4 โรคมะเร็ง ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง!
4 โรคมะเร็งที่ผู้สูงวัยต้องเฝ้าระวังและสังเกตอาการ
1.โรคมะเร็งตับ
มะเร็งตับถือว่าเป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในผู้ชายไทย โดยมักพบในคนอายุ 30-70 ปี และพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-3 เท่า เนื่องจากเพศชายมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง โดยผู้ป่วยโรคตับแข็ง หรือผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีหรือซี หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ ผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ และตรวจอัลตราซาวด์ตับ ทุก ๆ 3-6 เดือน
โดยอาการระยะแรกมักจะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง จุกเสียดท้อง ท้องอืด รวมถึงอาการปวดชายโครงด้านขวาบ่อย ๆ ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโตขึ้น มีน้ำในช่องท้อง ขาบวม มีน้ำในเยื่อหุ้มปอด และอาเจียนเป็นเลือด และอุจจาระเป็นสีคล้ำ
ส่วนขั้นตอนการรักษาโรคมะเร็งตับ ถ้าอยู่ในระยะที่สามารถผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกได้ก็จะใช้วิธีการผ่าตัดหรือการปลูกถ่ายตับ แต่ถ้าอยู่ในระยะโรคที่ก้อนมีขนาดใหญ่มากหรือมีหลาย ๆ ก้อน อาจจะต้องใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีฉีดยาเคมีบำบัดเข้าทางเส้นเลือดหรือการรับประทานเคมีบำบัด หรือการรักษาตามอาการในผู้ป่วยระยะท้าย ๆ
2.โรคมะเร็งปอด
มะเร็งปอด มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และเป็นอันดับต้น ๆ รองจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในเพศหญิง นอกจากนี้มะเร็งปอดยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากมะเร็งมากที่สุดทั้งในเพศชายและหญิง ยิ่งเป็นคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง อาทิ สูบบุหรี่จัด ทำงานกลางแจ้ง หรือพบเจอมลภาวะทางอากาศเป็นประจำ ก็ต้องหมั่นสังเกตอาการตัวเองดี ๆ
อาการของมะเร็งปอดจะมีอาการไอเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน ไอปนเลือด หายใจเหนื่อยหอบ หรือหายใจลำบากเป็นระยะเวลานาน บางคนจะรู้สึกเจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงโดยไม่มีสาเหตุ ปวดหรือเจ็บขณะหายใจหรือไอ หายใจมีเสียงหวีดเบา ๆ รูปร่างของปลายนิ้วและเล็บเปลี่ยน กลืนอาหารลำบาก เสียงแหบ ใบหน้าและคอก็เริ่มบวม
สำหรับการรักษาในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถผ่าตัดออกได้หมด ก็จำเป็นต้องใช้วิธีการรักษาอื่นร่วมด้วย เช่น การให้ยาเคมีบำบัดและการฉายแสง การเลือกวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดจะพิจารณาสภาวะของผู้ป่วยจะต้องแข็งแรงดี การผ่าตัดน่าจะมีประโยชน์ แต่หากผู้ป่วยมีโรคแทรกซ้อน ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อยู่แล้ว การผ่าตัดอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก
3.โรคมะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมภัยร้ายที่ทำให้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยมากเป็นอันดับ 1 และทั่วโลก มะเร็งเต้านมพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยผู้ชายมีโอกาสพบได้น้อยมากเพียง 1% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด จากการเก็บข้อมูลจำนวนผู้ป่วยมะเร็งชนิดต่างๆในประเทศไทยของสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี พ.ศ. 2559 พบว่า มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดเป็นอันดับ 1 เลยทีเดียว
โดยอาการของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมักไม่มีอาการเริ่มแรกแสดงให้เห็น อาจคลำพบเพียงก้อนเนื้อบริเวณเต้านมหรือใต้รักแร้ มีรอยบุ๋ม ย่น หดตัวหนาผิดปกติคล้ายเปลือกส้ม หรือบางส่วนเป็นสะเก็ด ผู้หญิงหลายคนจึงมองข้ามคิดว่าเป็นเรื่องปกติ จนโรคมะเร็งร้ายลุกลามมากแล้ว จึงค่อยตัดสินใจพบแพทย์
ส่วนการรักษามะเร็งเต้านมนั้นที่ได้ผลดีและเป็นที่ยอมรับกันได้แก่ การรักษาโดยการผ่าตัด หรือการรักษาโดยการฉายแสง หรือการรักษาโดยาต้านฮอร์โมน หรือการักษาโดยยาเคมีบำบัด หรือการรักษาโดยยาที่มีการออกฤทธิ์จำเพาะ โดยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก ส่วนใหญ่จะรักษาโดยผ่าตัดเป็นอันดับแรก และส่วนมากต้องการการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อเสริมให้ผลการรักษาดีขึ้นนั่นเอง
4.โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
จากสถิติพบว่าเป็นอันดับ 3 ของการเสียชีวิตในเพศชาย และเป็นอันดับ 5 ของการเสียชีวิตในเพศหญิง และคาดการณ์กันว่าจะเพิ่มมากกว่านี้อีก 2 เท่าภายในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นชนิดหนึ่งของโรคมะเร็ง ที่คล้ายกันกับมะเร็งในอวัยวะอื่น ๆ โดยเกิดจากความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของลำไส้ใหญ่ เซลล์มีการแบ่งตัวแบบเพิ่มจำนวนจนควบคุมไม่ได้ ส่งผลให้กลายเป็นเนื้องอก และใช้ระยะเวลาบ่มเพาะตัวเองนานหลายปีจนกลายเป็นมะเร็งที่สามารถลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ในที่สุด
อาการเบื้องต้นของผู้ที่สงสัยว่าอาจจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็จะคล้าย ๆ คนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ รู้สึกว่ามีกรดในกระเพาะมากเกินไป ท้องอืดบ่อย ทานอาหารแล้วรู้สึกไม่ย่อย บางรายอาจจะรู็สึกปวดแสบปวดร้อนท้อง ท้องเสียบ่อย และคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีการผ่าตัด ถือเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้มากกว่าการรักษาด้วยการให้ยาหรือใช้รังสีรักษา แต่เนื่องจากมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากแล้ว จึงทำให้ผู้ป่วยกังวลเรื่องการผ่าตัดว่าจะเป็นอันตรายและมีผลข้างเคียงมาก แต่ปัจจุบันด้วยวิวัฒนาการที่เปลี่ยนไปการผ่าตัดรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถทำได้ด้วยการใช้เทคนิคผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็กจึงทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ลดความเสี่ยงเรื่องการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยกลับมามีชีวิตปกติได้เร็วขึ้น
โรคมะเร็งกับผู้สูงอายุเป็นเรื่องสำคัญ เพราะผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เนื่องจากไม่ได้รักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อีกทั้งเซลล์ร่างกายก็ไม่สมบูรณ์เหมือนหนุ่ม ๆ สาว ๆ การทำประกันสุขภาพโรคร้าย จึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกจะช่วยบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ลูก ๆ หลาน ๆ สนใจทำประกันโรคร้ายให้พ่อแม่ หรือผู้สูงอายุที่บ้าน ลอง เข้ามาเปรียบเทียบแผนประกันและเบี้ยราคาดี ๆ ที่ Rabbit Care ได้เลยนะคะ
มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี