เช็กอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 2566 จังหวัดไหนให้ค่าแรงเท่าไหร่บ้าง?
สำหรับพนักงานที่หาเช้ากินค่ำคงอยากได้ค่าแรงสูง ๆ เพื่อที่จะนำไปใช้จ่ายได้คล่องมือ แต่ปัญหาที่พบคือมักมีการกดค่าจ้างจากนายจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ทางภาครัฐได้กำหนด “ค่าแรงขั้นต่ำ” เพื่อช่วยให้ลูกจ้างได้ค่าแรงตามมาตรฐาน พร้อมได้รับความเป็นธรรมอย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของลูกจ้างนั้นดีขึ้นกว่าเดิม
สำหรับใครที่กำลังมองหางานใหม่เพื่อเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าตนเองควรได้ค่าแรงเท่าไหร่ แรบบิท แคร์ จึงขอนำข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำหรืออัตราค่าจ้างขั้นต่ำ มาให้ทุกท่านประกอบการตัดสินใจดังนี้
การปรับค่าแรงขั้นต่ำนั้นขึ้นกับปัจจัยอะไรบ้าง?
- การขึ้นค่าแรงนั้นจะต้องขึ้นตามความเหมาะสม เพื่อให้ลูกจ้างได้ค่าแรงที่เป็นธรรม ในขณะเดียวกันนายจ้างก็จะยังคงดำเนินธุรกิจได้โดยส่งผลกระทบต่อรายจ่ายจากการจ้างงานน้อยที่สุด ซึ่งขึ้นกับปัจจัยดังนี้
- อัตราเงินเฟ้อ เมื่ออยู่ในภาวะเงินเฟ้อค่าครองชีพก็จะสูงขึ้น การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้คุณภาพชีวิตลูกจ้างอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
- ค่าครองชีพรวมถึงอัตราสินค้าและการบริการ โดยจังหวัดหรือภูมิภาคที่มีค่าครองชีพสูง ก็จะทำให้ค่าจ้างอยู่ในอัตราที่สูงกว่า เพื่อให้ดำรงชีพในสังคมแถบนั้นได้
- ภาวะเศรษฐกิจ หากประเทศอยู่ในภาวะเศรษฐกิจมั่นคง มีการว่างงานต่ำ ก็จะมีแนวโน้มปรับอัตราจ้างสูงขึ้น ซึ่งการปรับค่าจ้างจะไม่ทำให้เจ้าของธุรกิจเสียหายมากนัก
- ปัจจัยทางการเมือง ซึ่งขึ้นกับพรรคการเมืองที่ชูการขึ้นค่าจ้างมาเป็นนโยบาย หากเป็นพรรคการเมืองสมัยใหม่ที่เน้นอุดมการณ์ ก็จะมีแนวโน้มปรับค่าจ้างขั้นต่ำมากขึ้น
- ความเห็นของลูกจ้างและประชาชน หากลูกค้าเห็นว่ารายได้ขั้นต่ำที่มีอยู่ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ ก็จะกดดันให้ภาครัฐขึ้นค่าแรงตามมา
ค่าแรงขั้นต่ำ 2566 ของแต่ละจังหวัด
สำหรับข้อมูล ณ ปัจจุบันนี้ ปี พ.ศ. 2566 จะใช้อัตราค่าแรงขั้นต่ำตาม ประกาศของราชกิจจานุเบกษาด้วยเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป โดยแต่ละจังหวัดนั้นจะถูกกำหนดค่าแรงขั้นต่ำที่ต่างกันออกไปดังนี้
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดชลบุรี ระยอง และภูเก็ต อยู่ที่วันละ 354 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ กทม. นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร อยู่ที่วันละ 353 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ที่วันละ 345 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ที่วันละ 343 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดกระบี่ ของแก่น เชียงใหม่ ตราด นครราชสีมา ปราจีนบุรี พังงา ลพบุรี สงขลา สระบุรี สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย อุบลราชธานี อยู่ที่วันละ 340 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดกาฬสินธุ์ จันทบุรี นครนายก มุกดาหาร สกลนคร สมุทรสงคราม อยู่ที่วันละ 338 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท นครพนม นครสวรรค์ บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พัทลุง พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ยโสธร ร้องเอ็ด เลย สระแก้ว สุรินทร์ อ่างทอง อุตรดิตถ์ อยู่ที่วันละ 335 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดกำแพงเพชร ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตาม นครศรีธรรมราช พิจิตร แพร่ มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สตูล สิงห์บุรี สุโขทัย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุทัยธานี อยู่ที่วันละ 332 บาท
- ค่าแรงขั้นต่ำ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส น่าน อุดรธานี อยู่ที่วันละ 328 บาท
หากมีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่แทนของเดิม แรบบิท แคร์ จะมาอัพเดท ให้ทุกท่านได้ทราบ
ค่าแรงขั้นต่ำของประเทศต่าง ๆ
เพื่อเป็นการเปรียบเทียบค่าแรงของในแต่ละประเทศสหรับเป็นข้อมูลให้กับผู้ที่กำลังมองหาโอกาสไปทำงานต่างประเทศอย่างถูกกฎหมาย แรบบิท แคร์ จึงขอรวบรวมข้อมูลล่าสุดจากผลสำรวจต่าง ๆ เกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละประเทศมาให้แล้ว ซึ่งแต่ละประเทศมีชั่วโมงการทำงานต่อวันไม่เท่ากัน บางประเทศอาจทำงานวันละ 6 ชั่วโมง ส่วนบางประเทศทำงานวันละ 10 ชั่วโมง เราจึงขอคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงมาเทียบดังนี้
ค่าแรงขั้นต่ำ 2566 ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน
- ประเทศบรูไน อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 219 บาท
- ประเทศสิงคโปร์ อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 178 บาท
- ประเทศอินโดนีเซีย อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 67 บาท
- ประเทศมาเลเซีย อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 56 บาท
- ประเทศฟิลิปปินส์ อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 43 บาท
- ประเทศเวียดนาม อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 40 บาท
- ประเทศกัมพูชา อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 33 บาท
- ประเทศลาว อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 16 บาท
- ประเทศเมียนมา อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 11 บาท
ส่วนค่าแรงขั้นต่ำของไทยหาปรับเป็นรายชั่วโมงแล้ว จะเฉลี่ยอยู่ที่ชั่วโมงละประมาณ 42 บาท
ค่าแรงขั้นต่ำ 2566 ของประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
สำหรับใครที่อยากไปทำงานในประเทศที่มีรายได้สูง เราได้รวบรวมประเทศที่คนไทยอยากไปทำงานพร้อมค่าแรงขั้นต่ำมาให้แล้วดังนี้
- ประเทศนอร์เวย์ อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 572 บาท
- ประเทศออสเตรเลีย อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 493 บาท
- ประเทศนิวซีแลนด์ อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 449 บาท
- ประเทศในเครือสหราชอาณาจักร อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 424 บาท
- ประเทศสวีเดน อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 418 บาท
- ประเทศฝรั่งเศส อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 387 บาท
- ประเทศเยอรมนี อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 374 บาท
- ประเทศแคนาดา อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 351 บาท
- ประเทศอิสราเอล อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 337 บาท
- ประเทศญี่ปุ่น อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 302 บาท
- ประเทศเกาหลีใต้ อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 256 บาท
- ประเทศสเปน อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 248 บาท
- ประเทศสหรัฐอเมริกา อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 240 บาท
- ประเทศไต้หวัน อัตราค่าจ้างชั่วโมงละ 224 บาท
การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำส่งผลกระทบอะไรบ้าง?
จะเห็นได้ว่าพรรคการเมืองแทบทุกพรรคจะชูนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำกันแทบทั้งสิ้น อาจขึ้นมามากบ้างน้อยบ้าง ตามแต่ละพรรคกันไป ดังนั้นเราจะมาวิเคราะห์ให้ทุกท่าได้เห็นว่าการขึ้นค่าแรงจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง
- ช่วยให้ลูกค้ามีความเป็นอยู่ดีขึ้น เนื่องจากการขึ้นค่าจ้างจะทำให้ลูกจ้างมีรายได้มากขึ้น ทำให้มีโอกาสจับจ่ายใช้สินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น ช่วยทำให้ลูกจ้างมีเงินเก็บมากกว่าเดิม ตลอดจนทำให้ลูกจ้างหมุนเงินคล่องตัว ลดการเป็นหนี้ภายในครัวเรือน
- ร้านค้าขายปลีกมีแนวโน้มขายสินค้าได้มากขึ้น เพราะการเพิ่มอัตราค่าจ้างจะช่วยให้ชนชั้นแรงงานมีกำลังซื้อมากกว่าเดิม ซึ่งจะส่งผลดีต่อยอดขายของร้านค้าบางราย
- เพิ่มโอกาสให้ภาครัฐเก็บภาษีได้มากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มของรายได้ขั้นต่ำ จะส่งผลให้ผู้ทำงานมีโอกาสใช้สอยมากขึ้น ซึ่งทุกการใช้จ่ายจะช่วยให้ภาครัฐเก็บภาษีได้มากขึ้นจากภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทำให้รัฐมีเงินไปพัฒนาสร้างสาธารณูปโภคให้ดีกว่าเดิม
- อาจทำให้เกิดการปลดพนักงานออก เนื่องจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในอัตราที่สูงจนเกินไป บริษัทผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบตรง ๆ เพราะต้องจ่ายค่าจ้างมากขึ้น หากบัญชีของบริษัทถึงขั้นติดลบทางบริษัทอาจเลือกแก้ปัญหาด้วยการปลดพนักงานออก แต่ถ้าบริษัทไหนมีระบบเศรษฐกิจอันมั่นคงอยู่แล้ว และการขึ้นอัตราค่าจ้างไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทมากนัก ก็จะเป็นผลดีต่อลูกจ้างให้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
- ราคาสินค้าและการบริการเพิ่มขึ้น หากค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น ทางบริษัทผู้ผลิตก็มีแนวโน้มขึ้นราคาสินค้าตามมาเพื่อรักษาสมดุลของกำไร เพื่อนำรายได้จากสินค้ามาโปะต้นทุนของรายจ่ายสำหรับค่าจ้างที่ต้องเสียไป แต่ผลกระทบดังกล่าวนี้จะขึ้นกับประเภทของอุตสาหกรรมและการบริการ
- ทำให้ระบบเศรษฐกิจเสี่ยงเงินเฟ้อกว่าเดิม เนื่องจากสินค้าราคาสูงขึ้น ค่าเงินจะต่ำกว่าเดิม ซึ่งจะเร่งให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเร็วกว่ากลไกที่ควรจะเป็น
- การปรับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้น อาจทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติ ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นที่ค่าแรงต่ำกว่า ซึ่งจะทำให้แรงงานส่วนมากตกงาน โดยเฉพาะธุรกิจภาคอุตสาหกรรม
เชื่อได้เลยว่าลูกจ้างทุกคนย่อมต้องการทำงานที่มีค่าจ้างสูง และรู้สึกยินดีทุกครั้งที่มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้น เพราะจะทำให้คุณมีโอกาสจับจ่ายใช้สอยสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อชีวิตที่ดีกว่าเดิม และสามารถใช้ชีวิตที่มีอิสระทางการเงินดีขึ้น นั่นเอง
สุดท้ายนี้แรบบิท แคร์ ขออวยพรให้ทุกท่านโชคดีกับการทำงาน และมีรายได้ที่มั่นคง แต่สำหรับใครที่มีปัญหาด้านการเงิน หมุนเงินไม่ทัน หรือต้องการเงินมาใช้สอยอย่างเร่งด่วน แรบบิท แคร์ ก็ยินดีเข้ามาช่วยสนับสนุนการเงินให้กับคุณด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งคุณสามารถสมัครได้ง่าย รู้ผลไว ได้วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ เลือกผ่อนจ่ายสบายได้นาน ๆ รับรองได้ว่าช่วยแก้ปัญหาทางการเงินให้กับคุณได้แน่นอน
บทความเกี่ยวกับอัตราค่าแรง
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct