แคร์สุขภาพ

ข้อควรรู้ เลือดกำเดาไหล เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง?!

ผู้เขียน : Mayya Style

เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care ได้อย่างมืออาชีพ

close
Published February 14, 2023

ไม่เพียงแต่การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แต่ปัจจุบันมีเรื่องของฝุ่น PM2.5 อย่างไรก็ตามขนจมูกมีหน้าที่ดักจับเชื้อโรคที่เข้าไปในจมูกเรา ดังนั้น น้องแคร์แนะนำให้คุณล้างจมูกบ่อย ๆ เพื่อทำความสะอาดโพรงจมูกและขนจมูก

ในจมูกของคนเรามีเส้นเลือดฝอยอยู่ หากเส้นเลือดนั้นแตกจะทำให้มีอาการเลือดไหลออกมาทางจมูก หรือที่รู้กันว่า “เลือดกำเดาไหล” หลายคนอาจสงสัยว่า เลือดกำเดาไหล เกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง หรือเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง แล้วมีวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย!

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    เลือดกำเดาไหล คืออะไร

    เลือดกำเดาไหล มีชื่อทางภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Epistaxis โดยสามารถพบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ในทุกวัย เป็นภาวะที่มีเลือดกำเดาไหล อาจมาจากทางด้านหน้า ด้านหลังของโพรงจมูกก็ได้ บางรายอาจพบว่าเลือดออกข้างเดียว หรือบางรายอาจมีเลือดออกสองข้างก็ได้ ภาวะเลือดกำเดาไหลนี้สามารถพบได้โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว ภาวะนี้สามารถหายหรือหยุดได้เอง แต่ต้องรู้วิธีปฎิบัติที่ถูกต้อง ภาวะเลือดกำเดาไหลสามารถพบได้ 2 รูปแบบ ดังนี้:

    1. เลือดออกน้อย ไม่มาก 

    ปริมาณของเลือดอาจไม่ได้ออกมาเยอะมากเท่าที่ควร เลือดที่ไหลสามารถหยุดเองได้ เป็นภาวะที่เลือดไหลออกมาจากจมูกส่วนหน้า สามารถพบได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่น ความถี่ของเลือดกำเดาไหลอาจมาบ่อย หรือมาน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ภาวะนี้ไม่อันตรายเพียงไม่กี่นาทีเลือดก็จะหยุดไหลเอง เรียกว่า “Anterior epistaxis”

    2. เลือดออกมามาก 

    ปริมาณเลือดออกมาจากจมูกมาก ไม่สามารถหยุดได้เอง แม้ปฐมพยาบาลถูกวิธีก็ไม่สามารถหยุดเองได้ ภาวะนี้ค่อนข้างอันตราย และควรรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน มักพบมากในผู้สูงอายุมีอาจมีโรคประจำตัวอยู่ เช่น ความดันโลหิตสูง โดยภาวะนี้เรียกว่า “Posterior epistaxis”

    ตำแหน่งที่พบเลือดกำเดาไหล

    ภาวะเลือดออกทางจมูกสามารถพบได้หลัก ๆ 3 ตำแหน่งดังนี้:

    1. เลือดกำเดาไหลจากโพรงจมูกส่วนหน้า

    ตำแหน่งนี้พบได้บ่อยที่สุด ประมาณร้อยละ 90% อย่างไรก็ตามมักพบในเด็กและวัยรุ่นที่ชอบเอานิ้วมือไปแคะจมูกเวลาอีกฝุ่นหรือมีอะไรมาทำให้จมูกมีความระคายเคือง ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกเกิดการอักเสบและฉีกขาด ส่วนมากจะพบเลือดออกที่บริเวณผนังกั้นช่องจมูกทางด้านหน้า จึงทำให้เกิดเลือดออกได้ในจมูกของคนเรามีเส้นเลือดฝอยและหลอดเลือดอยู่  

    2. เลือดกำเดาไหลจากโพรงจมูกด้านหลัง 

    หากเลือดไหลจากโพรงจมูกด้านหลัง จะทำให้สามารถไหลลงคอได้ บางรายอาจมีความรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน เมื่อได้กลืนเลือดไหลออกมา ภาวะนี้มีอาการรุนแรงมากกว่าแบบแรก สามารถพบได้ในผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีประวัติความดันโลหิตสูง มากไปกว่านั้นอาจพบได้ในคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเนื้องอกหลังโพรงจมูก หากคุณมีเลือดออกจากหลังโพรงจมูกอยู่บ่อย ๆ แนะนำให้คุณไปตรวจที่โรงพยาบาลโดยสามารถตรวจด้วยวิธีส่องกล้องเพื่อดูความผิดปกติที่หลังโพรงจมูก

    3. เลือดกำเดาไหลจากด้านบนโพรงจมูก

    พบได้น้อยที่สุดหากเทียบกับ 2 แบบแรก อาจเกิดจากการอุบัติเหตุที่บริเวณศีรษะหรือพบในคนไข้ที่เคยมีประวัติผ่าตัดไซนัสมาก่อน หากร้ายแรงกว่านั้นอาจเกิดจากเนื้องอกก็เป็นได้ 

    ระดับความรุนแรงของเลือดกำเดาไหล

    ความรุนแรงของเลือดกำเดาออก สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ:

    1. ระดับความรุนแรงน้อย

    คือการที่มีเลือดไหลออกมาทางจมูก แต่ในระดับนี้จะไม่รุนแรงมาก สามารถใช้ทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้าซับ สามารถหยุดได้เอง คุณสามารถดูแลปฐมพยาบาลได้เองโดยไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล

    2. ระดับความรุนแรงปานกลาง

    ความรุนแรงระดับที่ 2 เป็นแบบปานกลาง เลือดที่ออกมามีปริมาณที่มากขึ้นกว่าแบบแรก ออกจนสามารถนับปริมาณได้ เช่น ออกปริมาณครึ่งแก้วน้ำ หนึ่งแก้วน้ำ เป็นต้น แต่คนไข้ยังไม่ได้มีสัญญาณชีพที่ผิดปกติ ยังรู้ตัวและสามารถช่วยเหลือตนเองได้

    3. ระดับความรุนแรงมาก

    ระดับสุดท้าย คือรุนแรงมาก คนไข้จะมีปริมาณเลือดกำเดาไหลเป็นปริมาณมากที่ผิดปกติ ร่วมกับมีสัญญาณชีพที่ผิดปกติไป เช่น มีชีพจรเต้นเร็ว ชีพจรเต้นช้าลง ซึมลง หายใจเหนื่อย ปวดหัว จะเป็นลม ผู้ป่วยกลุ่มนี้ถือว่ารุนแรงมากที่สุด และจะต้องรีบมาพบแพทย์ด่วน

    เลือดกำเดาไหล เกิดจาก 

    สาเหตุเลือดกำเดาไหลมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก 

    1. เกิดก้อนภายในโพรงจมูก 

    หลายคนอาจเคยรู้จักในชื่อ เนื้องอกหลังโพรงจมูก หากคุณเป็นโรคนี้แล้วมีการติดเชื้อร่วมด้วย เช่น มีการแคะจมูก ไอจามอย่างรุนแรง อาจทำให้เส้นเลือดฝอยในจมูกแตกได้ เป็นหนึ่งในสาเหตุเลือดกำเดาไหลได้ 

    2. จมูกได้รับการกระแทกแรง ๆ 

    เลือดกำเดาไหล เกิดจากการเกิดอุบัติเหตุแรง ๆ ที่ทำให้จมูกได้รับการกระทบกระเทือนจะทำให้รูปร่างของจมูกอาจมีการผิดเพี้ยนไปจากเดิม เช่น จมูกเบี้ยว กระดูกจมูกหัก ผนังจมูกคด และอื่น ๆ เช่น จมูกชนกับหน้าต่างหรือประตูบ้าน  เหตุผลนี้เป็นอีกหนึ่งสาเหตุเลือดกำเดาไหลได้ ดังนั้นคุณควรมีสติทุกครั้งเวลาทำอะไรก็ตาม และระมัดระวังบริเวณจมูกให้ดี  

    3. การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก 

    หากคุณจำเป็นต้องใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อพ่นจมูก น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนใช้ และศึกษาวิธีการใช้งานให้ถูกต้อง เพราะหากใช้ผิดวิธีแล้วอาจทำให้เลือดกำเดาไหลได้ 

    4. ความผิดปกติทางด้านร่างกาย 

    เลือดกำเดาไหล เกิดจากการที่คุณเป็นโรคเลือดหรือโรคความดันโลหิตสูง จะทำให้การแข็งตัวของหลอดเลือดผิดปกติไป อาจทำให้เลือดหยุดยาก เช่น มีเลือดออกตามจมูก ตามไรฟัน มากไปกว่านั้นหากคุณได้รับยาละลายลิ่มเลือด ก็อาจเป็นหนึ่งสิ่งที่ทำให้เลือดออกง่ายขึ้น

    5. ความเครียด 

    ความเครียดเป็นอีกหนึ่งสาเหตุเลือดกำเดาไหลเพราะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เป็นสาเหตุเลือดกำเดาไหล อาจทำให้มีอาการปวดหัวร่วมด้วย ดังนั้นน้องแคร์แนะนำให้คุณหาอะไรทำเพื่อให้ผ่อนคลาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานยาแก้ปวด 

    6. ฝุ่นควัน PM2.5 

    ปัจจุบันนี้มีฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพ ซึ่งมลภาวะเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพทั้งสิ้น บางคนแพ้ฝุ่นอาจถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล หลายคนอาจไม่รู้ว่าฝุ่นก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เลือดกำเดาไหล เพราะฝุ่นจะทำให้เยื่อบุโพรงจมูกเกิดการระคายเคืองและอักเสบได้ ดังนั้นก่อนออกไปทำกิจกรรมข้างนอก น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เช่น N95

    เหล่านี้คือสาเหตุเลือดกำเดาไหล หากคุณรู้ตัวว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดกำเดาไหล ควรรีบหาวิธีป้องกันทันที

    **แหล่งข้อมูลเรื่องสาเหตุของเลือดกำเดาไหลส่วนหนึ่งมาจากโรงพยาบาลพญาไท

    เลือดกำเดาไหลแบบไหนเรียกว่า “อันตราย”

    1. เลือดกำเดาไหลจากรูจมูกข้างเดิน ข้างเดิมตลอด เช่น ไหลออกข้างซ้ายทุกครั้ง  

    2. เลือดกำเดาไหลนานกว่า 10 นาที แม้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นถูกวิธี เลือดก็ไม่หยุดไหล

    3. เลือดออกเป็นสีชมพูจาง ๆ 

    4. เลือดมีลักษณะเป็นลิ่มเลือด

    5. เลือดกำเดาไหลออกมาปริมาณมาก เช่น ครึ่งขวด หนึ่งแก้วน้ำ

    6. มีสัญญาณชีพที่ผิดปกติไป 

    7. เลือดกำเดาไหล เวียนหัว หน้ามืด เป็นลม

    เลือดกำเดาไหล เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง  

    บางครั้งเลือดกำเดาไหล เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงก็เป็นได้ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ในอนาคต ยิ่งถ้าเลือดกำเดาไหลบ่อย ๆ ออกมาเป็นลิ่มเลือดแล้วละก็ ยิ่งไม่ควรชะล่าใจเด็ดขาด ดังนั้น เลือดกำเดาไหล อาจเสี่ยงเป็นโรค เนื้องอกหลังโพรงจมูก วัณโรคหลังโพรงจมูก มะเร็งหลังโพรงจมูก และอื่น ๆ โดยการตรวจวินิจฉัยทำได้โดยการส่องกล้อง

    การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

    หลายคนอาจมีความเชื่อที่ผิดอยู่เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล ดังนั้นน้องแคร์จะมาบอกวิธีดูแลตนเองเบื้องต้นที่ถูกต้อง :

    1. บีบปีกจมูก2 ข้างเข้าหากัน ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที เนื่องจากการมีเลือดไหลออกทางจมูกมักมีสาเหตุมาจากบริเวณด้านหน้าของโพรงจมูก ซึ่งมีต้นตอมาจากเส้นเลือดตรงผนังกั้นโพรงจมูกด้านหน้า ดังนั้นการกดบีบจมูก ก็จะเป็นหนึ่งในวิธีการห้ามเลือดที่คุณสามารถนำไปใช้ได้

    2. นั่งตัวตรง โน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย หลังจากนั้นก้มศีรษะลง จุดประสงค์ของท่านี้คือ เพื่อให้เลือดที่ไหลออกมากองอยู่ในโพรงจมูกเพื่อให้เลือดเหล่านั้นพัฒนากลายเป็นลิ่มเลือด 

    ** หากคุณเงยหน้าเยอะเกินไป จะทำให้เลือดไหลลงคอได้ไวมากขึ้น ก็จะเสี่ยงทำให้เกิดการสำลักได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 

    3. อ้าปากหายใจและบีบจมูกต่อไปเป็นเวลา 5-10 นาที หากพบว่ามีเลือดไหลลงคอ ให้บ้วนใส่ภาชนะเพื่อที่จะรับปริมาณว่าเราเสียเลือดไปเท่าไหร่แล้ว น้องแคร์ไม่แนะนำให้คุณกลืนเลือดที่ไหลลงคอ เพราะจะกระตุ้นทำให้เกิดอาการอาเจียนได้ จะยิ่งทำให้อาการของคุณหนักยิ่งขึ้นไปอีก

    การปฎิบัติตัวหลังเลือดกำเดาหยุดไหล

    1. นอนพักผ่อน

    หลังจากที่เลือดหยุดไหลแล้ว ให้คุณนอนพักผ่อนโดยนอนในท่าที่ศีรษะยกสูง เพราะเลือดกำเดาไหล เวียนหัวได้ มากไปกว่านั้นมีบางกรณีที่เลือดหยุดแล้วแต่อาจมีเลือดซึม ๆ ที่ไหลลงคออยู่เล็กน้อย ดังนั้นการยกหัวสูงจะทำให้เลือดไม่ไหลลงคอเยอะจนเกินไป

    2. ประคบเย็น

    หลังจากนั้นคุณควรประคบเย็นด้วยแผ่นเจล หากไม่มีสามารถใช้ผ้าห่อน้ำแข็งได้ วิธีนี้ต้องประคบที่บริเวณสันจมูกหรือหน้าผากก็ได้ 

    3. ห้ามจามแรง ๆ 

    หากต้องการจาม ให้อ้าปากจาม และห้ามสั่งน้ำมูกแรง ๆ มากไปกว่านั้นคุณต้องห้ามเอานิ้วไปแคะจมูกแรง ๆ เพราะไม่อย่างนั้นอาจทำให้เลือดไหลออกมาอีกได้

    4. งดยกของหนัก ๆ / งดออกกำลังกาย

    หลังจากเลือดหยุดไหล คุณไม่ควรยกของหนัก หรือออกกำลังกาย เพราะจะทำให้เลือดออกซ้ำได้ 

    5. ปรับอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม 

    หากคุณอยู่ในอากาศที่เย็นมากจนเกินไป เช่น ปรับแอร์เย็นจนเกินไป น้องแคร์แนะนำให้คุณปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม เพราะถ้าอากาศเย็น ความชื้นในอากาศจะค่อนข้างต่ำ และอาจทำให้เลือดกำเดาไหลซ้ำได้

    6. ล้างจมูก

    หลังเลือดกำเดาหยุดไหล ในจมูกมะจะมีลิ่มเลือดที่แห้งแล้วแข็งตัวอยู่ ดังนั้นการล้างจมูกจะช่วยให้จมูกโล่งขึ้น หายใจได้สะดวกมากขึ้น วันนี้น้องแคร์จะมาบอกวิธีล้างจมูก ไปดูกันเลย! 

    อุปกรณ์ในการล้างจมูก

    1. หลอดฉีดยา หรือ Syringe
    2. น้ำเกลือ 0.9% (Sodium Chloride)
    3. จุกล้างจมูก
    4. ผ้าเช็ดหน้าสะอาด 
    5. ภาชนะสำหรับใส่น้ำเกลือ หรือกะละมัง

    วิธีล้างจมูก :

    1. ใช้ไซริงค์ที่เตรียมไว้ดูดน้ำเกลือออกมาประมาณ 10-20 มิลลิลิตร
    2. ตะแคงหน้าแล้วฉีดน้ำเกลือเข้าสู่รูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง แล้วกลั้นหายใจเพื่อให้น้ำเกลือไหลเข้าโพรงจมูก หากทำถูกวิธีน้ำเกลือจะไหลออกมาที่รูจมูกอีกข้าง
    3. เงยหน้าเพื่อเทน้ำเกลือเข้าสู่จมูกทั้ง 2 ข้าง แล้วค่อย ๆ สั่งออกเบา ๆ –

    7. รีบมาพบแพทย์

    หากเลือดกำเดาไหลออกมาซ้ำ หรือออกปริมาณมากขึ้นกว่าเดิมจนผิดปกติ เช่น มีอาการหน้ามืด เวียนหัว เป็นลมร่วมด้วย ควรรีบมาพบแพทย์ทันที 

    หากคุณเลือดกำเดาไหลอยู่บ่อย ๆ น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณไปตรวจเช็กร่างกายตนเองอย่างละเอียดที่โรงพยาบาล เพื่อที่จะได้อยู่ดูแลคนที่คุณรักไปนาน ๆ เพราะหากรู้ตัวเร็ว ป้องกันไว โอกาสรอดชีวิตจากโรคร้ายแรงยิ่งมีสูง น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณซื้อประกันสุขภาพของ แรบบิท แคร์ ติดตัวเอาไว้สักฉบับ เพื่อเจ็บป่วยไปหาหมอจะได้หมดกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล มาพร้อมกับบริษัทประกันชั้นนำของประเทศและแผนประกันที่มีความหลากหลายให้คุณได้เลือกสรร พร้อมเจ้าหน้าที่ที่จะดูแลและอยู่เคียงข้างคุณไปเสมอ ซื้อเลย! 


    บทความแคร์สุขภาพ

    แคร์สุขภาพ

    แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

    ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
    Nok Srihong
    22/04/2024

    แคร์สุขภาพ

    โยคะ (Yoga) มีประโยชน์อย่างไร สามารถบำบัดทั้งร่างกายและจิตใจได้จริงหรือไม่ ?

    โยคะ หนึ่งในศาสตร์การออกกำลังกายที่แน่นอนว่าหลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดีและทราบกันถึงประโยชน์หลาย ๆ อย่างที่โยคะมีต่อร่างกายของคนเรา
    Nok Srihong
    11/04/2024