แคร์สุขภาพ

4 ช่วงวัยต้องดูแลสุขภาพไกลโรคร้าย รู้ก่อน ป้องกันได้

ผู้เขียน : ใบไม้ร่าเริง
ใบไม้ร่าเริง

มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี

close
 
 
Published: August 18,2019
  
 
ประกันสุขภาพ

ใคร ๆ ก็อยากที่จะมีสุขภาพแข็งแรง โดยปราศจากโรคภัยด้วยกันทั้งนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ตัวเราเพียงอย่างเดียวที่พึงปรารถนา แต่เราก็ยังอยากให้คนในครอบครัวมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน นอกเหนือจากการออกกำลังกายแล้ว การเลือกกินอาหารก็ถือว่ามีส่วนสำคัญต่อร่างกายด้วยเช่นกัน ซึ่งในแต่ละช่วงวัยนั้นการดูแลสุขภาพก็มีความแตกต่างกันออกไป

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    เราลองมาดูกันว่า ในช่วงวัยไหนควรดูแลตัวเองอย่างไร ซึ่ง Rabbit Care ได้นำเคล็ดลับดี ๆ ตามช่วงวัยมาฝากกันถึง 4 ช่วงวัย ถ้าเราดูแลสุขภาพกันตั้งแต่เด็กไปจนถึงวัยผู้สูงอายุรับรองว่า โรคภัยนั้นจะไม่มาเยือนอย่างแน่นอน

    โรคร้ายที่พบบ่อยในวัยต่าง ๆ

    4 ช่วงวัย ที่ต้องดูแลให้ถูกวิธี

    1. วัยเด็ก เป็นช่วงที่กำลังเจริญเติบโต ผู้ปกครองควรวางรากฐานให้แก่ลูก ๆ มีสุขภาพที่ดี สร้างเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาได้โดยการปลูกฝังให้ลูกน้อยรักการออกกำลังกาย ด้วยการเล่นกีฬากลางแจ้งที่ลูกชื่นชอบ นอกจากจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อในแต่ส่วนแล้ว ยังช่วยสร้างความแข็งแรงของระบบการทำงานภายในร่างกายด้วย

    การรับประทานให้ครบ 3 มื้อ และให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในวัยเด็ก เพราะถ้ารับประทานไม่ครบ 3 มื้อ อาจส่งผลเสียต่อเด็กทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน และอาจเป็นสาเหตุของการเป็นโรคกระเพาะ โรคขาดสารอาหาร และยิ่งถ้าไม่ได้รับวัคซีนที่ถูกต้องอย่างครบถ้วนอาจเสี่ยงเป็นโรคขาดสารไอโอดีน ซึ่งก่อให้เกิดโรคคางทูม รวมถึงโรคไอกรน และโรคคอตีบ

    นอกจากนั้นยังมีโรคร้ายที่พบบ่อยในเด็กเล็กอื่น ๆ อีก ได้แก่ โรคหวัด โรคปอดบวม โรคหัด โรคคางทูม โรคหัดเยอรมัน โรคท้องเสีย โรคอ้วน เป็นต้น

    โรคร้ายที่พบบ่อยในเด็กเล็ก

    2. วัยรุ่น เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเรื่องของสรีระร่างกาย นอกจากจะต้องใส่ใจต่อการออกกำลังกายแล้ว การเลือกรับประทานอาหารก็ไม่ควรละเลย เพราะส่วนใหญ่แล้ววัยนี้จะกินตามเพื่อน โดยเฉพาะขนมหวาน หรืออาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งอาจส่งผลเสียทำให้เกิด โรคอ้วน และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ง่าย

    อย่างไรก็ตาม วัยนี้ก็ไม่ควรใช้วิธีอดอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก แต่ควรควบคุมน้ำหนักโดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กได้แก่ เนื้อแดง ปลา หรือพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ และควรงดน้ำอัดลม เค้ก ขนมปัง เพราะให้คุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างต่ำ รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง

    นอกจากนั้นยังมีโรคร้ายที่พบบ่อยในวัยรุ่นอื่น ๆ อีก ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคซึมเศร้า เป็นต้น

    โรคร้ายที่พบบ่อยในวัยรุ่น

    3. วัยทำงาน วัยนี้เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ที่ต้องมีความรับผิดชอบต่าง ๆ มากมาย ในบางครั้งอาจจะละเลยกับการออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือทานอาหารตามใจปาก ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคออฟฟิศซินโดรม โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคไมเกรน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นต้น ซึ่งเป็นโรคที่พบมากในวัยหนุ่มสาว อีกทั้งยังไม่แสดงอาการอีกด้วย

    ฉะนั้นแล้วคนวัยทำงานถ้าไม่อยากมีโรคร้ายถามหา ควรหันมาดูแลสุขภาพ​ ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือสัปดาห์ละ 3 – 4 วัน เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ผ่อนคลายความเครียด และหาเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้ห่างไกลต่อโรคต่าง ๆ ที่สำคัญคือหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อเช็กสภาพร่างกายของตัวเองอยู่เสมอ

    นอกจากนั้นยังมีโรคร้ายที่พบบ่อยในวัยทำงานอื่น ๆ อีก ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนหนึ่งของโรคของมนุษย์เงินเดือน มะเร็งที่มีความเสี่ยงสูง เป็นต้น 

    โรคร้ายที่พบบ่อยในวัยทำงาน

    4. วัยเกษียณ หรือผู้สูงอายุ ถ้าบ้านไหนมีผู้สูงอายุอยู่ด้วย ควรต้องดูแลและเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะวัยนี้เริ่มรับประทานอาหารได้น้อยลง แต่จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ควรเป็นอาหารที่อ่อน ๆ เคี้ยวง่าย เลี่ยงเนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก และต้องควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป เพราะถ้าน้ำหนักตัวมากการแบกรับน้ำหนักของตัวก็จะมาก ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกเสื่อม

    นอกจากนี้การออกกำลังกายในวัยผู้สูงอายุ ไม่ควรหักโหมจนเกินไป เลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องออกแรงหนัก ๆ หรือใช้ร่างกายมากจนเกินไป เลือกออกกำลังกายเบา ๆ แทน เช่น เดินตามสวนสาธารณะ เต้นแอโรบิก รำไท่เก๊ก เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต เพิ่มการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด และทำให้ข้อต่อส่วนต่าง ๆ ได้มีการขยับบ้าง ซึ่งการออกกำลังกายยังช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจล้มเหลว ไขมันอุดตัน เบาหวาน และความดันสูงได้

    นอกจากนั้นยังมีโรคร้ายที่พบบ่อยในผู้สูงอายุอื่น ๆ อีก ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน มะเร็งในผู้สูงอายุ เป็นต้น

    โรคร้ายที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

    ทำประกันสุขภาพตัวช่วย ที่ช่วยคุณได้ทุกช่วงวัย

    ไม่ว่าจะช่วงวัยไหนก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ได้ทั้งนั้น ฉะนั้นแล้ว การทำประกันสุขภาพจึงเป็นอีกหนึ่งของการดูแลร่างกายให้แข็งแรงตามความเหมาะสมกับทุกคนในครอบครัว ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สร้างความอุ่นใจให้กับทุกคนในครอบครัวได้

    อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าปัจจุบันเราจะมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคมอยู่แล้วก็ตาม แต่ความคุ้มครองอาจจะยังไม่ครอบคลุมกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้นหากมีเหตุจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จึงควรจะต้องมีการทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมไว้ด้วย ซึ่งทุกวันนี้ราคาเบี้ยประกันสุขภาพก็ไม่แพงอย่างที่คิด

    ผู้ที่ทำประกันสุขภาพ จะได้รับสิทธิพิเศษในการดูแลเอาใจใส่และการให้บริการที่ดีเยี่ยม ซึ่งโรงพยาบาลในเครือประกันสุขภาพส่วนใหญ่มีอยู่ทั่วประเทศ ทั้งโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลรัฐบาล โดยความคุ้มครองส่วนใหญ่มีดังนี้

    1. ค่าห้องพักโรงพยาบาล ค่าอาหาร ค่ายา ค่าบริการต่าง ๆ ของโรงพยาบาลที่จำเป็นในการรักษา
    2. ค่าทำการรักษาด้วยเครื่องมือแพทย์
    3. ค่าที่ปรึกษาทางการแพทย์
    4. ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์
    5. ค่าใช้จ่ายในการรักษาทำฟัน
    6. ค่าชดเชยระหว่างต้องนอนโรงพยาบาล

    “อโรคยา ปรมาลาภา” การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ แต่การดูแลเอาใจใส่ตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน

    ห้ามพลาด! ประกันรถชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 1,000.-/เดือน

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ


    สรุป

    สรุปบทความ

    การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงในทุกช่วงวัย สามารถทำได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม ดังนี้

    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่อย่างเพียงพอ
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • พักผ่อนให้เพียงพอ
    • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
    • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อโรคร้าย เช่น การสูดดมควันบุหรี่ การดื่มสุรา

    การดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธีจะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคร้ายและมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพ

    จบสรุปบทความ
     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024