แคร์สุขภาพ

ตอบทุกข้อสงสัย! กล้ามเนื้ออักเสบคืออะไร? เบิกประกันอุบัติเหตุได้ไหม?

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: May 23,2023
  
Last edited: August 4, 2024
กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้ออักเสบ ถือเป็นอีกหนึ่งอาการที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานร่างกายในการเคลื่อนไหว บทความนี้น้องแคร์จะพาคุณไปรู้จักอาการกล้ามเนื้อสักเสบให้ดียิ่งขึ้น ว่าคืออะไร เกิดจากสาเหตุใดและมีวิธีในการรักษาอย่างไร?

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    โรคกล้ามเนื้ออักเสบ คืออะไร?

    โรคกล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) คือ การอักเสบที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อลายหลายมัด โดยอาจเกิดจากอาการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ทั้งหมด เมื่อเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะหากมีโรคประจำตัวหรือโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อร่างกาย เช่น โรค SLE โรครูมาตอยด์ เป็นต้น สามารถส่งผลให้ดกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบได้ทั้งสิ้น โดยลักษณะการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มอาการ ดังนี้

    • อาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial  pain syndrome : MPS) คือ การปวดกล้ามเนื้อแบบเรื้อรัง เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อในร่างกายอักเสบและเกิดอาการปวด อาการปวดมักเกิดที่จุดกดเจ็บ (จุด Trigger points) และอาการปวดจะแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของกล้ามเนื้อ บางครั้งผู้ที่มีกล้มเนื้ออักเสบแบบเรื้อรังจะมีอาการปวดที่รุนแรงและไม่ดีขึ้น มักจะเกี่ยวข้องกับอาการปวดอื่น ๆ เช่น ไมเกรน ปวดต้นคอ ปวดเอว หรือปวดแขนขา ในปัจจุบันมีจำนวนประชากรที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคปวดเรื้อรังมากกว่า 30% โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงานที่ต้องนั่งทำงานและใช้คอมพิวเตอร์ประจำเป็นเวลานาน ๆ
    • อาการกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว (Myositis) คือ อาการกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัวเป็นภาวะที่กล้ามเนื้อต่าง ๆ  ในร่างกายมีการอักเสบทั่วร่างกาย หากมีอาการรุนแรง อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงถึงขั้นที่ไม่สามารถลุกจากเตียงหรือเดินได้ อาจมีการอักเสบในกล้ามเนื้อหัวใจ หรือกล้ามเนื้อที่ใช้ในกระบวนการหายใจทำให้เกิดภาวะล้มเหลวของระบบหายใจได้

    สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ เกิดจากอะไร?

    สาเหตุส่วนใหญ่ของกล้ามเนื้ออักเสบมักเกิดจากการบาดเจ็บ เคลื่อนไหวเกินไป การใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป อาการบาดเจ็บจากการออกกําลังกาย หรือการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส อาการที่พบบ่อยสำหรับกล้ามเนื้ออักเสบได้แก่ อาการปวด เรื้อรัง บวม แดง หรือความรู้สึกผิดปกติในส่วนที่เป็นอักเสบ 

    • การบาดเจ็บ : บาดเจ็บตรงในกล้ามเนื้อสามารถทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบได้ เช่น การกระแทกหรืออาการเจ็บกล้ามเนื้อจากการได้รับกระแทกหรือการบีบตัวอย่างแรง อาจเป็นผลมาจากการกีดขวางการไหลเวียนของเลือดหรือการทำลายเซลล์กล้ามเนื้อ
    • การใช้งานเกินความจำเป็น : การใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไปหรือโดยไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ เช่น การฝึกกล้ามเนื้อโดยไม่มีการพักผ่อนเพียงพอ การทำงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อซ้ำซ้อนหรือเคลื่อนไหวตลอดเวลา
    • การติดเชื้อ : การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสในกล้ามเนื้ออาจเป็นสาเหตุของการเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ตัวอย่างเช่น การติดเชื้อโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือการติดเชื้อแบคทีเรียในกล้ามเนื้อ
    • ภาวะทางภูมิคุ้มกันที่ลดลง : ภาวะทางภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอหรือลดลงอาจทำให้เกิดการอักเสบในกล้ามเนื้อได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคไต หรือภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดลงส่วนใหญ่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถป้องกันการรุกรานของเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่สามารถเข้าทำลายกล้ามเนื้อได้ จึงเป็นเหตุให้เกิดการอักเสบในกล้ามเนื้อได้ง่ายขึ้น
    กล้ามเนื้ออักเสบ บาดเจ็บ

    กล้ามเนื้ออักเสบ วิธีรักษาเบื้องต้นทำอย่างไร?

    การรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อเบื้องต้นที่เกิดจากกิจกรรมประจำวันสามารถทำเองที่บ้านได้ โดยมีวิธีการรักษาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ดังนี้

    1. พักผ่อน : เมื่อเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบควรให้ร่างกายได้พักผ่อนและยุติการทำกิจกรรมที่ต้องใช้งานบริเวณที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ จนกว่าอาการจะดีขึ้น
    2. ประคบร้อนหรือเย็น : ใช้การประคบร้อนหรือประคบเย็นบริเวณที่ปวดกล้ามเนื้อ โดยใช้ผ้าห่อน้ำแข็งหรือผ้าร้อนเพื่อบรรเทาอาการกล้ามเนื้ออักเสบ การประคบร้อนจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด คลายกล้ามเนื้อ ส่วนการประคบเย็นจะช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการปวด
    3. การยืดกล้ามเนื้อ : ให้ยืดกล้ามเนื้อเบื้องต้นเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ โดยยืดตามแนวของกล้ามเนื้อและค้างไว้เป็นเวลาสั้นๆ หยุดทันทีหากมีอาการปวดมากขึ้น
    4. การใช้ยา : ใช้ยาต้านการอักเสบและแก้ปวดร่วมด้วย เช่น กลุ่มพาราเซตามอล ตามคำแนะนำและคำแนะนำของแพทย์ เพื่อช่วยบรรเทาอาการกล้ามเนื้ออักเสบ 
    5. การฝึกกล้ามเนื้อ : หมั่นฝึกกล้ามเนื้อเบื้องต้นเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรง เช่น การทำกายภาพบำบัดหรือการฝึกกล้ามเนื้อด้วยท่าทางที่เหมาะสม และต้องไม่หักโหมเกินไปจนทำให้เกิดอาการปวดเพิ่มขึ้น
    6. การแก้ปัญหาต้นเหตุ : หากอาการกล้ามเนื้ออักเสบเกิดจากสาเหตุที่เฉพาะเจาะจง เช่น การใช้งานในการทำกิจกรรมที่ไม่ถูกต้อง อย่างการนั่งผิดท่า ออกกำลังกายผิดท่า เป็นต้น ควรปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงการใช้งานกล้ามเนื้อในการทำกิจกรรมให้ถูกต้อง เช่น ปรับระยะเวลาการนั่งหรือยืดตัวในช่วงที่ทำงานนาน

    ใช้ยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบแบบไหนดี?

    การใช้ยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการกล้ามเนื้ออักเสบนั้นมีให้เลือกใช้อยู่หลายประเภท ซึ่งในการที่จะเลือกใช้ยาประเภทใดในการรักษาอาการนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วย และสำหรับยาที่ใช้บรรเทาอาการกล้ามเนื้ออักเสบนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

    1. ยากิน : ใช้ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นอย่างเดียวไม่พอหรือในกรณีมีอาการรุนแรง การกินยาจะช่วยให้ตัวยาดูดซึมเข้าสู่ร่างกายไปยังจุดที่เกิดการอักเสบได้ ทำให้การอักเสบลดลงได้รวดเร็ว หากคุณมีอาการเจ็บปวดเพียงเล็กน้อย ก็ไม่ควรใช้ยากินในการบรรเทาอาการ เนื่องจากไม่สามารถรักษาได้ตรงจุดและอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้
    2. ยาทา : มีทั้งแบบครีมและเจล ที่เมื่อทาไปบริเวณที่กล้ามเนื้ออักเสบจะทำให้รู้สึกร้อนหรือเย็นแล้วแต่สูตร แต่สำหรับสูตรร้อนอาจไม่เหมาะกับการใช้งาน เนื่องจากความร้อนอาจไปกระตุ้นการอักเสบในกรณีที่มีอาการอักเสบอยู่แล้วได้ การใช้ยาแบบทาร่างกายนั้นจะมีการดูดซึมตัวยาประมาณ 5-6 เปอร์เซ็นต์ของยาที่ใช้ทเมื่อเทียบกับยากินแล้วจะมีการดูดซึมตัวยาที่น้อยกว่า แต่จะออกฤทธิ์ได้ตรงจุดกว่าในบริเวณที่มีอาการเจ็บปวดโดยตรง
    3. แบบสเปรย์ : ใช้บรรเทาอาการกล้ามเนื้ออักเสบ มีทั้งแบบร้อน-เย็นและแบบอัดแก๊ส-ไม่อัดแก๊ส แบบสเปรย์สามารถรักษาได้ตรงจุดเหมือนยาทา แต่ที่ดีกว่าที่มีการดูดซึมตัวยาไวกว่า สะดวกต่อการพกพา
    4. แบบสเปรย์ผสมยาชา : สเปรย์ประเภทนี้จะถูกใช้ในกรณีบาดเจ็บฉุกเฉิน ส่วนมากจะถูกใช้กับกับนักกีฬาเพื่อลดอาการเจ็บปวดอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ได้ช่วยเรื่องการรักษาอาการ นั้่นหมายความว่าหากฤทธิ์ยาหมดลงอาการปวดก็จะกลับมาเหมือนเดิม
    กล้ามเนื้ออักเสบ วิธีรักษา 
ยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ

    อาการกล้ามเนื้ออักเสบ กี่วันหาย?

    ระยะเวลาที่อาการกล้ามเนื้ออักเสบใช้ในการหายขึ้นจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและปัจจัยอื่น ๆ เช่น สาเหตุของอาการ การรักษาที่ได้รับ และการดูแลตัวเอง ซึ่งระยะเวลาที่จะหายขึ้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ในกรณีที่อาการกล้ามเนื้ออักเสบมีระดับเบาถึงปานกลาง อาการอาจหายได้ในช่วง 1-2 สัปดาห์หลังจากที่เริ่มมีอาการ โดยอาการปวดกล้ามเนื้ออาจเริ่มทุเลาลงในหลายวันหลังจากดูและรักษาตัวเองอย่างถูกต้อง

    อย่างไรก็ตาม หากอาการกล้ามเนื้ออักเสบมีระดับรุนแรงมากขึ้น หรือเกิดจากสาเหตุที่รุนแรง เช่น การบาดเจ็บรุนแรงหรืออาการเจ็บที่ลึกเข้าไปในกล้ามเนื้อ อาจใช้เวลานานกว่านี้ในการหาย และอาจต้องรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่และควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับอาการมากที่สุด

    กล้ามเนื้ออักเสบ เคลมประกันอุบัติเหตุจากแรบบิท แคร์ได้หรือไม่?

    สำหรับใครที่ยังไม่มีประกันสุขภาพ แต่มีประกันอุบัติเหตุ จากแรบบิท แคร์ อาจมีข้อสงสัยว่าถ้าหากเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบจะสามารถใช้ประกันอุบัติเหตุที่มีในการเบิกเคลมค่ารักษาได้หรือไม่? ก่อนอื่นน้องแคร์ต้องพาไปรู้จักคำนิยามของ “อุบัติเหตุ” กันก่อนว่ามีการจำกัดความว่าอย่างไร ซึ่งคำว่าอุบัติเหตุในทางการรับประกันจะหมายถึงอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันกระทันหัน โดยสาเหตุของอุบัติเหตุต้องเกิดจากปัจจัยภายนอกร่างกายและไม่ได้มีเหตุมาจากกระทำโดยเจตนา 

    ดังนั้นในการเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ จึงจำเป็นต้องมีการพิจารณาเป็นกรณี ๆ ว่าอาการที่เกิดขึ้นนั้นเกิดมาจากอุบัติเหตุหรือไม่ ตัวอย่างกรณีการเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบที่สามารถเบิกเคลมประกันได้ จะต้องมีลักษณะการเกิดอาการจากเหตุการณ์ตามกรณีตัวอย่างนี้ เช่น ก่อนที่จะเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบคุณได้มีการยกของหนักและลื่นล้มหงายหลังหรือตกบันได จนเกิดแผลถลอกฟกช้ำ อักเสบบริเวณที่ได้รับแรงกระแทก มีอาการเจ็บที่กล้ามเนื้อ เป็นต้น

    ในกรณีการเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบเช่นนี้จะถือว่าเป็นอุบัติเหตุ อาการบาดเจ็บเกิดจากการเกิดอุบัติเหตุ หากเกิดอาการในลักษณะนี้ก็จะสามารถใช้สิทธิ์ประกันอุบัติเหตุในการเข้ารับการรักษาและเบิกเคลมประกันได้ ตรงกันข้ามหากอาการปวดกล้ามเนื้อเกิดมาจากการนั่งทำงานผิดท่าเป็นเวลานาน ๆ ออกกำลังกายผิดท่าหรือการยกของหนักผิดท่าทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในร่างกายจนเกิดอาการบาดเจ็บ เคล็ด ขัด ยอก ปวดอักเสบในภายหลัง

    กรณีเช่นนี้จะไม่ถือว่าเป็นอุบัติเหตุและไม่ตรงกับนิยามคำจำกัดความของอุบัติเหตุที่สามารถเบิกประกันได้ คุณก็จะไม่สามารถเบิกเคลมประกันได้ไม่เข้าเงื่อนไขความคุ้มครองตามกรมธรรม์อุบัติเหตุ

    น้องแคร์ขอแนะนำว่าคุณควรทำประกันสุขภาพร่วมด้วยจะดีกว่า นั่นเพราะประกันสุขภาพจะให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมกว่าไม่จำเป็นจะต้องเกิดอุบัติเหตุเพียงอย่างเดียวก็สามารถเข้าไปรับการรักษาและเบิกเคลมประกันสุขภาพแทนได้ ซึ่งหากคุณต้องการซื้อประกันสุขภาพ แรบบิทแคร์เราแผนประกันสุขภาพที่ครอบคลุมจากบริษัทประกันชั้นนำในประเทศไว้บริการคุณเช่นกัน

    ปวดกล้ามเนื้อ 
กล้ามเนื้ออักเสบ
บาดเจ็บ

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากคุณอยูาระหว่างกำลังตัดสินใจทำประกันภัยประเภทใดก็แล้วแต่ การทำความเข้าใจเงื่อนไขในการรับประกันภัยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้คุณรับทราบถึงขอบเขตความคุ้มครองและข้อยกเว้นการคุ้มครองกรณีต่าง ๆ ก็จะช่วยทำให้คุณสามารถเลือกซื้อประกันภัยที่เหมาะสมกับความต้องการคุณได้มากที่สุดนั่นเอง


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024