รู้ก่อนใคร ปลอดภัยชัวร์! เช็คอาการเตือนโรค PCOS
โรคสตรี เป็นโรคที่สาว ๆ มักจะเผชิญและพยายามหาวิธีเพื่อจะหลีกเลี่ยงมัน เช่น โรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ โรคซีสต์ในมดลูก และอื่น ๆ บางโรคมาพร้อมกับอาการเตือนที่ทำให้คุณรู้ตัวแบบเนิ่นๆ แต่บางโรครู้ตัวอีกทีอาจสายเกินไปที่จะรักษา เช่น มะเร็งรังไข่ ดังนั้นหากคุณมีอาการหรือความผิดปกติใด ๆ ในร่างกาย อย่านิ่งนอนใจเด็ดขาด น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาทันที
PCOS เป็นหนึ่งในโรคที่ทำให้ผู้หญิงหลาย ๆ คนกังวลใจไม่น้อย ว่าตัวเองเป็นหรือเปล่า อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ดังนั้นน้องแคร์มีคำตอบมาให้คุณ ไปดูกันเลย!
โรค PCOS คืออะไร?
PCOS เป็นอีกหนึ่งโรคสตรีโดยมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Polycystic ovary syndrome หรือที่หลายๆคนรู้จักกันในชื่อ “ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ” ซึ่งพบได้ค่อนข้างบ่อยในผู้หญิงตั้งแต่วัยเจริญพันธุ์ จนถึงอายุ 40 ปีขึ้นไปหรือคนที่มีน้ำหนักตัวเยอะ เมื่อการทำงานของรังไข่ผิดปกติจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อร่างกาย เช่น ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป หรือมีภาวะด้านนอกร่างกายที่ผิดแปลกไปจากเดิม
สาเหตุของโรค PCOS
สาเหตุของ โรค PCOS เกิดขึ้นได้จาก 3 สาเหตุ ดังนี้
- เกิดจากพันธุกรรม (Heredity) : โรค PCOS อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม เช่น หากคุณแม่เป็นลูกที่เกิดมาอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ในอนาคตได้ ดังนั้น น้องแคร์ขอแนะนำคุณแม่ทุกคนตรวจรักษาตัวเองก่อนล่วงหน้าว่าตนเองมีภาวะของโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบหรือไม่
- ฮอร์โมนแอนโดรเจนสูง (Hyperandrogenemia) : ฮอร์โมนแอนโดรเจน สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า ฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งหากฮอร์โมนชนิดนี้สูงในผู้หญิง จะทำให้เกิดผลกระทบมากมายตามมา เช่น มีขนขึ้นเป็นจำนวนมากบนร่างกาย เช่น ขนหน้าอก ขนแขน ขนขา ขนรักแร้ หรือขนที่อวัยวะเพศ บางรายอาจผิวมันง่าย หรือสิวขึ้นเยอะ มากไปกว่านั้นอาจมีรูปร่างหรือกล้ามเนื้อคล้ายกับผู้ชาย ดังนั้นน้องแคร์ขอแนะนำให้คุณหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกายตนเอง และรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาโรคต่อไป
- เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance) : ภาวะดื้ออินซูลินเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรค PCOS หากคุณมีภาวะนี้จะทำให้คุณมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นและเสี่ยงเป็นโรคอ้วนในอนาคตได้ ภาวะดื้ออินซูลินจะมีอาการคล้ายกับโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งจะส่งผลให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนออกมามากจนเกินไปและอาจส่งผลให้ประจำเดือนขาดหรือรอบประจำเดือนมาผิดปกติ
** แหล่งข้อมูลเรื่องสาเหตุของโรค PCOS จากโรงพยาบาลบํารุงราษฎร์
สัญญาณเตือนของโรค PCOS
วันนี้น้องแคร์จะมาบอกเคล็ดลับการเช็คตัวเองง่าย ๆ เกี่ยวกับโรค PCOS หากพบอาการเหล่านี้อย่าปล่อยไว้เด็ดขาด ควรรีบมาพบแพทย์โดยทันที ดังนี้
มีความผิดปกติส่วนศีรษะ
- เกิดรังแค (Dandruff) : PCOS สามารถเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดรังแคได้โดยรังแคประเภทนี้เรียกว่า seborrheic dermatitis ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน ดังนั้น หากคุณสังเกตเห็นรังแคบนหนังศีรษะ ไม่เพียงแต่พบหมอผิวหนังแต่น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณพบหมอทางด้านสูตินรีด้วย
- หัวล้าน (male pattern baldness) : อาการผมร่วงแบบผู้ชายมักพบในผู้หญิงที่เป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS เนื่องจากเป็นผลของฮอร์โมนเพศชายที่สูงขึ้น (แอนโดรเจน) เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหลาย ๆ คนเกิดความเครียดและวิตกกังวลได้
- มีอาการซึมเศร้า (Depression) : อาการของโรค PCOS ทำให้เกิดความเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการทางร่างกาย เช่น ขนบนใบหน้าและร่างกายมากเกินไป ซึ่งความเครียดนี้สามารถนำไปสู่ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า
มีความผิดปกติที่ใบหน้า
- มีขนขึ้นที่ใบหน้าเป็นจำนวนมาก (Excessive hair growth) : ภาวะขนดกอาจเกิดจากกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) โดยภาวะนี้เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ ดังนั้น หากคุณมีขนขึ้นมากเกินไป อย่าลังเลที่จะไปพบแพทย์
- ขนดก (Coarse hair growth) : ขนดกตามร่างกายและใบหน้าเป็นหนึ่งสาเหตุของโรค PCOS ขนดกสามารถเห็นได้ว่าเป็นขนหยาบสีเข้มซึ่งอาจปรากฏบนใบหน้า หน้าอก หน้าท้อง หลัง ต้นแขน หรือขาท่อนบน ขนดกเป็นอาการของความผิดปกติทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่เรียกว่าแอนโดรเจน
มีความผิดปกติด้านผิวหนัง
- มีจุดด่างดำขึ้น (Dark Patches) : การพบรอยด่างดำ อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนโรค PCOS ซึ่งอาจพบรอยที่ไม่สม่ำเสมอในบางพื้นที่บนผิวหนังของคุณได้ โดยมักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีผิวหนังพับและมักพบที่หลังคอ ใต้วงแขน และขาหนีบ หากคุณมีอาการนี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาโรค
- มีสิวขึ้น (Cystic acne) : PCOS เป็นความผิดปกติของฮอร์โมนที่สามารถสร้าง androgen ในร่างกายมากเกินไปส่งผลให้เพิ่มการอักเสบในผิวหนังและนำไปสู่การเป็นสิวเรื้อรัง
มีความผิดปกติด้านช่องท้อง
- น้ำหนักเกิน (Weight Gain) : PCOS ทำให้ร่างกายใช้ฮอร์โมนอินซูลินได้ยากขึ้น ซึ่งปกติจะช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและแป้งจากอาหารให้เป็นพลังงาน ภาวะนี้เรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน อาจทำให้อินซูลินและน้ำตาลกลูโคสสะสมในกระแสเลือดได้ จึงส่งผลให้น้ำหนักตัวของคุณเกินเกณฑ์มาตรฐานได้
มีความผิดปกติด้านอุ้งเชิงกราน
- ประจำเดือนมาผิดปกติ (Irregular Menses) : สาว ๆ บางคนอาจคิดว่าเกิดจากฮอร์โมนหรือความเครียดที่ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ อย่านิ่งนอนใจเด็ดขาด เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค PCOS ดังนั้นในแต่ละเดือนน้องแคร์ขอแนะนำให้ผู้หญิงทุกคนจดบันทึกการมาของรอบเดือน เช่น มากี่วัน ขาดไปกี่วัน เว้นนานเท่าไหร่
- เกิดภาวะมีบุตรยาก (Infertility) : ไข่ไม่ตก เนื่องจากเกิดจากการที่รังไข่ทำงานผิดปกติและความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ จึงทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก หากคุณต้องการมีบุตร น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
PCOS เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง
1. โรคอ้วน
โรคอ้วนหรือการที่คุณน้ำหนักขึ้นมากจนเกินไปในระยะเวลาอันสั้น เป็นผลจากการที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งภัยเงียบของโรค PCOS ดังนั้น ไม่เพียงแต่ควบคุมอาหารหรือโภชนาการ แต่น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณพบแพทย์ด้วยเพื่อหาสาเหตุและความผิดปกติต่อไป
2. โรคโลหิตจาง
การที่ประจำเดือนมาไม่ปกติสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ มาน้อยเกินไป หรือมามากเกินไป ดังนั้นมีหลายกรณีมากที่ประจำเดือนมาเยอะจนผิดปกติ อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคตกเลือดได้ ซึ่งประจำเดือนที่ปกติควรอยู่ที่ 30 – 50 มิลลิลิตรต่อรอบเดือน
3. โรคเบาหวาน
คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้เนื่องจากการที่อินซูลินทำงานไม่ปกติ มากไปกว่านั้นคุณอาจยังเสี่ยงเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากเบาหวานได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคทางสมอง ไต และหัวใจ เป็นต้น
4. โรคมะเร็งมดลูก
หากคุณเป็นโรค PCOS คุณจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านมเนื่องจากเยื่อบุมดลูกและเต้านมถูกกระตุ้นด้วยเอสโตรเจนจำนวนมาก
การรักษาโรค PCOS
การรักษาโรค PCOS สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการมีบุตร และไม่ต้องการมีบุตร ดังนี้ :
1. ผู้ป่วยที่ต้องการมีบุตร
แพทย์จะทำการรักษาโดยใช้ยา Clomiphene citrate (CC) ขนาด 5 มิลลิกรัม โดยราคาของยาชนิดนี้ไม่แพงและให้ผลการรักษาที่ค่อนข้างดี โดยผู้ป่วยต้องรับประทานยาติดต่อกัน 5 วัน เพื่อทำให้ไข่ตก มากไปกว่านั้นหมออาจใช้ยาตัวอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น ยาต้านเบาหวาน Metformin เพื่อเพิ่มอัตราการตกไข่และเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามหากคุณเป็นโรค PCOS แบบรุนแรง แพทย์อาจใช้วิธีการผ่าตัดโดยการส่องกล้อง และทำการจี้ไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นการตกไข่ซึ่งอาจทำให้ตั้งครรภ์ได้ในเวลาต่อมา
2. ผู้ป่วยที่ไม่ต้องการมีบุตร
อาการโดยทั่วไปของ PCOS คือการที่รอบเดือนที่ผิดปกติ ดังนั้นแพทย์จะให้คุมกำเนิด เพื่อควบคุมการมาของประจำเดือนและป้องกันภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญมากจนผิดปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย อย่างไรก็ตามหากประจำเดือนขาด แพทย์จะให้ยาฮอร์โมนโปรเจสตินแทน
การตรวจโรค PCOS
โดยส่วนมากแล้วการตรวจโรค PCOS แพทย์จะทำการตรวจโดยใช้วิธีการตรวจภายในควบคู่ไปกับวิธีอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดหรือหน้าท้อง เพื่อดูความผิดปกติของรังไข่ มดลูก และท่อนำไข่
ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวไกลและทันสมัย คุณสามารถตรวจโรคได้ด้วยตนเองง่าย ๆ ที่บ้านไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลโดยใช้ที่ตรวจของ Yesmom Fertility คุณสามารถซื้อชุดตรวจผ่านทางเว็บไซต์ของแบรนด์ได้โดยตรง ราคาชุดตรวจอยู่ที่ชุดละ 2,495 บาท วิธีการใช้ชุดตรวจมีอธิบายอย่างละเอียด
ชุดตรวจประกอบไปด้วย
- บัตรข้อมูลประจำตัว 1 ใบ
- ฉลากป้ายชื่อ 1 ชิ้น
- ห่อแท่งเก็บเลือดพร้อมซองกันชื้น 1 ชุด
- กล่องแท่งเก็บเลือด 1 กล่อง
- เข็มเจาะเลือดชนิดปลอดภัย 3 ชิ้น
- แผ่นแอลกอฮอล์ 3 ชิ้น
- ผ้าก๊อซ 1 ห่อ
- พลาสเตอร์ปิดแผล 3 ชิ้น
- ซองจดหมายพร้อมฉลากส่งกลับ 1 ชุดpcos
PCOS รักษาหายขาดหรือไม่?
ปัจจุบันโรค PCOS ยังไม่มีกรณีศึกษาว่ารักษาหาย แต่คุณสามารถป้องกันและบรรเทาได้ เมื่ออายุมากขึ้น ฮอร์โมนจากรังไข่จะลดลง ส่งผลให้โรค PCOS จะค่อยๆดีขึ้น
การป้องกันโรค PCOS
1. ควบคุมโภชนาการ
น้ำหนักเกินเป็นหนึ่งในอาการของโรค PCOS ดังนั้นการลดน้ำหนักและควบคุมอาหารในแต่ละวันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เช่น การลดคาร์โบไฮเดรต ลดไขมัน และเพิ่มโปรตีน แต่อย่างไรก็ตามน้องแคร์ขอแนะนำให้คุณรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในแต่ละมื้อ เพียงแต่จำกัดปริมาณของอาหาร
2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ในแต่ละวันคุณควรนอนให้ได้ประมาณ 6-8 ชั่วโมงเพื่อป้องกันการง่วงนอนในระหว่างวัน การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอจะทำให้ฮอร์โมนและอารมณ์ของคุณผิดปกติมากยิ่งขึ้นไปอีก
3. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นมากนอกจากจะทำให้คุณแข็งแรงและยังช่วยลดน้ำหนักแล้ว ยังช่วยปรับสารเคมีในสมองให้ดียิ่งขึ้น ทำให้จิตใจแจ่มใส ไม่เครียด น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณออกกำลังกายวันละ 30 นาที อย่างน้อย 3 ครั้งต่ออาทิตย์
โรคภัยไข้เจ็บสามารถเกิดขึ้นกับคุณหรือคนที่คุณรักได้ทุกเมื่อ อย่าลังเลที่จะซื้อประกันสุขภาพกับ แรบบิท แคร์ ติดตัวไว้สักฉบับ เพราะหากคุณไปรับการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยวิธีอัลตราซาวนด์หรือรุนแรงมากจนถึงขั้นต้องผ่าตัด ก็หมดกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล มาพร้อมกับบริษัทประกันชั้นนำของประเทศและแผนประกันที่มีความหลากหลาย ซื้อเลย!
เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ