รู้จัก!โรคแพนิค คือ? พร้อมวิธีการรักษาและข้อมูลค่ารักษาอาการแพนิค
ทำความรู้จักโรคแพนิค! โรคทางจิตเวชตัวร้ายที่สร้างความหงุดหงิดใจให้กับคุณอยู่ไม่น้อย จู่ ๆ ก็เกิดอาการขึ้นมา จะรับมือกับอาการได้อย่างไร? มีวิธีการรักษาหรือไม่? แล้วโรคแพนิคมันเกิดมาจากอะไร? ค่ารักษาเท่าไหร่? ทุกคำถามของคุณที่เกี่ยวกับอาการแพนิค น้องแคร์มีคำตอบ!
ทำความรู้จัก โรคแพนิค คืออะไร?
โรคตื่นตระหนก หรือที่รู้จักกันในนาม โรคแพนิค (Panic disorder) คือ โรควิตกกังวลประเภทหนึ่ง เป็นภาวะที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (Automatic Nervous System) ทำงานผิดปกติ เกิดความกังวลหรือความเครียดที่มีความรุนแรงอย่างกะทันหัน พบได้ในทุกเพศวัยแต่มักจะพบได้ในเพศหญิงมากกว่า โดยอาการแพนิคจะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ และมักจะมีอาการที่คล้ายกับอาการของโรคหัวใจ อาการสำคัญของแพนิค ได้แก่ หายใจเร็วขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น มือเปียกเย็นชา หน้ามืด เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองกำลังเป็นโรคร้ายอยู่หรือเปล่าหรือรู้สึกว่ากำลังเจอสิ่งที่ตนไม่สามารถควบคุมได้ เกิดขึ้นแบบฉับพลันบางครั้งไม่มีสาเหตุอะไรแต่อาการก็เกิดราว ๆ 10 นาทีและอาการจะยังคงมีอยู่ระยะหนึ่งก่อนจะทุเลาลงและหายไปภายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากอาการหายผู้ป่วยมักจะรู้สึกอ่อนเพลีย ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเครียดหมกมุ่นกับเรื่องสุขภาพ เพราะกลัวอาการกำเริบจนไม่กล้าไปไหน บางรายอาการแพนิคส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันจนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
โรคแพนิค เกิดจากอะไร?
เป็นคำถามที่หลายคนยังคงกังวลสงสัยว่าจริง ๆ แล้วโรคแพนิค เกิดจากอะไร สาเหตุของการเกิดอาการแพนิคมันมาจากปัจจัยอะไรกันแน่? จริง ๆ แล้วโรคแพนิคนั้นเกิดมาจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง โดยเฉพาะสารโดพามีน (dopamine) ซึ่งเป็นสารเคมีสำคัญที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหว ความสมดุลของร่างกายและประสาทสัมผัสในร่างกาย ความผิดปกตินี้อาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น
- ปัจจัยกายภาพ
- พันธุกรรม : พันธุกรรมเป็นหนึ่งปัจจัยของการเกิดโรคแพนิคได้ หากมีคนใดในครอบครัวเคยเป็นโรคแพนิค สมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคแพนิคได้มากกว่าคนทั่วไป
- อาการของโรค : เช่น การเจ็บป่วยหรือการมีโรคประจำตัว อย่างโรคหัวใจหรือโรคปอดที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ และอาการปวดหน้าอกอื่น ๆ อาจเป็นสาเหตุของการเกิดอาการแพนิคได้ทั้งสิ้น
- การหยุดยาด้วยตนเอง : การหยุดรับประทานยารักษาอาการแพนิคแบบกระทันหัน สามารถส่งผลให้อาการแพนิคกลับมากำเริบได้
- สารเคมีในสมอง : อาการแพนิคเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เช่น สารดีพามีน ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวและระบบประสาท
- พฤติกรรมในการใช้ชีวิต : การดื่มสุราเป็นประจำ การสูบบุหรี่และการใช้สารเสพติดอื่น ๆ อย่างเช่น กัญชาและแอมเฟตามีน สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคแพนิคได้
- ช่วงอายุ : โรคแพนิคมักเกิดในผู้สูงอายุ เนื่องจากความเสื่อมสภาพของสมองรวมถึงการเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว ทำให้ผู้สูงอายุสามารถเป็นโรคแพนิคได้ง่าย ในขณะเดียวกันช่วงวัยทำงานที่ต้องพบเจอกับสภาวะความเครียดความวิตกกังวลอยู่เป็นประจำ ก็ทำให้เกิดโรคแพนิคได้เช่นกัน
- ปัจจัยด้านสุขภาพจิต
- ความเครียด : การเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดหรือความกังวล เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพนิคขึ้นมาได้
- ภาวะซึมเศร้า : การมีภาวะซึมเศร้าอาจเป็นปัจจัยที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคแพนิค เนื่องจากภาวะซึมเศร้าอาจทำให้ระบบสมองของบุคคลไม่สามารถส่งสัญญาณประสาทได้อย่างถูกต้อง
- เหตุการณ์ร้ายแรง : การผ่านเหตุการณ์ร้ายแรงในชีวิตมา ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียพลัดพรากหรือการเกิดอุบัติเหตุ ส่งผลให้เกิดโรคแพนิคได้จากอาการตื่นตระหนก หวาดกลัวจากเหตุการณ์ร้ายแรงนั้น ๆ
ทำไมกัญชา ทำให้เกิดอาการแพนิคได้?
การใช้กัญชาสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการแพนิคได้ โดยเฉพาะในบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อโรคแพนิคอยู่แล้ว เนื่องจากสารสกัดจากกัญชาที่ชื่อว่า THC (Tetrahydrocannabinol) ที่อยู่ในกัญชา ซึ่งสารนี้มีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางในสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติในการควบคุมความรู้สึกและการเคลื่อนไหว สามารถกระตุ้นระบบประสาทให้เกิดอาการโรคแพนิคได้ นอกจากนี้สาร THC ยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อมและโรคจิตเวชอื่น ๆ ได้ด้วย ดังนั้น การใช้กัญชาอย่างมีสติและหลีกเลี่ยงการใช้เป็นประจำ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแพนิคในบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อโรคแพนิค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคแพนิคก่อนหน้านี้
การสูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก ก็กระตุ้นอาการแพนิดได้!
การสูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไปแม้จะไม่สามารถกระตุ้นอาการแพนิคได้โดยตรง แต่การหายใจผิดรูปแบบเพื่อหลีกเลี่ยงการรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก อาจส่งผลกระทบต่อระบบสมองและร่างกายโดยรวม โดยเฉพาะกับผู้ที่มีโรคแพนิคอยู่แล้ว การหายใจผิดรูปแบบอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการแพนิคซ้ำหรือมีความรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้การสูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก ๆ อาจเป็นสาเหตุของอาการหอบหืดหรืออาการหายใจไม่สะดวกได้เช่นกัน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยแพนิคมีความเครียดและความกังวล จากการหายใจที่ไม่ปกติขณะเกิดอาการแพนิคร่วมด้วย
โรคแพนิค อาการเป็นอย่างไร?
อาการของโรคแพนิคมักที่สามารถพบได้บ่อย และหากเกิดอาการเหล่านี้ก็สามารถสันนิษฐานได้เลยว่าคุณกำลังถูกอาการแพนิคเล่นงานแข้าแล้ว โดยการที่พบบ่อยมีดังนี้
- ใจสั่น ใจเต้นเร็ว
- หายใจหอบ
- มีอาการชามือ-เท้า
- เหงื่อแตก
- รู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจ
- คลื่นไส้
- วิงเวียน คล้ายเป็นลม
- รู้สึกกลัวตาย
- รู้สึกเหมือนอยู่ ในความฝัน
- กลัวควบคุุม ตัวเองไม่ได้
อาการแพนิคเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่สามารถควบคุมเวลาในการเกิดอาการและสถานที่ได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการแพนิคมักรู้สึกกลัวจากการเกิดอาการ และก็มีหลายครั้งที่ผู้มีอาการแพนิคแต่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นแพนิคไปพบแพทย์เพื่อขอความช่วยเหลือ แต่แพทย์ก็ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติทางร่างกายได้ และมักสรุปว่าเป็นอาการเครียดหรือคิดมาก นั่นแหละอาการแพนิค!
ผู้ป่วยโรคแพนิค ห้ามกินอะไร ดูแลตัวเองอย่างไร?
ผู้ป่วยโรคแพนิคควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่สามารถกระตุ้นอาการแพนิคได้ อย่างเช่น
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะเป็น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เหล้า เครื่องดื่มชูกำลัง
- หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด เช่น การสูบบุหรี่ การใช้กัญชา
- หลีกเลี่ยงการกินของหวานหรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น ช็อกโกแลต เครื่องดื่มที่ผสมสารเคมีให้ความหวานแทนน้ำตาล
- เมื่อเกิดอาการแพนิคควรเรียนรู้เทคนิคการควบคุมอารมณ์และการหายใจ เช่น ฝึกการหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ ค่อย ๆ ผ่อนคลายลมหายใจเพื่อช่วยควบคุมความตึงเครียดและสมาธิให้ดีขึ้น
- ดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และลดกิจกรรมเป็นสิ่งกระตุ้นทำให้เกิดความเครียดความวิตกกังวล เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแพนิค
- หากอาการแพนิคไม่ดีขึ้นหรือเริ่มมีอาการบ่อยจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาตามอาการ
การใช้เทคนิคการหายใจเป็นทางเลือกที่ดีในการกำจัดอาการแพนิคเบื้องต้น!
การใช้เทคนิคการหายใจ เช่น การหายใจลึก ๆ สลับการกลั้นหายใจ สามารถช่วยทำให้ระบบการหายใจทำงานเป็นปกติมากขึ้นได้ขณะเกิดอาการแพนิค และสามารถช่วยลดความเครียดและอาการแพนิคได้ เนื่องจากอาการแพนิคมักจะมีการหายใจผิดปกติ เช่น หายใจเร็วขึ้นหรือหายใจไม่ค่อยลึก ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนและมีคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ในเลือดเกินไป การฝึกการหายใจจึงช่วยปรับสมดุลของระบบหายใจให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ช่วยควบคุมอารมณ์และช่วยเพิ่มความสมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดอาการแพนิค
อาการแพนิค ทำให้เสียชีวิตได้หรือไม่?
การเกิดอาการแพนิคไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้โดยตรง แต่อาการของโรคแพนิคอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่เป็นอันตราย เช่น หัวใจวาย ความดันโลหิตสูง หรือความเครียดและซึมเศร้าจนส่งผลต่อสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ แม้อาการแพนิคจะไม่ได้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตโดยตรง แต่อาจทำให้ผู้ป่วยมีความกังวลและเครียดมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างเช่น ภาวะซึมเศร้าหรือภาวะวิตกกังวลรุนแรง เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองหรือการฆ่าตัวตายเมื่ออาการแพนิคเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ดังนั้น การรักษาและดูแลผู้ป่วยโรคแพนิคอย่างถูกวิธีและเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยในการป้องกันความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ดีที่สุด
วิธีการรักษาโรคแพนิค ทำอย่างไร? จำเป็นต้องรักษาหรือไม่?
แม้ว่าโรคแพนิคอาจไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตโดยตรง แต่ผู้ป่วยก็ยังจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม ด้วยการรับประทานยาเพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง หรือการตรวจเลือดหาสาเหตุที่เกิดทางด้านร่างกาย รวมถึงการรักษาทางจิตใจ ปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยและคนรอบข้างให้เข้าใจโรคนี้และให้กำลังใจผู้ป่วย ถึงโรคนี้จะไม่รุนแรงหรือเป็นอันตรายแต่อาการของโรคอาจมีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ ได้เช่นกัน อย่างเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบหลอดเลือดหัวใจ และหัวใจวายเฉียบพลัน
ซึ่งวิธีการรักษาโรคแพนิคก็มักจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการและความเหมาะสมของวิธีการรักษาต่อผู้ป่วยแต่ละราย โดยแนวทางการรักษาโรคแพนิคอาจประกอบไปด้วย
- การใช้ยากลุ่มออกฤทธิ์เร็ว : เพื่อควบคุมอาการของโรคได้อย่างรวดเร็ว เช่น ยากลุ่มช่วยในการคลายเครียดทำให้นอนหลับ แต่จะเป็นกลุ่มยาที่แพทย์จะไม่ให้ใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดอาการดื้อยาได้
- การใช้ยากลุ่มออกฤทธิ์ช้า : เพื่อค่อย ๆ ไปเปลี่ยนแปลงระดับสารสื่อประสาทในสมอง โดยจะเริ่มเห็นผลเมื่อรับประทานยากลุ่มนี้ติดต่อกันอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ เช่น ยากลุ่มต้านเศร้า
ในการรักษาแพทย์ก็จะมีการให้ยาทั้ง 2 กลุ่มร่วมกันและพิจารณาลดยาตามอาการ โดยหากเป็นการเข้ารับการรักษาเริ่มแรกก็จำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 8-12 เดือน เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีและสามารถหยุดรับยาได้ ที่สำคัญผู้ป่วยโรคแพนิคจะต้องทำตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดด้วย
เปิดค่ารักษาโรคแพนิค ค่าใช้จ่ายอยู่ที่เท่าไหร่?
สำหรับค่ารักษาโรคแพนิคจะขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของอาการแพนิค รวมถึงวิธีการรักษาที่ใช้ แต่โดยทั่วไปแล้วการรักษาโรคแพนิคค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องใช้ยาและการรักษาเสริมทางจิตเวชอย่างต่อเนื่อง โดยรายละเอียดค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทมีดังนี้
- การใช้ยาในการรักษา : ค่าใช้จ่ายสำหรับยารักษาอาการแพนิคจะอยู่ที่ประมาณ 500-1,500 บาทต่อเดือนขึ้นอยู่กับชนิดของยา จำนวนที่ใช้และประเภทของสถานพยาบาล
- การรักษาทางจิตเวช : ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาด้วยการปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะอยู่ที่ประมาณ 1,000-3,000 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายของการรักษาเสริมทางจิตเวชจะเป็นไปตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้ป่วยเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ค่ารักษาโรคแพนิคหากเป็นสถานพยาบาลเอกชนราคาการรักษาโรคแพนิคอาจจะอยู่ที่ราว ๆ 5,000-10,000 บาทต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับการให้บริการและอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษา ซึ่งจะสูงกว่าสถานพยาบาลของรัฐ เนื่องจากใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีความซับซ้อนมากขึ้น การเลือกโรงพยาบาลในการรักษาโรคแพนิคก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความสะดวกของผู้ป่วยแต่ละรายโดยต้องพิจารณาเองว่าต้องการรักษาที่สถานพยาบาลรัฐหรือเอกชน
รีบทำประกันสุขภาพกับแรบบิท แคร์ ก่อนเป็นโรคแพนิคดีที่สุด!
การทำประกันสุขภาพนั้นมีเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดที่ทุกบริษัทประกันใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก็คือ สุขภาพของผู้ทำประกัน ความหมายก็คือ หากคุณสนใจจะทำประกันสุขภาพแต่สุขภาพร่างกายของคุณไม่ได้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงเป็นปกติหรือมีโรคประจำตัวแล้ว การทำประกันสุขภาพก็เป็นเรื่องยากที่บริษัทประกันจะรับทำประกันให้กับคุณ
ดังนั้นหากคุณจะซื้อประกันสุขภาพสักหนึ่งฉบับช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่คุณควรจะซื้อประกันก็คือ ช่วงที่คุณยังอายุไม่เยอะและสุขภาพร่างกายของคุณยังแข็งแรงเป็นปกติไม่มีโรคประจำตัวใด ๆ เพราะหากคุณมีโรคประจำตัวอย่างโรคแพนิค ซึ่งถือเป็นโรคทางจิตเวชแล้วล่ะก็ บริษัทประกันส่วนใหญ่ก็มักจะปฏิเสธการขอทำประกันของคุณ เนื่องจากเงื่อนไขการรับประกันของบริษัทประกันที่มักจะไม่รับทำประกันให้กับบุคคลที่ป่วยด้วยอาการทางจิตเวชทั้งหมด โรคแพนิคถือว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงและต้องการการรักษาเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นผลทำให้บริษัทประกันส่วนใหญ่จะไม่รับประกันสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคแพนิค หากวันนี้คุณยังแข็งแรงประกันสุขภาพจากแรบบิท แคร์ คือคำตอบที่ดีที่สุด!
ซื้อประกันสุขภาพจากแรบบิท แคร์ ดีอย่างไร?
หากคุณสนใจซื้อประกันสุขภาพและตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพกับแรบบิท แคร์ คุณจะได้รับแผนประกันสุขภาพที่ตรงความต้องการของคุณมากที่สุดจากระบบบริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพ จาก 30 บริษัทประกันภัยชั้นนำพร้อมเจ้าหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชม.ก่อนตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้คุณยังสามารถเลือกชำระค่าเบี้ยประกัแบบผ่อน 0 % ได้สูงสุดนาน 10 เดือน พร้อมการการันตี ราคาดีคุ้มที่สุด เริ่มต้นเพียงวันละ 9 บาท พร้อมรับสิทธิ์บริการ Health Caresultants โทรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแบบไม่ต้องไปโรงพยาบาลเพื่อรับคำแนะนำและรับการวินิจฉัยเบื้องต้นได้สูงสุด 2 ครั้งต่อปี เพื่อช่วยลดภาระการเดินทางไปโรงพยาบาล และยังมีบริการดี ๆ เฉพาะคุณที่เป็นลูกค้าคนสำคัญของเราอีกมากมาย ทำประกันสุขภาพวันนี้วันที่คุณยังสุขภาพแข็งแรงรับรองว่าคุ้มค่าที่สุดแน่นอน!
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct
และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว
จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น