แคร์การเงิน

เรื่องต้องคิด ก่อนตัดสินใจ รีไฟแนนซ์บ้าน

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Facebook iconIG iconlinkedin iconYoutube icon
 
 
Published: May 28,2018
  
 
เรื่องต้องคิด ก่อนตัดสินใจ รีไฟแนนซ์บ้าน

เชื่อเลยว่า ผู้กู้บ้าน หลายต่อหลายคนพอผ่อนบ้านมาได้ 3 ปี ก็เริ่มที่จะสอดส่องมองหาการ รีไฟแนนซ์บ้าน กับธนาคารใหม่ที่ดอกเบี้ยถูกลงกว่าเดิม เพื่อที่จะได้มีเงินไปช้อป กิน เที่ยวกับเขาบ้าง

แต่การ รีไฟแนนซ์บ้าน มันไม่ง่ายขนาดนั้นหน่ะสิคะ เพราะเราต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าจากการรีไฟแนนซ์ด้วย ไม่เช่นนั้นเราจะเสียเวลาทำการรีไฟแนนซ์ไปทำไมกัน ฉะนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่คุณควรพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคาร(ใหม่)

เรื่องต้องคิด ก่อนตัดสินใจ รีไฟแนนซ์บ้าน
เรื่องต้องคิด ก่อนตัดสินใจ รีไฟแนนซ์บ้าน

4 เรื่องต้องคิด ก่อนตัดสินใจ รีไฟแนนซ์บ้าน

ก่อนที่คุณจะทำเรื่องรีไฟแนนซ์บ้าน คุณต้องมาดูปัจจัยสำคัญที่คุณต้องพิจารณาก่อนการรีไฟแนนซ์บ้านก่อน ว่ามีอะไรบ้างที่คุณต้องคิด และคำนวณ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ากับเงินที่คุณต้องเสียไป

  • ดอกเบี้ยที่ลดนั้น คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์หรือเปล่า

หากคุณรีไฟแนนซ์ไปโดยไม่ตรวจสอบให้รอบคอบเกี่ยวกับราคาค่ารีไฟแนนซ์ต่างๆ อาทิ ค่าประเมินหลักประกัน ค่าจดจำนอง ค่าประกันภัย และอื่นๆ อีกมากมาย คุณอาจต้องมานั่งเสียใจในภายหลัง เมื่อพบว่าค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับการรีไฟแนนซ์บ้านนั้นรวมๆ กันแล้วดันแพงกว่าดอกเบี้ยที่จ่ายกับธนาคารเดิมเสียอีก

ทั้งนี้ คุณจึงควรคำนวณให้รอบคอบก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน เพราะที่ถูกที่ควร คือ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ควรน้อยกว่าดอกเบี้ยที่เคยจ่ายมา หรือถ้าจะให้ดีลองติดต่อสอบถามค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจนะคะ

ซึ่งโดยปกติแล้ว การรีไฟแนนซ์บ้าน หรือ รีไฟแนนซ์คอนโด มีเป็นร้อยๆ โปรโมชั่น ถ้ารีไฟแนนซ์ไปที่ๆ ดอกเบี้ยถูกสุดก็จะประหยัดได้หลายแสนบาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายไม่กี่หมื่นบาท ดังนั้น เราควรระลึกไว้เสมอว่า ต้องหาโปรโมชั่นรีไฟแนนซ์ที่ถูกที่สุดเสมอ ซึ่งก็หาได้ง่ายๆ จาก www.refinn.com

  • สถาบันการเงินเดิม มีโครงการที่ดีกว่าหรือไม่

การให้โอกาสเป็นสิ่งที่ดี ในกรณีนี้ก็เช่นกัน คุณควรลองเปิดใจให้โอกาสสถาบันการเงินเดิมเสนออัตราดอกเบี้ยพิเศษ หรือแจ้งอัตราดอกเบี้ยแห่งใหม่เพื่อประกอบการพิจารณาก่อน

หากสถาบันการเงินเดิมสามารถให้อัตราดอกเบี้ยที่น่าสนใจ หรือส่วนลดที่มากกว่าส่วนต่างดอกเบี้ย กับค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามข้อแรก การอยู่กับที่เดิมกับคนเดิมๆ ก็ไม่มีอะไรเสียหายนี่นา จริงไหม

แต่โดยส่วนใหญ่แล้วธนาคารเดิมมักจะลดดอกเบี้ยให้ไม่เยอะมาก เพราะจะแจ้งว่าถ้ารีไฟแนนซ์ไปก็ต้องมีค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตามเราควรเช็คโปรโมชั่นก่อนเสมอ ว่ารีไฟแนนซ์วันนี้เราประหยัดได้กี่บาท คุ้มกว่าอยู่ธนาคารเดิมหรือไม่

สถาบันการเงินเดิม มีโครงการที่ดีกว่าหรือไม่
สถาบันการเงินเดิม มีโครงการที่ดีกว่าหรือไม่
  • ค่าปรับ จากการปิดสินเชื่อกับสถาบันการเงินเดิม แพงเกินรับไหวหรือเปล่า

ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก แต่คนส่วนใหญ่ดันชอบละเลย ซึ่งเราขอบอกตรงนี้เลยว่า ก่อนที่คุณจะตัดสินใจปิดสินเชื่อ หรือปิดหนี้บ้าน ลากกระเป๋าออกไปยังสถาบันการเงินใหม่ คุณควรตรวจสอบสัญญากู้เงินฉบับเดิมทุกครั้ง

ส่วนใหญ่เรามักจะ รีไฟแนนซ์หลังจากผ่อนบ้านครบ 3 ปี  อยู่แล้ว ซึ่งส่วนมากก็มักจะไม่มีค่าปรับ แต่บางคนรีบร้อนอยากรีไฟแนนซ์ก่อนครบ 3 ปี ก็ต้องคิดดีๆ เพราะค่าปรับในการคืนเงินกู้ก่อนกำหนด อาจสูงจนดอกเบี้ยที่คุณหวังว่าจะประหยัดจากเดิมนั้นได้ไม่คุ้มค่าเสีย ซึ่งโดยส่วนมากทางสถาบันการเงินจะกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระขั้นต่ำไว้ไม่น้อยกว่า 3 ปี !

  • ตรวจสอบสวัสดิการของนายจ้างหรือยังคะ

สำหรับพนักงานบริษัท หรือ มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ควรตรวจสอบสิทธิพิเศษจากสถาบันการเงินต่างๆ ที่ให้กับบริษัทนายจ้างก่อน อะ! เชื่อเลยว่า หลายคนยังไม่รู้ว่าเรามีสิทธิพิเศษที่จะได้จากบริษัทนะคะ

ทั้งในเรื่องดอกเบี้ยอัตราพิเศษที่ให้กับพนักงานบริษัท วงเงินกู้ยืม หรือระยะเวลาที่นานกว่า รวมทั้งสามารถขยายวงเงินเพื่อไปใช้หนี้สินอื่นๆ ที่ดอกเบี้ยมากกว่าได้ด้วย (โดยสวัสดิการนี้จะขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทนะคะ)

ทั้งนี้ ก็เพื่อผลประโยชน์ของตัวคุณเองล้วนๆ ก็แหม มันเป็นสิทธิที่เราจะได้อยู่แล้ว แต่หากคุณไม่แน่ใจว่าบริษัทของคุณมีสวัสดิการใดบ้าง คุณสามารถสอบถามกับทางบริษัทได้โดยตรงเลยค่ะ

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะเลือกรีไฟแนนซ์บ้านกับสถาบันการเงินแห่งใหม่ หรือเลือกที่จะให้โอกาสสถาบันการเงินแห่งเดิม ก็ล้วนแล้วแต่การตัดสินใจของคุณ เพราะทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ข้อ ที่เรานำมาให้คุณได้คิด และลองคำนวณดู หากคุณพบทางเลือกที่ดี ก็จงเลือกทางนั้นเลยค่ะ

ปล. หากคุณพิจารณาและตัดสินใจแล้วว่า คุณต้องการรีไฟแนนซ์บ้านไปยังสถาบันการเงินใหม่ คุณก็อย่าลืมเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองสินเชื่อเดิมด้วยนะคะ


 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 98912

แคร์การเงิน

บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่พร้อมจะเพิ่มให้ความสะดวกสบายในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของเราเพิ่มขึ้นมาอย่างมากมาย บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card)
Natthamon
30/12/2024
Rabbit Care Blog Image 97227

แคร์การเงิน

ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด

เคยได้ยินกันไหมกับการผ่อนรถแบบผ่อนบอลลูน คำศัพท์ที่ดูแปลกและไม่ค่อยชินกันเท่าไหร่นัก เพราะในเวลาปกติเราตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคันด้วยการกู้สินเชื่อ
คะน้าใบเขียว
14/11/2024
Rabbit Care Blog Image 94185

แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
Natthamon
03/09/2024