แคร์ไลฟ์สไตล์

อัปเดต!สิทธิบัตรทอง 2566 เปลี่ยนรพ.สิทธิบัตรทอง ย้ายสิทธิบัตรทองออนไลน์อย่างไร?

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: March 13,2023
สิทธิบัตรทอง ย้ายสิทธิบัตรทองออนไลน์ เช็คโรงพยาบาลบัตรทอง

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

เรื่องของสิทธิในการรักษาพยาบาลฟรีจากรัฐบาลยังคงเป็นเรื่องที่ใครหลาย ๆ คนๆ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสิทธิบัตรสวัสดิการถ้วนหน้า ที่รู้จักกันในนาม “สิทธิบัตรทอง” ที่ถือเป็นสิทธิในการเข้ารับการรักษาอีกหนึ่งสิทธิ์ที่ดีสำหรับประชาชนคนไทยที่ไม่มีสิทธิประกันสังคม สิทธิรัฐวิสาหกิจ หรือบัตรข้าราชการ สามารถเข้าถึงการรักษาฟรีจากสถานพยาบาลตามเงื่อนไขได้ 

และสำหรับสิทธิบัตรทองในปี 2566 นี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ได้รับสิทธิอะไรเพิ่มเติมบ้าง รวมถึงหากต้องการย้ายสิทธิบัตรทองเปลี่ยนสถานพยาบาลในการเข้ารับการรักษาจะสามารถทำได้หรือไม่? ถ้าทำได้จะต้องทำอย่างไร? ย้ายสิทธิบัตรทองออนไลน์ได้หรือไม่? น้องแคร์มีคำตอบมาฝาก เช็คได้เลย!

สมัครประกันสุขภาพกับน้องแคร์ รับบริการปรึกษาแพทย์ฟรี! ไม่ต้องไปโรงพยาบาล
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    สิทธิบัตรทอง คืออะไร? ใครใช้สิทธิบัตรทองได้บ้าง?

    สิทธิบัตรทอง หรือ สิทธิสวัสดิการถ้วนหน้า เป็นสิทธิการรักษาพยาบาลสำหรับประชาชนคนไทยที่ทางสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ออกให้ เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลพื้นฐานต่าง ๆ ได้

    โดยประชาชนที่จะมีสิทธิ์ได้รับสิทธิบัตรทองจะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้

    1. เป็นบุคคลผู้ที่มีสัญชาติไทย 
    2. มีบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก (สามารถเช็คสิทธิบัตรทองด้วยเลขบัตรประชาชนได้)
    3. เป็นบุคคลที่ไม่ได้ถือสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดของรัฐ ได้แก่ สิทธิประกันสังคม, สิทธิข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการและครอบครัว, สิทธิรักษาของพนักงานรัฐวิสาหกิจและสิทธิรักษาพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ  

    เช็คสิทธิบัตรทอง กับ บัตร 30 บาท ต่างกันอย่างไร?

    เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อบัตร 30 บาท หรือบัตรทอง 30 บาท กันมาหลายปีแล้ว และก็อาจจะมีความสงสัยเกิดขึ้นว่าสรุปแล้วสิทธิบัตรทอง กับบัตรทอง 30 บาท มันคือสวัสดิการตัวเดียวกันหรือไม่? หรือสิทธิบัตรทองกับบัตร 30 บาท มันต่างกันอย่างไร? เพราะมันมีชื่อเรียกหลากหลายเสียเหลือเกิน ซึ่งน้องแคร์ก็ต้องบอกว่าอันที่จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นสิทธิบัตรทอง หรือบัตรทอง 30 บาท หรือบัตร 30 บาท มันก็คือสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลตัวเดียวกันนั่นเอง พูดง่าย ๆ แบบเห็นภาพเข้าใจชัดเจนก็คือ มันคือบัตรสวัสดิการถ้วนหน้าที่ทางสปสช.ออกให้ จะแตกต่างกันก็เพียงเฉพาะชื่อเรียกที่ประชาชนใช้เรียกกันจนติดปากเท่านั้นเอง 

    โดยแรกเริ่มเดิมทีที่เรียกติดปากกันว่าบัตร 30 บาท เป็นเพราะมาจากชื่อของนโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค ที่ผู้มีสิทธิบัตรทอง สิทธิใช้งานบัตร 30 บาท จะได้รับเป็นบัตรกระดาษอ่อน ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นบัตรสีเหลืองทองเคลือบพลาสติก จึงเรียกกันว่าสิทธิบัตรทอง ซึ่งในปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. บัตรทอง 30 บาท จึงมีอีกหนึ่งชื่อเรียกว่าสิทธิบัตรทองหรือสิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้านั่นเอง

    เช็คสิทธิบัตรทองด้วยเลขบัตรประชาชน และเช็คโรงพยาบาลบัตรทองตนเอง ได้อย่างไร?

    สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่าตัวเองสามารถใช้สิทธิบัตรทองได้หรือไม่และต้องการเช็คสิทธิบัตรทองของตัวเอง คุณสามารถเช็คสิทธิบัตรทองด้วยเลขบัตรประชาชน ผ่าน 5 ช่องทางที่สปสช.แนะนำ ได้ดังนี้

    1. เช็คสิทธิบัตรทองด้วยเลขบัตรประชาชนผ่าน Application (แอพพลิเคชั่น) สปสช. จากการค้นหาคำว่า สปสช. ใน App store หรือ Play store
    2. เช็คสิทธิบัตรทองด้วยเลขบัตรประชาชนผ่าน Line (ไลน์) จากการเพิ่มเพื่อนโดย ID : @nhso จากนั้นเลือกเมนูตรวจสอบสิทธิในหน้าแชทสปสช.
    3. เช็คสิทธิบัตรทองด้วยเลขบัตรประชาชนด้วยตนเองผ่าน ระบบeservice ของสปสช. จากหน้าเว็บไซต์ https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml 
    4. เช็คสิทธิบัตรทองด้วยเลขบัตรประชาชนผ่าน Facebook (เฟซบุ๊ก) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
    5. เช็คสิทธิบัตรทองด้วยเลขบัตรประชาชนด้วยตนเองผ่าน ระบบการตรวจสอบอัตโนมัติจากการโทร 1330 กด 2 ตามด้วยหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก

    สำหรับขั้นตอนในการรับสิทธิบัตรทอง หากคุณพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร คุณสามารถติดต่อที่สปสช.เขต 13 กทม. หรือจุดลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ สำนักงานเขต 19 เขตของกทม. เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วจะเกิดสิทธิ์ใหม่ทันที

    อัปเดตรายชื่อโรงพยาบาลสิทธิบัตรทองที่สปสช.ยกเลิกสัญญา มีที่ไหนบ้าง?

    อัปเดตรายชื่อโรงพยาบาลสิทธิบัตรทองที่มีการเปลี่ยนแปลง หลังสปสช.ยกเลิกสัญญาบริการสาธารณสุขโรงพยาบาลเอกชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 9 แห่ง โดยรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่ถูกยกเลิกสัญญาไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ได้แก่

    1. สิทธิบัตรทองโรงพยาบาลมเหสักข์ โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
    2. สิทธิบัตรทองโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท
    3. สิทธิบัตรทองโรงพยาบาลผู้สูงอายุขนาดกลางกล้วยน้ำไท 2
    4. สิทธิบัตรทองโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่บางนา 1 
    5. สิทธิบัตรทองโรงพยาบาลนวมินทร์ โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
    6. สิทธิบัตรทองโรงพยาบาลเพชรเวช โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
    7. สิทธิบัตรทองโรงพยาบาลประชาพัฒน์ โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่
    8. สิทธิบัตรทองโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่แพทย์ปัญญา
    9. สิทธิบัตรทองโรงพยาบาลบางมด โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่

    แต่สำหรับใครที่ต้องการเช็คสิทธิบัตรทองและเช็คโรงพยาบาลบัตรทองที่ยังคงใช้สิทธิ์ได้อยู่ในปัจจุบัน คุณสามารถเข้าไปเลือกค้นหารายชื่อโรงพยาบาลสิทธิบัตรทองตามเขตในแต่ละจังหวัดได้ที่เว็บไซต์สปสช.โดยตรง

    สิทธิบัตรทอง เช็คโรงพยาบาลบัตรทอง

    สปสช.ยกเลิกสัญญาโรงพยาบาลสิทธิบัตรทอง 9 แห่ง ผู้ป่วยเดิมยังคงรักษาต่อได้หรือไม่?

    หลังจากที่สปสช.มีการแจ้งการยกเลิกสัญญาบริการสาธารณสุขโรงพยาบาลเอกชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทั้ง 9 แห่ง ทางสปสช.ก็ได้มีการออกแนวทางรองรับเพื่อให้ผู้ป่วยเดิมที่เคยเข้ารับการรักษาพยาบาลกับทางโรงพยาบาลเอกชนทั้ง 9 แห่งดังกล่าวสามารถใช้สิทธิรักษาต่อได้ โดยกำหนดกลุ่มโรคที่ผู้ป่วยเดิมยังสามารถใช้สิทธิบัตรทองรักษาต่อที่รพ.เดิมหลังถูกยกเลิกสัญญาได้ เป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

    กลุ่มผู้ป่วยเดิมที่ยังสามารถรักษารพ.ที่สปสช.ยกเลิกได้

    สิทธิ์ในการรับการรักษาพยาบาล

    1. กลุ่มผู้ป่วยในที่ยังพักรักษาตัวอยู่ที่รพ.ทั้ง 9 แห่ง

    สามารถรักษาต่อไปเช่นเดิมจนกว่าจะสิ้นสุดการรักษา

    2. กลุ่มผู้ป่วยที่มีนัดเข้ารับการรักษาหลังวันที่ 1 ตุลาคม 2565 

    (นัดผ่าตัดต่าง ๆ นัดทำคลอด นัดทำรังสีรักษาและเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง นัดตรวจอัลตร้าซาวด์ นัดตรวจCT Scan นัดตรวจMRI)

    สามารถใช้สิทธิได้เหมือนเดิมจนถึง 31 ธันวาคม 2565

    3. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มีการนัดตรวจติดตามอาการและรับยาต่อเนื่องหลังวันที่ 1 ตุลาคม 2565

    (เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น) 

    ให้ไปเข้ารับการรักษาที่คลินิกชุมชนอบอุ่น คลินิกเวชกรรมและศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้านที่ใดก็ได้ (สปสช.จะมีการจัดเตรียมรายชื่อหน่วยบริการให้ผู้ใช้สิทธิบัตรทองรับทราบว่าสามารถไปที่ไหนได้บ้าง)

    4. กลุ่มผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ป่วยวัณโรคที่ต้องรับยาต่อเนื่อง

    สามารถไปรักษาที่ไหนก็ได้ทั้งศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง หรือโรงพยาบาลรัฐใกล้บ้าน

    5. กลุ่มผู้ป่วยไตที่มีนัดฟอกไตและผู้ป่วยที่มีนัดผ่าตัดหัวใจกับรพ.ที่ถูกยกเลิกสัญญา

    ยังคงสามารถรับบริการได้ตามนัดเช่นเดิม เนื่องจากการยกเลิกสัญญาดังกล่าวจะไม่ได้รวมถึงการให้บริการด้านการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและบริการด้านการทำหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีผ่านสายสวน

    สำหรับผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ นอกเหนือจาก 5 กลุ่มดังกล่าว หากเคยเข้ารับการรักษาโดยใช้สิทธิสปสช.บัตรทองกับโรงพยาบาลเอกชนทั้ง 9 แห่งที่ถูกยกเลิกสัญญาไป สามารถไปใช้สิทธิสปสช.บัตรทองที่หน่วยบริการปฐมภูมิเดิมของตนเองได้ และสามารถเข้าไปเช็คสิทธิบัตรทองหรือเลือกสิทธิหน่วยบริการที่รับการส่งต่อได้ผ่านสายด่วน 1330 หรือ Application และ Line ของสปสช.

    อัปเดตรายการรักษาพยาบาลสิทธิบัตรทอง 2566 รักษาโรคใดได้บ้าง?

    ใครก็ตามที่ถือสิทธิสปสช.บัตรทองจะสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลเบื้องต้นได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และในปีนี้สปสช.บัตรทอง ก็ได้มีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ให้กับประชาชนที่ถือสิทธิบัตรทอง โดยสิทธิประโยชน์ใหม่ที่สปสช.บัตรทอง ได้ดำเนินการเพิ่มเติมให้กับประชาชนในปีนี้ ดังนี้

    รายการรักษาพยาบาลสิทธิบัตรทองในปัจจุบัน

    รายการรักษาพยาบาลสิทธิบัตรทองที่เพิ่มขึ้น

    สิทธิในการคลอดบุตร (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)

    การดูแลภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด

    สิทธิในการตรวจและเข้ารับการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์

    บริการทันตกรรม ในการรักษาเนื้อเยื่อในฟันกรามแท้ และบริการรากฟันเทียม

    สิทธิการได้รับค่าอาหารและห้องสามัญ

    บริการห้องฉุกเฉินคุณภาพภาครัฐ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่และแผ่นรองซับ

    สิทธิด้านทันตกรรมในการถอนฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน รักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม ทำฟันปลอม ใส่เพดานเทียมสำหรับผู้โรคปากแหว่งเพดานโหว่

    บริการยาในการป้องกันการติดเชื้อ HIV และเพิ่มยาจำเป็นแต่มีราคาแพง ในกลุ่มบัญชียา จ (2)

    ยาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ

    บริการดูแลผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยที่ได้รับพิษและผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลัน

    กรณีการเจ็บป่วยทั่วไป ที่ไม่ใช่อาการฉุกเฉิน ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการตามสิทธิบัตรทองของตนได้ เพียงยื่นบัตรประชาชน

    เพิ่มเติมบริการที่คลินิกการพยาบาลฯ กายภาพบำบัด คลินิกชุมชนอบอุ่น คลินิกเวชกรรม และคลินิกทันตกรรม และบริการ Home Ward

    กรณีการเจ็บป่วยฉุกเฉินทั้ง 3 ระดับ สีแดง สีเหลือง และสีเขียวตามนิยามทางการแพทย์ สามารถเข้ารับบริการกับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุดได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง หากเป็นการเข้ารับการรักษาฉุกเฉินในโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่เข้าร่วม ให้ติดต่อสายด่วนสปสช.บัตรทอง 1330 เพื่อประสานหาเตียงรองรับ

    บริการคัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด คัดกรองมะเร็งและมะเร็งช่องปาก คัดกรองผู้ป่วยโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกในเด็กแรกเกิด คัดกรองและค้นหาวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงสูง

    กรณีการเกิดอุบัติเหตุ หากเป็นการประสบอุบัติเหตุแบบทั่วไป ให้ปฏิบัติเหมือนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่หากเป็นกรณีการประสบอุบัติเหตุจากรถ ต้องใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้หมดก่อน ส่วนเกินจึงจะสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้

    บริการตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูงและญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์

    -

    บริการสายด่วนเลิกบุหรี่และสายด่วนสุขภาพจิต

    -

    เพิ่มเติมบริการการตรวจไวรัสตับอักเสบบีในหญิงตั้งครรภ์ 

    -

    บริการคัดกรองธาลัสซีเมียในสามีหรือคู่ของหญิงตั้งครรภ์ 

    -

    เพิ่มการเข้าถึงบริการที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวมถึงการป้องกันและการช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีฉีดวัคซีนโควิด-19

    -

    เพิ่มการเข้าถึงบริการเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง

    -

    เพิ่มบริการผ่าตัดข้อเข่าและผ่าตัดต้อกระจก

    โดยประชาชนผู้ถือสิทธิสปสช.บัตรทองจะสามารถได้รับสิทธิในการเข้ารับการรักษาทั้งหมดตามรายการข้างต้นได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

    สิทธิบัตรทอง ย้ายโรงพยาบาลบัตรทอง ย้ายสิทธิบัตรทอง

    หากต้องการย้ายสิทธิบัตรทอง 2566 สามารถทำได้หรือไม่ ทำอย่างไร?

    หากใครที่กำลังเกิดความสงสัยว่าสิทธิสปสช.บัตรทองนั้นสามารถที่จะทำการย้ายสิทธิบัตรทองได้หรือไม่ หรือสามารถย้ายสิทธิบัตรทองข้ามจังหวัดได้หรือไม่ น้องแคร์ก็ขอตอบแบบชัดเจนเพื่อให้เกิดความสบายใจกับผู้ใช้สิทธิสปสช.บัตรทองที่กำลังสงสัยได้เลยว่า สามารถทำได้แน่นอน! เนื่องจากทางสปสช.ก็เล็งเห็นแล้วว่าผู้ที่มีสิทธิสปสช.บัตรทองนั้นอาจจะมีการเกิดเหตุเจ็บป่วยไม่สบายโดยที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่มีสิทธิในการรักษา หรือมีการโยกย้ายถิ่นฐาน ไม่สะดวกเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือหน่วยบริการเดิมได้อีกต่อไป ก็สามารถที่จะดำเนินการยื่นขอย้ายสิทธิบัตรทองข้ามจังหวัดได้โดยไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้าน เพื่อเลือกโรงพยาบาลหรือหน่วยบริการใหม่ผ่านทางระบบออนไลน์ได้ทันที สามารถทำเสร็จในระบบออนไลน์ได้ในวันเดียว!

    โดยคุณสามารถดำเนินการย้ายสิทธิบัตรทองข้ามจังหวัด คุณสามารถดำเนินการย้ายสิทธิบัตรทอง 2566 ออนไลน์ ฟรี ผ่านช่องทางการบริการ 2 ช่องทาง ได้แก่

    1. ย้ายสิทธิบัตรทองข้ามจังหวัด ย้ายสิทธิบัตรทอง 2566 ออนไลน์ ฟรี ผ่าน Application (แอพพลิเคชั่น) สปสช. ทั้งระบบ Android และ iOS
    2. ย้ายสิทธิบัตรทองข้ามจังหวัด ย้ายสิทธิบัตรทอง 2566 ออนไลน์ ฟรี ผ่าน Line Official Account สปสช. โดยพิมพ์ในช่องเพิ่มเพื่อนด้วย ID : @nhso เข้ามาที่หน้าแชทและเลือกเมนูเปลี่ยนหน่วยบริการ (ด้วยตนเอง) จากนั้นทำตามขั้นตอนที่ระบบแนะนำ

    แต่สำหรับใครที่ไม่สะดวกดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ แต่สะดวกที่จะเดินทางไปใช้บริการการย้ายสิทธิบัตรทองข้ามจังหวัดด้วยตนเอง ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน โดยจะต้องเดินทางไปขอย้ายสิทธิบัตรทองที่สำนักงานเขตหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) ดังนี้

    • ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในต่างจังหวัด : ให้ไปติดต่อย้ายสิทธิบัตรทองข้ามจังหวัด ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) หรือโรงพยาบาลรัฐใกล้บ้าน
    • ผู้ที่พักอาศัยในเขตพื้นที่กทม. : ให้ไปติดต่อย้ายสิทธิบัตรทองข้ามจังหวัด ที่สำนักงานเขตทั้ง 19 แห่ง ได้แก่ สำนักงานเขตคลองเตย คลองสามวา ธนบุรี บางกะปิ บางขุนเทียน บางแค บางพลัด ประเวศ พระโขนง มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง ลาดพร้าว สายไหม หนองแขม หนองจอก หลักสี่และห้วยขวาง

    หากต้องการเข้าถึงการรักษาพยาบาลแบบรวดเร็วทันใจ ประกันสุขภาพค่าเบี้ยไม่แพงจากแรบบิท แคร์ ช่วยคุณได้!

    ก็ต้องบอกว่าปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิทธิบัตรทองจากสปสช.นั้นจริง ๆ แล้วก็มีประโยชน์กับประชาชนคนไทยในด้านการรักษาพยาบาลอยู่ไม่น้อย แต่ในแง่ของข้อจำกัดในการใช้สิทธิบัตรทองก็ทราบกันดีอยู่ว่าค่อนข้างจะต้องใช้เวลาเป็นอย่างมากเลยทีเดียวกว่าจะได้รับการรักษาพยาบาล เนื่องมาจากจำนวนผู้ป่วยที่ใช้สิทธิสปสช.บัตรทองก็ค่อนข้างมีเยอะมาก ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด ดังนั้นก็เป็นธรรมดาที่จะต้องมีการรอคิวหรือใช้เวลาในการเข้ารักการรักษาในแต่ละครั้งยาวนาน ผู้ป่วยหลาย ๆ รายจะต้องเดินทางออกจากที่พักตั้งแต่เช้ามืด เพื่อมารับคิวในการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือหน่วยบริการให้ทัน รวมไปถึงข้อจำกัดการเข้ารับการรักษาที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเฉพาะโรงพยาบาลตามสิทธิ์เท่านั้น หากมีการย้ายที่อยู่ไม่สะดวกเข้ารับการรักษาที่เดิมก็จะต้องทำเรื่องย้ายสิทธิบัตรทองด้วย ซึ่งก็ค่อนข้างเป็นอุปสรรคอยู่ไม่น้อย

    ดังนั้นการมีตัวช่วยดี ๆ อย่างประกันสุขภาพส่วนบุคคลก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะเป็นตัวช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้รวดเร็วทันท่วงทีมากขึ้น และยังสามารถที่จะนำมาใช้ร่วมกันกับสิทธิบัตรทอง 30 บาทได้อีกด้วย ทำให้วงเงินในการรักษาพยาบาลมีมากขึ้น เพิ่มความอุ่นใจในการรักษาในแต่ละครั้งได้มากขึ้นอีกด้วย ไม่ต้องกังวลเรื่องคิวหรือการย้ายสิทธิบัตรทองไปยังโรงพยาบาลใกล้บ้านอีกด้วย รู้แบบนี้แล้วก็อย่าลืมวางแผนทำประกันสุขภาพดี ๆ จากแรบบิท แคร์สักหนึ่งฉบับติดตัวไว้ เผื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดที่จำเป็นต้องรีบเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว ก็จะได้ใช้สิทธิ์การเข้ารับการรักษาจากประกันสุขภาพส่วนตัวที่คุณมีได้เลย!

    เช็คสิทธิบัตรทอง ย้ายสิทธิบัตรทองออนไลน์

    อยากซื้อประกันสุขภาพ แต่มีงบจำกัด จะเลือกแผนไหนดีจึงจะเหมาะสม?

    ต้องบอกว่าในปัจจุบันนั้นผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพมีมากมายหลายรูปแบบมาก ๆ แต่ละบริษัทประกันก็มักจะออกแบบแผนประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนเราในทุก ๆ วันนี้มากที่สุด ซึ่งแผนประกันสุขภาพในปัจจุบันส่วนมากก็จะมีอยู่ 2 รูปแบบหลัก ๆ ก็คือ ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายค่ารักษาและประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่าย ที่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของวงเงินในการรักษาพยาบาลหมวดต่าง ๆ ที่หากเป็นแบบเหมาจ่ายก็จะจ่ายค่าใช้จ่ายตามจริงสูงสุดตามวงเงินที่ซื้อ และหากเป็นแบบแยกค่าใช้จ่ายก็จะมีข้อจำกัดในเรื่อวของวงเงินค่ารักษาที่จะถูกกำหนดจำนวนค่ารักษาสูงสุดในแต่ละหมวดนั่นเอง

    ซึ่งหากคุณต้องการทำประกันสุขภาพแต่มีงบไม่เยอะมาก ไม่อยากรอคิวการรักษานานหรือไม่อยากกังวลเรื่องการย้ายสิทธิบัตรทอง หากจำเป็นต้องเปลี่ยนที่อยู่อาศัย คุณอาจเริ่มต้นวางแผนซื้อประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่ายเพื่อนำไปใช้ร่วมกับสิทธิบัตรทองเพื่อเพิ่มวงเงินค่ารักษาให้มากขึ้นไปก่อนก็ได้ ประกันสุขภาพหลายแผนนอกจากจะสามารถซื้อความคุ้มครองผู้ป่วยในได้แล้วยังสามารถซื้อความคุ้มครองผู้ป่วยนอกเพิ่มเติมได้ด้วย เวลาเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะสามารถไปหาคุณหมอรับยามากินที่บ้านได้โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน หากคุณไม่แน่ใจว่าจะเลือกแผนประกันสุขภาพของบริษัทไหนดี ก็ไม่ต้องกังวลเพราะแรบบิท แคร์ เรามีบริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณของคุณมากที่สุดไว้คอยบริการจากหลากหลายบริษัทประกันชั้นนำมีคุณภาพ

    และเมื่อคุณมีงบประมาณที่มากขึ้นก็สามารถซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมฉบับต่อ ๆ ไปไม่ว่าจะเป็นแบบเหมาจ่ายหรือแบบแยกค่าใช้จ่ายก็ได้ทั้งสิ้น เพราะคุณสามารถที่จะนำประกันสุขภาพทุกฉบับที่คุณเป็นเจ้าของกรมธรรม์มาใช้ในการเบิกเคลมร่วมกับสิทธิบัตรทองได้ทั้งสิ้น ช่วยให้เบาใจเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนเกินไปได้ น้องแคร์ขอแนะนำว่าประกันสุขภาพยังคงเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจำเป็นสำหรับการวางแผนทางการเงินที่สำคัญที่จะช่วยให้เงินเก็บของคุณที่ตั้งใจเก็บมาตลอดชีวิตการทำงาน ไม่หมดไปกับค่ารักษาพยาบาลจนหมด และถ้าหากคุณอายุยังน้อยสุขภาพยังแข็งแรงดี น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณรีบเข้ามาเลือกซื้อประกันสุขภาพดี ๆ ตามงบที่คุณมีที่แรบบิท แคร์ ได้เลย …. ซื้อก่อนได้รับความคุ้มครองก่อน!

    บทความแนะนำอื่น ๆ


     

    บทความแคร์ไลฟ์สไตล์

    Rabbit Care Blog Image 96153

    แคร์ไลฟ์สไตล์

    เอาใจคนชอบมอเตอร์ไซต์ เลือกสรรมอเตอร์ไซค์ที่ใช่สำหรับคุณ

    การเลือกมอเตอร์ไซค์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่รักการขับขี่ เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงสไตล์และดีไซน์ที่ถูกใจแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงสมรรถนะ
    Thirakan T
    27/08/2024