เทคนิคการเลือกไฟแนนซ์ เลือกอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด
หากคุณไม่ได้เป็นบุคคลที่ตัดสินใจซื้อรถยนต์ด้วยเงินสดแต่เลือกที่จะซื้อรถยนต์ด้วยการผ่อนรถยนต์กับบริษัทไฟแนนซ์ การเลือกบริษัทไฟแนนซ์ก็จะถือเป็นเรื่องสำคัญพอ ๆ กับการเลือกรุ่นรถยนต์ หรือ ประกันภัยรถยนต์เลยก็ว่าได้ค่ะ
แน่นอนว่าในปัจจุบันการจัดหาไฟแนนซ์ไม่ได้มีขั้นตอนยุ่งยากเท่ากับเมื่อก่อน นั่นก็เพราะว่าในปัจจุบันมีบริษัทไฟแนนซ์มากมายที่พร้อมจะหยิบยื่นข้อเสนอดีๆให้แก่ลูกค้านั่นเอง
การจัดไฟแนนซ์ หรือ สินเชื่อรถยนต์ คืออะไร
การจัดไฟแนนซ์รถยนต์ หรือ การขอสินเชื่อรถยนต์ นั้น คือการที่เราวางเงินดาวน์ก้อนหนึ่งให้แก่บริษัทรถยนต์ ส่วนเงินค่ารถส่วนที่เหลือก็ทำเรื่องกู้กับบริษัทไฟแนนซ์ และหลังจากนั้นดำเนินการขอผ่อนค่างวดรถยนต์แลกจ่ายค่าดอกเบี้ยให้กับบริษัทไฟแนนซ์จนกว่าจะครบ จากนั้นรถยนต์จึงจะเป็นทรัพย์สินของเราโดยสมบูรณ์นั่นเองค่ะ
สินเชื่อรถยนต์ หรือ การจัดไฟแนนซ์ มีกี่แบบ
สินเชื่อสำหรับเช่าซื้อรถยนต์โดยพื้นฐานแล้วสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน ได้แก่
1.สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์สำหรับบุคคลธรรมดา (ทั้งรถมือหนึ่งและรถมือสอง)
ไม่ว่าจะเป็นการซื้อรถยนต์มือหนึ่งจากค่ายรถ ดีลเลอร์ขายรถยนต์ หรือในกรณีที่รถยนต์ของคุณเป็นรถยนต์มือสอง (ซื้อรถจากเต๊นท์รถ หรือรถบ้าน) การจัดไฟแนนซ์ในลักษณะนี้ คือ การที่คุณยังไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์อย่างเต็มตัว แม้ว่าคุณจะสามารถนำรถยนต์ออกมาใช้งานได้ตามปกติ และคุณจะเป็นเจ้าของรถคันดังกล่าวอย่างเต็มตัวก็ต่อเมื่อคุณจ่ายค่างวดพร้อมดอกเบี้ยเรียบร้อยทั้งหมดแล้วเท่านั้น
การซื้อรถยนต์มักจะเกิดขึ้นผ่านการไฟแนนซ์ โดยในกรณีนี้ คุณจะต้องจ่ายเงินค่างวดและดอกเบี้ยในระยะเวลาที่กำหนด การคำนวณค่างวดรถไม่ได้ยุ่งยากมากนัก ที่สำคัญคือควรทำให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจและมีข้อมูลที่เพียงพอก่อนที่จะเช่าซื้อรถยนต์ ขั้นตอนแรกต้องลองคำนวณค่างวดรถ ซึ่งอาจรวมถึงอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อนชำระ และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อค่างวดของคุณ เมื่อคุณมีข้อมูลทั้งหมดนี้ คุณสามารถใช้เครื่องคำนวณค่างวดรถออนไลน์ที่แรบบิท แคร์
หลังจากนั้น คุณสามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยและค่างวดรถระหว่างสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อหาสิ่งที่เหมาะสมที่สุดกับสภาพการเงินและความต้องการของคุณ อย่าลืมตรวจสอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องเช่น ค่าประกันภัย ค่าบำรุงรักษารถ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการเป็นเจ้าของรถยนต์
2.สินเชื่อรีไฟแนนซ์
ในกรณีนี้จะแตกต่างจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในแบบแรกค่ะ เพราะการรีไฟแนนซ์นั้นคือการที่คุณเป็นเจ้าของรถยนต์อย่างเต็มตัวแล้ว กล่าวคือหมดพันธะการผ่อนรถยนต์กับบริษัทไฟแนนซ์แล้ว แต่ต้องการนำรถไปแลกเป็นเงินสด (แบบที่เห็นในโฆษณาบ่อยๆก็ รถแลกเงิน หรือ เมืองไทยลีสซิ่ง) ถ้าพูดให้เห็นภาพง่ายๆคือ การรีไฟแนนซ์นั้นจะเป็นเรื่องของการกู้เงิน โดยที่เรานำรถยนต์หรือทะเบียนรถยนต์ไปขอหรือแลกสินเชื่อ เพื่อนำเงินสดมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันนั่นเองค่ะ
ซื้อรถใหม่จำเป็นต้องจัดไฟแนนซ์กับบริษัทไฟแนนซ์ของค่ายรถหรือไม่
ไม่จำเป็นค่ะ หากคุณต้องการซื้อรถยนต์และกำลังมองหาบริษัทไฟแนนซ์อยู่ เราแนะนำให้คุณหาข้อมูลโปรโมชั่น รวมถึงข้อเสนอของบริษัทไฟแนนซ์ต่างๆให้ดี เพื่อที่คุณจะได้นำข้อมูลเหล่านั้นมาเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของบริษัทไฟแนนซ์แต่ละแห่ง เพื่อให้ตัวของคุณเองได้รับผลประโยชน์ที่ดีที่สุด
รถยนต์ประเภทใดบ้างที่สามารถขอจัดไฟแนนซ์ได้
ในปัจจุบันรถยนต์ทุกประเภทสามารถดำเนินการขอสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ได้หมดค่ะ ไม่ว่าจะเป็น รถเก๋ง รถกระบะ รถตู้ หรือ รถบรรทุก ก็สามารถยื่นเรื่องขอจัดไฟแนนซ์ได้ทั้งหมด
ยื่นเรื่องจัดไฟแนนซ์แต่ละครั้งได้วงเงินสูงมากแค่ไหน
ส่วนใหญ่จำนวนเงินกู้และระยะเวลากู้มักแตกต่างกันออกไปแต่ละบริษัทที่มีการจัดไฟแนนซ์ โดยเฉลี่ยแล้วเงินกู้ที่คุณจะได้รับจากบริษัทไฟแนนซ์จะอยู่ที่ 75-85% ของราคารถ ส่วน ระยะเวลากู้ก็จะอยู่ที่ 12-72 เดือน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเงินดาวน์ด้วยนะคะ
เพราะหาก คุณวางเงินดาวน์ต่ำ อัตราดอกเบี้ยก็จะสูงขึ้นตามลำดับ แต่หากการยื่นเรื่องขอสินเชื่ออยู่ในช่วงที่บริษัทไฟแนนซ์มีโปรโมชั่นอยู่พอดี คุณก็อาจจะได้รับข้อเสนอประเภท “อัตราดอกเบี้ยต่ำ และระยะเวลาการผ่อนที่นานเป็นพิเศษ” เป็นต้นค่ะ
นอกจากดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายแล้ว มีค่าใช้จ่ายอะไรอีกบ้าง
เรื่องดอกเบี้ยที่คุณต้องจ่ายให้แก่บริษัทไฟแนนซ์ ส่วนใหญ่จะเป็นดอกเบี้ยคงที่ ซึ่ง บริษัทไฟแนนซ์จะคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นเริ่มแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น (ดอกเบี้ยจะไม่ถูกคิดจากยอดเงินต้นที่ลดลง) ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะถูกหรือแพงก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆที่ส่งผล ณ ขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านตลาด หรือ สภาวะการแข่งขันของบริษัทให้สินเชื่อด้วยกันเอง มูลค่าของรถยนต์ อาชีพของผู้ที่ยื่นขอไฟแนนซ์ เป็นต้น
นอกจากดอกเบี้ยแล้วยังมีค่าใช้จ่ายจิปาถะที่คุณต้องจ่ายอีกด้วย เช่น
- ค่าโอนทะเบียนรถ
- ค่าอากรสแตมป์
- ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ (ในกรณีที่รถของคุณเป็นรถใหม่บริษัทไฟแนนซ์จะกำหนดให้คุณทำประกันภัยรถยนต์ชั้น1)
- ค่าภาษีรถยนต์
- ค่าใช้จ่ายพิเศษอื่นๆอาทิ ค่าบริการต่อภาษีรถยนต์ ค่าธรรมเนียม และค่าปรับกรณีชำระเงินค่างวดรถล่าช้าเป็นต้น
การเลือกที่จะจัดไฟแนนซ์กับบริษัทไหนให้ได้ผลดีที่สุด คุณควรที่จะเทียบข้อมูล ข้อเสนอต่างๆของแต่ละบริษัทไฟแนนซ์ให้ดีก่อนตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวคุณเองค่ะ
ประกันภัยอุบัติเหตุ ประกันภัยอุบัติเหตุ ประกันภัยอุบัติเหตุ ประกันภัยอุบัติเหตุประกันอุบัติเหตุ ไทยประกันชีวิต
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี