แคร์สุขภาพ

ข้อเข่าเสื่อม เกิดจากสาเหตุอะไร? ต้องผ่าตัดไหม พร้อมบอกแนวทางรักษาแบบทางเลือกใหม่

ผู้เขียน : Mayya Style
Mayya Style

เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Thirakan T
Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
Published: June 20,2023
  
Last edited: July 23, 2024
ข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย มีมาตั้งแต่ในท้องคุณแม่จนเกิดมา โดยเป็นส่วนที่ต้องรองรับน้ำหนักในระหว่างนั่งหรือเดิน บางคนอาจใช้งานหัวเข่าค่อนข้างหนัก เช่น ปีนเขา เดินป่า หรือวิ่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดความบาดเจ็บขึ้นได้ โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพาทุกคนไปรู้จักกับภาวะข้อเข่าเสื่อม ว่าามันคืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไร จำเป็นต้องผ่าตัดหรือไม่หรือมีการรักษาแบบทางเลือกใหม่ ไปดูกันเลย!! 

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ข้อเข่าเสื่อม เกิดจากอะไร? 

    ข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เกิดจากการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อข้อเข่า หากต้องการรักษาให้หายขาด คนไข้จำเป็นที่จะต้องผ่าเข่า ซึ่งสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้

    1. การสึกหรอของเนื้อเยื่อ

    ข้อเข่ามีการใช้งานอย่างหนักในการทำกิจกรรมทั้งวิ่ง กระโดด หรือท่าทางที่มีการยกน้ำหนัก การใช้งานที่ต่อเนื่องอาจทำให้เกิดการสึกหรอของเนื้อเยื่อข้อเข่า เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็ว 

    2. อายุ

    อายุเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยที่เสี่ยงในการเกิดข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าอาจมีการเสื่อมสภาพเนื่องจากกระบวนการสึกหรอและสึกหรอของเนื้อเยื่อภายในข้อเข่าที่เกิดขึ้นตามระยะเวลา จึงเป็นเรื่องปกติที่ทำไมคนสูงอายุมักมีอาการปวดเข่าหรือเข่าเสื่อม

    3. ปัจจัยทางพันธุกรรม

    บางครั้งการเกิดข้อเข่าเสื่อมอาจมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ซึ่งความชุกของโรคอาจมีการกระจายตามครอบครัว เช่น คุณแม่มีพันธุกรรมเกี่ยวกับโรคเข่าเสื่อม ในอนาคตลูกก็อาจมีภาวะเข่าเสื่อมได้ตอนวัยชรา

    4. การบาดเจ็บ

    การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อข้อเข่าก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของข้อเข่าเสื่อมเช่นกัน เช่น การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การเกิดอุบัติเหตุ หรือการทำงานที่มีการใช้งานข้อเข่าอย่างเด่นชัด อาจทำให้เกิดความเสียหายในเนื้อเยื่อข้อเข่าและเส้นเอ็น

    5. น้ำหนักเกิน

    น้ำหนักที่เกินเกณฑ์มาตรฐานอาจทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ ทำให้มีการกดของเนื้อเยื่อข้อเข่าและเส้นเอ็นมากขึ้น ทำให้เกิดการสึกหรอและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ดังนั้นควรหมั่นตรวจสอบน้ำหนักของตนเองอยู่เสมอว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สมดุลหรือไม่

    เหล่านี้เป็นเพียงสาเหตุเบื้องต้นเท่านั้น การเสื่อมข้อเข่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ หากมีอาการเจ็บ บวม หรือข้อเข่าไม่คงที่ ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาเพิ่มเติม

    ข้อเข่าเสื่อม เกิดจากอะไร?

    ข้อเข่าเสื่อม อาการ 

    โรคข้อเข่าเสื่อมคือโรคที่เกิดจากการสึกหรอของกระดูกในข้อที่ช่วยลดการเสียดทานในการเคลื่อนที่ของข้อเข่า โรคนี้ส่วนใหญ่จะพบในคนที่อายุมากขึ้น โดยมีอาการดังต่อไปนี้:

    1. เจ็บปวดบริเวณข้อเข่าเป็นประจำ โดยเฉพาะเวลาใช้งานหรือหลังจากการใช้งานหัวเข่า และอาจจะปวดในช่วงตอนกลางคืนหรือเวลาพักผ่อน บางครั้งอาจเกิดจากอากาศที่เย็นส่งผลให้เกิดอาการปวดได้ หลังจากออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ใช้ข้อเข่าเยอะควรรีบประคบเย็นโดยทันที 

    2. ความสามารถในการเคลื่อนที่ของข้อเข่าลดลง ทำให้เดินหรือตัวยากขึ้น บางรายหลังลุกจากเก้าอี้อาจต้องยืนทรงตัวก่อนสักครู่หนึ่งเพื่อเดินต่อ ไม่สามารถเดินได้ทันที หากคุณมีอาการเหล่านี้อย่านิ่งนอนใจเป็นอันขาด รีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัย

    3. ข้อเข่าเสื่อมอาจแสดงอาการบวมและแดงบริเวณเข่าในบางครั้ง ซึ่งเป็นสัญญาณของการอักเสบ

    4. มีกระดูกอ่อนเกิดขึ้นเมื่อกระดูกภายในข้อเริ่มสึกหรอ สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า “ภาวะกระดูกงอก”

    ถ้าคุณสังเกตุภาพว่ามีอาการดังกล่าว ควรรีบมาปรึกษากับแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม อาจรวมถึงการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า, การทำกายภาพบำบัด, การใช้ยาเพื่อลดปวดและการอักเสบ, หรือการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และความพร้อมในการใช้งานข้อเข่า

    ข้อเข่าเสื่อม รักษาหายได้ด้วยตนเอง จริงไหม? 

    จริง ๆ แล้วข้อเข่าเสื่อม รักษาได้ด้วยตนเองโดยการลดน้ำหนักเพื่อให้เข่ารับน้ำหนักน้อยลง เปลี่ยนท่ายืน ท่านั่งให้มีความสมกุลกัน หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได การนั่งถ่ายด้วยชักโครกมากกว่าคอห่าน การใช้ไม้เท้า การออกกำลังกายบริหารข้อเข่า การกายภาพบำบัด หรือการใช้ไม้เท้าช่วยพยุง 

    เหล่านี้เป็นวิธีง่าย ๆ ประหยัด แต่เป็นเพียงแค่การชะลอการเสื่อมเท่านั้น หากข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น การผ่าตัดก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ลดอาการปวดเข่า แต่แน่นอนว่าหลังผ่าคุณจะต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษและฝึกการเดินใหม่ 

    ข้อเข่าเสื่อม รักษาหายไหม? 

    ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ มีเพียงแต่การบรรเทาหรือควบคุมอาการเท่านั้น ซึ่งจุดประสงค์ในการรักษา คือเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ทำให้ข้อเข่ากลับมาใช้งานได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด แต่การรักษาข้อเข่าเสื่อม สามารถทำได้ทั้งแบบผ่าตัด และ ไม่ผ่าตัด 

    ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ราคาเท่าไหร่?

    สำหรับผู้สูงอายุที่มีบัตรทอง สามารถไปใช้วิทธิผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่อาจต้องรอคิวนาน โดยจะมีการใช้วัสดุที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษาโดยใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาทมากกว่า 70% แต่สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการผ่าตัด แต่ไม่อยากรอคิวนาน และมีกำลังทรัพย์มากพอขอแนะนำให้ผ่าที่โรงพยาบาลเอกชน

    • ราคาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม สำหรับโรงพยาบาลรัฐบาล: ประมาณ 70,000-80,000 บาท
    • ราคาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม สำหรับโรงพยาบาลเอกชน: ประมาณ  290,000 – 490,000 บาท

    ** ราคาจะขึ้นอยู่กับวัสดุอุปกรณ์ข้อเข่าเทียมที่เลือกใช้ และจำนวนข้างที่ต้องการผ่า 

    ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าใช้เวลากี่ชั่วโมง 

    โดยทั่วไปการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการเข่าเสื่อม จะใช้ระยะเวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง โดยจะมีการดมยาสลบหรือฉีดยาสลบเข้าไขกระดูกสันหลังเพื่อไม่ให้เกิดความเจ็บปวดขณะทำ หลังจากนั้นศัลยแพทย์จะทำการตัดผิวข้อที่เสียออกไป แล้วใช้ข้อเทียมที่ทำด้วยโลหะใส่กลับเข้าไปแทน หลังจากนั้นแพทย์จะทำการเย็บปิดแผล และคนไข้ต้องนอนสังเหตุอาการเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด 

    การรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ผ่าตัด มีวิธีอย่างไร? 

    การรักษาด้วยเม็ดเลือดขาว (PRP หรือ Platelet-Rich Plasma) เป็นวิธีการรักษาทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านข้อเข่าเสื่อม แต่ยังเสื่อมไม่มากและไม่ต้องการผ่าตัด การฉีด PRP ถือมีประสิทธิภาพในการช่วยบรรเทาอาการของข้อเข่าเสื่อมในบางกรณี โดยการใช้ภูมิต้านทานและส่วนประกอบทางชีวภาพอื่น ๆ ที่มาจากเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยเองเพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูของเนื้อเยื่อในร่างกาย

    การรักษาด้วย PRP จะเริ่มต้นด้วยการสกัดเลือดจากผู้ป่วย จากนั้นเลือดที่ได้จะถูกประมวลผ่านเครื่องกลางเซ็นทริฟิวจ์เพื่อแยกเพลตเล็ทและส่วนประกอบของเม็ดเลือดอื่น ๆ ออกมา ส่วนที่ได้จะถูกฉีดเข้าในข้อเข่าที่มีอาการปวด

    มีกรณีศึกษาหลายรายงานกล่าวว่า PRP ช่วยลดอาการปวดและปรับปรุงการใช้งานข้อในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม อย่างไรก็ตาม PRP อาจไม่เหมาะสมสำหรับทุกคน และมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเช่นการติดเชื้อในบริเวณที่ฉีดได้ หลักจากฉีดแล้วอาจทำให้เกิดอาการเข่าบวม ซึ่งสามารถบรรเทาได้โดยการประคบเย็น ดังนั้นหากคุณกำลังพิจารณาการรักษา PRP ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจในข้อดีและข้อเสียทั้งหมดก่อนตัดสินใจ 

    ราคาของการรักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยวิธี PRP 

    • 1 ข้าง ราคา 6,500 บาท/ครั้ง
    • 2 ข้าง ราคา 12,000 บาท/ครั้ง 

    ข้อเข่าเสื่อม อาหารเสริม

    ถ้าคุณเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม อาหารเสริมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดและเป็นส่วนหนึ่งในการรักษา วันนี้น้องแคร์จะยกตัวอย่างอาหารเสริมที่คุณไม่ควรพลาด ดังนี้

    1. กลูโคซามีน (Glucosamine)

    ใช้ในการสร้างกระดูกอ่อน, ข้อ, ลิกาเมนต์, และเอ็นไทล์. Glucosamine มักจะใช้ในการทำเสริมสร้างผลิตภัณฑ์สำหรับความสุขภาพของข้อและกระดูก บางวิจัยชี้ว่า glucosamine สามารถช่วยในการบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม เช่น อาการปวดและสภาพข้ออักเสบ อย่างไรก็ตามข้อมูลวิจัยยังไม่สมบูรณ์และข้อดีข้อเสียของการใช้ glucosamine ยังถูกอภิปรายอยู่ในวงการวิทยาศาสตร์

    2. คอนดรอยติน (Chondroitin)

    มักจะพบร่วมกับกลูโคซามีนในสินค้าเสริมสร้างสุขภาพ คอนดรอยตินเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างของกระดูกอ่อน (cartilage) ที่ประกอบด้วยเซลลูโลสและโปรตีน เป็นสารที่สามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและลดการอักเสบ

    3. MSM (Methylsulfonylmethane) 

    เป็นสารเคมีที่พบอยู่ในพืช, สัตว์, และคน มีความสำคัญในด้านการสร้างกระดูก, ข้อ, และผิวหนัง โดยสารนี้มักจะใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมสร้างสุขภาพ เพื่อลดการอักเสบ, เจ็บปวด, และถูกใช้อย่างแพร่หลายในผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

    4. Omega-3 Fatty Acids

    Omega-3 Fatty Acids เป็นประเภทของไขมันไม่อิ่มตัวที่มีความสำคัญสำหรับสุขภาพของคุณ. ประเภทหลักของ Omega-3 ไขมัน คือ ALA (alpha-linolenic acid), DHA (docosahexaenoic acid), และ EPA (eicosapentaenoic acid) Omega-3 มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองและสายตา และสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ความหลากหลายของการศึกษายังแสดงว่า omega-3 fatty acids สามารถช่วยในการลดอาการของโรคภูมิแพ้, โรคข้อเข่าเสื่อม, และโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ.

    5. วิตามิน D 

    วิตามิน D เป็นวิตามินที่มีความสำคัญในการรักษาสุขภาพของกระดูกและภูมิคุ้มกัน ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหารที่คุณกิน ซึ่งมีความสำคัญสำหรับกระบวนการเจริญเติบโตและซ่อมแซมของกระดูก

    สำหรับการรับประทานอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อน ในบางกรณี อาหารเสริมอาจมีปฏิสัมพันธ์กับยาที่คุณกำลังทานอยู่ และไม่ทุกคนที่ทานอาหารเสริมจะได้รับประโยชน์เท่ากัน

    เหล่านี้คือข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม  หากคุณสังเกตุอาการแล้วพบว่าตนเองเข้าข่ายที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา อยากแนะนำให้คุณซื้อประกันสุขภาพ กับ แรบบิท แคร์ ติดตัวเอาไว้สักฉบับ เพราะคุณจะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย เช่น รับความคุ้มครอง IPD และ OPD สูงสุด 100 ล้านบาท, บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์, นอนรพ. รับค่าห้อง สูงสุด 16,000 บาท/วัน และอื่น ๆ สำหรับค่าเบี้ยประกันภัยก็สามารถผ่อนจ่ายได้ 0% 10 เดือน และหากคุณจำเป็นต้องผ่าเข่า ก็สามารถเบิกประกันสุขภาพได้เช่นกัน เรามีแผนประกันให้คุณเลือกมากมาย ประกันสุขภาพ IPD OPD, ประกันโรคร้ายแรง, ประกันสุขภาพเด็ก, และอื่น ๆ หากสนใจโทรเลย 1438 


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024