Motion Sickness คืออะไร ? ต้องพบแพทย์ไหมนะ
รู้จัก Motion Sickness กันรึเปล่า? นี่คืออีกหนึ่งภาวะการป่วยจากการเคลื่อนไหว ชื่อเรียกอาจจะไม่คุ้นเท่าไหร่ แล้วมันร้ายแรงมากมายแค่ไหนกัน ? จริงแค่ไหน ที่บอกว่าเกิดขึ้นกับตอนที่เราเล่นเกมออนไลน์ มาทำความรู้จัก พร้อมวิธีการรับมือ หากคุณกำลังมีอาการเหล่านี้อยู่กันดีกว่า!
Motion Sickness คืออะไร ? ต้องพบแพทย์ไหมนะ
รู้จักกับ อาการ Motion Sickness คืออะไรกันแน่ ?
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า ในช่วงปีที่ผ่านมา การเข้าถึงสิ่งบันเทิงที่เรียกว่าเกมนั้น ทำได้ง่ายขึ้นมากๆ บางครั้งคุณไม่จำเป็นต้องมีเครื่องเล่นเกมแพงๆ หรือมีคอมพิวเตอร์สเปคสูงๆ ก็ยังสามารถเลือกเล่นเกมได้จากสมาร์ตโฟน
แต่ในบางคน เมื่อเล่นเกมแล้ว จู่ๆ มีอาการปวดหัว มึนหัว วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย บางรายหนักมากถึงขั้นเล่นแล้วรู้สึกคลื่นไส้กับ เกม VR บางชนิด แบบนี้ไม่ต้องตกใจไป อาการเหล่านี้มีคำอธิบาย โดยทางการแพทย์เรียกกันว่า อาการ Motion Sickness
Motion Sickness คือ ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว เกิดจากระบบการทรงตัวของร่างกายและสมองของเราไม่สามารถปรับตัวได้ทัน สามารถเกิดขึ้นได้ทุกคน เพียงแต่บางคนเป็นน้อย บางคนเป็นหนัก หรือบางคนอาจไม่มีอาการเกิดขึ้นเลย
อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ได้ว่า การที่สมองของเรารับภาพมาอย่างหนึ่ง แต่ร่างกายของเราไม่ได้รู้สึกว่าเคลื่อนไหวอย่างธรรมชาติ ตามการรับรู้นั้นเอง และเกิดขึ้นกับเกมบางประเภทที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวเร็วๆ มีการหมุนมุมกล้องที่รวดเร็ว
แน่นอนว่า อาการเหล่านี้ ไม่ได้เกิดแค่กับนักเล่นเกมเท่านั้น แต่คนทั่วไปที่ไม่เคยเล่นเกมก็สามารถเป็นได้ โดยคุณอาจจะคุ้นเคยกับอาการที่เรียกว่า เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน นั่นเอง
ทำไมบางคนถึงมีอาการ แต่ทำไมบางคนไม่มีอาการ ?
ภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว หรือ Motion Sickness นั้น มีหลากหลายทฤษฎี บ้างก็ว่ามาจาก ‘มวลร่างกาย’ ของแต่ละคน ที่ทำให้มีจุดศูนย์ถ่วงร่างกายไม่เท่ากัน ส่งผลต่อการทรงตัว และการรับรู้ของสมอง จนเป้นที่มาของอาการเมาต่างๆ
แต่บางทฤษฎีก็กล่าวว่า ความต่างอาจอยู่ในระดับยีน โดยมีการเก็บตัวอย่าง DNA ของคนกว่า 80,000 ตัวอย่าง พบว่ามียีนราว 35 ชนิด ที่มีอิทธิพลต่อการเติบโตของ ดวงตา หู ช่องภายในหู และระดับการควบคุมน้ำตาลในเลือดที่มีสาเหตุให้มีอาการ Motion Sickness ที่แตกต่างกันออกไป อีกด้วย
และนอกจากทฤษฎีแล้ว ผู้ที่เสี่ยงป่วยเป็น Motion Sickness นั่น มีดั่งนี้
- เด็กอายุ 3 – 12 ปี
- ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ หรือมีประจำเดือน
- มีภาวะขาดน้ำ
- มีความเครียด
- เป็นโรคไมเกรน
จะเห็นได้ว่า อาการเมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน หรือแม้แต่อาการเมาเกม ที่ดูพื้นฐาน จะเต็มไปด้วยกลไกสมองที่ซับซ้อน เพราะบางคน หากปรับตัวให้ชินกับการเคลื่อนไหว หรือการเดินทางเหล่านั้น ภาวะ Motion Sickness จะค่อยๆ ลดลงได้ แต่กลับกัน บางคนแม้จะเดินทางบ่อยมากแค่ไหน หรือพยายามเล่นเกมให้ชินกับการเคลื่อนไหวภาพเร็วๆ ยังไง ก็ไม่อาจชินได้อยู่ดี
แน่นอนว่า อาการป่วยจากการเคลื่อนไหวเหล่านี้ ยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้ มีแต่ยาแก้เมารถ เมาเรือ ที่ช่วยแก้ได้เป็นครั้งๆ ไปเท่านั้น ซึ่งยาเหล่านี้มักจะมีผลข้างเคียงที่ตามมาเสมอ เช่น ตาแห้ง, ปวดหัว, ปวดเมื่อยตามตัว และปัสสาวะขัด ทำให้ไม่ควรนำมาใช้พร่ำเพรื่อนัก
แก้ อาการเมาๆ ของ Motion Sickness ยังไงดี ?
การแก้อาการ Motion Sickness นั่น ไม่ว่าจะเกิดมาจากการเดินทาง หรือเล่นยเกม ก็ทำได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องพึ่งยา โดยมีวิธี ดังนี้
สูดลมหายใจเข้าลึกๆ
เมื่อเริ่มรู้สึกวิงเวียน ให้สูดลมหายใจเข้าลึกๆ (บางคนอาจจะใช้ยาดมช่วยได้) วิธีนี้จะช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น คลายอาการวิงเวียนศีรษะออกไปได้ หากมีโอกาส ควรลุกออกไปลมรับเย็นๆ ยืดเส้นยืดสาย จะยิ่งช่วยได้มาก
หรือในกรณีที่เดินทางอยู่ ไม่สามารถลุกไปไหนมาไหนได้ อาจจะหาผ้าเย็นๆ มาเช็ดหน้าแทน ก็จะช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน
พยายามอย่ามองวัตถุหรือสิ่งแวดล้อมภายในรถ เรือ หรือเครื่องบิน เนื่องจากของเหล่านี้จะเกิดการสั่นไหวตามจังหวะของยานพาหนะ ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกคลื่นเหียนได้ง่ายขึ้น ให้เน้นมองไปไกล ๆ มองไปยังจุดที่นิ่งและอยู่ไกล เพื่อให้สมองมีจุดโฟกัสที่แน่นอน ลดอาการลงไปได้
พยายามตั้งศีรษะให้ตรง และนิ่งที่สุด
เมื่อเราเกิดอาการ เบื้องต้นลองทรงตัวให้ตรง โดยเฉพาะศีรษะไม่ควรไหวเอนไปมา หรือในกรณีที่เดินทางอยู่ ให้ระวังการพิงศีรษะไว้กับผนังรถ เครื่องบิน หรือเรือ เพราะอาจได้รับแรงสั่นสะเทือนตามจังหวะการเคลื่อนไหวของรถได้ ซึ่งจะทำให้รู้สึกเมามากขึ้นไปอีก
รวมไปถึง พยายามนั่งบริเวณพื้นที่โดยสาร ที่สั่นน้อยที่สุด วิธีนี้จะทำให้ทั้งตาและหูของเรารับรู้การเคลื่อนไหวของรถไปพร้อมๆ กับอวัยวะควบคุมการทรงตัวที่อยู่ในหูชั้นใน จึงมีโอกาสเมาน้อยกว่า และอย่าอ่านหนังสือ ดูทีวี หรือเล่นมือถือ เพราะจะยิ่งทำให้วิงเวียนแทน
หาอะไรทาน อย่าปล่อยให้ปากว่าง
สำหรับคนที่ท้องไส้เริ่มปั่นป่วน อยากอาเจียนออกมาให้รู้แล้วรู้รอด ก็อาจจะลองดื่มน้ำอัดลมแบบจิบๆ พอประมาณ จะช่วยบรรเทาเหล่านั้นลงได้ ไม่มากก็น้อย หรือถ้าไม่สะดวก อาจจะเปลี่ยนเป็นเคี้ยวหมากฝรั่ง หรือลูกอม ก็จะช่วยได้มาก
โดยลูกอม หมากฝรั่ง ที่เราแนะนำ ควรเป็นพวกรสขิง รสเปปเปอร์มินต์ หรือรสชาติอื่นยๆ ที่ทำให้รู้สึกกสดชื่น ปลอดโปร่งขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลยล่ะ
กดจุดแก้เมา
ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน เราสามารถแก้เมาเรือได้ด้วยการกดจุ โดยสามารถกดจุดเน่ยกวาน หรือจุดที่อยู่ห่างจากเส้นข้อมือลงมาประมาณ 2 นิ้ว เมื่อหาจุดเจอแล้ว ให้ใช้หัวแม่มือกดจุดเน่ยกวานทั้ง 2 ข้าง กดนิ่งไว้สักครู่หนึ่งจนรู้สึกดีขึ้น
ส่วนจุดที่ 2 คือจุดเหอกู่ ซึ่งอยู่บริเวณหลังมือ ตรงง่ามนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ โดยวิธีหาจุดง่าย ๆ คือให้คว่ำฝ่ามือลง นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ชิดติดกัน จะอยู่ตรงจุดสูงสุดของกล้ามเนื้อที่นูนขึ้นมาระหว่างนิ้วทั้งสอง เมื่อเจอจุดกดแล้วให้ใช้นิ้วหัวแม่มืออีกข้างหนึ่งกดไว้สักครู่ หรือกดจนกว่าอาการเมารถ เมาเรือจะบรรเทาลง
พักผ่อน อย่าฝืน ด้วยดการหลับตาแล้วนอน
หากไม่ไหวจริงๆ อย่าฝืน คุณอาจจะลองหลับตาลง เพื่อปิดสัญญาณภาพเข้าสมองเป็นการลดความสับสน และปล่อยให้สมองได้รับสัญญาณจากอวัยวะคุมการทรงตัวที่อยู่ในหูชั้นในเพียงทางเดียว ซึ่งวิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการได้ดีขึ้น หรือจะเลือกนอนหลับพักผ่อนไปเลยก็ได้เช่นกัน
ไม่ควรเล่นเกม หรือเดินทางทันที หลังจากมื้ออาหาร
แนะนำควรหลีกเลี่ยงการเล่นเกม หรือแม้แต่การเดินทาง เพราะจะเสี่ยงต่ออาการ Motion Sickness มากเ้ป็นพิเศษ และในกรณีที่คนมีอาการ Motion Sickness มากๆ อาจทำให้อาเจียนได้ง่ายมากขึ้นด้วย ดังนั้นให้ท้องโล่งซะก่อนเดินทาง หรือเล่นเกมจะดีกว่า
เล่นออกห่างจากหน้าจอ และปรับความสว่างหน้าจอให้พอดีตา
สำหรับเหล่าเกมเมอร์ที่อยากเอาชนะภาวะ Motion Sickness คุณอาจจะต้องรรักษาระยะห่างระหว่างหน้าจอ เป็นไปได้ปรับความสว่างหน้าจอให้อยู่ระดับที่พอดี โดยวิธีเหล่านี้ จะเป็นการช่วยไม่ให้คุณรู้สึกล้าตาระหว่างเล่นอีกด้วย
ตั้งค่าเกม ลดคุณภาพกราฟิก ปิดเอฟเฟคบางส่วน
ลองปรับลดคุณภาพกราฟิกเพื่อให้เกมสามารถประมวลผลได้ราว 30 FPS หรือประมาณ 50-60 FPS ให้ตลอดเวลา (ขึ้นอยู่กับสไตล์การเล่น และคุณภาพฮาร์ดแวร์) รวมถึงปิดเอฟเฟคบางชนิดที่ส่งกระทบต่อสายตาของเรา โดยเฉพาะ Motion Blur หรือแสง Lens Flare เพื่อให้การเล่นเกมรู้สึกสบายตาที่สุด
จะเห็นได้ว่า อาการ Motion Sickness นั้น ไม่ติดเกม ก็สามารถเป็นได้ และไม่ได้น่าเป็นห่วงมากจนต้องถึงขั้นไปพบแพทย์ เพราะอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ถึงแม้จะยังไม่มีวิธีการรักษาได้เต็มร้อย แต่เราก็สามารถลด เลี่ยง อาการเหล่านั้นได้!
จริงอยู่ที่ Motion Sickness อาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่การหมั่นสังเกตอาการต่างๆ ที่ผิดปกติของตน ก็นับว่าเป้นเรื่องที่ดี และเพื่อความไม่ประมาท ต้องนี่เลย ประกันสุขภาพจาก Rabbit Care ที่มีให้คุณเลือกหลากหลายแบบตรงกับไลฟ์สไตล์
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct