แคร์ไลฟ์สไตล์

โรค “พราเดอร์-วิลลี” ภัยเงียบสำหรับเด็กที่พ่อแม่ต้องระวัง

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
แก้ไขโดย : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: April 23,2021
  
Last edited: August 1, 2022
โรคพราเดอร์วิลลี

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้ เพราะโลกสมัยนี้อันตรายมากขึ้น มีโรคภัยไข้เจ็บมากมายที่เสี่ยงเข้ามารุกรานสุขภาพของลูกน้อยของคุณ อย่างเช่นอาการที่เรากำลังจะกล่าวถึงในบทความนี้ อย่าง โรคพราเดอร์-วิลลี ที่ฟังดูแล้วชื่อโรคอาจไม่คุ้นหูนัก แต่เป็นอาการที่ควรรู้จักเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นอาการที่ส่งผลต่อร่างกายลูกน้อยค่อนข้างสูง และต้องเอาใจใส่ดูแลมากเป็นพิเศษ

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    บทความนี้ขอนำเสนอเรื่องราวของ “โรคพราเดอร์วิลลี” โรคติดต่อทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ที่มักจะปรากฏอาการในเด็กเล็ก และอาการจะยังคงต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ จะมีวิธีสังเกตอาการอย่างไร แล้วมีแนวทางการรักษาอย่างไรบ้าง ลองเลื่อนลงมาอ่านกันได้เลย

    โรคพราเดอร์วิลลี

    รู้จักกับ “พราเดอร์วิลลี” โรคร้ายแฝงในเด็ก

    โรคพราเดอร์วิลลี (Prader-Willi Syndrome หรือ PWS) เป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรมโรคหนึ่งที่เกิดจากการผิดปกติของโครโมโซมตัวที่ 15 ที่มีการขาดหายไปของโครโมโซมตัวที่มีแขนยาว จึงเกิดผลกระทบต่อสมองส่วนไฮโปทาลามัส ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนสำคัญที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมถึงความอยากอาหาร ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติแสดงออกมาบนร่างกาย นอกจากความผิดปกติของโครโมโซมแล้ว การที่ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุจนบาดเจ็บรุนแรงที่บริเวณศีรษะหรือสมอง ก็อาจเจ็บป่วยด้วยภาวะโรคนี้ได้เช่นกัน

    โรคนี้ถือว่าเป็นโรคที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “โรคหายาก” เพราะเป็นโรคที่พบได้ 1 ใน 15,000 คน โดยเด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้จะมีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง มีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติ และพบปัญหาด้านการเรียนรู้และพฤติกรรม หากปล่อยไว้โดยไม่รีบรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจรุนแรงจนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ตั้งแต่ยังอายุน้อย ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมดูแลอาการอย่างถูกวิธีเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้

    สังเกตอาการเด็กป่วยโรคพราเดอร์วิลลี

    โรค PWS เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วยเด็ก แต่ก็มีผู้ใหญ่บางคนที่เจ็บป่วยด้วยโรคนี้เช่นกัน เพราะอาการนี้จะเป็นอาการที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด จึงมักจะมีการแสดงอาการออกมาได้ในหลาย ๆ ช่วงวัย อาการของแต่ละคนก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ โดยสังเกตได้จากลักษณะดังต่อไปนี้

    วัยทารกที่มีอาการของโรคพราเดอร์วิลลี

    • มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ลำตัวอ่อนปวกเปียกไม่แข็งแรง และเคลื่อนไหวน้อย
    • ใบหน้าเป็นเอกลักษณ์ และมีลักษณะเฉพาะ
    • ไม่มีเรี่ยวแรง จึงยากต่อการทานอาหารและดูดนม
    • น้ำหนักตัวน้อย เจริญเติบโตช้า
    • เสียงร้องเบาและอ่อนแรง
    • มือและเท้ามีขนาดเล็ก
    • สีของผิว, เส้นผม และดวงตา มีสีที่อ่อนกว่าปกติ
    • อวัยวะสืบพันธุ์เจริญช้า มีขนาดเล็กกว่าปกติ

    โรคพราเดอร์วิลลี

    วัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ที่มีอาการของโรคพราเดอร์วิลลี

    • มีความอยากอาหารมากกว่าปกติ ควบคุมการทานอาหารไม่ได้ จึงทำให้น้ำหนักตัวพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
    • ร่างกายมีการเจริญเติบโตช้า เพราะมีการผลิตโกรทฮอร์โมนน้อย (Growth Hormone) จึงมีรูปร่างเตี้ย มือและเท้าเล็ก
    • มีความบกพร่องเกี่ยวกับพัฒนาการด้านสติปัญญา มีทักษะในการคิดวิเคระห์, การใช้เหตุผล, การแก้ปัญหา และการเรียนรู้ ที่ต่ำกว่าคนที่มีลักษณะปกติ
    • มีปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์ มีอารมณ์ร้อน หงุดหงิดง่าย วิตกกังวลง่าย และอาจมีภาวะซึมเศร้าหรือภาวะเครียดร่วมด้วย
    • มีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น
    • อวัยวะสืบพันธุ์เจริญช้า
    • พบปัญหาที่ต่อมไร้ท่อส่วนอื่น ๆ ที่ส่งผลกับการเจริญเติบโตของร่างกาย
    • ผู้ป่วยมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

    ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางในการสังเกตอาการเบื้องต้น หากรู้สึกว่ามีสิ่งผิดปกติให้รีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์สังเกตอาการเพิ่มเติมและวินิจฉัยอาการ วิเคราะห์อาการเกี่ยวกับพัฒนาการรวมถึงพฤติกรรมของผู้ป่วย สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารับการตรวจดูความผิดปกติของยีนหรือโครโมโซมร่วมด้วย

    ดูแลผู้ป่วยโรคพราเดอร์วิลลีอย่างไร?

    อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่าโรคพราเดอร์วิลลีนั้นเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม จึงยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติหากได้รับการช่วยเหลือและดูแลอย่างถูกวิธี โดยปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

    ดูแลเรื่องอาหารการกิน

    เพราะผู้ป่วย PWS จะมีความอยากอาหารมากกว่าปกติ เพราะฉะนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร จัดสรรปริมาณอาหารที่จะทานเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอและมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสม ในบางรายแพทย์อาจแนะนำให้มีการออกกำลังกายเพิ่มเพื่อการควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป

    ดูแลเรื่องพฤติกรรม

    สำหรับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาและการควบคุมอารมณ์นั้นควรได้รับการดูแลเอาใจใส่เรื่องพฤติกรรม โดยผู้ดูแลจะควบคุมกิจวัตรประจำวันให้ดำเนินไปตามปกติ จำกัดปริมาณอาหารที่ทาน ร่วมกับการทานยาร่วมด้วย โดยให้ผู้ป่วยทำต่อเนื่องเป็นประจำจนติดเป็นนิสัย

    ดูแลสุขภาพจิต

    นอกจากเรื่องสุขภาพกายแล้ว เรื่องของสุขภาพจิตก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะสุขภาพจิตมีผลต่อการดำเนินชีวิตค่อนข้างมาก หากจิตใจเข้มแข็งดี ก็จะสามารถกระทำสิ่งอื่น ๆ ต่อ จึงควรพาผู้ป่วย PWS เข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อช่วยบรรเทาภาวะทางจิตใจต่าง ๆ

    ทำกายภาพบำบัด

    ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว หรือมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง แนะนำให้เข้ารับการทำกายภาพบำบัด เพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว และเสริมความแข็งแรงของร่างกายผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวและประกอบกิจวัตรประจำวันได้อย่างเป็นปกติ

    ปรึกษาแพทย์สม่ำเสมอ

    อาการของโรคพราเดอร์วิลลีเป็นอาการที่ต้องติดตามและเฝ้าระวังอาการอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยจึงควรได้เข้ารับคำปรึกษาและตรวจดูอาการจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ บางรายอาจมีการใช้ยาเพิ่มเติม หรืออาจได้ลดการใช้ยาลง ทั้งนี้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยและการลงความเห็นของแพทย์ด้วย

    สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่สังเกตเห็นความผิดปกติของร่างกายลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นอาการใด ๆ ก็ตาม อย่าได้นิ่งนอนใจ แนะนำให้พาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการ หากตรวจพบได้เร็วก็จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที และมีโอกาสที่ร่างกายจะเป็นปกติได้สูงกว่า เพื่อสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงของลูกน้อยสุดที่รักของคุณ

    ตัวช่วยในการดูแลลูกน้อย ด้วย ประกันสุขภาพเด็ก < คลิก


    ขอบคุณข้อมูลจาก

    Pobpad.com

    www.rama.mahidol.ac.th

    คัดมาให้แล้ว! ประกันรถสุดคุ้ม จากกว่า 30 บริษัทชั้นนำ

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ


     

    บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

    Rabbit Care Blog Image 96153

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

    การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
    Thirakan T
    27/08/2024