แคร์สุขภาพ

รู้จัก โรคหลายบุคลิก คืออะไร ? มีจริงหรือไม่ ? อาการเป็นอย่างไร สาเหตุ-วิธีการรักษา

ผู้เขียน : Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว

close
 
 
Published: January 9,2024

เราอาจเคยได้ยินชื่อโรคหลายบุคลิกมาจากหนังหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งในมุมมองของหลายคนอาจมองว่าโรคบุคลิกนี้เป็นโรคที่ดูแฟนตาซี ไม่มีจริง หรือคงไม่มีโอกาสได้พบเห็นผู้ที่เป็นโรคหลายบุคลิกได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งในทางการแพทย์นั้นก็ได้มีผลการศึกษาออกมายืนยันเช่นกันว่าโรคหลายบุคลิกเป็นโรคที่หาได้ยาก และมีโอกาสพบได้เพียง 1% เท่านั้น 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโรคหลายบุคลิกก็ถือว่าเป็นโรคที่น่าสนใจทั้งในวงการแพทย์และในหมู่คนทั่วไป วันนี้ แรบบิท แคร์ จึงควรรวมข้อมูลน่ารู้ที่เกี่ยวกับโรคบุคลิกมาไว้ให้ เผื่อใครมีความสนใจจะได้ลองอ่านทำความเข้าใจกันได้นั่นเอง

เปรียบเทียบบัตรเครดิตที่ใช่ สมัครเลย!
icon angle up or down

สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อ

เด็กจบใหม่ เด็กจบใหม่ รักการท่องเที่ยว รักการท่องเที่ยว รักการช้อปปิ้ง รักการช้อปปิ้ง รักความหรูหรา รักความหรูหรา รักสุขภาพ รักสุขภาพ รักการกิน รักการกิน

โรคหลายบุคลิก คืออะไร ?

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7 ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคหลายบุคลิไว้ว่า โรคหลายบุคลิก มีอีกชื่อเรียกว่า โรคหลายอัตลักษณ์ (Multiple Personality Disorder) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโรคจิตเวชที่ถูกจัดอยู่ในประเภท Dissociative Disorders ที่อยู่ในรายการของคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต

โดยโรคหลายบุคลิกนั้นผู้ป่วยจะประสบกับการมี 2 อัตลักษณ์ 2 บุคลิกหรือมากกว่านั้น บ้างอธิบายว่าคือการมีบุคลิกภาพของคนสองคนในคนเดียวกัน ซึ่งแต่ละบุคลิกจะผลัดเปลี่ยนกันเข้าควบคุมพฤติกรรมของผู้ป่วย และผู้ป่วยมักจะประสบกับการสูญเสียความทรงจำเมื่อถูกบุคลิกถูกเปลี่ยนหรือกำลังเข้าควบคุม

อย่างที่ทราบกันว่าโรคหลายบุคลิกนั้นเป็นโรคหายาก ซึ่งมีผลการศึกว่าพบได้เพียง 1% เพียงเท่านั้น จึงทำให้มีการทำการศึกษาเกี่ยวกับผู้ที่เป็นโรคหลายบุคลิกน้อยมากดังนั้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคหลายบุคลิกในแง่มุมต่าง ๆ นั้นจึงอาจต้องรอผลการศึกษาในอนาคตต่อไป

โรคหลายบุคลิก เกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ ?

เป็นที่ถกเถียงกันอยู่และมีความเห็นแตกเป็นหลายฝ่ายแม้แต่ในวงการแพทย์ในประเด็นที่ว่าโรคหลายบุคลิกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ ทั้งนี้ก็มีหลักฐานเกี่ยวกับโรคหลายบุคลิกว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคหลายบุคลิกนั้นจะมีความรู้สึกที่ไวต่อการสะกดจิตและมีความผิดปกติอย่างมากต่อการคล้อยตาม แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาแย้งว่าอัตลักษณ์ที่แยกกันให้คนที่เป็นโรคหลายบุคลิกอาจมีผลมาจากการคล้อยตามเช่นนี้

ทั้งนี้ก็มีการศึกษาและวิเคราะห์ตามมาและถูกใช้เป็นหลักฐานว่ามีกรณีที่คนหนึ่งคนนั้นมีบุคลิกภาพ 2 คนอยู่ในคนเดียวกัน แน่นอนว่าการวินิจฉัยเหล่านี้ก็ยังคงเกิดความโต้แย้งแต่ ณ ปัจจุบัน การวินิจฉัยดังกล่าวก็ได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น และมีผลการศึกษาเกี่ยวกับโรคหลายบุคลิกมากยิ่งขึ้น

โรคหลายบุคลิก อาการ

สำหรับโรคหลายบุคลิกนั้น อาการที่พบเจอคือจะมีอัตลักษณ์ 2 อัตลักษณ์ขึ้นไปผสมอยู่ในตัว ต่างกับคนปกติทั่วไปที่จะมีเพียงอัตลักษณ์เดียวเพียงเท่านั้น ซึ่งอัตลักษณ์หลายอัตลักษณ์ที่อยู่ภายในตัวของผู้ที่เป็นโรคนี้นั้น อาจมี ชื่อ เพศ อายุ รวมถึงอุปนิสัยต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน และอัตลักษณ์เหล่านี้นั้นจะสับเปลี่ยนเข้าควบคุมความคิด พฤติกรรม และการรับรู้ต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของผู้ป่วยโดยที่เจ้าตัวไม่รู้ตัว โดยผู้ป่วยโรคหลายบุคลิกบางรายอาจมีลักษณะอาการ ดังนี้

  • มีความรู้สึกว่าตนเองนั้นเป็นผู้เฝ้ามองดูการกระทำของตนเอง
  • อาจมีอาการได้ยินเสียงผู้อื่นแทรกขึ้นมาในห้วงความคิด เช่น เสียงเด็กหรือเสียงจากภายในที่ดังขึ้นมาคอยควบคุมตนเอง
  • มีความรู้สึกว่าตนเองไม่มีอำนาจในการควบคุมตนเองเมื่ออัตลักษณ์ภายในตัวถูกเปลี่ยนแปลงไป
  • อาจรู้สึกว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ เช่น รู้สึกว่าตัวเองแข็งแรงขึ้น หรือรู้สึกว่าตนเองกลายเป็นเด็ก
  • อัตลักษณ์รองมักจะปรากฏออกมาเมื่อได้รับความกดดันทางจิตใจหรือกำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ตึงเครียด
  • เมื่ออัตลักษณ์เปลี่ยนไปผู้ป่วยบางรายจะจดจำเรื่องราวในขณะนั้นได้
  • เมื่ออัตลักษณ์เปลี่ยนไปผู้ป่วยบางรายจะสูญเสียความทรงจำไปชั่วคราว
  • อาจมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง อารมณ์แปรปรวน
  • อาจมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • อาจมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า เบื่ออาหาร

โรคหลายบุคลิก สาเหตุ

ในส่วนของสาเหตุของการเกิดโรคนั้น ผู้เชี่ยวชาญได้มีการสันนิษฐานว่า โรคหลายบุคลิกนั้นอาจเกิดจากการที่ผู้ป่วยได้รับความกระทบกระเทือนทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งส่วนมากจะเกิดจากการถูกทำร้ายร่างกาย จิตใจ ถูกล่วงละเมิดทางเพศ อีกทั้งยังสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากที่เกิดการประสบอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น เผชิญหน้ากับสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ ภัยพิบัติ การสูญเสียคนในครอบครัว ไปจนถึงการถูกทอดทิ้งเป็นเวลานาน

และด้วยเหตุการณ์ร้ายแรงเหล่านี้การเกิดโรคหลายอัตลักษณ์จึงเปรียบเสมือนวิธีที่ผู้ป่วยสร้างขึ้นเพื่อรับมือและตัดขาดตนเองจากสถานการณ์ตึงเครียดเหล่านั้นโดยที่ไม่รู้ตัว  เป็นการแยกความทรงจำอันเลวร้ายออกจากชีวิต ถือเป็นกลไกในการป้องกันตัวเองจากความเจ็บปวดทั้งทางร่างกายและจิตใจอันเป็นผลมาจากเหตุการณ์อันเลวร้ายที่พบเจอในอดีตนั่นเอง

โรคหลายบุคลิก ทดสอบได้หรือไม่ ?

สำหรับการทดสอบว่าตนเองหรือบุคคลใดเป็นโรคหลายบุคลิกหรือไม่นั้น เบื้องต้นในอินเทอร์เน็ตก็จะมีแบบทดสอบออนไลน์ที่สามารถให้ผู้ที่ต้องการทำเข้าไปทดสอบแบบเบื้องต้นได้ แต่ทั้งนี้ด้วยความที่โรคหลายบุคลิกนั้นเป็นโรคที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนสูง การวินิจฉัยและทดสอบที่แม่นยำจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัย และทำการทดสอบโดยจิตแพทย์ผู้มีความชำนาญการสูงเพียงเท่านั้น

วิธีการวินิจฉัย โรคหลายบุคลิก

ในส่วนของการวินิจฉัยนั้นโรคหลายบุคลิกจำเป็นที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการวินิจฉัยนานมากกว่าที่จะได้ข้อสรุป เนื่องจากจะต้องทำการตัดโรคอื่นที่มีอาการคล้ายคลึงและทับซ้อนกันออกไป ซึ่งโดยทั่วไปนั้นหลักในการวินิจฉัยจะประกอบด้วย การสอบถามอาการและประวัติทางด้านสุขภาพของผู้ป่วย และการตรวจร่างกายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การตรวจเลือด การเอกซเรย์ หรือการทำเอ็มอาร์ไอ (MRI) 

หลังจากตรวจด้วยวิธีตามที่ได้กล่าวมาแล้ว หากไม่พบความผิดปกติทางร่างกาย แพทย์จะเริ่มทำการวินิจฉัยด้วยการตรวจทางจิตเวช (Psychiatric Exam) โดยจะเป็นการถามคำถามเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึก พฤติกรรม อาการ และสอบถามประวัติคนในครอบครัวรวมถึงคนใกล้ชิดภายใต้การยินยอมของคนไข้

นอกจากวิธีเหล่านี้จิตแพทย์ก็จะใช้เกณฑ์ตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต ฉบับที่ 5 (DSM-5) ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน เพื่อประเมินและวินิจฉัยโรคหลายบุคลิกอีกด้วย 

วิธีการรักษาโรคหลายบุคลิก

ในส่วนวิธีการรักษาโรคหลายบุคลิกนั้นจิตแพทย์จะทำการรักษาโดยมีเป้าหมายในการเชื่อมโยงอัตลักษณ์หรือบุคลิกที่หลากหลายให้รวมเป็นอัตลักษณ์เดียว และช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างปกติ โดยวิธีการรักษานั้นอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรุนแรง อาการ รวมถึงปัจจัยกระตุ้น โดยจะใช้หลายวิธีควบคู่กันไปดังนี้

จิตบำบัด (Psychotherapy) 

วิธีนี้ถือเป็นวิธีการรักษาหลัก ซึ่งจิตแพทย์จะทำการพูดคุยกับผู้ป่วยและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพูดคุยเกี่ยวกับความทรงจำอันเลวร้ายได้ผ่านการเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอาการ วิธีรับมือกับสถานการณ์กดดันและตึงเครียด 

การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) 

วิธีการรักษาด้วยวิธีนี้นั้นจะเป็นการเน้นการทำความเข้าใจสาเหตุ ควบคู่ไปกับการกำหนดเป้าหมายในการบำบัดรูปแบบความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่เป็นปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งช่วยในการฝึกฝนให้ผู้ป่วยมีทักษะในการจัดการกับปัญหาของตนเองได้อย่างเหมาะสม

การบำบัดในรูปแบบอื่น 

ทำการบำบัดด้วยวิธีอื่น ๆ ควบคู่กันไปร่วมด้วย เช่น

  • จิตบำบัดแบบอีเอ็มดีอาร์ (Eye Movement Desensitization and Reprocessing Therapy)
  • พฤติกรรมบำบัด 
  • ครอบครัวบําบัด 
  • สมาธิบำบัด 
  • สะกดจิตบำบัด 
  • ดนตรีบำบัด 

การใช้ยา

แม้ว่าจะไม่มียาสำหรับใช้รักษาโรคหลายบุคลิกโดยตรงแต่หากคนไข้มีอาการอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น อาการวิตกกังวล อาการซึมเศร้า แพทย์ก็อาจให้ยาต้านเศร้า ยารักษาโรควิตกกังวล ร่วมในการรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

สรุป

ทั้งหมดนี้คือข้อมูลที่เกี่ยวกับโรคหลายบุคลิกที่ แรบบิท แคร์ ได้รวบรวมมาไว้ให้ จะเห็นได้ว่าโรคนี้เป็นโรคที่พบเห็นได้ยากและน่าสนใจ เพราะปัจจุบันนั้นนอกจากโรคทางกายแล้วผู้คนก็เริ่มที่จะมีแนวโน้มที่จะเกิดการเจ็บป่วยทางด้านจิตใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าแม้จะเป็นโรคทางจิตอื่น ๆ ก็ถือเป็นโรคที่ต้องให้ความสำคัญในการรักษาภายใต้ความดูแลของจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นหากใครมีความเครียดหรือคิดว่าตนเองมีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคทางจิตเภทก็อย่ารอช้า สามารถติดต่อขอเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา รูดบัตรเครดิตจ่ายค่ารักษา สมัครบัตรง่าย ๆ สะดวกสบาย กับ แรบบิท แคร์ ได้เลย


 

บทความแคร์สุขภาพ

แคร์สุขภาพ

โรคย้ำคิดย้ำทำ คืออะไร ? ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันมาก-น้อยแค่ไหน ?

โรคย้ำคิดย้ำทำ ฟังชื่อเผิน ๆ อาจดูเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม ไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคย้ำคิดย้ำทำนั้นไม่ร้ายแรงจริงหรือไม่ ?
Nok Srihong
25/04/2024

แคร์สุขภาพ

แนะนำวิธีคลายเครียดช่วยดูแลสุขภาพใจ ส่งผลให้ร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง

ในยุคปัจจุบันนั้นการมีวิธีคลายเครียดที่เหมาะสมกับตนเองถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราทุกคนต่างก็ต้องเผชิญหน้ากับความเครียดและความกดดันกันอยู่ในทุกวัน
Nok Srihong
22/04/2024