หนี้เยอะ จ่ายไม่ไหว ทำยังไงดี? ประนอมหนี้ดีไหม?

คะน้าใบเขียว
ผู้เขียน: คะน้าใบเขียว Published: กรกฎาคม 1, 2025
คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
คะน้าใบเขียว
แก้ไขโดย: คะน้าใบเขียว Last edited: กรกฎาคม 7, 2025
คะน้าใบเขียว
คะน้าใบเขียว
นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care และ Asia Direct
ประนอมหนี้

เมื่อหนี้สินพอกพูนจนเริ่มแบกรับไม่ไหว หลายคนอาจรู้สึกท้อแท้และหาทางออกไม่เจอ หากคุณกำลังเจอกับปัญหา หนี้บัตรเครดิตท่วม, หนี้เสียถูกฟ้อง, หรือผ่อนชำระไม่ไหว อย่าเพิ่งหมดหวัง! เพราะการประนอมหนี้กับธนาคาร หรือเจ้าหนี้ เป็นทางรอดที่ช่วยให้คุณไม่โดนฟ้อง และกลับมาตั้งหลักทางการเงินได้อีกครั้ง

และวันนี้ทาง แรบบิท แคร์ จะพาไปรู้จักกับทุกเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการประนอมหนี้ กระบวนการเจรจาขอลดหนี้รูปแบบต่าง ๆ พร้อมไขข้อสงสัยกันว่าดีจริงไหม? แบบไหนถึงประนอมหนี้ได้? หนี้ กยศ. สามารถขอเจรจาขอลดหนี้ได้ไหม? พร้อมวิธีเจรจาอย่างไรให้สำเร็จ! แต่รู้หรือไม่ว่า การประนอมหนี้ คือหนึ่งในทางออกสำคัญที่ช่วยให้คุณกลับมาตั้งหลักทางการเงินได้อีกครั้ง 

การประนอมหนี้ คืออะไร ? ทางออกหนี้เสียที่ช่วยให้ไม่โดนฟ้อง

การประนอมหนี้ คือ การที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ เช่น ธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่น ๆ ตกลงร่วมกันเพื่อปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการชำระหนี้เดิมให้เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้มากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาระและป้องกันการกลายเป็นหนี้เสีย หรือถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย เรียกได้ว่าเป็นอีกหนทางที่ช่วยแก้ปัญหาด้านหนี้สินอีกทางก็ว่าได้

เราขออธิบายกันแบบง่ายๆ การประนอมหนี้ไม่ต่างอะไรไปกับการแสดงตัวกับสถาบันทางการเงินนั้นๆ อย่างตรงไปตรงมาว่า “ไม่มีเงินจ่ายแล้วจ้า” นั่นแหละ

แน่นอนว่าแค่บอกเฉยๆ เราคงไม่แนะนำแน่ๆ โดยเหตุผลที่เราแนะนำให้คุณไปแสดงตัวว่าไม่มีเงินจะจ่าย แจ้งสถาบันการเงินตรง ๆ ก็เพราะการไม่จ่ายหนี้ให้ตรงต่อเวลานั้น อาจจะเสี่ยงต่อการถูกสถาบันทางการเงินนั้นฟ้องร้องเป็นเรื่องเป็นราวได้ 

บอกเลยว่าหนีกว่าการหนีหนี้เงียบ ๆ หรือหยุดจ่ายเงินไปเฉย ๆ จะยิ่งทำให้เรื่องยุ่งยาก ทำให้การเจรจาของประนอมหนี้สินจากสถาบันการเงินเป็นเรื่องที่ง่ายดายกว่า 

ซึ่งในขั้นตอนแรกสำหรับการประนอมหนี้บัตรนั้น หลังจากที่เราชี้แจ้งแล้ว หากตกลงกันสำเร็จ ทางสถาบันทางการเงินนั้นจะปรับโครงสร้างหนี้ให้ พร้อมยืดระยะเวลาในการชำระหนี้บัตร บางเจ้าอาจจะมีการลดหย่อนดอกเบี้ยบัตรเครดิต หรือลดค่างวดบัตรเครดิต ได้อีกด้วย

และหากให้เราแนะนำแล้ว วิธีการประนอมหนี้ เราจะขอยกยอดให้เป็นวิธีการสุดท้ายสุด หากคุณยังพอมีลู่ทางจ่ายหนี้สินอยู่ เช่น การขอสินเชื่อรวมหนี้ หรือหนี้บัตรเครดิตไม่ได้หนักหนาสุมพอกหลายบัตร ก็ยังไม่จำเป็นต้องใช้วิธีประนอมหนี้ก็ได้

แล้วแบบนี้ มี ข้อเสียของการประนอมหนี้ ที่ควรรู้ไหม?

ข้อเสียนั่นมีแน่นอน หากให้เราแนะนำ การประนอมหนี้ที่ดีควรทำต่อหน้าศาล ไม่ควรผ่านนายหน้า บริษัทอื่น ๆ และคุณมีสิทธิ์ปฎิเสธเมื่อพบว่าสัญญาในการประนอมหนี้กับธนาคารนั้นทำให้ตัวเองเสียประโยชน์ เสียดอกเบี้ยเพิ่มจากเดิม หรือเป็นหนี้ก้อนเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีข้อเสียอื่น ๆ อีก ไม่ว่าจะเป็น

  • แม้จะช่วยลดภาระ แต่การประนอมหนี้อาจส่งผลต่อประวัติเครดิตบูโรของคุณ ทำให้การขอสินเชื่อในอนาคตอาจทำได้ยากขึ้นหรือได้อัตราดอกเบี้ยที่ไม่ดีเท่าเดิม
  • ระยะเวลาผ่อนชำระยาวนานขึ้น เพราะการลดค่างวดมักจะมาพร้อมกับการยืดระยะเวลาผ่อนชำระ ทำให้หนี้หมดช้าลง และอาจต้องจ่ายดอกเบี้ยรวมมากขึ้นในระยะยาว (แม้ดอกเบี้ยต่อเดือนจะลดลง)
  • เงื่อนไขที่อาจไม่ยืดหยุ่นมากนัก เนื่องจากทางธนาคารมีข้อจำกัด ในการประนอมหนี้อาจไม่สามารถให้เงื่อนไขที่ตรงใจลูกหนี้ได้ทั้งหมด
  • ต้องรักษาวินัยการชำระหนี้ใหม่ เพราะหากผิดนัดชำระอีกครั้งหลังจากทำสัญญาประนอมหนี้แล้ว ธนาคารอาจยกเลิกสัญญาและกลับไปใช้เงื่อนไขเดิมที่เข้มงวดกว่า หรือดำเนินการทางกฎหมายทันที

นี่ยังไม่รวมปัญหาว่า เวลาประนอมหนี้ต้องเจรจาให้ดี เพราะไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่ปฎิเสธข้อเสนอประนอมหนี้ที่ไม่โอเคได้ ทางสถาบันการเงินเองก็มีสิทธิ์จะปฎิเสธที่จะประนอมหนี้กับคุณได้เช่นกัน

แต่คุณไม่ต้องตกใจไป เพราะการประนอมหนี้สามารถยื่นพูดคุยเรื่องประนอมหนี้ได้เรื่อย ๆ ไม่มีกำหนดว่าเมื่อถูกปัดตกแล้วจะยื่นขอทำเรื่องไม่ได้อีก หรือมีหนทางอื่น ๆ อีกมากมายที่ช่วยให้คุณใช้หนี้บัตรเครดิต เช่น การขอสื่นเชื่อมาปิดหนี้บัตร แล้วทยอยจ่ายผ่อนในอัตตราดอกเบี้ย รวมถึงเงินขั้นต่ำที่ถูกลงได้

ที่สำคัญ อย่าลืมว่าวิธีประนอมหนี้ควรเป็นวิธีการสุดท้าย และวิธีนี้นับได้ว่าสำเร็จก็น้อยกว่าวิธีการอื่น ๆ อีกทั้ง คุณอาจต้องเสียเงินมากขึ้นกว่าเดิม เช่น ยอดรวมดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาผ่อนชำระที่สูงขึ้น ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม ค่าทวงถาม ฯลฯ 

นอกจากนี้ ถ้าเราใช้วิธีการประนอมหนี้กับธนาคาร คุณก็ต้องพยายามปลดหนี้ให้สำเร็จ มิเช่นนั้น อาจต้องขึ้นศาล ถูกฟ้องร้องถึงขั้นถูกยึดทรัพย์ได้ และแน่นอนว่าต่อให้ประนอมหนี้แล้วเรายังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้เงิน คุณก็อาจจะวนไปติดหนี้สินอื่น ๆ ซ้ำซ้อนไปมาแทน 

ประนอมหนี้ กับ ปรับโครงสร้างหนี้ ต่าง กัน อย่างไร ?

หลายคนอาจสับสนระหว่างสองคำนี้ แต่จริง ๆ แล้วมีความคล้ายคลึงกันมาก

การประนอมหนี้ มักใช้ในกรณีที่หนี้ยังไม่เสีย (ยังไม่ค้างชำระนานจนผิดนัด) หรือเพิ่งเริ่มผิดนัดไปไม่นาน เป็นการตกลงกันเพื่อปรับลดภาระการผ่อนชำระ อาจเป็นการลดค่างวด, ยืดระยะเวลาผ่อน, หรือลดอัตราดอกเบี้ย

ส่วน การปรับโครงสร้างหนี้ มักใช้ในกรณีที่หนี้เสียแล้ว หรือมีแนวโน้มจะเสียในไม่ช้า เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนกว่า โดยอาจมีการรวมหนี้หลายบัญชีเข้าด้วยกัน ปรับลดเงินต้น ดอกเบี้ย และยืดระยะเวลาชำระหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้กลับมาชำระได้นั่นเอง

ข้อเสีย ของการ ประนอมหนี้

เตรียมตัวอย่างไรให้พร้อมเจรจากับขั้นตอนการประนอมหนี้

ขั้นตอนการประนอมหนี้กับธนาคาร มักจะมีลำดับดังนี้

  • ประเมินสถานะหนี้ของตนเอง รวบรวมข้อมูลหนี้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น หนี้บัตรเครดิต, สินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อรถยนต์, หรือสินเชื่อบ้าน เพื่อทราบยอดหนี้คงเหลือ อัตราดอกเบี้ย และความสามารถในการผ่อนชำระต่อเดือน
  • ติดต่อเจ้าหนี้ โทรศัพท์หรือเดินทางไปติดต่อธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่คุณเป็นหนี้อยู่ เพื่อแจ้งความประสงค์ขอ เจรจาขอลดหนี้ หรือ เจรจาประนอมหนี้
  • เตรียมเอกสาร ธนาคารจะขอเอกสารประกอบการพิจารณา เช่น สำเนาบัตรประชาชน, ทะเบียนบ้าน, สลิปเงินเดือน, หนังสือรับรองเงินเดือน, รายการเดินบัญชี (Statement) ย้อนหลัง 3-6 เดือน และเอกสารแสดงภาระหนี้อื่น ๆ
  • เจรจาเงื่อนไข โดยทางเจ้าหน้าที่ธนาคารจะพิจารณาข้อมูลและเสนอทางเลือกในการประนอมหนี้ เช่น ลดค่างวดต่อเดือน โดยการยืดระยะเวลาผ่อนชำระ, ลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้เงินที่จ่ายไปตัดเงินต้นมากขึ้น, พักชำระเงินต้น จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
  • ทำสัญญาประนอมหนี้ เมื่อตกลงเงื่อนไขได้ทั้งสองฝ่ายจะมีการทำสัญญาขึ้นใหม่ ซึ่งถือเป็นข้อตกลงผูกมัดตามกฎหมาย

การเจรจาเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ แนะนำว่าให้คุณแสดงเจตนาที่ดีที่จะชำระหนี้ปิดยอดให้ได้ ชี้แจ้งปัญหา สถานการณ์เงิน ให้ศาล รวมถึงสถาบันทางการเงินทราบเรื่องหนี้สินของคุณจะได้รับการผ่อนผัน และแก้ไขอย่างแน่นอน เผลอ ๆ อาจจะได้ดีลเด็ด ๆ ลดค่างวดที่ค้างลงไปได้อย่างที่คุณคาดไม่ถึงเลยล่ะ

อย่าง  Haircut (ลดเงินต้น) ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และมักใช้กับการชำระหนี้ก้อนเดียวจบ เช่น คุณมีหนี้อยู่ 500,000 บาท และได้ทำการรวบรวมเงินก้อนทั้งหมดเอาไว้ 400,000 บาท โดยขอเจรจากับทางธนาคารเพื่อขอจ่ายครั้งเดียวด้วยเงินก้อนทั้งหมดนี้ หากเจรจาสำเร็จ ทางธนาคารจะยอมรับเงินก้อนดั่งกล่าวไว้ แล้วปิดหนี้สินให้คุณทั้งหมด

ธนาคารคิดดอกเบี้ยยังไงเวลาประนอมหนี้

เบื้องต้นทางธนาคารจะพิจารณาการคิดดอกเบี้ยเวลาประนอมหนี้นั้น จะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคารและประเภทของหนี้ แต่โดยรวมแล้วมีแนวทางหลัก ๆ คือทางธนาคารอาจพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตราเดิมที่เคยเรียกเก็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหนี้เป็นหนี้เสียที่เคยถูกคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูง

เช่น ดอกเบี้ยผิดนัดชำระที่อาจสูงถึง 20% ต่อปีสำหรับบัตรเครดิต โดยการลดดอกเบี้ยลงมาเป็นอัตราปกติหรือไม่สูงกว่าอัตราปกติมากนัก เนื่องจากมีจุดประสงค์ช่วยลดภาระดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ต้องแบกรับเท่านั้น

ในบางมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เช่น มาตรการแก้หนี้เรื้อรัง อาจมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเป็นพิเศษ เช่น ไม่เกิน 15% ต่อปี หรือ 3-5% ต่อปี เพื่อช่วยให้ลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้นด้วย

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็น 

  • การขยายระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้ออกไป จะทำให้ค่างวดต่อเดือนลดลง
  • เปลี่ยนฐานการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระ ตามแนวทาง ธปท. โดยจะต้องคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระจาก เงินต้นของงวดที่ผิดนัดชำระเท่านั้น ไม่ใช่จากเงินต้นคงเหลือทั้งหมด ซึ่งช่วยลดภาระดอกเบี้ยผิดนัดของลูกหนี้ลงได้อย่างมาก
  • หยุดคิดดอกเบี้ยระหว่างที่ลูกหนี้เข้าร่วมโครงการประนอมหนี้ หรือยกเว้นดอกเบี้ยค้างชำระบางส่วน รวมถึงลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมและค่าปรับที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดชำระ
  • ในบางกรณี ธนาคารอาจมีการตกลงเปลี่ยนลำดับการตัดชำระหนี้ เช่น ตัดชำระเงินต้นก่อนดอกเบี้ย เพื่อช่วยให้เงินต้นลดลงเร็วขึ้น
  • ประเมินรายได้และรายจ่ายของลูกหนี้ เพื่อกำหนดค่างวดที่ลูกหนี้สามารถผ่อนชำระได้จริง
  • หนี้แต่ละประเภท เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล, บัตรเครดดิต หรือสินเชื่อบ้าน อาจมีนโยบายการประนอมหนี้และอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน

ทั้งนี้ แม้จะมีแนวทางจาก ธปท. แต่แต่ละธนาคารก็มีนโยบายและข้อเสนอในการประนอมหนี้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการติดต่อธนาคารเพื่อปรึกษาเรื่องแนวทางดอกเบี้ยจึงสำคัญมาก

ประนอมหนี้ กับ ปรับโครงสร้างหนี้ ต่าง กัน อย่างไร

ตัวอย่างการเจรจาประนอมหนี้ในประเภทต่าง ๆ

เพราะหนี้สินที่หลายคนกำลังเผชิญนั้นอาจไม่เหมือนกัน บางคนอาจเจอกับปัญหาหนี้บัตรเครดิต บางคนเจอปัญหาเรื่องหนี้บ้าน โดย แรบบิท แคร์ ได้นำเอาตัวอย่างต่าง ๆ การขอเจรจาประนนอมหนี้ พร้อมขั้นตอนเบื้องต้นเอาไว้ ดังนี้

ประนอมหนี้บัตรเครดิต และเจรจาประนอมหนี้ บัตรเครดิต

ประนอมหนี้บัตรเครดิต หรือ เจรจาประนอมหนี้ บัตรเครดิต มักเป็นจุดเริ่มต้นของหนี้เสียในหลายกรณี การเจรจาอาจทำได้โดย

  • ขอปิดยอด (ปิดจบหนี้) หากมีเงินก้อน ลองต่อรองขอส่วนลดเงินต้นและดอกเบี้ย เพื่อปิดยอดหนี้ทั้งหมด
  • เปลี่ยนเป็นสินเชื่อผ่อนชำระ ธนาคารอาจเสนอให้แปลงยอดหนี้บัตรเครดิตที่มีดอกเบี้ยสูงเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลที่ดอกเบี้ยต่ำกว่าและมีกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระที่ชัดเจน
  • ลดค่างวดหรือขอยืดระยะเวลาผ่อน เพื่อลดภาระรายเดือน

ขอประนอมหนี้บ้าน (สินเชื่อที่อยู่อาศัย)

ขอประนอมหนี้บ้านเป็นเรื่องที่ธนาคารหลายแห่งมักให้ความสำคัญ เนื่องจากมีหลักประกัน และหนี้สินดั่งกล่าวจะเป้นหนี้สินก้อนโต หากมีปัญหาเรื่องการผ่อนลองติดต่อธนาคารเพื่อ

  • ลดอัตราดอกเบี้ยอาจเป็นไปได้ถ้าประวัติการผ่อนดี
  • ยืดระยะเวลาผ่อนชำระเพื่อลดค่างวดรายเดือน
  • พักชำระเงินต้นจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากประสบปัญหาสภาพคล่องชั่วคราว

ประนอมหนี้รถยนต์ (สินเชื่อรถยนต์ หรือสินเชื่อไฟแนนซ์)

ประนอมหนี้รถยนต์ หรือ ประนอมหนี้กับไฟแนนซ์ทำยังไง ทำได้โดยการติดต่อบริษัทไฟแนนซ์โดยตรง

  • ขอผ่อนผันค่างวด เช่น พักชำระ หรือลดค่างวด
  • ยืดระยะเวลาผ่อนชำระ ทำให้ค่างวดลดลง แต่ดอกเบี้ยรวมอาจสูงขึ้น
  • ชำระเงินต้นบางส่วน เพื่อลดภาระดอกเบี้ยในงวดถัดไป

ขอประนอมหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล

ขอประนอมหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลจะคล้ายกับการประนอมหนี้บัตรเครดิต คือการขอเปลี่ยนเงื่อนไขการชำระให้เหมาะสมกับความสามารถในการผ่อนชำระ

หนี้ กยศ. ประนอมหนี้ได้ไหม? มีวิธีไหนลดดอกเบี้ยได้บ้าง?

การเจรจา หนี้ กยศ. (กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา) ขอประนอมหนี้ได้ไหม? บอกเลยว่าสามารถทำได้แน่นอน! โดยทาง กยศ. เอง ก็มีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี เช่น การลดเบี้ยปรับ การขยายระยะเวลาผ่อนชำระ หรือการให้ส่วนลดเมื่อปิดยอดหนี้ แต่ทั้งนี้ ผู้ขอกู้ยืมควรติดตามประกาศจาก กยศ. โดยตรง รวมถึงการเลือกติดต่อโดยตรงจะดีที่สุด

เพราะการกล้าเผชิญหน้ากับปัญหาคือก้าวแรกสู่การหลุดพ้นจากวังวนหนี้อย่างแท้จริง อย่าปล่อยให้ปัญหาหนี้สินเรื้อรังอ และการเงินของคุณนั้นถึงทางตัน หากรู้ตัวว่าไม่สามารถประคองหนี้สินในมือไว้ได้แล้ว การประนอมหนี้กับธนาคาร คือโอกาสสำคัญในการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน เพียงแค่คุณเริ่มติดต่อประนอมหนี้กับธนาคารที่คุณเป็นหนี้ และเจรจาขอลดหนี้ จะต้องมีทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณรออยู่อย่างแน่นอน!

หนี้ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวหากเรารับมือให้ถูกวิธี ที่สำคัญคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้จ่ายเงินสำคัญมาก ๆ ต่อให้ประนอมหนี้ มีสินเชื่อเงินก้อนมาช่วยยังไง เราก็อาจกลับมาเป็นหนี้เหมือนเดิมได้ หากไม่ระวัง

และสำหรับใครที่กำลังเริ่มมีปัญหาจ่ายหนี้บัตรเครดิตไม่ทัน ไม่อยากจะต้องไปไกลถึงขั้นขอประนอมหนี้กับสถาบันการเงิน หรือต้องขึ้นศาล สินเชื่อส่วนบุคคลก็เป็นอีกหนทางที่น่าสนใจ หากใครกำลังหาอยู่ สามารถคลิกดูที่ แรบบิท แคร์ สิ ที่จะช่วยคุณเปรียบเทียบสินเชื่อที่น่าสนใจ รวมสินเชื่อปิดหนี้ไว้อย่างครบถ้วน

ไม่จำเป็นต้องเป็นหนี้ แต่ถ้าอยากทำตามฝัน ขยับขยายธุรกิจ หรือใช้เงินซื้ออนาคตให้กับลูกหลาน คุณก็สามารถขอกู้สินเชื่อได้เช่นกันนะ! คลิกเลย!

สรุป

การประนอมหนี้ คือ การที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ เช่น ธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่น ๆ ตกลงร่วมกันเพื่อปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการชำระหนี้เดิมให้เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้มากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาระและป้องกันการกลายเป็นหนี้เสีย หรือถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย มักใช้ในกรณีที่หนี้ยังไม่เสีย ไม่ค้างชำระนานจนผิดนัด เป็นการตกลงกันเพื่อปรับลดภาระการผ่อนชำระ อาจเป็นการลดค่างวด, ยืดระยะเวลาผ่อน, หรือลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งสามารถขอเจราลดหนี้ได้จากหนี้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หนี้บัตรเครดิต, หนี้ผ่อนบ้าน, หนี้สินเชื่อ หรือแม้แต่หนี้ กยศ. ก็สามารถขอประนอมหนี้ได้

ที่มา

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 102326

แคร์การเงิน

ไขข้อสงสัย ผ่อนบ้านกี่ปีถึงรีไฟแนนซ์ได้? รีไฟแนนซ์บ้านคุ้มไหม?

สำหรับเจ้าของบ้านหลายคน ภาระผ่อนบ้านต่อเดือนถือเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่ต้องแบกรับอยู่ไม่น้อย
คะน้าใบเขียว
27/06/2025
Rabbit Care Blog Image 102286

แคร์การเงิน

เครื่องมือคำนวณค่าใช้จ่ายหลังสินเชื่อ ประเมินภาระการชำระเงิน

การขอสินเชื่อเป็นทางเลือกที่หลายคนใช้เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบ้าน รถยนต์ หรือลงทุนในธุรกิจส่วนตัว
กองบรรณาธิการ
26/06/2025
Rabbit Care Blog Image 102250

แคร์การเงิน

เงินช็อตทำไงดี..กู้เงินธนาคารแบบไหนช่วยได้เร็วสุด?

ปัญหาของมนุษย์เงินเดือนที่หลายคนต้องเจอกับสถานการณ์ “เงินช็อต” ใช้เงินเดือนชนเดือน หรือถึงขั้นเงินเดือนไม่พอใช้ ไม่ว่าจะเพราะค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น
Thirakan T
25/06/2025