
บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร หรือจะต่างกับการขอสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถจากธนาคารอย่างไร วันนี้ แรบบิท แคร์ จึงนำรายละเอียดทั้งหมดมาฝากกัน
ไฟแนนซ์ คืออะไร? ไฟแนนซ์ คือ สินเชื่อ หรือเงินกู้ชนิดหนึ่งที่สถาบันการเงิน จัดทำให้ลูกค้า โดยสถาบันการเงินผู้ให้กู้อาจจะใช่หรือไม่ใช่ธนาคารก็เป็นได้ ซึ่งการจัดไฟแนนซ์ สามารถทำได้ง่าย และอนุมัติได้รวดเร็วกว่าการขอสินเชื่อจากธนาคาร โดยสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับจากการจัดไฟแนนซ์ ก็คือ สินเชื่อบ้าน รถ สังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ และจะได้รับวงเงินที่แน่นอน ในอัตราดอกเบี้ยที่มีทั้งแบบคงที่และไม่คงที่
หากเป็นการขอสินเชื่อรถยนต์ หรือที่เรียกกันว่า จัดไฟแนนซ์รถ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
แต่การขอไฟแนนซ์จากสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ก็มีข้อควรระวัง และมีความเสี่ยงในหลายด้าน ซึ่งผู้ขอสินเชื่อจะต้องตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ให้ดี ทั้งในเรื่องของค่าธรรมเนียม และตรวจสอบสัญญาก่อนจะขอสินเชื่อ ซึ่งการขอไฟแนนซ์ที่นิยมกันก็จะมีทั้งสินเชื่อบ้าน และสินเชื่อรถ ซึ่งแรบบิท แคร์ จะพาทุกคนมาดูกันว่า การขอสินเชื่อรถ และสินเชื่อบ้าน มีขั้นตอนอย่างไร และมีรายละเอียดส่วนใดที่ต้องทำความเข้าใจบ้าง
ก่อนจะเริ่มจัดไฟแนนซ์รถยนต์ สำหรับผู้ที่ต้องการขอสินเชื่อรถยนต์ เพื่อซื้อรถคันใหม่ ควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
สำหรับขั้นตอนการจัดไฟแนนซ์รถ เพื่อซื้อรถยนต์ มีขั้นตอนดังนี้
การจะได้รับอนุมัติไฟแนนซ์หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ ทั้งในด้านอาชีพการงาน ความมั่นคงและสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งอาชีพที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสถาบันการเงินที่ขอสินเชื่อได้ ส่วนใหญ่แล้วจะประกอบไปด้วย พนักงานประจำ ข้าราชการ หรือผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนคงที่ แต่หากเป็นอาชีพส่วนตัว เช่น เจ้าของธุรกิจ ค้าขาย ฟรีแลนซ์ หรือผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน ก็จะต้องมีเอกสารทางการเงินมายืนยันรายรับ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสถาบันการเงินผู้ปล่อยสินเชื่อ
ภาระทางการเงิน ก็เป็นอีกองค์ประกอบที่บริษัทไฟแนนซ์จะนำมาพิจารณาอนุมัติการขอสินเชื่อ แม้ว่าจะมีรายได้ที่มั่นคง แน่นอน แต่หากมีภาระหนี้สินมากมาย ก็จะทำให้ได้รับการอนุมัติยากขึ้น
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่า หากต้องการซื้อรถยนต์สักคัน ควรจะเลือกผ่อนกับธนาคาร หรือผ่อนกับไฟแนนซ์ดี แบบไหนจะคุ้มค่ามากกว่า
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือบริษัทไฟแนนซ์ ก็ล้วนแล้วแต่มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป
หากเลือกจัดไฟแนนซ์กับบริษัทไฟแนนซ์ จะอนุมัติง่ายกว่าธนาคาร และหากผ่อนระยะสั้น ก็จะมีอัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงกับธนาคาร หรือสูงกว่าเล็กน้อย แต่หากผ่อนระยะยาว ดอกเบี้ยจะเป็นอัตราคงที่ ซึ่งนับว่าค่อนข้างแพงเลยทีเดียว
แต่หากเลือกผ่อนกับธนาคาร จะเป็นการผ่อนแบบลดต้นลดดอก ซึ่งหากมีเงินต้นมาโปะ ก็จะทำให้ดอกเบี้ยถูกลง เช่น ปกติแล้วมียอดผ่อนต่อเดือน 8,500 บาท แต่หากมีเงินมาโปะเพิ่มอีกเดือนละ 1,000 บาท ก็จะช่วยให้ดอกเบี้ยถูกลงได้ แต่ก็มีข้อเสีย คือ ธนาคารจะอนุมัติวงเงินต่ำ และยากกว่าบริษัทไฟแนนซ์
รีไฟแนนซ์ คืออะไร? การรีไฟแนนซ์ (Refinance) ก็คือการกู้เงินจากสถาบันการเงินใหม่ หรือขอสินเชื่อจากธนาคารใหม่ เพื่อนำเงินมาโปะหนี้กับธนาคารเดิม เพื่อให้ผู้ที่กำลังผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือผ่อนบัตรเครดิต ชำระค่างวดต่อไปได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง ขยายระยะเวลาผ่อนให้นานขึ้น มีเงินหมุนเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น โดยที่ยังคงผ่อนค่างวดกับสถาบันการเงินได้เหมือนเดิม ซึ่งช่วยลดความตึงเครียด ลดภาระหนี้ในการผ่อน รวมทั้งเพิ่มระยะเวลาในการหาเงินมาผ่อนค่างวดต่อไปได้
การรีไฟแนนซ์ จะแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
อย่างที่ทราบกันไปแล้วว่า การ Refinance บ้าน คือ การขอสินเชื่อกับธนาคารใหม่ เพื่อนำไปปิดหนี้กับธนาคารเดิม โดยผู้ขอสินเชื่อจะต้องเลือกสถาบันการเงินที่ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำลง เพื่อลดภาระค่าผ่อนต่อเดือน และช่วยให้ผ่อนบ้านหมดไวขึ้น ซึ่งสามารถ Refinance กับธนาคารใหม่ หรือเลือก Refinance กับธนาคารเดิมก็ได้เช่นกัน หากเป็นธนาคารเดิม เราจะเรียกวิธีการนี้ว่า Retention ซึ่งจะมีข้อดีคือขั้นตอนไม่ยุ่งยาก อนุมัติไว และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแค่ในส่วนของค่าธรรมเนียมสินเชื่อ 1-2% ของวงเงินกู้ แต่ก็มีข้อเสีย คือ อัตราดอกเบี้ยจะลดลงไปไม่มาก โดยผู้ขอ Refinance จะต้องเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารแห่งใหม่ ว่ามีความคุ้มค่ามากกว่าการ Refinance กับธนาคารเดิมหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ธนาคารใหม่จะเสนอดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าธนาคารเดิม
ขั้นตอนต่อมาที่ต้องทำ ก็คือ ตรวจสอบสัญญาการ Refinance เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วธนาคารจะอนุมัติให้ Refinance ก็ต่อเมื่อผ่อนบ้านมาในระยะเวลาเกินกว่า 3 ปี แต่หากต้องการ Refinance ก่อน ก็จะต้องชำระค่าปรับเพิ่มเติมให้กับธนาคาร ทั้งยังจะต้องตรวจสอบยอดหนี้คงเหลือกับธนาคารเดิม เพื่อนำมาพิจารณาข้อเสนอ Refinance กับทั้งธนาคารเดิมและธนาคารใหม่ โดยจะต้องพิจารณาร่วมกันทั้งอัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาในการผ่อนชำระ เพื่อให้การ Refinance คุ้มค่ามากที่สุด
ขั้นตอนต่อมา คือ การเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอสินเชื่อใหม่ ซึ่งอาจจะต้องใช้เอกสารจำนวนมาก เพราะการ Refinance เปรียบเหมือนการยื่นกู้ขอซื้อบ้านใหม่อีกครั้งเลยก็ว่าได้ จากนั้น ธนาคารที่รับเรื่องขอสินเชื่อจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาประเมินราคาหลักประกันเพื่อประกอบการอนุมัติต่อไป หากธนาคารใหม่อนุมัติแล้ว จะมีการติดต่อกับธนาคารเดิมเพื่อสอบถามยอดหนี้คงเหลือ และนัดวันไถ่ถอน
หากสินเชื่อได้รับการอนุมัติ ขั้นตอนต่อไปผู้กู้จะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการดำเนินการ จากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนสุดท้าย นั่นก็คือการทำสัญญาและจดจำนอง ซึ่งจะต้องเดินทางไปเซ็นเอกสาร ณ กรมที่ดิน จึงจะเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมด
สำหรับข้อดี ข้อเสียของการ Refinance บ้านและรถยนต์ ส่วนใหญ่แล้วจะคล้ายคลึงกัน โดยจะมีข้อดี คือ ช่วยขยายระยะเวลาการผ่อนให้นานขึ้น ลดภาระค่าผ่อนต่อเดือน ได้ดอกเบี้ยที่ถูกลง ช่วยให้การชำระหนี้ยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ก็มีข้อเสียคือ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียม และค่าปรับต่าง ๆ สำหรับการ Refinance อีกทั้งการ Refinance รถ จะต่างจาก Refinance บ้านตรงที่ ราคาสินทรัพย์ในส่วนของรถยนต์จะถูกลงเรื่อย ๆ ต่างจากราคาบ้าน ที่มีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกวัน ดังนั้น การ Refinance รถ และยืดระยะเวลาการผ่อนให้นานขึ้น จึงอาจไม่คุ้มค่าเท่ากับการ Refinance บ้าน
สำหรับใครที่กำลังมองหาสินเชื่อจากธนาคารเพื่อรีไฟแนนซ์บ้าน สินเชื่อ UOB รีไฟแนนซ์ นับว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ เฉลี่ย 2 ปีแรก เพียง 2.85% ต่อปี ช่วยให้คุณผ่อนสบายขึ้น จ่ายค่างวดลดลง อนุมัติไวใน 3 วัน กู้เพิ่มง่าย ขอสินเชื่อง่าย ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก รับเอกสารได้ที่บ้าน
ไฟแนนซ์ คือ สินเชื่อหรือเงินกู้ชนิดหนึ่งที่สถาบันการเงิน จัดทำให้ลูกค้า โดยสถาบันการเงินที่อาจจะใช่หรือไม่ใช่ธนาคารก็เป็นได้ การรีไฟแนนซ์ จะแบ่งเป็น 3 ประเภท รีไฟแนนซ์บ้าน, รีไฟแนนซ์รถ, รีไฟแนนซ์บัตรเครดิต โดยจะมีข้อดี คือ ช่วยขยายระยะเวลาการผ่อนให้นานขึ้น ลดภาระค่าผ่อนต่อเดือนให้น้อยลง ได้ดอกเบี้ยที่ถูกลง ช่วยให้การชำระหนี้ยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ก็มีข้อเสียคือ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียม และค่าปรับต่าง ๆ
Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology
บทความแคร์การเงิน
บัตรเครดิตเติมน้ำมัน (Fleet Card) คืออะไร ? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร ?
ผ่อนบอลลูน คือ อะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เหมาะสมกับใครมากที่สุด
ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน