แคร์การเงิน

กลัวมรดกไม่ถึงมือคนที่รัก พินัยกรรมช่วยได้นะ!

ผู้เขียน : คะน้าใบเขียว

นักเขียนรุ่นไฮบริด เขียนบทความด้านการบริหารเงินส่วนบุคคลและการลงทุนต่าง ๆ กว่า 7 ปี เริ่มต้นที่งานเขียนที่ Rabbit Finance จนย้ายมาที่ Rabbit Care

close
Published June 10, 2022

การเขียนพินัยกรรม หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะไม่ได้มีทรัพย์สินครอบครองมากมาย หรืออาจมีลูกหลานแค่ไม่กี่คน จึงไม่แปลกที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป แต่รู้หรือไม่ การทำไว้ให้คนที่อยู่ข้างหลังนั้นดีกว่าที่คิด และไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่บางคนเข้าใจ! 

พินัยกรรมคืออะไร? ทำไมการเขียนพินัยกรรมถึงมีข้อดีมากกว่าไม่ทำ? ถ้าอยากเริ่มต้นการเขียนพินัยกรรมบ้าง จะต้องทำอย่างไร? ถ้าเรามีคู่รักเป็นเพศเดียวกัน สามารถยกทรัพย์สินให้คู่ครองของตนได้หรือเปล่า? ตาม แรบบิท แคร์ ไปดูวิธีกันเลยดีกว่า!

รู้จักกันให้มากขึ้นกับพินัยกรรมคืออะไรกันแน่?

หากให้อธิบายง่าย ๆ พินัยกรรมคือถ้อยคำแถลงครั้งสุดท้ายของผู้ตายที่แสดงถึงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน หรือกิจการต่าง ๆ เพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมาย และทุกการเขียนจะต้องถูกต้อง เป็นไปตามหลักกฎหมาย และสามารถเขียนระบุยกทรัพย์สินให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมได้!

เบื้องต้นการทางกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า ผู้ทำจะต้องมีอายุครบ 15 ปีขึ้นไป และต้องเป็นบุคคลที่ศาลไม่ได้มีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็นโมฆะ

โดยพินัยกรรมได้กำหนดรูปแบบไว้ตามกฎหมาย 6 แบบ ดังนี้

  • แบบธรรมดา 

เป็นการทำพินัยกรรมด้วยการพิมพ์ข้อความลงในกระดาษ นอกจากเซ็นลงรับรองลายมือแล้ว ควรลงรายละเอียด วัน/เดือน/ปี ที่ทำให้ชัดเจน พร้อมพยานอย่างน้อย 2 คน และลายเซ็นรับรองขณะทำด้วย

  • แบบเขียนเองทั้งฉบับ

เป็นพินัยกรรมที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีพยานมาลงลายเซ็นรับรอง แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเขียนด้วยลายมือตนเอง พร้อมลายเซ็นของตน และ วัน/เดือน/ปี ที่ทำให้ชัดเจน

  • แบบเอกสารฝ่ายเมือง 

เป็นพินัยกรรมที่ต้องอาศัยกระบวนการโดยเฉพาะที่มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยผู้ทำต้องไปแจ้งความประสงค์กับเจ้าพนักงานที่เขตหรืออำเภอพร้อมพยานอย่างน้อย 2 คน ก่อนลงลายมือชื่อ และ วัน/เดือน/ปี ที่ทำ พร้อมประทับตราตำแหน่ง

  • แบบเอกสารลับ 

ขั้นตอนเริ่มต้นเหมือนการทำพินัยกรรมแบบธรรมดา แต่จะแตกต่างที่เมื่อทำแล้วเสร็จแล้วให้ปิดผนึก และนำไปที่ที่ทำการอำเภอหรือเขต เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ฯ บันทึกถ้อยคำลง วัน/เดือน/ปี ที่ทำพินัยกรรมแสดงไว้บนซอง ก่อนประทับตราตำแหน่งไว้

  • แบบทำด้วยวาจา 

กรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินทำให้ไม่สามารถทำพินัยกรรมได้ตามที่กล่าวมา เราสามารถทำพินัยกรรมด้วยวาจาก็ได้ โดยผู้ทำต้องแสดงเจตนาต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน จากนั้นแจ้งต่อทางราชการ เรื่องถ้อยคำ พร้อมระบุ วัน/เดือน/ปี สถานที่ทำ รวมถึงอธิบายสถานการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถทำได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด โดยจะหมดอายุภายใน 1 เดือน

  • แบบทำตามกฎหมายต่างประเทศ 

ในกรณที่อยู่ต่างประเทศ ผู้ทำมีสิทธิเลือกได้ว่าจะทำตามฎหมายประเทศที่ตนอยู่ หรือยึดตามกฎหมายไทยก็ได้เช่นกัน

พินัยกรรมไม่จำเป็นต้องเขียนเรื่องมรดกสมอไป!

รู้หรือไม่! บางครั้งการทำพินัยกรรมไม่จำเป็นจะต้องพูดถึงเรื่องทรัพย์สิน หรือเรื่อง เงิน ๆ ทอง ๆ เสมอไปอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่สามารถใช้เพื่อแจ้งเจตนาต่าง ๆ ของผู้ทำได้อีกด้วย! โดยผู้ทำสามารถแสดงเจตนาดังต่อไปนี้ไว้ได้

  • เรื่องทรัพย์สิน เป็นการแสดงเจนาต่าง ๆ ของผู้ทำว่าต้องการยกทรัพย์สินหรือประโยชน์ให้กับใครบ้าง โดยการยกทรัพย์สินหรือยกมรดกให้นั้นจะต้องแค่ของตนเท่านั้น ไม่สามารถยกทรัพย์สินผู้อื่นให้ได้ เช่น สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ของร้านค้าที่ตนเป็นเจ้าของ เป็นต้น
  • เรื่องกำหนดการอื่น ๆ ผู้ทำสามารถแจ้งความต้องการ หรือระบุเรื่องอื่น ๆ ไว้ได้เช่นกัน เช่น เรื่องการจัดงานศพของตน, ระบุบริจาคร่างกายของตนให้แก่โรงพยาบาล หรือกำหนดวันเวลาที่ต้องการให้แบ่งทรัพย์สิน เป็นต้น

โดยพินัยกรรมจะแตกต่างจาก หนังสือแสดงเจตนา (Living will) ตรงที่พินัยกรรมเป็นการแจ้งเจตนาสุดท้ายของผู้ทำ หรืออธิบายง่าย ๆ ต้องเป็นเรื่องหลังจากที่ผู้ทำเสียชีวิตไปแล้วนั่นเอง 

ส่วน หนังสือแสดงเจตนา คือ การแจ้งเจตนาไว้ล่วงหน้าว่าไม่ต้องการรับการรักษาเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน เช่น ระบุไว้ว่าหากล้มป่วยจนกลายเป็น เจ้าชายหรือเจ้าหญิงนิทรา ไม่ต้องยื้อปั๊มหัวใจ หรือไม่ต้องการรักษาเมื่อเกิดป่วยจนต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ให้รักษาแบบประคองอาการและจากไปอย่างสงบแทน เป็นต้น 

ซึ่งข้อดีของการทำ หนังสือแสดงเจตนา และ พินัยกรรม เอาไว้ ถือว่าเป็นการแสดงความรอบคอบอย่างหนึ่ง นอกจากจะช่วยวางแผนชีวิตต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังช่วยให้คุณจัดการเรื่องยุ่งยากต่าง ๆ ที่อาจตามมาภายหลังได้เป็นอย่างดี ซ้ำยังลดภาระให้กับคนที่คุณรักได้อีกทางด้วย เรียกได้ว่าจัดเตรียมก่อนเอาไว้ก็ไม่เสียหาย

อยากเขียนพินัยกรรม เริ่มต้นยังไงกันนะ!?

สำหรับใครที่ไม่รู้จะเริ่มต้นการเขียนพินัยกรรมอย่างไรดี วันนี้ แรบบิท แคร์ ก็มีไกด์ไลน์ง่าย ๆ และเป็นรูปแบบที่นิยมเขียนกันมักจะเป็นพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ เนื่องจากไม่ต้องใช้พยานมาเซ็นรับรอง สามารถเขียนเองได้เลย ซึ่งภายในจะมีหัวข้อหลัก ๆ ที่ต้องระบุเอาไว้ ดังนี้  

  • ชื่อพินัยกรรม
  • สถานที่ทำพินัยกรรม
  • วัน/เดือน/ปี ที่ทำพินัยกรรม
  • ชื่อ-นามสกุล และอายุของผู้ทำ (ต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไป)
  • ที่อยู่ของผู้ทำ
  • ข้อความว่าชี้แจงทรัพย์สิน และมรดกที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • รายชื่อผู้ที่จะได้รับมรดก ซึ่งในกรณีที่แต่งงานแล้ว จะต้องแยกสินส่วนตัวออกจากสินสมรสด้วย
  • ข้อความรับรองว่าพินัยกรรมทั้งหมดเป็นความจริง และผู้เขียนมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีทุกประการ
  • ลงชื่อผู้ทำพินัยกรรม

นอกจากนี้ สามารถระบุผู้ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกที่เจ้ามรดกไว้ใจลงในพินัยกรรมได้เลย และในกรณีที่มีพยานรับรอง มีเงื่อนไขว่า ผู้เป็นพยานจะต้องไม่เป็นผู้เยาว์ ผู้หย่อนความสามารถ และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในมรดก นอกจากนี้ยังสามารถระบุชื่อผู้อื่นที่ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมได้

ส่วนเงินประกันชีวิต, เงินบำเหน็จตกทอด, เงินมีบำนาญตกทอด และเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ตกทอด จะไม่ถูกเป็นมรดกที่ระบุลงในพินัยกรรมได้ เพราะไม่ใช่ทรัพย์ที่เจ้ามรดกมีอยู่ก่อนตายนั่นเอง

ตัวอย่าง

คุณแคร์ป่วยหนักต้องผ่าตัดใหญ่ที่เสี่ยงถึงชีวิต และด้วยความที่ไม่สะดวก ทำให้คุณแคร์ได้บันทึกคลิปเสียงเพื่อจัดแจงทรัพย์สินให้กับคู่รักเพศเดียวกัน โดยมีเพื่อนสนิทอย่างคุณใส่ใจและทนายอย่างคุณห่วงใยรับทราบตลอดการอัดเสียงบันทึก 

หลังจากการบันทึกเสียง คุณใส่ใจและทนายของคุณแคร์จะต้องนำเรื่องไปแจ้งกับเจ้าหน้าที่ฯโดยทันที แต่ภายหลังคุณแคร์ปลอดภัยจากการผ่าตัดรักษา หากต้องการทำพินัยกรรมใหม่ คุณแคร์จะต้องรอพินัยกรรมเดิมหมดอายุเสียก่อนจึงจะทำฉบับใหม่ได้

หลังจากผ่านไป 1 เดือน คุณแคร์จึงเริ่มใหม่ด้วยการเขียนเองทั้งฉบับ โดยต้องแบ่งทรัพย์สินเป็น 2 ส่วน คือ

  • ส่วนที่ยกให้คนรัก ควรเขียนในลักษณะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม หรือหุ้นส่วนชีวิต
  • ส่วนที่ต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายมรดก

เนื่องจากคู่รักเพศเดียวกันในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมที่รับรองการแต่งงาน ทำให้ไม่ถูกนับเป็นคู่สมรส หรือทายาทโดยธรรมที่สามารถรับมรดกได้นั่นเอง ซึ่งหลักการนี้สามารถนำไปใช้กับกรณีที่ต้องการยกทรัพย์สินให้เพื่อน  หรือคู่ชีวิตที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็ได้เช่นกัน

และหากคุณแคร์กังวลว่าทรัพย์สินที่ต้องแบ่งนั้นอาจไม่เพียงพอ หรือทรัพย์สินหลงเหลือถึงมือคนรักน้อย คุณแคร์อาจเลือกทำประกันชีวิต หรือประกันออมทรัพย์ โดยระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็นชื่อคนรักของคุณแคร์ได้ เพียงแค่แสดงเอกสารหรือทำหนังสือรับรองความสัมพันธ์ระหว่างผู้เอาประกันและผู้รับประโยชน์ให้กับบริษัทฯ ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เช่นกัน

จริงอยู่ที่เงินประกันชีวิตไม่สามารถระบุเป็นมรดกได้ แต่หากระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ที่ได้จากการทำประกันชีวิตไว้ เงินก้อนจากประกันเหล่านั้นจะถูกส่งถึงมือคนที่คุณรักทันทีโดยที่ไม่ต้องทำพินัยกรรม เป็นการทิ้งมรดกไว้ให้คนที่คุณรักทันที โดยไม่ต้องแบ่งเป็นให้กับญาติคนอื่น

จะเห็นได้ว่า การทำพินัยกรรมนั่นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด และสามารถเริ่มต้นทำได้เองตั้งแต่อายุยังน้อย นอกจากนี้การทำประกันชีวิตออนไลน์เอง ก็นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งหนทางที่ช่วยให้คุณสร้างมรดก สร้างพินัยกรรมได้อีกหนทาง และเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจมาก ๆ !

สำหรับใครที่กำลังมองหา ประกันชีวิตออนไลน์ที่ทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ต้องที่นี้ คลิกเลย กับ แรบบิท แคร์ !

เพราะที่ แรบบิท แคร์ เราแคร์ และใส่ใจคุณ มากกว่าใคร นอกจากบริการให้คำปรึกษาก่อนการทำ และบรริการหลังการขายที่แคร์ และใส่ใจคุณแล้ว ยังมีประกันหลากหลายรูปแบบให้คุณได้เลือก ทั้งเบี้ยประกันที่จับต้องได้ ความคุ้มครองที่หลากหลาย ครอบคลุม เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกทําประกันชีวิตให้ตัวเอง หรือเลือกทำประกันสุขภาพให้กับคนที่คุณรัก ที่นี้ก็มีครบครัน และพร้อมให้บริการไม่ว่าคุณจำเป็นใคร!


บทความแคร์การเงิน

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
Thirakan T
11/04/2024