เขาคิชฌกูฏและสิ่งที่ควรรู้ ก่อนออกเดินทางประจำปี 2567
เขาคิชฌกูฏอีกหนึ่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สายบุญต้องไม่พลาด ซึ่งในทุก ๆ ปีจะงานประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฎ วัดพลวง จันทบุรี ซึ่งจะเปิดให้เราได้เข้าไปสักการะรอยพระพุทธบาทสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่หลาย ๆ คนให้ความเคารพศรัทธา
น้องแคร์จึงได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเขาคิชฌกูฏเพื่อเป็นคู่มือให้กับเพื่อน ๆ ที่สนใจขึ้นไปสักการะไม่ว่าจะเป็นกำหนดการเปิดเขาคิชฌกูฏ 2567 วิธีการเดินทางไปเขาคิชฌกูฏ ขั้นตอนการจองคิว และอีกมากมายซึ่งรับรองได้เลยว่าเป็นตัวช่วยชั้นดีให้กับการเตรียมตัวเขาคิชฌกูฏอย่างแน่นอน
ทำความรู้จักกับ “เขาคิชฌกูฏ” วัดพลวงจันทบุรี
“เขาคิชฌกูฏ” หรือในชื่อเต็มอย่างอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏจังหวัดจันทบุรี ครอบคลุมพื้นที่อำเภอมะขาม และกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ โดยมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าไม้ผลัดใบ อีกทั้งยังเป็นต้นน้ำสำคัญให้กับแม่น้ำจันทบุรีอีกด้วย ทำให้ที่เขาคิชฌกูฏเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าน้อยใหญ่มากมาย
รอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏ วัดพลวงจันทบุรี
รอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฎเรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่ให้ผู้คนผู้ศรัทธาฝ่าเส้นทางอันยากลำบากเพื่อขึ้นไปสักการะบนเขาคิชฌกูฏ โดยที่รอยพระพุทธบาท, พระบาทพลวง หรือ พระพุทธบาทพลวง ประดิษฐานอยู่บนเขาคิชฌกูฎ โดยพระบาทพลวงนี้เป็นรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร อยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตร และถือว่าเป็นรอยพระพุทธบาทที่สูงที่สุดของประเทศไทย และอยู่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 40 กิโลเมตร
เขาคิชฌกูฏ เปิดทั้งปีไหม? สักการะได้ช่วงไหนบ้าง
สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้องการเดินทางไปสักการะรอยพระพุทธบาทอีกหนึ่งข้อที่ควรรู้ก็คือ การไปสักการะบนยอดเขาคิชฌกูฏไม่ได้เปิดให้ขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาททั้งปี เปิดให้ขึ้นเขาคิชฌกูฏเพียงปีละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ดังนั้นหากควรเข้าไปเช็กกำหนดการเปิดเขาคิชฌกูฏ
กำหนดการเปิดเขาคิชฌกูฏ 2567 และงานประจำปี
เนื่องจากเปิดเขาคิชฌกูฏไม่ได้เปิดให้เราเข้าไปสักการะตลอดทั้งปี แต่จะมีเปิดเป็นช่วงเวลา โดยสำหรับปี 2567 นี้กำหนดการรวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของการเปิดให้ขึ้นไปบนยอดเขารวมถึงงานประจำปีมีดังต่อไปนี้
- ระยะเวลาปิดเขาคิชฌกูฏ : 8 กุมภาพันธ์ 2567
- งานประจำปีพิธีบวงสรวง “ปิดป่า – เปิดเขา” : 8 กุมภาพันธ์ 2567
- งานประจำปีพิธีบวงสรวง “เปิดป่า – ปิดเขา” : 10 กุมภาพันธ์ 2567 – 9 เมษายน 2567
โดยทุกรายละเอียดสามารถติดตามได้จาก เขาคิชฌกูฎ-พระบาทพลวง จันทบุรี
การเดินทางไปยังเขาคิชฌกูฏและวัดพลวง
สำหรับการเดินทางไปยังเขาคิชฌกูฏหรืออุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ และวัดพลวงในจังหวัดจันทบุรีนั้นค่อนข้างเดินทางได้สะดวกสบาย โดยการเดินทางไปยัวที่นี่สามารถเดินทางไปได้ด้วยกันอยู่ 2 วิธีนั่นก็คือ
รถยนต์ส่วนตัว
การเดินทางให้ใช้ถนนสุขุมวิท ไปจนถึงสี่แยกเขาไร่ยาให้เลี้ยวซ้ายไปทางหลวงหมายเลข 3249 ระยะทาง 24 กิโลเมตร จะถึงอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ
หรือจะเดินทางจากตัวอำเภอเมืองจันทบุรีผ่านแยกเขาไร่ยา แล้วใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3249 ระยะทางราว ๆ 18 กิโลเมตร จากนั้นเลือกใช้ทางขึ้นเขาพระบาทพลวง เมื่อถึงวัดพระบาทพลวงต้องจอดรถส่วนตัวทิ้งไว้ โดยมีลานจอดรถไว้รอบริการสำหรับผู้นำรถส่วนตัวมา
รถโดยสารสาธารณะ
โดยการเดินทางจากกรุงเทพให้ขึ้นรถโดยสารสายกรุงเทพฯ – จันทบุรี แล้วลงรถที่ขนส่งจันทบุรี จากนั้นสามารถเหมารถสองแถวไปที่เขาคิชฌกูฎ หรือจะนั่งรถสองแถวสีฟ้า สายจันทบุรี-จันทเขลม โดยสามารถขึ้นรถได้ที่ที่ทำการไปรษณีย์ท่าแฉลบ
วิธีการขึ้นเขาคิชฌกูฏ
เมื่อเราเดินทางถึงเขาคิชฌกูฏหรืออุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏแล้ว เราจะไม่สามารถนำรถยนต์ส่วนตัวขับขึ้นไปยังบนเขาได้ จะต้องจดไว้ที่ลานจอดรถ และใช้การเดินทางอื่นขึ้นไปแทน เนื่องจากตัวเขาเป็นพื้นที่ของอุทยานแห่งชาตินั่นเอง โดยวิธีการขึ้นเขาคิชฌกูฏมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีหลัก ๆ ด้วยกันดังต่อไปนี้
การเดินเท้า
ใช้เวลาในการเดินทาง 3-6 ชั่วโมงเพื่อขึ้นไปยังเขาคิชฌกูฏโดยแบ่งได้เป็น 2 เส้นทางคือ
- เส้นทางทางหน่วย คก.1 ระยะทาง 5.6 กิโลเมตรจะถึงลานพระสิวลี จากนั้นเดินต่ออีก 1 กิโลเมตรก็จะถึงลานพระบาท
- เส้นทางบ้านแกลง ระยะทางเดิน 3.2 กิโลเมตรถึงลานพระบาท ให้บริการช่วงเช้า 06.00-09.00 น. ลงเขาไม่เกิน 15.00 น. หากเกินให้ประสานไกด์นำทาง
บริการรถรับจ้าง
ใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้นราว ๆ 15 นาที โดยมีให้เลือกใช้บริการดังนี้
- จุดวัดพลวงเขาคิชฌกูฏ : มีรถให้บริการทั้งหมด 121 คิว เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง นอกจากรอยพระพุทธบาทพลวงแล้ว วัดพลวงเขาคิชฌกูฏยังมีสิ่งที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น พระมหาเจดีย์พุทธบทบริบาล ซึ่งเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ศาลาปฏิบัติธรรม สวนป่า และจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอเขาคิชฌกูฏได้อย่างชัดเจน
- จุดวัดกะทิง : มีรถบริการ 21 คิว ตลอด 24 ชั่วโมง ภายในวัดกะทิงมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อเขียน สวนป่ากะทิง ศาลาการเปรียญ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานสรีระสังขารของหลวงพ่อเขียน
วิธีการจองคิวขึ้นเขาคิชฌกูฏ
เมื่อถือช่วงเปิดเขาคิชฌกูฏในแต่ละปีเหล่าผู้ศรัทธาจะสามารถขึ้นเขาได้ไม่จำกัดจำนวน แต่เนื่องจากเหตุผลหลายประการรวมถึงสถานการณ์ Covid – 19 ที่แม้จะดีขึ้นแล้วก็ตาม ส่งผลให้หน่วยงานดูแลได้ปรับการขึ้นเขาในรูปแบบใหม่เป็นการของคิวขึ้นผ่านทางแอปอย่าง KCKQue โดยมีขึ้นตอนการใช้งานง่าย ๆ ดังนี้
- ดาวน์โหลดติดตั้ง KCKQue
- ไปที่เมนู ข้อมูลการจองคิว
- กดเลือก เพิ่มข้อมูลการจอง
- ให้เลือกรูปแบบการขึ้นเขาได้แก่ เดินเท้าหรือจองคิวรถบริการตามจุดที่ต้องการ
- เลือกวันและเวลาที่ต้องการ
- กรอกข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบถ้วน
- รับบัตรจองคิวเป็น QR Code เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่
โดยจองได้วันละไม่เกิน 5 ใบ ซึ่งในแต่ละใบจองจะมีผู้ติดตามได้ไม่เกินใบละ 50 คน
ค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ
การไปเขาคิชฌกูฏต้องเสียค่าเข้าเล็กน้อยเนื่องจากตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งจากประกาศใหม่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้ปรับราคาเข้าอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏไว้เป็นดังต่อไปนี้
อัตราค่าบริการชาวไทย
- ผู้ใหญ่ 40 บาท/คน
- เด็ก 20 บาท/คน
ชาวต่างชาติ
- ผู้ใหญ่ 200 บาท/คน
- เด็ก 100 บาท/คน
เขาคิชฌกูฏหรืออุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏเป็นอีกหนึ่งสถาณนที่น่าสนใจที่คุณควรจะลองไปให้ได้สักครั้ง โดยสำหรับการเดินทางไปเขาคิชฌกูฏนั้นก็สามารถเดินทางได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ส่วนตัวหรือรถโดยสารสาธารณะ เรียกได้ว่าสะดวกสุด ๆ
โดยสำหรับการไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เขาคิชฌกูฏสิ่งที่เราอยากให้ใส่ใจเป็นพิเศษเลยนั่นก็คือเรื่องอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งการมีประกันอุบัติเหตุติดตัวไว้ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่า เพราะเราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นแม้เราจะระวังแค่ไหนอะไรก็เกิดขึ้นได้ หากเพื่อน ๆ คนไหนสนใจอยากสมัครประกันอุบัติเหตุแล้วล่ะก็สามารถมาสมัครง่าย ๆ ได้ที่ แรบบิท แคร์ กันได้เลย
มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct
และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว
จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น