แคร์สุขภาพ

กันไว้ดีกว่าแก้! รู้ตัวไว แก้ไขทัน เปิดวิธีป้องกันโรคไบโพล่า

ผู้เขียน : Mayya Style

เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care ได้อย่างมืออาชีพ

close
Published February 27, 2023

การเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ที่ทุกเพศ ทุกวัย ต้องเผชิญ แต่ใครจะรู้ว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยจิตเวชมากมายที่กำลังเผชิญอยู่กับโรคทางจิต เช่น ซึมเศร้า แพนิก ย้ำคิดย้ำทำ หรือไบโพล่า แล้วจำเป็นต้องกินยาไปตลอดชีวิต ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล ต้องโดนมัดมือมัดเท้า คนเหล่านั้นก็เป็นคนทั่วไปที่มีความเจ็บป่วย ดังนั้นน้องแคร์อยากจะเป็นกระบอกเสียงเล็ก ๆ ว่าอย่าปิดกั้น หรืออย่ามีความคิดลบ ๆ ต่อผู้ป่วยจิตเวช คุณควรเข้าใจ เห็นใจ และให้ที่ยืนทางสังคมกับคนเหล่านี้  

วันนี้น้องแคร์จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไบโพล่า ว่าโรคนี้คืออะไร รุนแรงหรือไม่ รักษาหายขาดหรือไม่ แนวทางป้องกันมีอะไรบ้าง สามารถประเมินตัวเองได้ยังไงบ้าง ไปดูกันเลย!

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    โรคไบโพล่า คืออะไร? 

    ก่อนอื่นมาทำความรู้จักโรคไบโพล่าก่อนว่ามันคืออะไร ไบโพล่า มาจากคำว่า “ไบ” ที่แปลว่าสอง รวมกับคำว่า “โพล่าร์” ที่แปลว่าขั้ว เราจึงเรียกโรคนี้ว่า โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนไปเหมือนมีสองบุคลิกในคนเดียว หรือที่หลาย ๆ คนรู้จักว่า เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย โดยไบโพล่าสามารถเป็นได้ทั้งชายและหญิง สามารถแสดงอาการได้ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น แต่อาจจะยังไม่ชัดเจนมากนัก บางรายอาจใช้เวลาเป็น 10 ปีที่จะแสดงอาการของโรค 

    สาเหตุของโรคไบโพล่า?

    หลายคนอาจสงสัยว่าสาเหตุของโรคไบโพล่า เกิดจาก  อะไร น้องแคร์มีคำตอบ : 

    โดยสาเหตุเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมหรือการที่สารเคมีในสมองไม่สมดุลกัน คือมีสารนอร์อีพิเนฟรินมากเกินไป สารเซโรโทนินไม่สมดุลกัน โดยอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ความเครียด การใช้ยาเสพติด หรือคนในบ้านมีประวัติการป่วยเป็นโรคทางจิตเวช

    โรคไบโพล่า อาการเป็นยังไง? มีกี่ช่วง?

    หลังที่รู้จักแล้วว่าสาเหตุของโรคไบโพล่าเกิดจากอะไร มาทำความรู้จักต่อไปดีกว่าว่าโรคนี้แบ่งออกได้กี่ช่วง อาการมีอะไรบ้าง? : โรคไบโพล่าสามารถแบ่งออกได้เป็นสองช่วง คือช่วงที่อารมณ์ดี และช่วงที่ซึมเศร้า 

    • ช่วงอาการซึมเศร้า: โดยผู้ป่วยจะมีอาการท้อแท้ เบื่อง่าย เหนื่อยหน่าย หงุดหงิด โมโหง่าย ความสนใจในสิ่งต่าง ๆ รอบตัวลดลง สมาธิแย่ลง มีความคิดเกลียดตัวเอง การนอนผิดปกติไป ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ และที่สำคัญคือมีความคิดอยากที่จะทำร้ายตนเองหรืออยากฆ่าตัวตาย 
    • ช่วงที่อารมณ์ดี ผู้ป่วยจะมีอาการมีความสุข ยิ้มแย้ม หรือ หัวเราะออกมา พูดไม่หยุด 

    การรักษาไบโพล่า 

    การรักษาโรคไบโพล่าสามารถรักษาได้ด้วยยาเป็นหลัก เช่น ยาในกลุ่มจิตเวชเพื่อเป็นการปรับสารเคมีในสมองให้มีความสมดุลกัน มากไปกว่านั้นการให้ยาและปริมาณยาที่ใช้จะต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์เท่านั้นเพราะหากทานยาเกินขนาดอาจทำให้เกิดผลเสียตามมาได้ นอกจากนี้ยังสามารถรักษาด้วยวิธีจิตบำบัดร่วมด้วย จะทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดียิ่งขึ้นเมื่อมีอาการในขั้วซึมเศร้าหรือสามารถจัดการกับความเครียดได้ 

    ไบโพล่า  รักษาหายไหม?

    โรคไบโพล่า เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ให้อาการดีขึ้น ทุเลาลง แต่ไม่สามารถหายขาดได้ จึงทำให้ผู้ป่วยต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต เพื่อไม่ให้อาการกำเริบขึ้น โดยแพทย์จะให้ยาที่ช่วยควบคุมอารมณ์ เช่น ลิเทียม และ วาลโปรเอท รวมไปถึงยาแก้โรคซึมเศร้า โดยผู้ป่วยจะหายจากอาการได้ใน 2-8 สัปดาห์

    การวินิจฉัยโรคไบโพล่า

    เบื้องต้นจิตแพทย์จะทำการประเมินและตรวจด้วยการซักประวัติผู้ป่วย เช่น ทำงานอะไร มีความเครียดตรงไหนไหม รับประทานอาหารได้ไหม สามารถนอนหลับได้หรือเปล่า และสอบถามว่ามีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคทางจิตเวชไหม หลังจากนั้นแพทย์จะทำการพูดคุย วินิจฉัย และสั่งยากลับบ้าน 

    แหล่งข้อมูลเรื่องการรักษาไบโพล่าและการวินิจฉัยไบโพล่าจากโรงพยาบาลบํารุงราษฎร์

    แบบทดสอบอาการโรคไบโพล่า

    วันนี้น้องแคร์มีแบบทดสอบ / แบบประเมินเบื้องต้น เกี่ยวกับโรคไบโพล่า มาให้คุณได้ลองทำ หากรู้สึกไม่เป็นตัวเอง ไม่เหมือนเดิม อย่านิ่งนอนใจเด็ดขาด เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไขโพล่าก็เป็นได้

    1. เคยมีความรู้สึกดีสุด ๆ มีความสุข คึกคัก จนไม่ปกติและคนรอบข้างมองว่ามีความสุขจนมากเกิน
    2. เคยหงุดหงิดมาก จนตะคอกใส่คนอื่นหรือไม่ หรือมีการทะเลาะวิวาท/ทำร้ายตนเอง หรือผู้อื่นหรือไม่
    3. เคยมีความรู้สึกมั่นใจในตัวเองจนผิดปกติ เช่น ฉันเก่งที่สุด 
    4. เคยมีพฤติกรรมนอนน้อยกว่าปกติ เช่น หลับยาก นอนไม่หลับ รู้สึกไม่อยากนอน 
    5. เคยมีพฤติกรรมช่างพูดช่างคุยกว่าเดิม เช่น พูดเร็วกว่าปกติมาก พูดเยอะมาก
    6. เคยมีความคิดที่แล่นเร็วมาก ๆ และไม่สามารถทำให้ความคิดแล่นช้าลงได้ 
    7. เคยมีความรู้สึกว่อกแว่กต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวจนมากเกินไป หรือไม่มีสมาธิ จดจ่อกับสิ่งไหนได้เลย
    8. เคยรู้สึกมีพลังมากกว่าปกติ เช่น กระตือรือร้นอยากทำอะไรมากไปหมด
    9. เคยมีบางช่วงที่รู้สึกเข้าสังคม พบปะผู้คนมากเกินกว่าปกติ 
    10. เคยมีความสนใจเรื่องเพศเยอะจนผิดปกติ
    11. เคยมีพฤติกรรมทำอะไรที่ตอนปกติตนเองไม่ทำ จนคนรอบตัวคิดว่าเสี่ยงเกินไป เช่น อยากพกปืนไปทำงาน อยากไปเผาบ้านคน อยากไปขโมยของคนอื่น
    12. เคยมีพฤติกรรมใช้จ่ายเงินเยอะจนผิดปกติ จนทำให้ตนเองและครอบครัวเดือดร้อน 

    ทั้ง12 ข้อที่กล่าวมานี้คือหนึ่งอาการของโรคไบโพล่าซึ่งหากคุณทำแบบประเมินนี้แล้วพบว่ามีมีอาการมากกว่า 4 ข้อควรรีบมาพบจิตแพทย์ทันทีเพื่อทำการประเมินและรักษาต่อไป

    เรื่องที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคไบโพล่า

    หากมองด้วยตาอาการของโรคไบโพล่าจะเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย จะแบ่งเป็นอาการของขั้วคึกคัก กับขั้วซึมเศร้า แต่อาการของแต่ละขั้วจะกินเวลานานกว่า 1-2 สัปดาห์ ขึ้นไปถึงจะเรียกว่าไบโพล่า ซึ่งหลายคนเข้าใจผิดว่า เป็นแค่ประมาณ 1 ชั่วโมงก้หาย นั่นไม่ใช่ไบโพล่า อาจเป็นคนที่มีภาวะเครียดทางอารมณ์ก็เป็นได้

    ไบโพล่า กับ โรคซึมเศร้า เหมือนกันไหม?

    เชื่อว่าหลายคนกำลังสงสัยว่าโรคไบโพล่ากับโรคซึมเศร้าเหมือนหรือต่างกันยังไง ไม่ใช่แค่คนภายนอกที่สงสัย แต่ผู้ป่วยเองก็อาจจะยังแยกไม่ออกเช่นกัน: โรคซึมเศร้าเป็นส่วนหนึ่งของไบโพล่า เพราะคนที่ป่วยเป็นไบโพล่าจะมีช่วงอารมณ์ที่ปกติของเขา แต่เมื่อมีอาการขึ้นมาก็จะคึกคัก คึกคะนอง หรือบางทีอาจปรากฎออกมาเป็นแบบซึมเศร้า มีอารมณ์เศร้า หดหู่ ไม่มีความสุข นอนไม่หลับ กินข้าวไม่ลง สมองไม่สั่งงาน หรืออาจดูเป็นคนเฉื่อยชา

    โรคไบโพล่า อันตรายไหม 

    หลายคนอาจสงสัยว่าโรคไบโพล่า อันตรายไหม จริง ๆ แล้วโรคนี้ไม่อันตรายหากอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด แต่หากไม่เข้ารับการักษา อาจทำให้เกิดการอันตรายตามมาได้ต่อตนเองและผู้อื่น เพราะผู้ป่วยจะมีอารามณ์รุนแรง ขาดการยับยั้งชั่งใจ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อหน้าที่การงาน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและอันตรายถึงชีวิตได้ 

    5 เทคนิคการดูแลผู้ป่วยไบโพล่าที่บ้าน

    อย่างที่รู้กันว่าโรคไบโพล่าสามารถรักษาได้แต่ไม่สามารถหายขาดได้ ดังนั้น หากคุณเป็นคนที่ต้องดูแลผู้ป่วยโรคไบโพล่าที่บ้าน น้องแคร์มีเคล็ดลับดีดีมาฝาก : 

    1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค

    ก่อนที่คุณจะตัดสินใจจะดูแลผู้ป่วยไบโพล่าเองที่บ้าน คุณต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคนี้เองเสียก่อน ญาติและผู้ที่ใกล้ชิดจะต้องความเข้าใจให้เร็วที่สุด ต้องรู้วิธีการพูดคุยและรับมือ โดยวิธีการทำความเข้าใจอาจปรึกษาจากนักจิตวิทยา จิตแพทย์ พยาบาล หรือผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับโรคนี้ ไม่ว่าจะจากญาติ คนรอบข้าง หรือผู้ป่วยเอง คุณสามารถเข้าไปพูดคุย สอบถามเพิ่มเติมหรือ ขอคำแนะนำได้ มากไปกว่านั้นคุณสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคไบโพล่าได้หลากหลายช่องทาง เช่น กรมสุขภาพจิต สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย หรือในเพจที่เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโรคไบโพล่า เป็นต้น การที่คุณรู้จักโรคอย่างลึกซึ้งจะทำความสามารถดูแลผู้ป่วยได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    2. สังเกตอาการเริ่มต้น

    หลังจากที่เข้าใจตัวโรคไบโพล่าแล้ว คุณควรสังเกตอาการเริ่มต้นก่อนการกำเริบของผู้ป่วย (early signs) โดยปกติทั่วไปก่อนที่คนไข้จะมีการกำเริบหนัก ๆ จะมีสัญญาณเริ่มต้น เช่น หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับมา 2-3 วัน พูดมากขึ้น อารมณ์ครื้นเครงผิดปกติ บางรายอาจมีอาการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรือบางรายจะมีอาการในเชิงซึมเศร้า เช่น เศร้าผิดปกติ บ่นว่าตนเองไร้ค่า อยากตาย หรือเขียนพินัยกรรมทิ้งไว้ เหล่านี้ยังเป็นอาการที่ไม่ได้รุนแรงมากนัก แต่คุณจะสามารถสังเกตความผิดปกตินี้ได้ เมื่อสังเกตและทราบแล้วว่าเหล่านี้คือสัญญาณเตือน คุณควรรีบจัดการตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยการโทรไปขอคำปรึกษาจากโรงพยาบาล ว่าควรรับมือยังไง มากไปกว่านั้นน้องแคร์ขอแนะนำให้คุณจดบันทึกพฤติกรรมเหล่านั้นไว้ เพื่อให้แพทย์ประเมินความรุนแรงของตัวโรคไบโพล่า หากมีความถี่มากควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป

    3. รับมือพฤติกรรมก้าวร้าว หรือการเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย 

    หากคุณตัดสินใจแล้วว่าจะดูแลผู้ป่วยด้วยตนเองแล้ว คุณต้องเรียนรู้วิธีรับมือกับพฤติกรรมเสี่ยงเอาไว้ โดยวิธีที่สำคัญที่สุดคือการรับฟัง คุณต้องเป็นผู้ฟังมากกว่าผู้พูด มากไปกว่านั้นการคุยกับผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพล่าก็ต้องใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล น่าฟัง และเป็นคำพูดที่เหมาะสม ในบ้านที่มีผู้ป่วยอยู่ควรจัดเก็บอาวุธที่สามารถนำมาใช้ในการทำร้ายตัวเอง เช่น มีด ปืน นอกจากนี้หากผู้ป่วยมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ไม่อาจรับมือได้ ควรรีบโทรแจ้งฉุกเฉิน 1669 ทันที หรือ โทรหาโรงพยาบาลจิตเวชที่อยู่ใกล้บ้าน 

    4. กำชับผู้ป่วยให้ทานยาตามแพทย์สั่ง

    แม้ว่าโรคไบโพล่าจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ ผู้ดูแลหรือคนใกล้ชิดต้องกำชับให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้เคร่งครัด และต้องรู้จักสังเกตอาการข้างเคียงจากการใช้ยา หากแพ้ยา หรือมีผื่นคันขึ้นตามตัว หายใจติดขัด ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด น้ำลายไหลมาก ควรหยุดยาและรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการเปลี่ยนยา แม้ว่าอาการข้างเคียงจากยาจะเกิดขึ้นได้ไม่บ่อย แต่ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจตั้งแต่เนิ่น ๆ 

    5. ประเมินตนเอง

    การดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพล่า จะต้องใช้ความอดทนและความเสียสละสูงมาก ดังนั้นผู้ดูแลควรหันมาดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของตนเอง บางครั้งอาจจะหาคนมาสับเปลี่ยนดูแลแทน เพื่อให้ผู้ดูแลได้มีเวลาพักผ่อนเป็นของตัวเอง มากไปกว่านั้นผู้ดูแลต้องรู้จักวิธีระบายความคลเครียดและจัดการอารมณ์ตัวเองได้ เพราะคุณจำเป็นต้องฟังผู้ป่วยโรคไบโพล่าในการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ดังนั้นคุณต้องเป็นคนมองโลกในแง่บวก

    ไบโพล่า การป้องกัน

    1. พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

    ผู้ป่วยที่เป็นโรคไบโพล่า ควรมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เช่น ทุก ๆ อาทิตย์หรือ ทุก ๆ เดือนเพื่อให้แพทย์ประเมินอาการและปรับยาตามความรุนแรงของโรค มากไปกว่านั้นผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องอย่าให้ขาดและไม่หยุดยาเองเพราะอาจทำให้เกิดการดื้อยาและทำให้การรักษายากและซับซ้อนมากขึ้นไปอีก ดังนั้นอย่าคิดว่าอาการดีขึ้นแล้วจึงเลิกรับประทานยา

    2. ห้ามซื้อยากินเอง

    ในช่วงแรกอาการอาจยังไม่ดีขึ้นหลังจากได้รับยาทันที เพราะโรคไบโพล่าอาการจะดีขึ้นเมื่อรับประทานยาต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ บางคนอาจซื้อยาหรือเปลี่ยนยาเองโดยไม่ได้อยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์ อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะยาทางจิตเวชจะออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นและปรับสารเคมีในสมอง อาจทำให้เกิดการมากไปหรือน้อยไปของสารสื่อประสาทได้ 

    3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

    คุณควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ มากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน เพราะหากนอนน้อยอาจทำให้คุณตื่นมาแล้วมีอาการง่วงซึม หงุดหงิดง่าย อยากทำร้ายตัวเองได้ ซึ่งเกิดจากความปกติของสารเคมีในสมอง หากคุณมีอาการนอนหลับยาก ไม่ควรซื้อยานอนหลับมารับประทานเองแต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

    4. งดดื่มสุรา

    หากคุณเป็นโรคไพล่าควรงดดื่มสุราและเหล้า หรือยาเสพติดทุกประเภท เพราะจะกระตุ้นให้สารเคมีในสมองเกิดการเปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้อาการโรคไบโพล่ากำเริบรุนแรงได้ 

    เชื่อว่ายังมีอีกหลายคนที่กำลังเผชิญอยู่กับโรคไบโพล่า ไม่ว่าอย่างไรน้องแคร์ขอส่งกำลังใจพร้อมอยู่เคียงข้างคุณไปในทุก ๆ วัน เราขอแนะแนะนำให้่คุณทำประกันสุขภาพกับ แรบบิท แคร์ เอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะถึงแม้ว่าจะไม่คุ้มครองโรคทางจิตเวช แต่ก็ยังให้ความคุ้มครองโรคอื่น ๆ เพราะหากคุณไม่ทำตอนนี้ คุณจะไม่มีสิทธิทำประกันอะไรได้เลยหากเป็นโรคไบโพล่าแล้ว 


    บทความแคร์สุขภาพ

    แคร์สุขภาพ

    โยคะ (Yoga) มีประโยชน์อย่างไร สามารถบำบัดทั้งร่างกายและจิตใจได้จริงหรือไม่ ?

    โยคะ หนึ่งในศาสตร์การออกกำลังกายที่แน่นอนว่าหลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดีและทราบกันถึงประโยชน์หลาย ๆ อย่างที่โยคะมีต่อร่างกายของคนเรา
    Nok Srihong
    11/04/2024

    แคร์สุขภาพ

    ดนตรีบำบัด คืออะไร ? ดนตรีสามารถบำบัดจิตใจและความเครียดได้จริงหรือไม่ ?

    เราต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเสียงดนตรีสามารถช่วยให้เกิดความผ่อนคลายของร่างกายและจิตได้
    Nok Srihong
    11/04/2024