แคร์สุขภาพ

รู้ก่อนใช้! สิทธิ UCEP คืออะไร? UCEP PLUS ป่วยโควิด ยังใช้สิทธิได้อยู่ไม๊?

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: October 7,2022
  
 
เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ใช้สิทธิ UCEP

เป็นที่คุ้นหูรู้จักกันมากขึ้นแล้ว สำหรับนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “สิทธิ UCEP” (Universal Coverage for Emergency Patients) ของรัฐบาล ที่ออกมาเพื่อวัตถุประสงค์ลดความเหลื่อมล้ำในเรื่องการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต น้องแคร์มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับสิทธิ UCEP และ UCEP PLUS มา
บอกให้ทุกคนได้ทราบ พร้อมอัพเดต!ตอนนี้ผู้ป่วยโควิดยังสามารถใช้สิทธินี้ได้อยู่หรือไม่?

สิทธิ UCEP คืออะไร?

UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ สิทธิในการเข้ารับการรักษาตามนโยบายของรัฐบาล คุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้ทุกแห่งทั่วประเทศ ทั้งโรงพยาบาลเอกชนและรัฐบาล นอกคู่สัญญา 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, กองทุนประกันสังคมและกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นภาวะวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย ภายใน 72 ชั่วโมง

ใครบ้าง? ที่สามารถใช้สิทธิ UCEP ได้

บุคคลที่จะสามารถใช้สิทธิ UCEP ได้นั้น จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อปฏิบัติ ดังนี้ 

  1. เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน เข้าขั้นวิกฤต มีอาการรุนแรง : ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการเจ็บป่วยแบบกระทันหันจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์ทันที หรืออาการเจ็บป่วยเริ่มรุนแรงขึ้น มีภาวะแทรกซ้อนอย่างเร็ว
  2. เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนหรือรัฐบาลในพื้นที่ที่ใกล้ที่สุด :ไม่ว่าจะเป็นการนำส่งโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถพยาบาลฉุกเฉิน 1669 ก็ตาม แพทย์จากโรงพยาบาลแรกรับจะเป็นผู้ประเมินอาการผู้ป่วยเบื้องต้นว่าสามารถรับสิทธิ UCEP ได้หรือไม่ ยกเว้นกรณีการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลกับโรงพยาบาล จะไม่ถือว่าเข้าข่ายการย้ายแบบผู้ป่วยฉุกเฉิน UCEP หรือหากโรงพยาบาลปลายทางของผู้ป่วย อยู่ในสิทธิประกันสังคมอยู่แล้ว จะเป็นการใช้สิทธิประกันสังคมแทน
เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    เจ็บป่วยแบบไหน? เรียกว่าฉุกเฉินวิกฤต ใช้สิทธิ UCEP ได้

    อาการเจ็บป่วยที่เรียกได้ว่าฉุกเฉินวิกฤต ต้องเป็น 6 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ตามหลักเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน หรือ กพฉ. ประกาศกำหนด และรายละเอียดเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ. กำหนด โดย 6 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินตามกำหนด มีดังต่อไปนี้

    1. มีอาการหมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
    2. มีอาการหายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง
    3. มีอาการซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม
    4. มีอาการเจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
    5. มีอาการแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือมีอาการชักต่อเนื่องไม่หยุด
    6. มีอาการอื่น ๆ ที่มีผลต่อการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตร่วมด้วย

    หากแพทย์มีการประเมินอาการผู้ป่วยเบื้องต้นแล้ว พบว่าผู้ป่วยมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินตามข้างต้น ก็จะสามารถเข้ารับบริการตามระบบ UCEP ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมง หรือพ้นภาวะวิกฤต แต่หากแพทย์ประเมินว่าผู้ป่วยไม่ได้มีอาการตามเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ก็จะไม่ได้รับสิทธิ UCEP ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเอง ซึ่งในกรณีนี้ หากผู้ป่วยมีประกันสุขภาพ ก็จะสามารถนำมาใช้ในการเบิกเคลมค่ารักษาพยาบาลร่วมด้วยได้

    หากเกิด 6 อาการที่เข้าข่ายภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว เพื่อเข้ารับการรักษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านสิทธิ UCEP

    6 อาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ขอใช้สิทธิ UCEP ได้

    5 ขั้นตอน ขอใช้สิทธิ UCEP!

    1. ตรวจสอบสิทธิพื้นฐานการรักษาพยาบาลของตนเองว่าเป็นสิทธิอะไร เช่น สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, สิทธิประกันสังคม, สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
    2. กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนที่ใกล้ที่สุดและเป็นโรงพยาบาลนอกคู่สัญญา 3 กองทุนที่ตนเองมีสิทธิ ให้แจ้งขอใช้สิทธิ UCEP กับโรงพยาบาลดังกล่าว
    3. โรงพยาบาลแรกรับจะดำเนินการประเมินอาการตามหลักเกณฑ์ที่ สพฉ. กำหนด และคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
    4. ศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของ สพฉ. รับทราบข้อมูลเข้าระบบ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
    5. เมื่อโรงพยาบาลดำเนินการประเมินอาการแล้ว 
      • หากผลการประเมินเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต : เข้ารับบริการตามระบบ UCEP โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายภายใน 72 ชั่วโมง หรือพ้นภาวะวิกฤต
      • กรณีผลการประเมินไม่เข้าเกณฑ์เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต : ให้รีบประสานไปยังโรงพยาบาลตามสิทธิ แต่หากประสงค์จะรักษาที่โรงพยาบาลแรกรับ จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยตนเอง หากผู้ป่วยมีประกันสุขภาพจะสามารถใช้สิทธิร่วมด้วยได้

    หลังจากมีการรักษาครบ 72 ชั่วโมงแล้ว ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตของ สพฉ. จะดำเนินการแจ้งต่อไปยังกองทุนเจ้าของสิทธิของผู้ป่วย เพื่อให้กองทุนเจ้าของสิทธิประสานต่อไปยังโรงพยาบาลต้นสังกัดของผู้ป่วยในการเตรียมรับย้ายผู้ป่วยเข้าสู่ระบบปกติให้ได้ทันภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลครบ 72 ชั่วโมงหรือพ้นวิกฤตแล้ว

    ทั้งนี้หากเกิดกรณีใช้สิทธิ UCEP ครบ 72 ชั่วโมงแล้ว ยังไม่พ้นภาวะฉุกเฉิน หรือ รพ.ต้นสังกัดไม่มีเตียงรองรับ และจำเป็นจะต้องรับการรักษาต่อเนื่อง ฝ่ายผู้ป่วยจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังใช้สิทธิ UCEP ทั้งหมด ดังนั้นในกรณีดังกล่าว หากผู้ป่วยมีประกันสุขภาพ ก็จะสามารถนำมาเคลมค่ารักษาพยาบาลในส่วนที่เกินจาก 72 ชั่วโมงแรกได้

    สิทธิ UCEP รักษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายทุกโรงพยาบาล

    แล้ว UCEP PLUS คืออะไร ต่างจาก UCEP ไม๊?

    ช่วงสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา นอกจากสิทธิ UCEP ที่หลาย ๆ คนเคยได้ยิน ก็ยังมีสิทธิ UCEP PLUS ที่ได้ยินกันบ่อยจากการประกาศของรัฐบาลอีกด้วย และก็ยังคงเป็นที่สงสัยว่า UCEP กับ UCEP PLUS มันแตกต่างกันอย่างไร จะใช้สิทธิอย่างไรได้บ้าง น้องแคร์หาคำตอบมาให้แล้ว!

    UCEP PLUS หรือ UCEP COVID-19 PLUS  คือ ระบบรองรับการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 ที่มีอาการเข้าข่ายตามเกณฑ์ที่กำหนด ตั้งแต่อาการกลุ่มสีเขียว สีเหลืองและสีแดง โดยสามารถที่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใดก็ได้ที่ใกล้ที่สุดทุกแห่ง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับการใช้สิทธิ UCEP ปกติ แต่จะแตกต่างกันตรงที่สิทธิ UCEP PLUS จะถูกนำมาใช้กับการรักษาที่เกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด 19 โดยเฉพาะนั่นเอง โดยเกณฑ์ที่ผู้ป่วยโควิด 19 สามารถใช้สิทธิ UCEP PLUS ได้ มีดังนี้

    • ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่รับการรักษาที่บ้านหรือชุมชนเป็นหลัก (HI / CI First)

    ที่จะต้องมีการติดตามอาการสม่ำเสมอ หากอาการรุนแรงขึ้นเปลี่ยนจากผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวเป็นสีเหลืองหรือสีแดง จะต้องส่งต่อไปที่โรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาด้วยสิทธิ UCEP PLUS ทันที

    • ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง ที่มีอาการ ดังนี้
    1. แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
    2. หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย
    3. ปอดอักเสบ
    4. ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน
    5. เด็ก ที่มีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือกินอาหารได้น้อยลง
    6. กลุ่ม 608 ประกอบไปด้วย ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มบุคคลเป็นโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ บุคคลน้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม

    และจะสามารถใช้สิทธิ UCEP PLUS ในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินรุนแรงจากโรงพยาบาลหนึ่ง ไปรับการรักษาใน ICU ของอีกโรงพยาบาลหนึ่งได้

    • ผู้ป่วยกลุ่มสีแดง ที่มีอาการ ดังนี้
    1. หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยคขณะสนทนา
    2. แน่นหน้าอก หายใจเจ็บหน้าอก
    3. ปอดอักเสบรุนแรง
    4. มีภาวะช็อก โคม่า ซึมลง
    5. มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส นานกว่า 24 ชั่วโมง
    6. ค่าออกซิเจนน้อยกว่า 94%

    จะสามารถใช้สิทธิ UCEP PLUS ในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินรุนแรงจากโรงพยาบาลหนึ่ง ไปรับการรักษาใน ICU ของอีกโรงพยาบาลหนึ่งได้

    อัพเดตล่าสุด! ตอนนี้ป่วยโควิด ยังใช้สิทธิ UCEP PLUS ได้อยู่ไม๊?

    ต้องบอกว่าสถานการณ์การติดเชื้อโควิด ขณะนี้เริ่มดีขึ้นและไม่ได้รุนแรงเหมือนที่ผ่านมา ล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1  ก.ค. ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลก็ได้มีการประกาศให้โควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่นหรือระยะ Post-Pandemic เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    ผลที่ตามมาด้วยก็คือ มีการประกาศยกเลิกการใช้สิทธิ UCEP PLUS ในผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวและผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองด้วย โดยผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มดังกล่าว จะถูกปรับสิทธิให้มาเข้ารับการรักษาฟรีตามสิทธิเท่านั้นจะไม่สามารถใช้สิทธิ UCEP PLUS ได้แล้ว ซึ่งแนวทางในการรักษาก็จะเป็นรูปแบบผู้ป่วยนอกหรือผู้ป่วยใน โดยจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ว่าจะมีแนวทางการรักษาในรูปแบบใด ส่วนผู้ป่วยกลุ่มสีแดงที่วิกฤต จะยังสามารถใช้สิทธิ UCEP PLUS ได้ตามเดิม

    UCEP PLUS ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2565 จะสามารถใช้สิทธิได้เฉพาะผู้ป่วยโควิด 19 กลุ่มสีแดงที่วิกฤตเท่านั้น กลุ่มสีอื่น ๆ จะไม่สามารถใช้สิทธิได้

    ป่วยโควิดกลุ่มสีแดง ใช้สิทธิ UCEP PLUS รักษาฟรีได้

    อย่างไรก็ตามแต่น้องแคร์ก็ขอยืนยันว่าในสถานการณ์ที่ยังคงมีโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่อยู่แบบนี้ การมีประกันสุขภาพที่มีวงเงินค่ารักษาพยาบาลสูงติดตัวไว้สัก 1 เล่ม ก็ยังคงเป็นวิธีการวางแผนชีวิตที่ทำให้อุ่นใจ สบายใจหายห่วงได้มากที่สุด เพราะไม่ว่าอาการเจ็บป่วยของคุณจะสามารถใช้สิทธิ UCEP ทั้งแบบปกติ และ UCEP PLUS ได้หรือไม่ คุณก็จะยังคงสบายใจไร้ความกังวลใด ๆ เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลอยู่ดี และที่แรบบิท แคร์ ก็มีประกันสุขภาพIPD/OPD วงเงินค่ารักษาพยาบาลหลักล้าน จากหลากหลายบริษัทประกันชั้นนำ ไว้ให้คุณได้เลือกความคุ้มครองได้ตามความต้องการ แต่ถ้าหากคุณไม่แน่ใจว่าคุณจะเลือกประกันสุขภาพแบบไหนดี เราก็มีบริการเปรียบเทียบประกันสุขภาพไว้คอยบริการ เพื่อให้คุณได้รับความคุ้มครองที่ตรงความต้องการคุณมากที่สุด ที่นี่ที่เดียว!

      

    ผ่อนสบาย! ซื้อประกันรถทุกชั้น ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน

    รถของคุณยี่ห้ออะไร

    < กลับไป
    < กลับไป

    ระบุยี่ห้อรถของคุณ

    ระบุปีผลิตรถของคุณ


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024