แคร์สุขภาพ

เตือนภัย! ใช้ยาแก้ปวดเกินขนาดส่งผลต่อร่ายกายอย่างไรบ้าง?

ผู้เขียน : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct

close
linkedin icon
 
Published: June 21,2022
  
Last edited: June 20, 2022
painkiller side effects

ยาแก้ปวดเป็นยาสามัญที่ไม่ว่าใคร ๆ ก็มีติดไว้ประจำตัว หากมีอาการปวดหัว เป็นไข้ ปวดไมเกรน ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดประจำเดือน ต่างก็หันมาพึ่งยาแก้ปวดกันทั้งสิ้น แม้ว่ายาแก้ปวดจะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ แต่คุณรู้หรือไม่ว่ายาแก้ปวดหากทานมาเกินไปก็ส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน โดยบทความนี้เราจะมาเตือนภัยถึงโทษของยาแก้ปวดที่คุณอาจไม่รู้ เพื่อให้ใช้ยาแก้ปวดอย่างระมัดระวังและปลอดภัยยิ่งขึ้น

ยาแก้ปวดมีกี่ประเภท

จากข้อมูลทางการแพทย์นั้นได้มีการแบ่งยาแก้ปวดออกเป็น 4 ประเภท ตามคุณสมบัติของยา ได้แก่

  • ยาแก้ปวดพาราเซตามอล 
  • ยาแก้ปวดเอ็นเส็ด NSAID 
  • ยาแก้ปวดกลุ่ม COX–2 Inhibitor 
  • ยาแก้ปวดชนิดเสพติด (มีฤิทธิ์กดประสาท)

แต่ที่เราคุ้นเคยและใช้งานเป็นยาสามัญประจำบ้านจะมีอยู่แค่สองประเภทแรกคือ ยาแก้ปวดพาราเซตามอลและยาแก้ปวดเอ็นเส็ดเท่านั้น ส่วนยาแก้ปวดกลุ่ม COX–2 Inhibitor และยาแก้ปวดชนิดเสพติด จะถูกควบคุมและใช้งานจากแพทย์อย่างใกล้ชิดและไม่สามารถหาได้ในท้องตลาด จึงไม่ขอกล่าวถึงในบทความนี้ แต่เราจะอธิบายคุณสมบัติเฉพาะยาแก้ปวดที่เราสามารถหาซื้อได้ทั่วไป

ยาแก้ปวดพาราเซตามอล

กลุ่มยาแก้ปวดพาราเซตามอล

เป็นกลุ่มยาแก้ปวดที่เราคุ้นเคยกันดีเพราะเป็นยาแก้ปวดที่มีฤิทธิ์เบาที่สุด สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปทำให้หลายบ้านซื้อติดไว้ทาน อีกทั้งยังเป็นยาแก้ปวดที่ใชแล้วปลอดภัยที่สุดอีกด้วย ช่วยลดอาการปวดและไข้ขึ้นสูงได้ ใช้ได้ดีทั้งผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ โดยทั่วไปแล้วยาแก้ปวดพาราเซตามอล 1 เม็ดจะมีปริมาณอยู่ที่ 500 มิลลิกรัม ทานครั้งละ 1 เม็ดสำหรับผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นไป ส่วนเด็กหรือผู้ที่มีน้ำหนักน้อยกว่านั้น ควรหาประเภทขนาด 350 มิลลิกรัมมาบริโภค ยี่ห้อยาแก้ปวดพาราเซตามอลที่วางขายในท้องตลาดก็ได้แก่ ไทลินอล, บาคามอล, ซาร่า, ทิฟฟี่ เป็นต้น

ผลเสียของการใช้ยาพาราเซตามอลมากเกินไป  

แม้ว่าพาราเซตามอลจะเป็นยาแก้ปวดที่อันตรายต่อร่างกายน้อยที่สุด แต่ก็ไม่ควรทานเกินวันละ 8 เม็ดหรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน และทานให้ห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง หากใช้ยาเกินขนาดอาจำให้เกิดอาการสมองเสื่อมจากโรคตับได้ ร้ายแรงที่สุดก็อาจเสียชีวิตได้ถ้าไม่รับการรักษาให้ทันอย่างท่วงทีจึงไม่เหมาะสมกับผู้ที่เป็นโรคตับหรือดื่มสุราเป็นประจำ เนื่องจากเมื่อทานยาเช้าไปแล้วยาจะถูกขับออกทางตับและไตทำให้อวัยวะดังกล่าวทำงานหนัก

นอกจากนี้ตัวยาอาจส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร รวมถึงต้องสังเกตว่าผู้ป่วยนั้นมีอาการแพ้ยาพาราเซตามอลหรือไม่ เช่น อาการผื่นขึ้น หรือแน่นหน้าอก หลังรับประทานยา

ยาแก้ปวดไอบูโพรเฟน 

ยาแก้ปวดไอบูโพรเฟน 

จัดเป็นยาแก้ปวดในกลุ่มเอ็นเส็ด (Non-Steroidal Anti-inflammatory Drugs หรือ NSAIDs) ซึ่งเป็นยาแก้ปวดและบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เป็นยาอันตรายที่ออกฤิทธิ์แรงกว่ายาแก้ปวดกลุ่มพาราเซตามอลจึงควรอยู่ในการควบคุมของแพทย์ ช่วยบรรเทาอาการปวดศรีษะ ปวดไมเกรน ลดไข้ ปวดกล้ามเนื้อ และปวดประจำเดือนได้เป็นอย่างดี เพราะจะไปลดการทำงานของสาร prostaglandins ที่เป็นสาเหตุของการปวด สำหรับผู้ใหญ่ให้รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม ส่วนเด็กรับประทานตามน้ำหนักตัว 10 มิลลกรัมต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ควรทานหลังอาหารทันทีโดยเว้นเวลา 6-8 ชั่วโมง และไม่ควรทานเกินวันละ 2,400 มิลลกรัม

ผลเสียของการใช้ยาไอบูโพรเฟน มากเกินไป  

หากใช้มากไปจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับและไต เนื่องจากตัวยาจะส่งผลให้การไหลเวียนเลือดภายในตับและไตลดลง จนเกิดอาการตับวายและไตวายเฉียบพลันได้ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารจึงควรทานยาหลังอาหารทันทีและดื่มน้ำตามมาก ๆ รวมถึงตัวยาอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ได้เช่นกัน

ยาแก้ปวดแอสไพริน 

ยาแก้ปวดแอสไพริน 

แอสไพรินเป็นหนึ่งในยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเส็ด (NSAIDs) เช่นกัน  แอสไพรินเป็นยาแก้ปวดที่ใช้กันมายาวนาน เม็ดนึงมีหลายขนาดทั้ง 300 มิลกรัม หรือ 325 มิลลิกรัมเป็นต้น มีสรรพคุณลดไข้และแก้ปวดได้ดี อีกทั้งยังมีงานวิจัยใหม่ได้ระบุว่าช่วยป้องกันการจับตัวของลิ่มเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจอุดตัน และโรคหลอดเลือดสมองอุดตันได้ด้วย แต่ในปัจจุบันนี้หากใครปวดหัวหรือตัวร้อนแพทย์มักจะแนะนำให้ไปทานยาแก้ปวดกลุ่มพาราเซตามอลแทนเพราะผลข้างเคียงน้อยกว่า สำหรับยาแก้ปวดแอสไพรินที่เราคุ้นเคยกันนั้นก็จะมียี่ห้อ แอสไพริน, แอสเปนต์, เอนทราริน, ทัมใจ เป็นต้น 

ผลเสียของการใช้ยาแอสไพรินมากเกินไป 

หากใช้มากไปจากส่งผลให้ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ด้วยเหตุนี้จึงควรทานยาหลังอาหารทันที และห้ามใช้ยากับผู้ป่วยที่เลือกไหลผิดปกติ ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออก ผู้ป่วยที่มีแผล นอกจากจากนี้ยังส่งผลต่อการทำงานของตับและไตเช่นเดียวกับกลุ่มยาพาราเซตามอล ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคตับหรือโรคไตต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยา ส่วนผลข้างเคียงอื่น ๆ ก็อาจทำห้ผู้ทานยาคลื่นไส้ อาเจียน และหลอดลมตีบได้

ยาแก้ปวดเมเฟนามิคแอซิด

ยาแก้ปวดเมเฟนามิคแอซิด

อยู่ในกลุ่มยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์หรือกลุ่มยาเอ็นเส็ด (NSAIDs) ช่วยบรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลางได้เป็นอย่างดี รวมถึงการปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลังผ่าตัด และการปวดประจำเดือน การทำงานของยานิดนี้จะไปยับยั้งเอ็นไซม์ Cyclooxygenase ที่จะสังเคราะห์สาร Prostaglandins ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาบริเวณจุดบาดเจ็บ ยาเมเฟนามิคแอซิด สามารถซื้อได้ตามท้องตลาดแต่ก็เป็นยาอันตรายที่ควรทานตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร ซึ่งยายี่ห้อประเภทนี้ที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือ พอนสแตน นั่นเอง สำหรับการทานยาก็รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง และไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเกิน 7 วัน ส่วนเด็กต่ำกว่า 14 ปี ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์อย่างใกล้ชิด

ผลเสียของการใช้ยาเมเฟนามิค แอซิดมากเกินไป 

การบริโภคยาดังกล่าวมากจนเกินไปยังส่งผลต่อการทำงานของตับและไต เช่นเดียวกับยาแก้ปวดในกลุ่มเอ็นเส็ดตัวอื่น ๆ นอกจากนี้ยังส่งผลให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องผูก คลื่นไส้ ปวดท้อง และหัวใจเต้นผิดปรกติได้เช่นกัน ส่วนผู้แพ้ยานั้นอาจมีอาการผื่นคัน ตัวบวม หายใจลำบาก หากเป็นเช่นนี้ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

ยาแก้ปวดทุกประเภทมีข้อควรระวังการรับประทานยาระบุอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ปวดใดผู้บริโภคไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานจนเกินไปหรือทานเกินตามที่คำแนะนำกำหนด ไม่เช่นนั้นจะส่งผลเสียต่อร่างกาย ซึ่งหลัก ๆ แล้วจะเป็นการส่งกระทบต่อตับและไต รวมถึงไม่ควรบริโภคยาพร้อมแอลกอฮอล์เพราะอาจทำให้ตับวายเฉียบพลันได้ ส่วนใครที่ทานยาแล้วรู้สึกมีอาการแพ้ก็ให้หยุดยาแล้วไปพบแพทย์ทันที สุดท้ายนี้น้องแคร์ขอแสดงความห่วงใยให้ทุกท่านปลอดภัยจากการอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ และถ้าหากต้องการคำปรึกษาและอยากได้ความคุ้มครองด้านสุขภาพดี ๆ เราก็มีประกันสุขภาพมาให้ทุกท่านได้พิจารณา


 

บทความแคร์สุขภาพ

Rabbit Care Blog Image 89748

แคร์สุขภาพ

โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
Nok Srihong
23/05/2024