แคร์สุขภาพ

ภาวะหัวใจโต ร้ายแรงหรือไม่ ? อันตรายไหม มีวิธีสังเกตอาการอย่างไร ?

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: March 18,2024
  
Last edited: July 7, 2024
ภาวะหัวใจโต

ภาวะหัวใจโต ภาวะความผิดปกติที่เกิดกับบริเวณหัวใจซึ่งหลายคนคงรู้สึกไม่คุ้นเคยเท่าไหร่ วันนี้เรามาทำความเข้าใจกันว่า ภาวะหัวใจโต คืออะไร เป็นภาวะที่อันตรายหรือไม่ มีสาเหตุในการเกิดมาจากอะไร มีลักษณะการแสดงอาการแบบไหน สัญญาณแบบไหนที่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษา และเรื่องน่ารู้อื่น ๆ เกี่ยวกับภาวะหัวใจโต กับ แรบบิท แคร์

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ภาวะหัวใจโต คืออะไร ?

    โรงพยาบาลเปาโลได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะหัวใจโตว่า ภาวะหัวใจโต คือภาวะที่มีการตรวจพบว่าขนาดของหัวใจโตขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากโรคอื่น ๆ โดยขนาดของหัวใจที่โตกว่าขนาดปกตินั้นจะถูกแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ภาวะหัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ เช่น การที่ผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงหรือลิ้นหัวใจตีบ ก็ล้วนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้นได้ และอีกชนิด คือ มีภาวะหัวใจโตขึ้นเนื่องจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดที่คั่งค้างอยู่ในห้องหัวใจมากจึงทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้นนั่นเอง

    ทั้งนี้ภาวะหัวใจโตนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมีอาการที่ผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้น หรือหากมีอาการเกิดขึ้นก๋อาจเป็นอาการเนื่องมาจากโรคที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวและอาการจากหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น

    ภาวะหัวใจโต อันตรายไหม ?

    สำหรับผู้ที่สงสัยว่าภาวะหัวใจโตนั้นอันตรายหรือไม่ ? โดยปกติแล้วภาวะหัวใจโตไม่ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์แต่อย่างใด เนื่องจากภาวะหัวใจโตไม่ว่าจะเป็นแบบชั่วคราวหรือถาวรก็ล้วนสามารถใช้การรักษาทางการแพทย์ช่วยควบคุมได้ ทั้งนี้หากทำการสังเกตตนเองแล้วมีอาการเหล่านี้ก็ควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียดทันที

    • มีอาการเจ็บหน้าอก
    • มีอาการหายใจไม่ทัน
    • มีอาการเป็นลมหรือหมดสติไป
    • มีความรู้สึกชาหรือปวดบริเวณกราม คอ แขน และหลัง

    อันตรายเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสัญญาณอันตรายที่ถึงแม้อาจจะไม่ใช่การเตือนเกี่ยวกับภาวะหัวใจโตก็บ่งบอกถึงสุขภาพร่างกายที่มีความผิดปกติและน่าเป็นห่วง ดังนั้นหากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับตัว ต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีอย่านิ่งนอนใจ

    โรคหัวใจ

    ภาวะหัวใจโต เกิดจากอะไร ?

    ในส่วนของสาเหตุการเกิดภาวะหัวใจโตนั้นความจริงแล้วสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ทั้งนี้นั้นมักจะเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงหรือเป็นโรคหลอดเลือกหัวใจ อีกทั้งยังสามารถเกิดขึ้นจากการที่เป็นโรคอื่น ๆ ได้ ดังนี้

    • โรคเส้นเลือดหัวใจ
    • โรคลิ้นหัวใจ
    • โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ
    • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
    • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
    • การได้รับยาและแอลกอฮอล์เกินขนาด

    ปัจจัยเหล่านี้คือสาเหตุที่อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจโตขึ้นได้ ทั้งนี้ก็อย่างที่ได้กล่าวไป ว่าภาวะดังกล่าวนั้นสามารถเกิดได้จากปัจจัยที่หลากหลาย หากอยากรู้แน่ชัดจำเป็นต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจวินิจฉัยให้ ก็จะสามารถรู้สาเหตุ่ที่แท้จริงได้นั่นเอง

    สำหรับใครที่รู้ตัวว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไป หรือคิดว่าตนเองเป็นผู้ที่มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงสักเท่าไหร่ ก็อย่าลืมที่จะทำประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ ไว้ ดูแลให้อย่างใกล้ชิดเพื่อความอุ่นใจ จะกี่โรคร้ายก็ไม่กลัว

    ภาวะหัวใจโตมีอาการอย่างไร ?

    แม้ว่าโดยปกติแล้วภาวะหัวใจโตอาจไม่มีการแสดงอาการใดเลยก็ได้ หรืออาจเป็นการแสดงอาการของโรคซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะหัวใจโต แต่แน่นอนว่าในผู้ป่วยบางรายก็มีการแสดงอาการที่บ่งบอกถึงการมีภาวะหัวใจโตด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ

    • มีความรู้สึกเหนื่อยล้าและวิงเวียนศีรษะ
    • รู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
    • อ่อนเพลียง่าย
    • รู้สึกใจสั่น
    • รู้สึกหายใจไม่ทัน
    • รู้สึกหายใจลำบาก
    • รู้สึกแน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้
    • มีอาการไอโดยเฉพาะเวลานอน
    • มีอาการบวมน้ำในบริเวณช่องท้อง
    • มีอาการบวมน้ำในบริเวณขา
    • มีอาการบวมน้ำในบริเวณเท้า

    หากมีอาการดังนี้ ควรสังเกตอาการอื่น ๆ ที่เป็นในช่วงนี้เพิ่มเติมให้ดี จากนั้นไปพบแพทย์ทั้งบอกเล่าอาการของตนเองโดยละเอียด และรับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์เป็นลำดับถัดไป

    ภาวะหัวใจโต อันตรายไหม

    ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจโต ?

    หลังจากทราบที่มาที่ไปของการเกิดภาวะหัวใจโตกันไปคร่าว ๆ แล้ว เราลองมาดูกันดีกว่าว่า ใครบ้างที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจโต

    • ภาวะดังกล่าวมีความเสี่ยงในการเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่เป้นโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากการมีความดันโลหิตสูงจะทำให้หัวใจทำงานหนักและเป็นสาเหตุในการเกิดภาวะหัวใจโต
    • ภาวะดังกล่าวมีความเสี่ยงในการเกิดกับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคไขมันในเลือดสูง เพราะโรคเหล่านี้นั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่อง
    • ภาวะหัวใจโตมีความเสี่ยงในการเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหัวใจเต้นผิดปกติ และโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ
    • ภาวะดังกล่าวมีความเสี่ยงในการเกิดขึ้นกับผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ
    • ภาวะดังกล่าวมีความเสี่ยงในการเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคโลหิตจาง และโรคที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
    • ภาวะดังกล่าวมีความเสี่ยงในการเกิดขึ้นกับผู้ที่มีการรับประทานธาตุเหล็กมากจนเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดโรค Hemochromatosis
    • ภาวะหัวใจโตมีความเสี่ยงในการเกิดขึ้นกับผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับโปรตีน มีโปรตีนสะสมในกล้ามเนื้อหัวใจ เป้นต้น

    และนี่ก็คือผู้ที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงในการเกิดภาวะหัวใจโต สำหรับใครที่มีความเสี่ยงเหล่านี้ต้องไม่ลืมที่จะหมั่นสังเกตสภาพร่างกายของตนเอง ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะหากมีภาวะหัวใจโตเกิดขึ้นกับร่างกาย จะได้ทำการเข้าตรวจรักษาและหาวิธีดูแลอย่างทันท่วงที

    วิธีการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจโต

    แน่นอนว่าการรอให้เป็นแล้วค่อยทำการรักษานั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ อีกทั้งผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยมีภาวะหัวใจโต หรือมีโรคซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจโตก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนป้องกันความเสี่ยงการเกิดภาวะหัวใจโต โดยการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจโตนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

    • ป้องกันด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    • ป้องกันด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ (ควรออกกำลังกายเป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาทีทุกวัน)
    • ป้องกันด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ (อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง)
    • ป้องกันโดยการให้ความสำคัญกับการควบคุมระดับคอเลสเตอรอง
    • ป้องกันโดยการให้ความสำคัญกับการควบคุมความดันโลหิต
    • สำหรับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ป้องกันโดยการไม่ดื่มแอลกอฮอล์มากจนเกินไป ควรดื่มแต่พอดี
    • ป้องกันโดยการไม่สูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติด

    วิธีเหล่านี้ถือเป็นวิธีง่าย ๆ ในการป้องกันการเกิดโรคหัวใจโตที่ไม่ว่าใครก็ทำได้ เพียงแต่ต้องมีวินัย และให้ความใส่ใจในการรักษาสุขภาพตนเองอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

    หัวใจโต อันตรายไหม

    ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีภาวะหัวใจโต

    แน่นอนว่าเมื่อมีภาวะความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายแล้ว ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ มาลองดูกันว่าจะมีภาวะอะไร ที่สามารถเกิดแทรกซ้อนขึ้นมาได้ ในขณะที่มีภาวะหัวใจโต

    • อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเนื่องจากหัวใจอาจมีการเต้นเร็วหรือเต้นช้าเกินไปเนื่องจากโรคหัวใจโต
    • อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างการมีเสียงฟู้ของหัวใจเนื่องจากการทำงานของลิ้นหัวใจบกพร่อง
    • หากมีภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายโต อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวแทรกซ้อนขึ้นได้
    • อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างการเกิดหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองเนื่องจากภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

    และภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ก็คือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นทางที่ดีควรป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหัวใจโตเอาไว้ เพราะแม้จะไม่ได้ส่งผลอันตรายโดยทันทีแต่ก็อาจลุกลามและเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ ต้องระวัง

    สรุป

    การเกิดภาวะผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ หรือเรื่องใหญ่ อย่างไรก็นับว่าเป็นข้อเสียต่อร่างกาย ดังนั้นไม่ว่าภาวะผิดปกติเหล่านั้นจะเล็กน้อยเพียงไหน หากป้องกันไว้ก่อนได้ก็ควรป้องกันไว้ ดีกว่ามาตามรักษาทีหลังอย่างแน่นอน


    สรุป

    สรุปบทความ

    ภาวะหัวใจโต คือภาวะที่มีการตรวจพบว่าขนาดของหัวใจโตขึ้น แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ภาวะหัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ และ ภาวะหัวใจโตขึ้นเนื่องจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี ซึ่งโดยปกติแล้วภาวะหัวใจโตไม่ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์แต่อย่างใด สามารถรักษาได้  แต่ทั้งนี้ หากมีอาการเพิ่มเติม ควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียดทันที ดังนี้

    • มีอาการเจ็บหน้าอก
    • หายใจไม่ทัน
    • เป็นลมหรือหมดสติไป
    • มีความรู้สึกชาหรือปวดบริเวณกราม คอ แขน และหลัง
    จบสรุปบทความ

    ที่มา


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024