรคภาวะหัวใจล้มเหลว

    การป้องกันโรคหัวใจล้มเหลว

    การป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวโดยเฉพาะการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจ) เช่น การไม่สูบบุหรี่ การลดระดับไขมันในเลือดหากมีไขมันในเลือดสูง และการป้องกันการเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น


    6. โรคพาร์กินสัน

    เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมการทำงานของระบบประสาทได้ ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจึงมีอาการเหงื่อออกเยอะผิดปกติ ร่วมกับอาการมือสั่นได้ด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องไม่มีอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ร่วมด้วย

    เหงื่อออกสาเหตุโรคพาร์กินสัน

    การป้องกันโรคพาร์กินสัน

    สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรคพาร์กินสันยังไม่ทราบชัดเจน ดังนั้นการป้องกันเต็มร้อยจึงเป็นไปไม่ได้ แต่บางการศึกษาพบว่า การกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยงดอาหารกลุ่มไขมันและเนื้อแดง (เนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) งดอาหารในกลุ่มผลิตภัณฑ์จากนม กินผัก ผลไม้เพิ่มขึ้นให้มากๆ เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง อาจช่วยลดโอกาสเกิดอาการ หรือ ลดความรุนแรงของโรคนี้ลงได้บ้าง


    ต่อจากนี้ไปต้องสังเกตตัวเองกันแล้วนะคะ ถ้ามีอาการเหงื่อมากผิดปกติก็ไม่ควรมองข้าม เพราะนี่อาจเป็นการอาการผิดปกติที่จะมีโรคร้ายตามมา ดังนั้นถ้ามีอาการดังกล่าวต้องรีบไปรักษาให้แพทย์วินิจฉัยดู ว่าเรากำลังเป็นโรคร้ายอยู่หรือไม่ จะได้รักษาอย่างทันท่วงที

     


    สรุป

    สรุปบทความ

    เหงื่อออกมาก ๆ สามารถมีหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม, โรคไทรอยด์เป็นพิษ, วัยหมดประจำเดือน, เบาหวาน, อ้วน, และพาร์กินสัน

    • การป้องกันโรคไทรอยด์เป็นพิษควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่เสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ และควรตรวจสอบผลเลือดเป็นระยะ
    • วัยหมดประจำเดือนอาจส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเพศลด แต่หากมีอาการผิดปกติควรพบแพทย์
    • โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคหัวใจล้มเหลวเป็นต้นเป็นสาเหตุที่เหงื่อออกมากขึ้น
    • โรคพาร์กินสันทำให้เหงื่อออกมาก แต่ต้องถูกจับต้องร่วมกับอาการอื่น ๆ
    จบสรุปบทความ
     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024