แคร์สุขภาพ

ฝังเข็ม แพทย์ทางเลือกเก่าแก่ ช่วยอะไรได้บ้าง? เสี่ยงหรือไม่?

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: July 27,2023
  
Last edited: March 19, 2024
วิธีเลิกบุหรี่

ยุคสมัยนี้ ผู้คนมากมายหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งเป็นศาสตร์ของแพทย์ทางเลือกที่เหนือกว่าการรักษาอาการเจ็บปวด แต่เป็นการบำรุงสุขภาพ เสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงจากภายใน หนึ่งในศาสตร์การแพทย์จีน การฝังเข็ม ศาสตร์ที่มีความเป็นมายาวนานหลายพันปี แม้จะดูน่ากลัว แต่ก็ศาสตร์ที่อาจสามารถเปลี่ยนชีวิตคุณได้เลยทีเดียว! มาเรียนรู้กันเลยจ้า!

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    ฝังเข็ม คืออะไร ?

    การฝังเข็ม (acupuncture) คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งของการแพทย์จีน มีความเป็นมายาวนาน 2,000 – 3,000 ปี เน้นการรักษาตามแนวเส้นลมปราณและการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลม หรือศาสตร์ของ Qi (อ่านว่า ‘ชี่’) โดยแพทย์จีนจะตรวจดูร่างกายของเรา สัมผัสผิวหนัง ชีพจร สีสันบนร่างกายของเรา และอื่น ๆ อีกมากมาย ก่อนที่จะใช้เข็มสำหรับฝังเข็มโดยเฉพาะ ฝังลงไปบนชั้นผิวหนังของผู้ป่วย ตามจุดที่ศึกษามาเรียบร้อยแล้วว่ามีผลต่ออาการเจ็บปวดแต่ละจุด

    ฝังเข็ม

    ประวัติของศาสตร์การฝังเข็ม

    ศาสตร์แห่งการฝังเข็ม มีมายาวนาน คาดการณ์ว่าเจอหลักฐานย้อนไปประมาณ 3000 ปีที่แล้ว ในยุคสมัยของราชวงฮั่น ร่วมกับคัมภีร์การรักษา และวินิจฉัยโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่ถูกให้ชื่อ ‘The Yellow Emperor’s Classic of Internal Medicine’ ในยุค 100 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นการกล่าวถึงพลังชี่ (Qi) อันเป็นพื้นฐานของแพทย์แผนจีนหลากหลายด้าน ตั้งแต่การกิน นวด ใช้สมุนไพร และอื่น ๆ อีกมากมาย

    คุณสมบัติของเข็มสำหรับฝังเข็ม

    โดยไม่ใช่ว่าจะใช้เข็มอะไรก็ได้ในการฝังเข็ม เพราะเข็มที่เหมาะ จะต้องมีขนาด และคุณสมบัติเฉพาะ ไม่ใช่ใช้เข็มอะไรก็ได้

    ขนาดและความหนาของเข็ม : เข็มที่ใช้สามารถมีหลากหลายขนาด แต่จะมีขนาดที่ใกล้กันจนอาจจะแทบแยกแยะด้วยตาเปล่าไม่ได้ โดยขนาดของเข็มจะอยู่ที่ 0.12 มิลลิเมตร ไปจนถึง 0.35 มิลลิเมตร ซึ่งจะถือว่ายังคงเล็กกว่าเข็มฉีดยาทั่วไปอย่างมาก โดยการใช้เข็มที่ขนาดแตกต่างกันจะขึ้นอยู่กับจุดที่ต้องการฝัง

    ความยาว : ความยาวของเข็มก็มีความแตกต่างกันออกไปเช่นกัน โดยจะมีความยาวตั้งแต่ 13 มิลลิเมตร ไปจนถึง 75 มิลลิเมตร

    สะอาด และใช้ได้ครั้งเดียว : เข็มจะต้องใช้แล้วทิ้งเลยเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้ใหม่กับคนไข้คนอื่น ๆ เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรค และไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อ

    ปลายมนเนียน : ด้วยความที่เป็นเข็มทึบ และมีขนาดที่เล็ก จึงไม่จำเป็นที่จะต้องทำให้ปลายเข็มแหลม เพื่อที่จะฝังลงไปบนชั้นผิว ฉะนั้นเข็มจึงควรมีความมน เพื่อไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด หรือระคายเคืองผิว

    มีด้ามจับ : เพื่อให้ง่ายต่อการฝังเข็ม และดึงออกจากผิวหนัง เข็มควรที่จะมีด้ามจับ หรือรูเล็ก ๆ ที่ทำให้ฝัง และดึงออกมาได้อย่างง่ายดายมากขึ้น

    จุดในการฝังเข็มเบื้องต้น

    ตามตำราแพทย์จีนโบราณกำหนดให้มีจุดในการฝังเข็มทั้งหมด 365 จุด ตามวันที่มีใน 1 ปี หากแต่เมื่อศาสตร์นี้เปลี่ยนแปลง พัฒนา ส่งต่อมาสู่วัฒนธรรมอื่น ๆ จุดมีจุดที่เพิ่ม หรือลดลง แตกต่างไปตามคัมภีร์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นวิชาที่ละเอียดอ่อนแยบยล ใช้เวลาหลายปีในการเรียนรู้ฝึกฝน โดยจะต้องใส่ใจ 5 หลักแห่งชีวิต

    • Qi (ชี่) : พลังชีวิต 
    • Xue (เซวี่ย) : การไหลเวียนของเลือด
    • Jing (จิง) : ตัวตน ทั้งในเชิงกรรมพันธุ์ และ
    • Shen (เช็น) : จิตวิญญาณ
    • Jinye (จินเย่) : น้ำเหลือง ของเหลวอื่น ๆ ในร่างกาย 

    ฝังเข็ม

    ตัวอย่างจุดฝังเข็มสำคัญ 8 จุด ดังนี้

    จุดฝังเข็ม

    แก้ปัญหา

    ช่องท้อง ST36

    ระบบย่อยและขับถ่าย / ภูมิคุ้มกัน / ความเหนื่อยล้า / อารมณ์

    ม้าม SP6

    ปัญหาประจำเดือน / ระบบย่อยและขับถ่าย / ภูมิคุ้มกัน

    ตับ LV3

    ปวดหัว / อารมณ์ / ปัญหาประจำเดือน / ความดันสูง

    เส้นเลือด GV20 CV12 CV6

    มึนหัว / ระบบขับถ่าย / อารมณ์ / ความเหนื่อยล้า / ภูมิคุ้มกัน

    ลำไส้ใหญ่ LI4

    ภูมิคุ้มกัน / เจ็บปวดใบหน้า

    ไต KI3

    หอบหืด / นอนไม่หลับ / เจ็บคอ / ปวดหลัง

    BL23

    ความต้องการทางเพศ / ประจำเดือน / มีลูกยาก / ปวดหลัง / หูตึง

    BL21

    ท้องอืด / ลำไส้ / ไม่อยากอาหาร

    ข้อดีในการฝังเข็ม 

    • ศาสตร์ที่สามารถช่วยเสริมสร้าง เพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกาย หรือใช้ร่วมกับการรักษาแผนตะวันตก และอื่น ๆ 
    • บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง อาการเจ็บปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ
    • หากรักษากับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจริง ๆ จะมีความเสี่ยง และผลข้างเคียงที่ต่ำมาก

    การฝังเข็ม เหมาะกับการรักษาโรคแบบไหน ?

    องค์กรสุขภาพ National Center for Complementary and Integrative Health (NCCIH) มีการยืนยันผ่านงานวิจัยเชิงรูปธรรมเรียบร้อยว่า acupuncture สามารถรักษาอาการเหล่านี้ : 

    • โรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อม (Osteoarthritis)
    • อาการปวดหลังช่วงล่าง
    • อาการปวดคอ
    • อาการปวดเข่า
    • อาการปวดหัว

    นอกจากนั้นการฝังเข็มยังสามารถบรรเทาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้ด้วย แม้อาจไม่ได้มีงานวิจัยอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีหลักฐานมากมายของผู้ที่ผ่านการรักษามาแล้ว

    • ไมเกรน
    • อาการปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy)
    • คลื่นไส้ (Nausea)
    • โรคไขข้ออักเสบ (Rheumatoid Arthritis)
    • อาการเหนื่อยเรื้อรัง (Fatigue)
    • เอ็นบาดเจ็บ (Tendinopathy)

    ความเสี่ยงในการฝังเข็ม

    หัวใจสำคัญในความเสี่ยงของการฝังเข็ม คือการไปรักษากับคุณหมอที่ไม่มีมาตรฐาน จึงจะต้องตรวจสอบดี ๆ ว่าคุณหมอที่ไปรักษาด้วย โดยอย่างแรกคือจะต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์แผนจีน ประจำปี 2564 โดยผ่านการสอบ และมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดทุกประการ หากเป็นคุณหมอที่ประกอบวิชาชีพโดยไม่เชี่ยวชาญ และใช้อุปกรณ์ที่ไม่มีมาตรฐาน จะเกิดความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย เช่น

    • เกิดอาการเลือดไหลภายใน
    • ทำให้เกิดอาการแผลอักเสบ
    • เข็มสามารถหัก และฝังในผิวหนัง 

    คุณสมบัติที่ไม่ควรไปฝังเข็ม

    เช่นเดียวกับกระบวนการทางการแพทย์ทั้งหมด แพทย์อแผนจีน ก็มีข้อห้าม สำหรับผู้คนที่อาจมีปัญหาทางสุขภาพ หรือมีภาวะบางอย่างที่จะทำให้การฝังเข็ม มีความเสี่ยงมากขึ้น จึงไม่แนะนำ หากคุณเป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ระบุมาเบื้องล่าง

    • สตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์
    • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)
    • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด
    • ผู้ป่วยโรคที่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างแน่นอน
    • ผู้ป่วยที่มีโรคที่ยังไม่ทราบการวินิจฉัยแน่นอน
    • ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ (Pacemaker)

    ฝังเข็ม

    เตรียมตัวก่อนไปฝังเข็ม

    • รับประทานอาหารตามปกติให้อิ่มก่อนเข้ารับการฝังเข็ม 1-2 ชั่วโมง ไม่ควรรับประทานอาหารให้อิ่มจนเกินไป หรือมีอาการที่หิวเกินไป เพราะระหว่างรักษาอาจเกิดอาการไม่สบายตัว หรือเสี่ยงที่จะเป็นลม
    • นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ 6 – 8 ชั่วโมง ในคืนก่อนมาเข้ารับการฝังเข็ม
    • ตรวจความดันสูงเกินไป (ตัวบน 180 ตัวล่าง 110 ขึ้นไป) หรือต่ำเกินไป (ตัวบน 100 ตัวล่าง 70) อาจเสี่ยงต่อการเป็นลม 
    • สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมไม่ควรรัดแน่นจนเกินไป
    • ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด
    • ทานยาละลายลิ่มเลือด เพราะจะเสี่ยงต่อการเลือกออกภายใน
    • มีโรคประจำตัวที่ทำให้ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ เช่นอาการกล้ามเนื้อกระตุก หรือลมชัก เป็นต้น
    • มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับเลือด เช่น ธาลัสซีเมีย โรคฮีโมฟีเลีย และอื่น ๆ 

    สนใจอ่านเรื่องธาลัสซีเมียเพิ่มเติม คลิกเลย

    เท่านี้ แรบบิท แคร์ ก็หวังว่าทุกท่านจะรู้จักศาสตร์แห่งการฝังเข็มมากยิ่งขึ้น พร้อมกับสำรวจทางเลือกใหม่ ๆ ทางการแพทย์ที่นอกเหนือจากการรักษาแผนตะวันตก หันมาใส่ใจสุขภาพ และลงทุนกับเรื่องร่างกายของตนเองกันเถอะ แรบบิท แคร์ ห่วงใยคุณ ด้วยประกันสุขภาพจากสภาบันการเงินชั้นนำมากมาย ให้คุณอุ่นใจ มีใครดูแลอยู่เสมอ คลิกเลย


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024