ข้อควรรู้ เลือดกำเดาไหล เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง?!
ไม่เพียงแต่การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แต่ปัจจุบันมีเรื่องของฝุ่น PM2.5 อย่างไรก็ตามขนจมูกมีหน้าที่ดักจับเชื้อโรคที่เข้าไปในจมูกเรา ดังนั้น น้องแคร์แนะนำให้คุณล้างจมูกบ่อย ๆ เพื่อทำความสะอาดโพรงจมูกและขนจมูก
ในจมูกของคนเรามีเส้นเลือดฝอยอยู่ หากเส้นเลือดนั้นแตกจะทำให้มีอาการเลือดไหลออกมาทางจมูก หรือที่รู้กันว่า “เลือดกำเดาไหล” หลายคนอาจสงสัยว่า เลือดกำเดาไหล เกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง หรือเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง แล้วมีวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย!
เลือดกำเดาไหล คืออะไร
เลือดกำเดาไหล มีชื่อทางภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Epistaxis โดยสามารถพบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ในทุกวัย เป็นภาวะที่มีเลือดกำเดาไหล อาจมาจากทางด้านหน้า ด้านหลังของโพรงจมูกก็ได้ บางรายอาจพบว่าเลือดออกข้างเดียว หรือบางรายอาจมีเลือดออกสองข้างก็ได้ ภาวะเลือดกำเดาไหลนี้สามารถพบได้โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ภาวะนี้สามารถหายหรือหยุดได้เอง แต่ต้องรู้วิธีปฎิบัติที่ถูกต้อง ภาวะเลือดกำเดาไหลสามารถพบได้ 2 รูปแบบ ดังนี้:
1. เลือดออกน้อย ไม่มาก
ปริมาณของเลือดอาจไม่ได้ออกมาเยอะมากเท่าที่ควร เลือดที่ไหลสามารถหยุดเองได้ เป็นภาวะที่เลือดไหลออกมาจากจมูกส่วนหน้า สามารถพบได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่น ความถี่ของเลือดกำเดาไหลอาจมาบ่อย หรือมาน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ภาวะนี้ไม่อันตรายเพียงไม่กี่นาทีเลือดก็จะหยุดไหลเอง เรียกว่า “Anterior epistaxis”
2. เลือดออกมามาก
ปริมาณเลือดออกมาจากจมูกมาก ไม่สามารถหยุดได้เอง แม้ปฐมพยาบาลถูกวิธีก็ไม่สามารถหยุดเองได้ ภาวะนี้ค่อนข้างอันตราย และควรรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน มักพบมากในผู้สูงอายุมีอาจมีโรคประจำตัวอยู่ เช่น ความดันโลหิตสูง โดยภาวะนี้เรียกว่า “Posterior epistaxis”
ตำแหน่งที่พบเลือดกำเดาไหล
ภาวะเลือดออกทางจมูกสามารถพบได้หลัก ๆ 3 ตำแหน่งดังนี้:
1. เลือดกำเดาไหลจากโพรงจมูกส่วนหน้า
ตำแหน่งนี้พบได้บ่อยที่สุด ประมาณร้อยละ 90% อย่างไรก็ตามมักพบในเด็กและวัยรุ่นที่ชอบเอานิ้วมือไปแคะจมูกเวลาอีกฝุ่นหรือมีอะไรมาทำให้จมูกมีความระคายเคือง ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกเกิดการอักเสบและฉีกขาด ส่วนมากจะพบเลือดออกที่บริเวณผนังกั้นช่องจมูกทางด้านหน้า จึงทำให้เกิดเลือดออกได้ในจมูกของคนเรามีเส้นเลือดฝอยและหลอดเลือดอยู่
2. เลือดกำเดาไหลจากโพรงจมูกด้านหลัง
หากเลือดไหลจากโพรงจมูกด้านหลัง จะทำให้สามารถไหลลงคอได้ บางรายอาจมีความรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน เมื่อได้กลืนเลือดไหลออกมา ภาวะนี้มีอาการรุนแรงมากกว่าแบบแรก สามารถพบได้ในผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีประวัติความดันโลหิตสูง มากไปกว่านั้นอาจพบได้ในคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเนื้องอกหลังโพรงจมูก หากคุณมีเลือดออกจากหลังโพรงจมูกอยู่บ่อย ๆ แนะนำให้คุณไปตรวจที่โรงพยาบาลโดยสามารถตรวจด้วยวิธีส่องกล้องเพื่อดูความผิดปกติที่หลังโพรงจมูก
3. เลือดกำเดาไหลจากด้านบนโพรงจมูก
พบได้น้อยที่สุดหากเทียบกับ 2 แบบแรก อาจเกิดจากการอุบัติเหตุที่บริเวณศีรษะหรือพบในคนไข้ที่เคยมีประวัติผ่าตัดไซนัสมาก่อน หากร้ายแรงกว่านั้นอาจเกิดจากเนื้องอกก็เป็นได้
ระดับความรุนแรงของเลือดกำเดาไหล
ความรุนแรงของเลือดกำเดาออก สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ:
1. ระดับความรุนแรงน้อย
คือการที่มีเลือดไหลออกมาทางจมูก แต่ในระดับนี้จะไม่รุนแรงมาก สามารถใช้ทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้าซับ สามารถหยุดได้เอง คุณสามารถดูแลปฐมพยาบาลได้เองโดยไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล
2. ระดับความรุนแรงปานกลาง
ความรุนแรงระดับที่ 2 เป็นแบบปานกลาง เลือดที่ออกมามีปริมาณที่มากขึ้นกว่าแบบแรก ออกจนสามารถนับปริมาณได้ เช่น ออกปริมาณครึ่งแก้วน้ำ หนึ่งแก้วน้ำ เป็นต้น แต่คนไข้ยังไม่ได้มีสัญญาณชีพที่ผิดปกติ ยังรู้ตัวและสามารถช่วยเหลือตนเองได้
3. ระดับความรุนแรงมาก
ระดับสุดท้าย คือรุนแรงมาก คนไข้จะมีปริมาณเลือดกำเดาไหลเป็นปริมาณมากที่ผิดปกติ ร่วมกับมีสัญญาณชีพที่ผิดปกติไป เช่น มีชีพจรเต้นเร็ว ชีพจรเต้นช้าลง ซึมลง หายใจเหนื่อย ปวดหัว จะเป็นลม ผู้ป่วยกลุ่มนี้ถือว่ารุนแรงมากที่สุด และจะต้องรีบมาพบแพทย์ด่วน
เลือดกำเดาไหล เกิดจาก
สาเหตุเลือดกำเดาไหลมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก
1. เกิดก้อนภายในโพรงจมูก
หลายคนอาจเคยรู้จักในชื่อ เนื้องอกหลังโพรงจมูก หากคุณเป็นโรคนี้แล้วมีการติดเชื้อร่วมด้วย เช่น มีการแคะจมูก ไอจามอย่างรุนแรง อาจทำให้เส้นเลือดฝอยในจมูกแตกได้ เป็นหนึ่งในสาเหตุเลือดกำเดาไหลได้
2. จมูกได้รับการกระแทกแรง ๆ
เลือดกำเดาไหล เกิดจากการเกิดอุบัติเหตุแรง ๆ ที่ทำให้จมูกได้รับการกระทบกระเทือนจะทำให้รูปร่างของจมูกอาจมีการผิดเพี้ยนไปจากเดิม เช่น จมูกเบี้ยว กระดูกจมูกหัก ผนังจมูกคด และอื่น ๆ เช่น จมูกชนกับหน้าต่างหรือประตูบ้าน เหตุผลนี้เป็นอีกหนึ่งสาเหตุเลือดกำเดาไหลได้ ดังนั้นคุณควรมีสติทุกครั้งเวลาทำอะไรก็ตาม และระมัดระวังบริเวณจมูกให้ดี
3. การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก
หากคุณจำเป็นต้องใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อพ่นจมูก น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนใช้ และศึกษาวิธีการใช้งานให้ถูกต้อง เพราะหากใช้ผิดวิธีแล้วอาจทำให้เลือดกำเดาไหลได้
4. ความผิดปกติทางด้านร่างกาย
เลือดกำเดาไหล เกิดจากการที่คุณเป็นโรคเลือดหรือโรคความดันโลหิตสูง จะทำให้การแข็งตัวของหลอดเลือดผิดปกติไป อาจทำให้เลือดหยุดยาก เช่น มีเลือดออกตามจมูก ตามไรฟัน มากไปกว่านั้นหากคุณได้รับยาละลายลิ่มเลือด ก็อาจเป็นหนึ่งสิ่งที่ทำให้เลือดออกง่ายขึ้น
5. ความเครียด
ความเครียดเป็นอีกหนึ่งสาเหตุเลือดกำเดาไหลเพราะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เป็นสาเหตุเลือดกำเดาไหล อาจทำให้มีอาการปวดหัวร่วมด้วย ดังนั้นน้องแคร์แนะนำให้คุณหาอะไรทำเพื่อให้ผ่อนคลาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานยาแก้ปวด
6. ฝุ่นควัน PM2.5
ปัจจุบันนี้มีฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพ ซึ่งมลภาวะเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพทั้งสิ้น บางคนแพ้ฝุ่นอาจถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล หลายคนอาจไม่รู้ว่าฝุ่นก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เลือดกำเดาไหล เพราะฝุ่นจะทำให้เยื่อบุโพรงจมูกเกิดการระคายเคืองและอักเสบได้ ดังนั้นก่อนออกไปทำกิจกรรมข้างนอก น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เช่น N95
เหล่านี้คือสาเหตุเลือดกำเดาไหล หากคุณรู้ตัวว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดกำเดาไหล ควรรีบหาวิธีป้องกันทันที
**แหล่งข้อมูลเรื่องสาเหตุของเลือดกำเดาไหลส่วนหนึ่งมาจากโรงพยาบาลพญาไท
เลือดกำเดาไหลแบบไหนเรียกว่า “อันตราย”
1. เลือดกำเดาไหลจากรูจมูกข้างเดิน ข้างเดิมตลอด เช่น ไหลออกข้างซ้ายทุกครั้ง
2. เลือดกำเดาไหลนานกว่า 10 นาที แม้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นถูกวิธี เลือดก็ไม่หยุดไหล
3. เลือดออกเป็นสีชมพูจาง ๆ
4. เลือดมีลักษณะเป็นลิ่มเลือด
5. เลือดกำเดาไหลออกมาปริมาณมาก เช่น ครึ่งขวด หนึ่งแก้วน้ำ
6. มีสัญญาณชีพที่ผิดปกติไป
7. เลือดกำเดาไหล เวียนหัว หน้ามืด เป็นลม
เลือดกำเดาไหล เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง
บางครั้งเลือดกำเดาไหล เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงก็เป็นได้ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ในอนาคต ยิ่งถ้าเลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ ออกมาเป็นลิ่มเลือดแล้วละก็ ยิ่งไม่ควรชะล่าใจเด็ดขาด ดังนั้น เลือดกำเดาไหล อาจเสี่ยงเป็นโรค เนื้องอกหลังโพรงจมูก วัณโรคหลังโพรงจมูก มะเร็งหลังโพรงจมูก และอื่น ๆ โดยการตรวจวินิจฉัยทำได้โดยการส่องกล้อง
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
หลายคนอาจมีความเชื่อที่ผิดอยู่เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล ดังนั้นน้องแคร์จะมาบอกวิธีดูแลตนเองเบื้องต้นที่ถูกต้อง :
1. บีบปีกจมูก2 ข้างเข้าหากัน ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที เนื่องจากการมีเลือดไหลออกทางจมูกมักมีสาเหตุมาจากบริเวณด้านหน้าของโพรงจมูก ซึ่งมีต้นตอมาจากเส้นเลือดตรงผนังกั้นโพรงจมูกด้านหน้า ดังนั้นการกดบีบจมูก ก็จะเป็นหนึ่งในวิธีการห้ามเลือดที่คุณสามารถนำไปใช้ได้
2. นั่งตัวตรง โน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย หลังจากนั้นก้มศีรษะลง จุดประสงค์ของท่านี้คือ เพื่อให้เลือดที่ไหลออกมากองอยู่ในโพรงจมูกเพื่อให้เลือดเหล่านั้นพัฒนากลายเป็นลิ่มเลือด
** หากคุณเงยหน้าเยอะเกินไป จะทำให้เลือดไหลลงคอได้ไวมากขึ้น ก็จะเสี่ยงทำให้เกิดการสำลักได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
3. อ้าปากหายใจและบีบจมูกต่อไปเป็นเวลา 5-10 นาที หากพบว่ามีเลือดไหลลงคอ ให้บ้วนใส่ภาชนะเพื่อที่จะรับปริมาณว่าเราเสียเลือดไปเท่าไหร่แล้ว น้องแคร์ไม่แนะนำให้คุณกลืนเลือดที่ไหลลงคอ เพราะจะกระตุ้นทำให้เกิดอาการอาเจียนได้ จะยิ่งทำให้อาการของคุณหนักยิ่งขึ้นไปอีก
การปฎิบัติตัวหลังเลือดกำเดาหยุดไหล
1. นอนพักผ่อน
หลังจากที่เลือดหยุดไหลแล้ว ให้คุณนอนพักผ่อนโดยนอนในท่าที่ศีรษะยกสูง เพราะเลือดกำเดาไหล เวียนหัวได้ มากไปกว่านั้นมีบางกรณีที่เลือดหยุดแล้วแต่อาจมีเลือดซึม ๆ ที่ไหลลงคออยู่เล็กน้อย ดังนั้นการยกหัวสูงจะทำให้เลือดไม่ไหลลงคอเยอะจนเกินไป
2. ประคบเย็น
หลังจากนั้นคุณควรประคบเย็นด้วยแผ่นเจล หากไม่มีสามารถใช้ผ้าห่อน้ำแข็งได้ วิธีนี้ต้องประคบที่บริเวณสันจมูกหรือหน้าผากก็ได้
3. ห้ามจามแรง ๆ
หากต้องการจาม ให้อ้าปากจาม และห้ามสั่งน้ำมูกแรง ๆ มากไปกว่านั้นคุณต้องห้ามเอานิ้วไปแคะจมูกแรง ๆ เพราะไม่อย่างนั้นอาจทำให้เลือดไหลออกมาอีกได้
4. งดยกของหนัก ๆ / งดออกกำลังกาย
หลังจากเลือดหยุดไหล คุณไม่ควรยกของหนัก หรือออกกำลังกาย เพราะจะทำให้เลือดออกซ้ำได้
5. ปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม
หากคุณอยู่ในอากาศที่เย็นมากจนเกินไป เช่น ปรับแอร์เย็นจนเกินไป น้องแคร์แนะนำให้คุณปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม เพราะถ้าอากาศเย็น ความชื้นในอากาศจะค่อนข้างต่ำ และอาจทำให้เลือดกำเดาไหลซ้ำได้
6. ล้างจมูก
หลังเลือดกำเดาหยุดไหล ในจมูกมะจะมีลิ่มเลือดที่แห้งแล้วแข็งตัวอยู่ ดังนั้นการล้างจมูกจะช่วยให้จมูกโล่งขึ้น หายใจได้สะดวกมากขึ้น วันนี้น้องแคร์จะมาบอกวิธีล้างจมูก ไปดูกันเลย!
อุปกรณ์ในการล้างจมูก :
- หลอดฉีดยา หรือ Syringe
- น้ำเกลือ 0.9% (Sodium Chloride)
- จุกล้างจมูก
- ผ้าเช็ดหน้าสะอาด
- ภาชนะสำหรับใส่น้ำเกลือ หรือกะละมัง
วิธีล้างจมูก :
- ใช้ไซริงค์ที่เตรียมไว้ดูดน้ำเกลือออกมาประมาณ 10-20 มิลลิลิตร
- ตะแคงหน้าแล้วฉีดน้ำเกลือเข้าสู่รูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง แล้วกลั้นหายใจเพื่อให้น้ำเกลือไหลเข้าโพรงจมูก หากทำถูกวิธีน้ำเกลือจะไหลออกมาที่รูจมูกอีกข้าง
- เงยหน้าเพื่อเทน้ำเกลือเข้าสู่จมูกทั้ง 2 ข้าง แล้วค่อย ๆ สั่งออกเบา ๆ –
7. รีบมาพบแพทย์
หากเลือดกำเดาไหลออกมาซ้ำ หรือออกปริมาณมากขึ้นกว่าเดิมจนผิดปกติ เช่น มีอาการหน้ามืด เวียนหัว เป็นลมร่วมด้วย ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
หากคุณเลือดกำเดาไหลอยู่บ่อย ๆ น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณไปตรวจเช็กร่างกายตนเองอย่างละเอียดที่โรงพยาบาล เพื่อที่จะได้อยู่ดูแลคนที่คุณรักไปนาน ๆ เพราะหากรู้ตัวเร็ว ป้องกันไว โอกาสรอดชีวิตจากโรคร้ายแรงยิ่งมีสูง น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณซื้อประกันสุขภาพของ แรบบิท แคร์ ติดตัวเอาไว้สักฉบับ เพื่อเจ็บป่วยไปหาหมอจะได้หมดกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล มาพร้อมกับบริษัทประกันชั้นนำของประเทศและแผนประกันที่มีความหลากหลายให้คุณได้เลือกสรร พร้อมเจ้าหน้าที่ที่จะดูแลและอยู่เคียงข้างคุณไปเสมอ ซื้อเลย!
เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ