ต้องรู้! การแปลผลตรวจสุขภาพประจำปี ค่าไต ค่าคอเลสเตอรอลแบบนี้ สุขภาพยังดีอยู่หรือเปล่า?
สิ่งหนึ่งที่คุณควรจะต้องวางแผนปฏิบัติเป็นประจำในทุก ๆ ปี ให้กับร่างกายของคุณก็คือ การเช็คอัพร่างกาย โดยการตรวจสุขภาพประจำปี ที่เป็นเสมือนการนำร่างกายที่ผ่านการใช้งานหนักมาตลอดทั้งปีเข้าไปตรวจเช็คประสิทธิภาพในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ว่ายังคงสมบูรณ์แข็งแรงเป็นปกติดีอยู่หรือไม่ แน่นอนว่าการตรวจสุขภาพประจำปีนั้นเป็นสิ่งสำคัญจำเป็นที่คุณควรจะให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก หากคุณมีสิทธิสวัสดิการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการการตรวจสุขภาพประจำปีจากบริษัท หรือสิทธิการตรวจสุขภาพประกันสังคม น้องแคร์ก็แนะนำว่าคุณควรใช้สิทธิ์การตรวจสุขภาพ เพื่อตัวคุณเอง
และหากใครที่ได้ไปใช้สิทธิ์เรียบร้อยแล้ว วันนี้น้องแคร์จะพามารู้จักการแปลผลตรวจสุขภาพที่คุณได้ไปตรวจมาว่า มันหมายความว่าอะไรบ้าง บ่งบอกว่าสุขภาพยังดีอยู่หรือ ไปดูกันเลย!
ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจอะไรบ้าง?
อย่างที่ทราบกันดีว่าการตรวจสุขภาพประจำปี จะเป็นการตรวจสุขภาพทั่วไปกับบุคคลทั่วไป โปรแกรมการตรวจก็จะเป็นโปรแกรมการตรวจสุขภาพโดยรวมเบื้องต้น ที่สามารถตรวจได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง อย่างเช่น
- การตรวจร่างกายทั่วไป : ที่แพทย์จะมีการซักประวัติการเจ็บป่วยจากโรคบางชนิดของบุคคลในครอบครัว ประวัติสุขภาพตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น ประวัติอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วย การแพ้ยา รวมถึงพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตที่อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ร่วมกับการตรวจเบื้องต้น อย่างเช่น การวัดความดันโลหิต ตรวจหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นต้น และการตรวจร่างกายทางห้องปฏิบัติการ หรือห้องแล็บ อย่างเช่น การตรวจค่าปัสสาวะ การตรวจเลือด ที่สามารถช่วยในการคัดกรองโรคระดับต้นที่อาจแฝงในร่างกายแต่ยังไม่แสดงอาการ ซึ่งการซักประวัติถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการตรวจสุขภาพที่จะช่วยให้แพทย์ค้นพบปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ โดยจะนำมาประเมินร่วมกับการตรวจร่างกาย หรือตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- การตรวจเลือด : การตรวจสุขภาพโดยรวมเบื้องต้นจะมีการตรวจเลือดร่วมด้วย เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดของแต่ละบุคคลเพื่อนำไปวิเคราะห์ผล ซึ่งรายการในการตรวจเลือดเพื่อนำผลไปวิเคราะห์จะมีความแตกต่างกันไปแต่ละโปรแกรมที่เลือก สำหรับรายการการวิเคราะห์ผลจากการตรวจเลือด โดยทั่วไปจะสามารถวิเคราะห์ได้ตามรายการ ดังนี้
- การตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด (CBC) : สำหรับการหาความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด รวมไปถึงการประเมินความเข้มข้นของเลือด อย่าง ภาวะโลหิตจาง
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) ตรวจหาค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) : เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน คัดกรองโรคเบาหวาน
- ตรวจระดับไขมันในเลือด : สำหรับหาค่าระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดีและชนิดไม่ดี เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
- ตรวจการทำงานของไต : เป็นการตรวจเลือดเพื่อดูระดับค่าของเสียครีเอตินีน (Creatinine) ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และค่า BUN (Blood Urea Nitrogen) ในเลือด ซึ่งเป็นค่าของเสียจากการย่อยสลายโปรตีน เพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียของไต
- ตรวจไวรัสตับอักเสบ ตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ : จากการตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่างๆ ในเลือด เพื่อหาภาวะตับอักเสบ ซึ่งหากเป็นไวรัสตับอักเสบชนิดบี จะสามารถตรวจคัดกรองการติดเชื้อเบื้องต้นได้จากส่วนประกอบของเชื้อ HBsAg และการตรวจระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบจากการตรวจ HBsAb ขณะที่ไวรัสตับอักเสบซีสามารถตรวจคัดกรองการติดเชื้อเบื้องต้นได้โดยตรวจ Anti-HCV
- ตรวจระดับกรดยูริก (Uric Acid) : เพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคเกาต์
- การตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือด (CBC) : สำหรับการหาความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด รวมไปถึงการประเมินความเข้มข้นของเลือด อย่าง ภาวะโลหิตจาง
นอกจากนี้ยังมีรายการตรวจเลือดอื่น ๆ สำหรับการวิเคราะห์ผลตรวจสุขภาพตามโปรแกรมที่คุณสามารถเลือกได้ตามความต้องการจากโรงพยาบาล
การแปลผลตรวจสุขภาพ ตัวย่อต่าง ๆ คืออะไร หมายความว่าอะไร?
สำหรับผลการตรวจสุขภาพประจำปีที่คุณจะได้รับไม่ว่าจะเป็นการตรวจสุขภาพโดยสวัสดิการของบริษัทหรือการตรวจสุขภาพประกันสังคม เมื่อดำเนินการตรวจเรียบร้อยแล้ว ทางโรงพยาบาลจะมีการรายงานผลตรวจสุขภาพและการวิเคราะห์เบื้องต้นมาให้คุณ ซึ่งการรายงานผลตรวจสุขภาพดังกล่าวส่วนมากก็จะมาในรูปแบบของตัวอักษรย่อตามรายการตรวจ ที่อาจทำให้ผู้ตรวจสุขภาพหลาย ๆ คน เกิดความสงสัยว่าแต่ละตัวย่อนั้นมาจากรายการตรวจประเภทใด
น้องแคร์จะพามาทำความรู้จักตัวย่อรายการตรวจสุขภาพแต่ละรายการ และอ่านผลวิเคราะห์ว่าดีหรือไม่ดี หรือบอกอะไรได้บ้าง ดังนี้
- ค่า CBD : คือ การตรวจหาค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด จะตรวจด้วยเครื่องหรือการส่องกล้อง โดยจะตรวจถึง
- จำนวนเม็ดเลือดแดง (RBC : Red Blood Cell) หากตรวจพบว่ามีปริมาณน้อยก็จะแสดงถึงภาวะโลหิตจาง แต่หากมีปริมาณมากก็จะมีโอกาสเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงอุดหลอดเลือดฝอย โดยค่าปกติของจำนวนเม็ดเลือดแดงเพศชาย อยู่ที่ 4.5 – 5.5 mcL และสำหรับเพศหญิง อยู่ที่ 4.0 – 5.0 mcL
- ความเข้มของเลือด (HCT : Hematocrit) ตรวจหาปริมาตรเม็ดเลือดแดงในเลือด เป็นการวัดว่าร่างกายมีเม็ดเลือดแดงเพียงพอหรือไม่ ซึ่งค่าปกติทั่วไปของ HCT ในเพศชาย จะอยู่ที่ 42 – 52% ขณะที่เพศหญิง จะอยู่ที่ 36 – 48%
- จำนวนเม็ดเลือดขาว (WBC : White Blood Cell) ที่ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อ โดยค่าปกติของจำนวนเม็ดเลือดขาวของเพศชายและเพศหญิง คือ 5,000 – 11,000 Cells/cu.mm.
- จำนวนเกล็ดเลือด (Platelet (thrombocyte) count) ที่ทำหน้าที่สำคัญในการทำให้เลือดหยุดไหล หากตรวจพบว่ามีปริมาณเกล็ดเลือดมากเกินไป เกล็ดเลือดจะจับเป็นลิ่มเลือดในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบ หรือหากมีปริมาณเกล็ดเลือดต่ำ เมื่อเกิดบาดแผลเลือดจะหยุดช้ากว่าปกติ ซึ่งค่าปกติของเกล็ดเลือดจะอยู่ที่ 100,000 – 400,000 หากต่ำกว่านี้หรือสูงเกินกว่านี้จะอยู่ในภาวะผิดปกติ
- จำนวนเม็ดเลือดแดง (RBC : Red Blood Cell) หากตรวจพบว่ามีปริมาณน้อยก็จะแสดงถึงภาวะโลหิตจาง แต่หากมีปริมาณมากก็จะมีโอกาสเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงอุดหลอดเลือดฝอย โดยค่าปกติของจำนวนเม็ดเลือดแดงเพศชาย อยู่ที่ 4.5 – 5.5 mcL และสำหรับเพศหญิง อยู่ที่ 4.0 – 5.0 mcL
- ค่าระดับน้ำตาลในเลือด
- ค่า FPG (Fasting plasma glucose test) เป็นการตรวจสุขภาพประจำปีโดยการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสมา สำหรับการตรวจหาโรคเบาหวานเบื้องต้น โดยค่าปกติของค่าระดับน้ำตาลจะอยู่ระหว่าง 70 – 100 mg/dL หากคุณมีค่าระดับน้ำตาลมากกว่า 100 – 125 mg/dL นั่นแสดงว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และหากมีมากกว่า 126 mg/dL ก็อาจถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง
- ค่า HbA1c (Hemoglobin A1c) คือการตรวจฮีโมโกลบินเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวาน เป็นการวัดค่าเฉลี่ยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วง 6 – 12 สัปดาห์ที่ผ่านมาก่อนตรวจสุขภาพประจำปี หากผลตรวจสุขภาพออกมาน้อยกว่า 5.7% แสดงว่าปกติ แต่ถ้าหากผลออกมาระหว่าง 5.7 – 6.4% แสดงว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
- ค่า FPG (Fasting plasma glucose test) เป็นการตรวจสุขภาพประจำปีโดยการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสมา สำหรับการตรวจหาโรคเบาหวานเบื้องต้น โดยค่าปกติของค่าระดับน้ำตาลจะอยู่ระหว่าง 70 – 100 mg/dL หากคุณมีค่าระดับน้ำตาลมากกว่า 100 – 125 mg/dL นั่นแสดงว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน และหากมีมากกว่า 126 mg/dL ก็อาจถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง
- ค่าไขมันในเลือด
- LDL – cholesterol (Low Density Lipoprotein) เป็นการวัดปริมาณไขมันชนิดร้าย หรือไขมันเลว เพื่อประเมินภาวะโรคไขมันในเลือด เป็นตัวที่ทำหน้าที่นำพาไขมันคอเลสเตอรอลไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งหากร่างกายมีค่า LDL สูงเกินความจำเป็น ไขมัน LDL ก็จะเข้าไปเกาะที่หลอดเลือดทั่วร่างกาย จนสามารถอุดตันหลอดเลือดนำไปสู้การเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองได้ โดยค่าปกติของ LDL จะต้องน้อยกว่า 100 mg/dL หรือ 2.59 mmol/L
- HDL – cholesterol (High Density Lipoprotein) เป็นไขมันชนิดดีที่ทำหน้าที่ในการนำเอาไขมันที่ไม่ดีออกจากผนังหลอดเลือด การตรวจหาค่า HDL จึงทำให้สามารถประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ โดยค่าปกติของ HDL สำหรับเพศชาย จะอยู่ระหว่าง 40 – 50 mg/dL และสำหรับเพศหญิง จะอยู่ระหว่าง 50 – 59 mg/dL หากผลตรวจสุขภพาประจำปีของคุณมีค่าไขมัน HDL น้อยกว่าค่าปกติ นั่นหมายความว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั่นเอง ปรับสมดุลไขมันด้วยการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยไขมันดี การรับประทานอาหารที่มีไขมันดี เช่น ปลาแซลมอน อะโวคาโด ถั่วและเมล็ดพืช สามารถช่วยเพิ่มระดับ HDL ในเลือดและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- LDL – cholesterol (Low Density Lipoprotein) เป็นการวัดปริมาณไขมันชนิดร้าย หรือไขมันเลว เพื่อประเมินภาวะโรคไขมันในเลือด เป็นตัวที่ทำหน้าที่นำพาไขมันคอเลสเตอรอลไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งหากร่างกายมีค่า LDL สูงเกินความจำเป็น ไขมัน LDL ก็จะเข้าไปเกาะที่หลอดเลือดทั่วร่างกาย จนสามารถอุดตันหลอดเลือดนำไปสู้การเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองได้ โดยค่าปกติของ LDL จะต้องน้อยกว่า 100 mg/dL หรือ 2.59 mmol/L
- ค่าไต
- ค่าของเสียครีเอตินีน (Cr : Creatinine) เป็นของเสียที่เกิดจากกล้ามเนื้อ ซึ่งจะถูกขับออกจากร่างกายผ่านไต ดังนั้นหากค่าไตทำงานผิดปกติหรือไตเสื่อม จะทำให้ความสามารถในการกำจัดสาร Creatinine ลดลง นั่นหมายความว่าหากผลตรวจสุขภาพประจำปีออกมามีค่า Creatinine สูง การทำงานของไตจะลดลง มีความเสี่ยงเป็นโรคไตหรือโรคไตเรื้อรัง โดยค่าปกติของสาร Creatinine จากการตรวจเลือดของเพศชายจะอยู่ที่ 0.67 – 1.17 mg/dL และเพศหญิงอยู่ที่ 0.51 – 0.95 mg/dL และค่าปกติของสาร Creatinine จากการตรวจปัสสาวะของเพศชายจะอยู่ระหว่าง 40 – 278 mg/dL และเพศหญิงจะอยู่ระหว่าง 29 – 226 mg/dL
- ค่า BUN (Blood Urea Nitrogen) เป็นค่าไนโตรเจน ส่วนประกอบหนึ่งของสารยูเรียในกระแสเลือดที่เกิดจากการเผาผลาญสารอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งค่าปกติของค่า BUN ควรจะอยู่ระหว่าง 10 – 20 mg/dL หากผลตรวจสุขภาพประจำปีตรวจพบค่า BUN ในเลือดสูงเกินค่าปกติ จะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าสมรรถภาพการทำงานของค่าไตลดลง ไม่สามารถขับของเสียในเลือดออกได้หมด และหากผลตรวจสุขภาพประจำปีพบว่าค่า BUN ต่ำกว่าค่าปกติ ก็จะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของไต อย่างเช่น ภาวะขาดสารอาหาร รวมไปถึงบ่งบอกว่าตับของคุณกำลังทำงานผิดปกติอยู่ด้วย
- ค่าของเสียครีเอตินีน (Cr : Creatinine) เป็นของเสียที่เกิดจากกล้ามเนื้อ ซึ่งจะถูกขับออกจากร่างกายผ่านไต ดังนั้นหากค่าไตทำงานผิดปกติหรือไตเสื่อม จะทำให้ความสามารถในการกำจัดสาร Creatinine ลดลง นั่นหมายความว่าหากผลตรวจสุขภาพประจำปีออกมามีค่า Creatinine สูง การทำงานของไตจะลดลง มีความเสี่ยงเป็นโรคไตหรือโรคไตเรื้อรัง โดยค่าปกติของสาร Creatinine จากการตรวจเลือดของเพศชายจะอยู่ที่ 0.67 – 1.17 mg/dL และเพศหญิงอยู่ที่ 0.51 – 0.95 mg/dL และค่าปกติของสาร Creatinine จากการตรวจปัสสาวะของเพศชายจะอยู่ระหว่าง 40 – 278 mg/dL และเพศหญิงจะอยู่ระหว่าง 29 – 226 mg/dL
- ตรวจไวรัสตับอักเสบ ตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ
- ค่า HBsAg เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี โดยหากผลตรวจสุขภาพประจำปี ค่า HBsAg เป็นบวก แสดงว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีที่มีผลร้ายแรงต่อตับ จนอาจเกิดเป็นมะเร็งตับได้ และสามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ด้วย
- ค่า HBsAb หรือ Anti – HBS เป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หากผลตรวจสุขภาพออกมาค่าเป็นบวก ก็จะแสดงว่าร่างกายมีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี โดยสามารถมาจากการฉีดวัคซีนหรือมาจากการสร้างขึ้นเองของร่างกาย หากคุณมีภูมิอยู่ก็จะไม่เกิดการติดเชื้อขึ้นและไม่สามารถเป็นพาหะของเชื้อแพร่ไปสู่บุคคลอื่น
- ค่า HBsAg เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี โดยหากผลตรวจสุขภาพประจำปี ค่า HBsAg เป็นบวก แสดงว่ามีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีที่มีผลร้ายแรงต่อตับ จนอาจเกิดเป็นมะเร็งตับได้ และสามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ด้วย
- ค่ากรดยูริก (Uric Acid) : เป็นการตรวจกรดยูริกในเลือด เพื่อให้ทราบว่าในเลือดมีกรดยูริกสูงถึงระดับมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกาต์หรือไม่ และยังทำให้ทราบว่าค่าไตของคุณยังอยู่ในสภาวะปกติหรือมีโรคของไตเกิดขึ้นบ้างหรือไม่ โดยค่าปกติของกรดยูริกในเลือดของเพศชาย คือ 4.0 – 8.5 mg/dL และในเพศหญิง คือ 2.7 – 7.3 mg/dL และหากผลตรวจสุขภาพประจำปีพบว่าค่ากรดยูริกสูงมากกว่า 12 mg/dL นั่นแสดงว่าค่ากรดยูริกวิกฤตมีความเสี่ยงเกี่ยวกับค่าไตนั่นเอง
ไม่ตรวจสุขภาพประจำปีได้หรือไม่?
จริง ๆ แล้วการตรวจสุขภาพถือว่าเป็นเรื่องของความสมัครใจ ความพึงพอใจและเป็นสิทธิของแต่ละบุคคล หากถามว่าจะไม่ตรวจสุขภาพประจำปีได้หรือไม่ น้องแคร์ก็ต้องตามตามตรงว่าสามารถทำได้ แล้วแต่ความต้องการของแต่ละบุคคล แต่อย่างไรเสียการตรวจสุขภาพก็ยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอยู่ เนื่องจากจะเป็นเสมือนการเช็คอัพความสมบูรณ์แข็งแรงของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เพื่อความสบายใจของผู้ตรวจร่างกายเองด้วย ว่าสุขภาพเรายังแข็งแรงดีอยู่หรือไม่ หรือกำลังมีความเสี่ยงเป็นโรคใดบ้าง ก็จะได้รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่อาจส่งผลเสียกับร่างกายได้ทันเวลา เพราะอย่าลืมว่าโรคร้ายหลาย ๆ โรคมักไม่มีสัญญาณใดบ่งชี้ให้เราได้รู้ก่อน การตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีส่วนช่วยเป็นอย่างมากที่จะทำให้เราสามารถล่วงรู้ปัญหาสุขภาพได้ทันท่วงทีและรักษาได้ทันเวลานั่นเอง
น้องแคร์ต้องขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ตรวจสุขภาพประจำปีแล้วผลตรวจสุขภาพเป็นไปด้วยดี ค่าไต ค่าไขมัน ค่าคอเลสเตอรอล และค่าอื่น ๆ ปกติทั้งหมด นั่นหมายความว่าคุณดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของคุณได้เป็นอย่างดี แต่น้องแคร์ขอแนะนำว่าหากจะให้อุ่นใจ สบายใจเพิ่มมากขึ้น ก็ให้วางแผนซื้อประกันสุขภาพติดตัวไว้สัก 1 เล่ม เผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกี่ยวกับสุขภาพเกิดขึ้นกับคุณโดยไม่ทันตั้งตัว คุณจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลและมีโอกาสได้รับการรักษาทันท่วงทีหายดีเป็นปกติได้
ถ้าพูดถึงเรื่องประกันสุขภาพก็ขอให้ไว้ใจแรบบิท แคร์ ได้เลย เพราะเรามีบริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพที่เหมาะสำหรับคุณไว้คอยบริการ เพื่อความสะดวกรวดเร็วและตรงความต้องการของคุณมากที่สุด ที่นี่ที่เดียวเท่านั้น!
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct
และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว
จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น