รู้จักกับโควิดสายพันธ์โอไมครอน ติดง่ายแค่ไหน วัคซีนเอาอยู่หรือไม่?
ข่าวเด่นประเด็นร้อนต้อนรับปี 2022 นี้ คงไม่มีประเด็นไหนร้อนแรงไปกว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (omicron) เพราะโควิดสายพันธ์นี้ได้แพร่เข้ามาในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผู้ป่วยติดเชื้อไปมากกว่าวันละหลายพันคน ด้วยความที่แรบบิท แคร์ ห่วงใยสุขภาพของทุกคน เราจึงนำวิธีดูแลตนเองและแนวทางป้องกันโควิดสายพันธุ์โอมิครอนมาฝากทุกคนดังนี้
โควิดโอมิครอนมาจากไหน ติดง่ายหรือไม่?
โอมิครอนถูกค้นพบครั้งแรกในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนปี 2021 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ และได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วทั่วทวีปแอฟริกาและยุโรปอย่างรวดเร็วในอีก 1 เดือนถัดมา จากนั้นก็เข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทยในช่วงเปิดศักราชขึ้นปีใหม่ 2022 ที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นเชื้อโควิดสายพันธ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายและไวกว่าสายพันธ์อื่น ๆ อย่างเดลต้า หรือ แกรมม่าที่เคยระบาดมาก่อนหน้านี้ ซึ่งข้อมูลจากกรมควบคุมโรคระบุว่า โอมิคร่อนแพร่เร็วกว่าเดลต้าถึง 2-5 เท่าเลยทีเดียว โดยการติดเชื้อนั้นมักมาจากละอองน้ำลายหรือเสมหะเป็นหลัก
วัคซีนโควิด ป้องกันโอมิครอนได้แค่ไหน?
แม้ข้อมูลจากหลายแห่งจะระบุว่าผู้ที่ติดโควิดสายพันธ์โอมิครอนจะไม่รุนแรงเท่าเดลต้า ผู้ป่วยหลายคนมักไม่แสดงอาการหรือมีอาการน้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโอมิครอนจะไม่อันตราย หากผู้ป่วยเป็นโรคภัยต่าง ๆ หรืออยู่ในวัยชรา ก็มีโอกาสที่จะสร้างความเสียหายถึงชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้นทางป้องกันที่ดีที่สุดก็คือเร่งฉีดวัคซีนป้องกันให้ครบเพื่อเพิ่มอัตราป้องกันการติดเชื้อนั่นเอง
จากข้อมูลวัคซีนชั้นนำหลาย ๆ ยี่ห้อ มักระบุว่าการฉีดวัคซีนสองเข็มจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโควิดโอมิครอนได้เพียงเล็กน้อย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นวัคซีนเข็มบูสหรือเข็มที่ 3 ที่เป็น mRNA ให้เร็วที่สุด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า แต่ทั้งนี้ขอให้ทำความเข้าใจว่าหลังจากฉีดวัคซีนไปสักระยะภูมิคุ้มกันก็จะลดลงตามกาลเวลา ดังนั้นในอนาคตอาจจะต้องบูสภูมิคุ้มกันอีกเข็ม เป็นเข็มที่ 4 เพื่อให้ป้องกันเชื้อโควิดได้ดีนั่นเอง
นอกจากนี้ข้อมูลจากหลายแห่งยังระบุว่าการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 จะช่วยบรรเทาความรุนแรงของอาการป่วยจากการติดเชื้อโควิดโอมิครอนได้ ด้วยเหตุนี้ทางภาครัฐจึงแนะนำให้คนไทยเร่งเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มบูสให้ได้เร็วที่สุดนั่นเอง
จะป้องกันการติดเชื้อโควิดโอมิครอนได้อย่างไรบ้าง?
การป้องกันการติดโควิโอมิครอนจะเหมือนกับวิธีการป้องกันเชื้อโควิดทั่วไปที่เคยแพร่ระบาดก่อนหน้านี้ นั่นก็คือสวมหน้ากากอนามัยอย่างมิดชิด, ลดการพบปะผู้คนโดยไม่จำเป็น, เว้นระยะห่าง Social distancing, ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์, หลีกเลี่ยงการทานอาหารหรือใช้ของร่วมกับผู้อื่น, ทานอาหารปรุงสุก, หมั่นทำความสะอาดสิ่งของรอบตัวบ่อย ๆ, และที่สำคัญที่สุดคือรีบฉีดวัคซีนให้ครบพร้อมเข็มบูสเพื่อลดโอกาสและลดความรุนแรงจากการติดเชื้อ
ผู้ที่ติดโควิดสานพันธ์โอมิครอนอาการเป็นอย่างไร? และต้องรักษาอย่างไร?
สำหรับผู้ที่ติดเชื้อโควิดจะมีอาการดังนี้ คือ ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ หายใจติดขัด และไม่ได้รับกลิ่นรอบกาย หากมีอาการดังนี้ให้รีบตรวจเชื้อโควิดให้เร็วที่สุด
จากข้อมูลของกรมสาธารณสุขระบุว่าผู้ติดเชื้อโควิดโอมิครอนมักไม่แสดงอาการ แต่หากตรวจด้วยวิธี ATK แล้วผลเป็นบวก แต่อาการไม่รุนแรง ไม่แสดงอาการป่วยเลย หรือผู้ป่วยไม่มีความเสี่ยงทางการแพทย์ (โรคภัยร้ายแรงต่าง ๆ) สามารถรักษาแบบ Home Isolation ได้ แต่ถ้ามีอาการชัดเจนและผู้ป่วยมีโรคประจำตัวควรตรวจ PCR และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที ส่วนคนที่มีประวัติเสี่ยงติดโควิดก็ให้กักตัวอยู่ในบ้านและตรวจโควิดด้วย ATK เป็นระยะ
สถานการณ์โควิดโอมิครอนระบาดแบบนี้ ทำประกันโควิดดีหรือไม่?
แม้ว่าทุกวันนี้บริษัทประกันภัยจะมีการปรับเบี้ยและความคุ้มครองของประกันโควิดตามสถานการณ์ความเสี่ยง หลายแผนประกันอาจมีเบี้ยแพงขึ้น วงเงินคุ้มครองน้อยลง หรือหาประกันโควิดแบบเจอ จ่าย จบ ไม่ได้แล้ว แต่แรบบิท แคร์ ยังคงต้องย้ำกับทุกท่านอีกทีว่าประกันโควิดมีความจำเป็น เนื่องจากสถานการณ์โควิดของโอมิครอนที่ระบาดอย่างรวดเร็ว จึงมีโอกาสเสี่ยงที่คุณจะติดโควิดแม้ว่าจะได้รับวัคซีนแล้วก็ตาม ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะมีค่ารักษาหากมีอาการป่วยหนักจากโควิด คุณจึงควรหาประกันโควิดติดตัวไว้ หรือถ้าใครเคยทำประกันโควิดแล้วกำลังจะหมดอายุ อย่ามัวรอช้ารีบต่อประกันโควิดเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองย่างต่อเนื่อง
ถ้าใครอยากได้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมด้านการเจ็บป่วยอื่น ๆ แรบบิทแคร์ขอแนะนำให้ท่านทำประกันสุขภาพเหมาจ่ายไปเลย เพราะจะได้ทั้งค่ารักษาโควิด ค่ารักษาอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ และค่ารักษาจากการเจ็บป่วยแบบครอบจักรวาล หาประกันที่ความคุ้มครองเหมาะสม เบี้ยถูกตรงใจคุณ เลือกไว้วางใจแรบบิทแคร์
ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี