แคร์สุขภาพ

“โรคซึมเศร้า” คืออะไร? ทำอย่างไรเมื่อต้องการพบจิตแพทย์?

ผู้เขียน : Mayya Style
Mayya Style

เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Thirakan T
Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
Published: February 3,2023
  
Last edited: May 1, 2024
โรคซึมเศร้า

ประชากรชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสูงกว่าผู้หญิงตามข้อมูลของกรมสุขภาพจิต โดยพบว่าในปี 2563 ผู้ชายฆ่าตัวตายถึง 12.27% ในขณะที่อัตราการฆ่าตัวตายของผู้หญิงอยู่ที่ 2.68% 

โรคซึมเศร้าเป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนกำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ บางครั้งคนรอบข้างอาจไม่เข้าใจคุณ อาจตัดสินว่าคุณเป็นบ้า โรคจิต โรคคิดไปเอง หรือเรียกร้องความสนใจ แต่แท้จริงแล้วมันไม่ใช่เลย หากไม่มีใครเข้าใจคุณ น้องแคร์เป็นอีกคนที่พร้อมเข้าใจและอยู่ข้าง ๆ คุณในวันที่คุณไม่มีใคร 

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า โรคนี้คืออะไร เกิดจากอะไร อาการเป็นอย่างไร และสามารถป้องกันหรือรักษาได้ยังไงบ้าง วันนี้ น้องแคร์มีคำตอบมาให้ ไปดูกันเลย!! 

เปรียบเทียบประกันสุขภาพกับ Rabbit Care พิเศษ! ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    โรคซึมเศร้า คืออะไร? 

    โรคซึมเศร้าคือโรคที่เกิดจากความผิดปกติและความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง ทำให้ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เช่น การทำร้ายตัวเอง การกรีดข้อมือ การทุบกำแพง อารมณ์ร้อน และอื่น ๆ โดยมีสาเหตุและปัจจัยที่หลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล 

    อาการของโรคซึมเศร้า 

    โรคซึมเศร้า

    อาการของโรคซึมเศร้ามีให้พบเห็นได้หลากหลายตามสถานการณ์ บางคนอาจมีพฤติกรรมถดถอย เนื่องจากเกิดความเครียดและความซึมเศร้าทางจิตใจ เช่น ปัสสาวะรดที่นอน มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร วันนี้ น้องแคร์จะมายกตัวอย่าง 5 อาการหลัก ๆ มาฝากกัน:

    1. อยากร้องไห้ตลอดเวลา 

    หากคุณรู้สึกอยากร้องไห้ตลอดเวลา นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคซึมเศร้าก็เป็นได้ เช่น ร้องไห้ก่อนนอน ตื่นมาร้องไห้ ร้องไห้ขณะทำงาน ร้องไห้ขณะรับประทานอาหาร เป็นต้น อาจแปลว่าคุณมีความเศร้าและเสียใจในจิตใจมากจนเกินไปและไม่สามารถรับมือหรือหาทางออกได้  เรื่องแบบนี้อย่าเก็บไว้คนเดียว น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณพบจิตแพทย์เพื่อระบายสิ่งที่อยู่ในใจ 

    2. รู้สึกไร้ค่า

    อาการที่สองที่คนเป็นโรคซึมเศร้ามักเผชิญ คืออาการคิดว่าตัวเองไร้ค่า ไม่มีคุณค่า รู้สึกดาวน์ รู้สึกผิด โดดเดี่ยว มองโลกในแง่ร้าย และคิดว่าตัวเองสู้อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นต้นเหตุของเรื่องแย่ ๆ ทั้งหมด หรืออาจมีความคิดว่าตนเองไม่น่าเกิดมาบนโลกใบนี้ 

    3. รู้สึกวิตกกังวล 

    อาการต่อมาที่พบบ่อยในคนที่เป็นโรคซึมเศร้าคือความรู้สึกวิตกกังวล แพนิก เครียด หรือคิดกังวลกับเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้  บางคนกังวลมากเกินไปทำให้การนอนหลับเป็นสิ่งที่ยากขึ้น อาจรับประทานอาหารได้น้อยลง หรืออยากทานเพิ่มขึ้น ยิ่งเป็นคนเมือง กับ โรคซึมเศร้า ก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูง

    4. หมดความสนุกในกิจกรรมที่ชอบ 

    เป็นอาการที่พบได้ค่อนข้างบ่อย โดนคนป่วยจะรู้สึกเบื่อ เหนื่อย ไม่สนุกกับกิจกรรมที่ทำอยู่ในชีวิตประจำวัน มีความรู้สึกชาในจิตใจ เช่น ในอดีตชอบออกกำลังกาย แต่เมื่อเผชิญกับโรคนี้ กลับไม่ชอบ ไม่สนุก หรือไม่มีความสุขในการออกกำลังกาย หรือบางรายอาจชอบร้องเพลง แต่ตอนนี้กลับรู้สึกเฉย ๆ หรือเบื่อในการร้องเพลง 

    5.  อยากฆ่าตัวตาย

    อาการสุดท้ายคืออาการอยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไปบนโลกใบนี้ เป็นอาการที่รุนแรงกว่าการทำร้ายตัวเอง หากคุณพบว่าคุณมีอาการแบบนี้หรือเคยพยายามฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จ น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน 

    หากคุณมีอาการเหล่านี้เกิน 2 อาทิตย์หรือรู้สึกว่าอาการที่เป็นอยู่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ เช่น ทำให้เสียงาน เสียการเรียน หรือมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจนคนรอบตัวผิดสังเกต น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและทำการรักษาต่อไป 

    สาเหตุของโรคซึมเศร้า 

    โรคซึมเศร้าอาจมีสาเหตุหรือปัจจัย ดังนี้:

    1. เป็นโรคร้ายแรง 

    บุคคลที่กำลังป่วยเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคติดต่อ โรคเรื้อรัง หรือโรคที่รักษาไม่หายขาด เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเอดส์ อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ เพราะบางครั้งผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าไม่อยากอยู่บนโลกใบนี้แล้ว ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในจิตใจ บางรายอาจทำให้อาการที่เป็นอยู่ทรุดหนักกว่าเดิม ดังนั้น คุณควรทำจิตใจให้แจ่มใส มีกำลังใจในการใช้ชีวิต เพื่อต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ 

    2. พันธุกรรม 

    หากคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคทางจิตเวช เช่น ป่วยเป็นซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ ไบโพลาร์ หรือติดสุราเรื้อรัง อาจทำให้สมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้ได้

    ตัวอย่าง

    พ่อเป็นโรคซึมเศร้า มีอารมณ์แปรปรวน โมโหร้าย ชอบทำร้ายแม่ต่อหน้าลูก ดังนั้นลูกมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้และมีโอกาสซึมซับพฤติกรรมความรุนแรงนี้ ทำให้อาจกลายเป็นเด็กใช้กำลังและอารมณ์ในการแก้ไขปัญหา ตบตี และทำร้ายคนรอบข้างเมื่อไม่พอใจ 

    3. ถูกล่วงละเมิดทางเพศ

    การถูกล่วงละเมิดทางเพศก่อนวัยอันควร อาจทำให้คุณเกิดความอับอาย ไม่กล้าเข้าสังคม และมีปมทางจิตใจ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ 

    ตัวอย่าง 

    ผู้ป่วยถูกล่วงละเมิดทางเพศตั้งแต่วัยเยาว์ ทำให้เกิดความหวาดกลัวและเกิดภาวะซึมเศร้าในใจ ไม่กล้าเจอเพื่อน และกลายเป็นคนเก็บตัวในที่สุด 

    4. การหยุดยาเอง

    หากคุณจำเป็นต้องรับประทานยานอนหลับเป็นประจำ หรือจำเป็นต้องทานยาเพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมอง คุณห้ามหยุดยาเองเป็นอันขาดเพราะจะทำให้คุณมีอาการแย่ลงกว่าเดิม เช่น นอนไม่หลับ กระวนกระวาย ฟุ้งซ่าน กระสับกระส่าย รู้สึกหงุดหงิด อารมณ์ร้อน อยากทำร้ายตัวเอง อยากร้องไห้ เป็นต้น 

    ตัวอย่าง

    แพทย์ได้ทำการวินิจฉัยว่านางสาวแคร์มีภาวะซึมเศร้า และได้ให้ยาเพื่อปรับสารเคมีในสมอง หลังจากนั้นนางสาวแคร์หยุดยาเอง เพราะขี้เกียจรับประทานยาต่อ คิดว่าอาการดีขึ้นและหายแล้ว ต่อมาอาการแย่ลงเรื่อย ๆ มีอาการอยากฆ่าตัวตาย จึงได้กลับไปพบแพทย์อีกครั้งด้วยคำวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นโรคซึมเศร้า 

    แบบทดสอบโรคซึมเศร้า 

    10 คำถามแบบประเมินโรคซึมเศร้า: เวลาประเมินตนเอง คุณควรมีกระดาษ 1 แผ่น ตีเป็นตาราง แล้วแบ่งเป็น 3 ช่องดังนี้ ไม่มีอาการ / เป็นบางครั้ง / เป็นบ่อย และควรตอบตามความจริงเพื่อให้ผลการประเมินออกมาแม่นยำที่สุด

    1. คุณมีอาการอยากร้องไห้ตลอดเวลาไหม?
    2. คุณมีอาการเบื่อ ท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่สบายใจ เครียด หดหู่ หมดกำลังใจหรือไม่?
    3. คุณมีอาการเกลียดตัวเอง (self hatred) หรือรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าหรือไม่?
    4. คุณมีอาการเหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ไม่มีกำลังใจในการทำอะไรเลยหรือไม่? 
    5. คุณไม่มีสมาธิเวลาทำสิ่งต่าง ๆ หรือไม่?
    6. คุณเบื่ออาหาร หรือรับประทานอาหารมากขึ้นหรือไม่?
    7. คุณหลับยาก หรือนอนเยอะกว่าปกติหรือไม่?
    8. คุณมีอาการกดดันตัวเองเกินไปหรือไม่?
    9. คุณมีอารมณ์โกรธง่าย โมโหร้ายหรือไม่?
    10. คุณมีอาการอยากทำร้ายตัวเองหรืออยากตายหรือไม่?

    **หากคุณมีอาการเหล่านี้เกิน 5 ข้อควรรีบไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที โดยเฉพาะหากมีอาการในข้อที่ 10 

    การรักษาโรคซึมเศร้า 

    การรักษาสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

    1. การพูดคุยและบำบัด

    โรคซึมเศร้า

    วิธีนี้เป็นการที่ผู้ป่วยได้รับการบำบัดโดยจิตแพทย์ โดยผู้ป่วยต้องเปิดใจและให้ความร่วมมือเพื่อรับการบำบัดทางด้านความคิด พฤติกรรม และอารมณ์ เช่น การระงับอารมณ์เมื่อโกรธ การควบคุมตนเอง โดยการรักษาโดยวิธีนี้จะไม่มีการใช้ยา เป็นเพียงการพูดคุยเพื่อปรับทัศนคติ การรักษาจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยจะนำคำแนะนำของแพทย์ไปปรับใช้กับตนเองได้มากน้อยเพียงใด 

    2. การรักษาโดยการใช้ยา

    หากการพูดคุยไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีมากพอ แพทย์จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาในกลุ่มจิตเวช เช่น ยาต้านเศร้า ยาทำให้แจ่มใส ยาควบคุมอารมณ์ เป็นต้น โดยยาเหล่านี้จะมีกลไกเพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมอง เช่น เซโรโทนิน อย่างไรก็ตามยาที่แพทย์มักจ่ายให้ผู้ป่วยอยู่บ่อย ๆ คือ Fluoxetine และ risperidone โดยการให้ยาอาจเป็นในรูปแบบรับประทานหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หากมีอาการแพ้ยา เช่น ตื่นมาแล้วร้องไห้ อยากตาย หายใจติดขัด มีผื่นขึ้น ควรหยุดยาและรีบไปพบแพทย์ทันที 

    **การรักษาโดยการใช้ยา ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่ในการดูแลและควบคุมของแพทย์เท่านั้น ห้ามไปซื้อยารับประทานเองเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายและทำให้การรักษายากขึ้นไปอีก 

    3. การรักษาด้วยตัวเอง

    การรักษาโรคนี้ด้วยตัวเองสามารถทำได้ เช่น:

    • การออกกำลังกาย : การออกกำลังกายให้เหงื่อออก จะช่วยให้สารเคมีในสมองมีความสมดุล ทำให้จิตแจ่มใส ไม่เครียด น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณออกกำลังกายบ่อย ๆ ประมาณ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละประมาณ 40 นาที โดยการออกกำลังกายสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ต่อยมวย ว่ายน้ำ วิ่ง เป็นต้น 
    • การนั่งสมาธิ : การนั่งสมาธิจะทำให้จิตใจ และอารมณ์ของคุณสงบนิ่งมากขึ้น เช่น ไม่ค่อยฉุนเฉียวเวลามีเรื่องมากระทบภายในจิตใจ การนั่งสมาธิสามารถทำได้ง่าย ๆ ที่บ้าน เช่น ก่อนนอน ตอนเช้า เป็นต้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีหลายวัดที่มีการเปิดให้นั่งสมาธิในช่วงเย็น ซึ่งน้องแคร์อยากแนะนำให้คุณเข้าร่วม 
    • เล่นดนตรี : หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า “ดนตรีบำบัด” คุณสามารถรักษาโรคนี้โดยการเล่นดนตรี เช่น เล่นเปียโน หรือร้องเพลง จะทำให้จิตใจแจ่มใส และไม่เครียด 

    **การบำบัดด้วยวิธีไหนขึ้นอยู่กับแพทย์ คนไข้และความรุนแรงของโรค 

    คำพูดที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 

    โรคซึมเศร้า

    หลายคนอาจไม่รู้วิธีรับมือกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ดังนั้นน้องแคร์จะมารวบรวมคำพูดที่ไม่ควรพูดกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ เพราะจะทำให้อาการหรือความรู้สึกแย่ลงกว่าเดิม:

    1. สู้ ๆ นะ
    2. เลิกคิดมากได้แล้ว
    3. แค่นี้เอง เดี๋ยวมันก็ผ่านไป 
    4. ช่างมันเถอะ
    5. คิดไปเอง / เรียกร้องความสนใจ 
    6. ไม่เป็นไรหรอก

    เพราะคนที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้ต้องการคนที่มาบอกว่าให้สู้ แค่ต้องการคนที่อยู่ข้าง ๆ คนที่รับฟังเวลาเศร้าหรือเสียใจ และแค่ต้องคนที่โอบกอดในวันที่ไม่มีใคร

    แอปพลิเคชันปรึกษาจิตแพทย์

    ในปัจจุบัน มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หลายคนกังวลและไม่อยากออกไปพบแพทย์ โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่เป็นสถานที่ที่มีคนป่วยและเชื้อโรคสูง วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวม 3 แอปพลิเคชันสำหรับปรึกษาจิตแพทย์ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ “telemedicine” 

    1. Ooca

    แอปพลิเคชันแรกที่น้องแคร์ภูมิใจนำเสนอนั่นคือ Ooca โดยจุดเด่นของแอปนี้คือคุณสามารถนัดหมายจิตแพทย์และนักจิตวิทยา เพื่อ Video Call และระบายสิ่งที่อยู่ในใจหรือรับคำปรึกษา โดยการนัดหมายแต่ละครั้งสามารถคุยได้ 30 นาทีหรือ 1ชั่วโมงก็ได้ โดยราคาจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่คุณเลือกปรึกษา โดยการชำระเงินสามารถชำระผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตได้ โดยข้อดีคือมีความเป็นส่วนตัวและสามารถกำหนดเวลาเองได้

    • ราคา

    เริ่มต้นที่ 1,000 บาท/30 นาที (นักจิตวิทยา)

    เริ่มต้นที่ 1,500 บาท/30 นาที (จิตแพทย์)

    2. Chiiwii

    เป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่ควรมีติดตัวไว้เพราะเหมือนมีโรงพยาบาลขนาดจิ๋วในมือถือ โดยจุดเด่นของแอปนี้จะแบ่งแยกเป็นแผนกต่าง ๆ เช่น อายุรกรรม กระดูกและข้อ แผนกผิวหนัง หูคอจมูก รวมถึงแผนกสุขภาพจิต บนแอปจะแสดงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ประวัติการทำงาน และอื่น ๆ ข้อดีคือคุณสามารถเลือกแพทย์ วัน และเวลาเองได้ มีความยืดหยุ่นและเป็นส่วนตัว  โดยการปรึกษาสามารถเป็นได้ทั้งรูปแบบแชต โทร หรือวิดีโอคอล การชำระเงินสามารถจ่ายผ่านบัตรเครดิตได้ 

    • ราคา

    เริ่มต้นที่ 300 บาท/15 นาที 

    3. Mental health check up

    หลายคนอาจกังวลว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ น้องแคร์ มีแอปพลิเคชันที่สามารถประเมินสุขภาพจิตของคุณได้เบื้องต้น โดยในแอปจะมีแบบประเมิน 9 ชุด ให้คุณได้ทำหลังจากนั้นจะแสดงผลลัพธ์ออกมา เช่น ภาวะเครียด ภาวะหมดไฟ ภาวะซึมเศร้า ภาวะติดเกม และอื่น ๆ 

    7 โรงพยาบาลรักษาโรคซึมเศร้า

    โรคซึมเศร้า

    หลังจากที่คุณรู้ตัวเองหลังจากทำแบบประเมินแล้วคุณสามารถไปรับคำแนะนำได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือหากคุณต้องการคุยกับจิตแพทย์แบบตัวต่อตัว วันนี้น้องแคร์มี 7 โรงพยาบาลมาแนะนำ ดังนี้: 

    1. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (King Chulalongkorn Memorial Hospital)

    ตั้งอยู่ที่ ถนนพระราม 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 คุณสามารถเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถสาธารณะ เพราะใกล้กับรถไฟฟ้าสถานีศาลาแดง มีแผนกจิตเวชอยู่ที่ตึก ภปร. ชั้น 12 มีอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาคอยให้คำแนะนำและปรึกษา มีทั้งในเวลาราชการและคลินิกนอกเวลา นอกจากจิตแพทย์แล้วยังมีพยาบาลจิตเวช นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ มาช่วยดูแลและบำบัดผู้ป่วย เรียกได้ว่าหากมารักษาที่นี่แล้วจะได้รับการรักษาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และการเข้าสังคม ราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพัน 

    2. โรงพยาบาลพญาไท 3 (Phyathai 3 Hospital)

    ตั้งอยู่ที่ ถนนเพชรเกษม ปากคลองภาษีเจริญ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160 อยู่ใกล้รถไฟฟ้าใต้ดินบางไผ่ทำให้คุณสามารถเดินทางมาได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โรงพยาบาลพญาไท 3 มีทีมแพทย์เฉพาะทางอยู่หลายแผนก หากคุณต้องการพบจิตแพทย์ ทางโรงพยาบาลก็มีจิตแพทย์มาออกตรวจทุกวันพุธเวลา 13:00-14:30 ตั้งอยู่ที่ศูนย์สมองและระบบประสาท โดยราคาขึ้นอยู่กับค่ายา มักเริ่มต้นที่ 1,500 บาท

    3. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (Siriraj Piyamaharajkarun Hospital)

    ตั้งอยู่ที่ ถนนวังหลัง ศิริราช บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700 คุณสามารถเดินทางด้วยรถไฟฟ้าโดยลงสถานีสะพานตากสิน ทางออกที่ 2 แล้วนั่งเรือด่วนเจ้าพระยามาที่ท่าเรือวังหลัง คุณสามารถไปพบจิตแพทย์ได้ตั้งแต่เวลา เวลา 09.00 – 16.00 น. โดยโรงพยาบาลศิริราชแบ่งแผนกโรคทางจิตเวชเป็น 2 ส่วน คือ 

    • โรคจิตเวชทั่วไป : หากคุณเครียด นอนไม่หลับ ซึมเศร้า แพนิก หรืออื่น ๆ สามารถไปพบได้ที่ตึกผู้ป่วยนอกชั้น 7 มีแพทย์ออกตรวจในเวลาราชการตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์ ด้วยแพทย์มากกว่า 34 คน  
    • จิตเวชเด็กและวัยรุ่น : หากคุณเป็นเด็กหรือวัยรุ่น คุณสามารถมาพบจิตแพทย์ได้ที่ตึกผู้ป่วยนอกชั้น 6 โดยมีแพทย์ที่พร้อมดูแลและให้บริการคุณกว่า 19 คน 

    ผู้ที่มาพบจิตแพทย์จำเป็นต้องมีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป โดยราคาเริ่มต้นจะอยู่ที่ 900 บาท ไม่รวมค่ายา และค่าตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม 

    4. โรงพยาบาลธนบุรี 2 (Thonburi 2 Hospital)

    ตั้งอยู่ที่ ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170 โรงพยาบาลนี้สามารถเดินทางมาได้โดยใช้รถไฟฟ้าเพื่อลงสถานีบางหว้าและต่อรถสาธารณะเพื่อมาโรงพยาบาล แต่น้องแคร์แนะนำให้คุณขับรถมาจะง่ายและสะดวกสบายที่สุด มีคลินิกจิตเวชพร้อมจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ออกตรวจวันจันทร์ อังคาร พุธ และศุกร์ หากคุณมีปัญหาด้านสุขภาพจิตหรือคิดว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้า อย่าลังเลที่จะมาพบแพทย์ โรงพยาบาลธนบุรี2 มีให้บริการบำบัดทางจิตใจ เช่น มีอาการอยากตาย อยากทำร้ายตนเอง มีปัญหาครอบครัว นอนหลับยาก เป็นต้น เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่พาลูกมา วัยรุ่น และวัยทำงาน โดยราคามักจะประมาณ 1,000 บาทขึ้นไป

    • วันจันทร์: 16.00-17.30น.
    • วันอังคาร: 09.00-12.00น./17.00-20.00 น.
    • วันพุธ: 17.00-20.00 น.
    • วันศุกร์: 09.00-12.00น.

    5. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา (Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry)

    เป็นโรงพยาบาลจิตเวชแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600 คุณสามารถเดินทางมาได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยใช้บริการรถไฟฟ้าและลงสถานีกรุงธนบุรี เปิดตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08:30 – 16:30 น โดดเด่นในเรื่องของการให้การบำบัดและรักษาโรคทางจิตเวช ค่ารักษาพยาบาลที่นี่ถูกมาก เริ่มต้นไม่เกินร้อยบาท แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล 

    6. โรงพยาบาลศรีธัญญา (Srithanya Hospital)

    ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวชที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ๆ มีผู้ป่วยหลายคนมาบำบัดจิตใจที่โรงพยาบาลนี้ และสามารถออกไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ คนส่วนมากที่มามักมีปัญหาด้านสุขภาพจิตหรือโรคซึมเศร้า โดยแบ่งการรักษาเป็น 2 รูปแบบดังนี้ :

    • การรักษาในเวลาราชการ : ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:00-15:00 น.
    • คลินิกนอกเวลา : ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 18:30-20:30 น.

    7. โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต (Bangkok Hospital Phuket)

    ตั้งอยู่ที่ ถนนหงษ์หยกอุทิศ ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต 83000 ใครที่อยู่ภูเก็ตแล้วต้องการพบจิตแพทย์ โรงพยาบาลนี้เหมาะสมมาก ๆ มากไปกว่านั้น โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตยังมีแพทย์เฉพาะทางด้านอื่น ๆ ที่พร้อมดูแลรักษา รวมทั้งแพทย์ผ่าตัด คลินิกจิตเวชแบ่งออกเป็นจิตเวชศาสตร์ทั่วไป และจิตเวชเด็กและวัยรุ่น มาพร้อมกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาเพื่อช่วยเหลือในด้านการบำบัดจิตใจ คุณสามารถทำการนัดหมายแพทย์ผ่านทางเว็บไซต์ของโรงพยาบาล โดยราคาค่ารักษาพยาบาลขึ้นอยู่กับค่าแพทย์ ค่ายาของแต่ละบุคคล 

    หากคุณกำลังต่อสู้หรือเผชิญอยู่กับโรคซึมเศร้า อยากให้คุณรู้ไว้ว่า คุณไม่ได้เป็นอยู่คนเดียว ยังมีคนอีกมากมายทั่วทุกมุมโลกที่กำลังต่อสู้ไปพร้อมกับคุณ น้องแคร์ขอแนะนำให้คุณทำประกันสุขภาพของ แรบบิท แคร์ ติดตัวเอาไว้เพื่อรักษาโรคอื่น ๆ ถึงแม้ประกันจะไม่คุ้มครองโรคซึมเศร้าก็ตาม แต่หากคุณทำหลังเป็นโรคนี้แล้ว คุณจะไม่มีสิทธิที่จะทำประกันอะไรได้เลย  


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024