แคร์แม่และเด็ก

3 แนวคิด ในการสอนลูกเรื่องไวรัสโคโรนา

ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ

ทีมกองบรรณาธิการ กลุ่มนักเขียนผู้มีประสบการณ์ด้านรถยนต์ การเงิน และประกันภัย ของ แรบบิท แคร์ ที่เปิดดำเนินการมาแล้วมากกว่า 10 ปี

close
Published May 08, 2020

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

ท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกในขณะนี้ เป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่ที่จะอธิบายเรื่องไวรัสโคโรนาให้กับลูก ๆ อย่างจริงจังเสียที เด็ก ๆ หลายคนที่โตพอสมควรอาจจะได้ยินเรื่องของไวรัสมาบ้างแล้วจากที่โรงเรียน จากการดูทีวี หรือจากคนรอบตัว แต่กับเด็กที่เล็กกว่านั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่แน่ใจว่าจะพูดถึงเรื่องนี้กับลูกอย่างไร ควรจะอธิบายเขาแบบไหน ที่จะทำให้เด็ก ๆ ไม่วิตกกังวลว่าพวกเขาติดโรคเข้าแล้วหรือเปล่า ให้ลองนำ 3 แนวคิดนี้ไปใช้ดูค่ะ


3 แนวคิด สอนลูกเรื่องไวรัสโคโรนา

ค้นหาว่าลูกรู้อะไรแล้วบ้าง

  • ใช้คำถามที่เหมาะกับระดับอายุของเด็ก

สำหรับเด็กโตคุณอาจถามว่า “เพื่อน ๆ ได้พูดถึงไวรัสโคโรนาหรือเปล่า แล้วพูดว่าอะไรบ้าง” สำหรับเด็กเล็กคุณอาจถามลูกว่า “หนูเคยได้ยินผู้ใหญ่พูดถึงโรคชนิดใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นมั้ย” คำถามพวกนี้เปิดโอกาสให้คุณเรียนรู้ว่าเด็ก ๆ รู้เรื่องไวรัสมากแค่ไหน และเพื่อดูว่าพวกเขาได้ยินข้อมูลที่ผิดมาหรือไม่

  • ให้ลูกนำทาง

เด็กบางคนอาจต้องการใช้เวลาพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ถ้าลูก ๆ ของคุณไม่ได้สนใจเรื่องนี้ หรือไม่ถามคำถามมากมายนักก็ไม่เป็นไร ไม่จำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลกับลูกมากเกินไป เพราะเด็กจะรู้สึกว่าข้อมูลมันมากเกินไปสำหรับเขา

ปลอบโยนเขา และบอกเล่าความจริง

  • อย่ากลัวที่จะพูดถึงมัน

เด็กส่วนใหญ่จะเคยได้ยินเรื่องไวรัสหรือเห็นคนที่ใส่หน้ากากอยู่แล้ว ดังนั้นคุณจึงไม่ควรหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงเรื่องนี้ การไม่พูดอะไรเลยอาจทำให้เด็กกังวลมากขึ้นก็ได้ ให้มองว่าการสนทนานี้เป็นโอกาสในการถ่ายทอดความจริงและกำหนดอารมณ์ความรู้สึกของลูก ในขณะที่เด็กมีสิทธิ์ที่จะได้รับข้อมูลจริงเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น ผู้ใหญ่ก็มีหน้าที่รับผิดชอบในการปกป้องพวกเขาจากความเครียดและความกังวล

  • เน้นไปที่การช่วยให้ลูกรู้สึกปลอดภัย

แต่จงซื่อสัตย์ และอย่าเสนอรายละเอียดมากกว่าที่ลูกของคุณสนใจ ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กถามเกี่ยวกับการปิดโรงเรียน ก็ให้ตอบไปตามความเป็นจริง แต่ถ้าลูกไม่ได้เปิดประเด็นขึ้นมาก่อน ก็ไม่จำเป็นต้องยกหัวข้อนั้นขึ้นมา

  • หากลูกของคุณมีคำถามแต่คุณไม่รู้คำตอบ ให้บอกเขาตามตรง

คุณสามารถพูดได้ว่า “แม้ตอนนี้เราจะยังไม่มีคำตอบให้กับทุกอย่างที่หนูสงสัย แต่เมื่อไหร่ที่พ่อกับแม่รู้มากขึ้น เราจะบอกให้หนูรู้แน่นอน” ใช้คำถามของลูกเป็นโอกาสที่จะค้นหาข้อมูลไปด้วยกัน ตรวจสอบเว็บไซต์ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคต่าง ๆ สำหรับข้อมูลล่าสุดที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับไวรัสโคโรนา ด้วยวิธีนี้คุณจะได้ข้อเท็จจริง และเด็ก ๆ จะไม่เห็นหัวข้อข่าวเกี่ยวกับความตายหรือข้อมูลที่น่ากลัวอื่น ๆ


 

  • พูดอย่างใจเย็นและให้ความอุ่นใจ

อธิบายว่าคนส่วนใหญ่ที่ป่วยจะรู้สึกเหมือนเป็นหวัดหรือเป็นไข้หวัด เด็กจะเก็บไปคิดมากหากเขาเห็นพ่อแม่กังวล ดังนั้นเมื่อคุณพูดถึง Covid-19 และข่าวที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้น้ำเสียงที่ราบเรียบและพยายามอย่าอารมณ์เสีย

  • จัดการกับความวิตกกัลวลของตัวเองเสียก่อน

เมื่อคุณรู้สึกวิตกกังวลหรือตื่นตระหนก นั่นไม่ใช่เวลาที่จะพูดคุยกับลูก ๆ หากคุณสังเกตว่าตัวเองรู้สึกกังวล ให้ใช้เวลาสักพักเพื่อสงบสติอารมณ์ ก่อนที่จะพูดคุยหรือตอบคำถามของลูก

  • เปิดโอกาสให้เด็กแชร์ความกลัวที่อยู่ในใจ

เป็นเรื่องธรรมดาที่เด็ก ๆ จะกังวลว่า “ฉันจะเป็นคนต่อไปรึเปล่า?” บอกให้ลูกของคุณรู้ว่าเด็ก ๆ ไม่ค่อยจะป่วยเหมือนผู้ใหญ่ ทำให้พวกเขารู้ว่าพวกเขาสามารถพูดคุยกับคุณถึงสิ่งที่ทำให้พวกเขากลัว

  • รู้ว่าเมื่อใดที่พวกเขาต้องการคำแนะนำ

สอดส่องการรับข่าวสารและข้อมูลของลูก โดยเฉพาะเด็กโตที่เข้าถึงสื่อออนไลน์ ชี้ทางเขาไปยังเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเจอกับข่าวที่ทำให้พวกเขากลัว หรือข่าวที่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง 

ช่วยให้เด็กรู้สึกว่าทุกอย่างจะอยู่ในการควบคุม

  • สอนในสิ่งที่ลูกของคุณสามารถทำได้ ให้รู้สึกว่าเขาควบคุมสถานการณ์อยู่

เด็ก ๆ จะรู้สึกมีพลัง เมื่อพวกเขารู้ว่าต้องทำอย่างไรเพื่อให้ตัวเองปลอดภัย เรารู้ว่าไวรัสโคโรนานั้นส่วนใหญ่แพร่กระจายโดยการไอและสัมผัสพื้นผิว แนะนำให้ลูกล้างมือให้สะอาด เพราะเป็นวิธีหลักในการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เตือนเด็ก ๆ ว่าพวกเขาต้องดูแลตัวเองด้วยการล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นเวลา 20 วินาที หรือเท่ากับความยาวของเพลง “Happy Birthday” 2 รอบ ล้างมือหลังจากพวกเขากลับมาจากข้างนอก ก่อนที่พวกเขาจะกิน และหลังจากสั่งน้ำมูก ไอ จาม หรือเข้าห้องน้ำ อธิบายว่าการล้างมือด้วบสบู่ล้างมือเป็นประจำยังช่วยป้องกันไม่ให้ไวรัสแพร่กระจายไปยังผู้อื่นด้วย ที่สำคัญต้องเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย

  • ทำให้เป็นนิสัย

สิ่งนี้สำคัญอย่างยิ่ง เมื่อลูกไม่ได้ไปโรงเรียนตามปกติ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกจะมีกิจวัตรประจำวันที่มีโครงสร้างแน่นอน เหมือนกับตอนที่อยู่โรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยการเรียน มื้ออาหาร และเวลานอนสำหรับเด็กเล็ก

  • พูดคุยเกี่ยวกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้คนปลอดภัยและมีสุขภาพดี

เด็กเล็กอาจมั่นใจได้ว่าโรงพยาบาลและแพทย์พร้อมที่จะดูแลผู้ป่วย เด็กโตอาจรู้สึกสบายใจที่จะรู้ว่านักวิจัยกำลังหาทางพัฒนาวัคซีน การพูดคุยเหล่านี้ยังเตรียมเด็กให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในกิจวัตรประจำวันของพวกเขาในอนาคต

  • อ้างอิงถึงข่าวเวลาพูดคุย

หากลูกถาม ให้อธิบายว่าการเสียชีวิตจากไวรัสยังคงมีน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนคนที่รอด ดูข่าวกับลูก ๆ ของคุณ เพื่อให้คุณสามารถคัดกรองมันได้

  • เด็กและวัยรุ่นมักกังวลเกี่ยวกับครอบครัวและเพื่อนมากกว่าตัวเอง

ตัวอย่างเช่น หากเด็ก ๆ ได้ยินว่าคนชรามีแนวโน้มที่จะป่วยหนัก พวกเขาอาจกังวลเกี่ยวกับปู่ย่าตายาย การให้พวกเขาโทรศัพท์หรือ video call กับญาติที่มีอายุมาก สามารถช่วยให้พวกเขารู้สึกมั่นใจมากขึ้น

  • บอกลูกว่าเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเครียดในบางครั้ง

เราทุกคนเป็นแบบนั้น การรับรู้ถึงความรู้สึกเหล่านี้และรู้ว่าช่วงเวลานี้อาจจะผ่านไปอย่างตึงเครียด แต่ทุกอย่างจะกลับคืนสู่ภาวะปกติในที่สุด สามารถช่วยให้เด็กมีความรู้สึกคลายใจลงได้

เด็ก ๆ สมัยนี้เข้าถึงสื่อได้มากขึ้น การที่คุณพ่อคุณแม่คอยคัดกรองข้อมูลและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่เขา พร้อมทั้งสอนเขาถึงวิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันเชื้อโรค เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยลดความกังวลของลูกไปได้ และจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้คุณพ่อคุณแม่ด้วยเช่นกัน


 

บทความแคร์แม่และเด็ก

แคร์แม่และเด็ก

ความสามารถพิเศษที่ควรให้ลูกมีติดตัวไว้ เพราะอาจได้ใช้และต่อยอดได้ในระยะยาว

ความสามารถพิเศษ สิ่งที่เราต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าหากมีติดตัวเอาไว้ย่อมเป็นผลดีมากกว่าไม่มี
Nok Srihong
25/03/2024

แคร์แม่และเด็ก

ผ่าคลอด มีข้อดีอย่างไร ? ปลอดภัยกว่าคลอดธรรมชาติหรือไม่ ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ?

สำหรับว่าที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ จะผ่าคลอดหรือคลอดธรรมชาติคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องตัดสินใจ ว่าจะผ่าคลอดดีหรือไม่ การผ่าคลอดปลอดภัยกว่าคลอดธรรมชาติไหม
Nok Srihong
12/03/2024