Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้

🎵 โค้งสุดท้าย!! แจกฟรีหูฟัง Apple Airpods Gen 3 และ Rabbit Voucher มูลค่ารวม 12,790 บาท แค่สมัครบัตรฯ UOB ผ่าน Rabbit Care คลิก! 💳

เปรียบเทียบบัตรเครดิต ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

แลกเปลี่ยนเงินตรา
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Nov 10, 2023

อัตราแลกเปลี่ยน ดูยังไง? สำคัญอย่างไร?

“อัตราแลกเปลี่ยน” อาจดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลายคน แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วอัตราแลกเงินตราระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือเชิงลบแก่พวกเราทุกคนได้ แม้ว่าจะเป็นเพียงประชาชนทั่วไปก็ตาม วันนี้ แรบบิท แคร์ รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วว่าทำไม “ค่าเงิน” ถึงส่งผลกระทบกับเราทุกคนได้

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา คืออะไร?

การแลกเปลี่ยนสกุลเงิน หมายถึง กระบวนการแปลงสกุลเงินหนึ่งเป็นอีกสกุลเงินหนึ่งตามอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นอยู่ มีบทบาทสำคัญในการค้าระหว่างประเทศ การเดินทาง และระบบการเงินการธนาคาร ยกตัวอย่างเช่นเมื่อต้องทำธุรกรรมข้ามประเทศ มักจะต้องแปลงสกุลเงินท้องถิ่นเป็นสกุลเงินต่างประเทศที่ประเทศปลายทางยอมรับนั่นเอง

อธิบายอย่างง่าย ๆ คือ อัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate) หมายถึง ‘ราคา’ ของเงินสกุลหนึ่งเทียบกับเงินสกุลอื่น ตัวอย่างเช่น อัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ที่ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับว่า เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะแลกเงินบาทได้ 30 บาท ในขณะที่เงิน 1 บาท จะแลกเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ 0.04 ดอลลาร์สหรัฐฯ นั่นเอง

ใครเป็นผู้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน?

ค่าเงินสกุลต่าง ๆ เปรียบเสมือนสินค้าชนิดหนึ่งที่ราคาถูกกำหนดโดยกลไกตลาด ประกอบด้วยความต้องการซื้อ (อุปสงค์) และความต้องการขาย (อุปทาน) จากผู้นำเข้าส่งออก สถาบันการเงิน นักลงทุนต่างชาติ และกองทุนต่าง ๆ ที่ต้องการใช้เงินสกลุต่าง ๆ เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศ เก็งกำไร หรือธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยมีการซื้อขายกันตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก ซึ่งส่งผ่านมาเป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่บุคคลทั่วซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนเงินสกุลต่าง ๆ แบบรายวันกับธนาคารพาณิชย์หรือผู้ให้บริการแลกเงินนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand) หรือ ธปท. มีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศของประเทศไทย โดยใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (managed float) ทั้งนี้ ค่าเงินบาทถูกกำหนดโดยกลไกตลาด โดย ธปท. จะเข้ามาดูแลในกรณีที่ค่าเงินบาทผันผวนมากเกินไป

ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน?

  • กลไกตลาด (ความต้องการซื้อ และความต้องการขาย)
  • ภาวะเศรษฐกิจโลก
  • การคาดการณ์และการเก็งกำไร
  • อัตราดอกเบี้ย
  • เงินเฝ้อ
  • ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในประเทศ
  • นโยบายการเงิน และการคลัง
  • เสถียรภาพทางการเงินในประเทศ และต่างประเทศ
  • ปัจจัยทางเทคนิค
  • จิตวิทยาตลาดและข่าวลือต่าง ๆ

อัตราแลกเปลี่ยน ดูยังไง?

วิธีดูเรทแลกเงินสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อหรือขายสกุลเงินต่างประเทศ สามารถสังเกตได้จากราคาซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศทีติดประกาศ ณ สถาบันนั้น ๆ ประกอบด้วย 'Buying'หรือ ราคารับซื้อ กรณีที่ต้องการนำเงินสกุลต่างประเทศแลกเป็นเงินบาท และ 'Selling' หรือ ราคาขาย กรณีที่ต้องการนำเงินบาทแลกเป็นเงินสกุลต่างประเทศ

ทั้งนี้ สามารถคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองโดยการคำนวณเบื้องต้น ดังนี้ โดยหากเป็นเงินบาท ต้องการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ ให้นำอัตราแลกเปลี่ยนไป “หาร” ในขณะที่หากเป็นเงินต่างประเทศ ต้องการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท ให้นำอัตราแลกเปลี่ยนไป “คูณ” ตัวอย่างเช่น

- กรณีนำเงินบาท แลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ


5,000 บาท (สกุลเงินบาท) ÷ 0.2531 (ราคาขาย สกุลเงินเยน) จะได้รับเงิน 19,755.03 เยน

- กรณีนำเงินต่างประเทศ แลกเปลี่ยนเงินบาท


5,000 เยน (สกุลเงินเยน) × 0.2431 (ราคาซื้อ สกุลเงินเยน) จะได้รับเงิน 1,215.5 บาท

ดูอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ที่ไหนบ้าง?

สามารถเช็กอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Rate) ในรูปแบบอัตราแลกเปลี่ยนประจำวัน หรือย้อนหลังทั้ง 2 แบบ ได้แก่ 1) เงินสกุลท้องถิ่น และ 2) สกุลต่างประเทศ ได้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ สถาบันทางการเงิน หรือผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งอาจมีอัตราซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศที่แตกต่างกันออกไปตามเงื่อนไขและรายละเอียดการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศของแต่ละสถาบัน

ค่าเงินแข็งค่า หรืออ่อนค่า หมายความว่าอะไร?

เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนมีการซื้อขายต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง และมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างต่อเนื่องตามสถานการณ์สำคัญต่าง ๆ รวมถึงหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องในแต่ละวัน ส่งผลทำให้สกลุเงินใดสกลุเงินหนึ่งอาจมีความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น หรือน้อยลง ซึ่งอาจเรียกลักษณะดังกล่าวได้ในชื่อ “ค่าเงินแข็งค่า” หรือ “ค่าเงินอ่อนค่า”

ตัวอย่างกรณี “เงินบาทแข็งค่า” หมายความว่า มีความต้องการเงินบาทมากขึ้น ทำให้ราคาของเงินบาทสูงขึ้น หรือมีราคาแพงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น เงินบาทแข็งค่าขึ้นจาก 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

ในขณะที่ “เงินบาทอ่อนค่า” หมายความว่า มีความต้องการเงินบาทน้อยลง ทำให้ราคาของเงินบาทปรับลดลง หรือมีราคาถูกลงเมื่อเทียบกันเงินสกุลอื่น เช่น เงินบาทอ่อนค่าลงจาก 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ นั่นเอง

ค่าเงินเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบกับใครบ้าง?

อัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เช่น ธุรกิจนำเข้าหรือส่งออกสินค้าและบริการ นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปต่างประเทศ หรือแม้กระทั่งประชาชนทั่วไปที่ต้องบริโภคหรืออุปโภคสินค้าและบริการที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นแล้ว การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนย่อมมีผู้ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์เสมอ มีรายละเอียดผู้ได้รับประโยชน์ ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนจากกรณีเงินบาทแข็งค่า และเงินบาทอ่อนค่า ดังต่อไปนี้

- นักท่องเที่ยว


  • แลกสกุลเงินตราต่างประเทศด้วยเงินบาทได้มากขึ้น และซื้อสินค้าในต่างประเทศได้ถูกลง เมื่อเงินบาทแข็งค่า
  • แลกสกุลเงินตราต่างประเทศด้วยเงินบาทได้น้อยลง และซื้อสินค้าในต่างประเทศแพงขึ้น เมื่อเงินบาทอ่อนค่า

- ประชาชนทั่วไป


  • สินค้านำเข้ามีราคาถูกลง เมื่อเงินบาทแข็งค่า
  • สินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้น เมื่อเงินบาทอ่อนค่า

- ผู้ที่ทำงานต่างประเทศ


  • แลกสกุลเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทได้น้อยลง เมื่อเงินบาทแข็งค่า
  • แลกสกุลเงินตราต่างประเทศเป็นเงินบาทได้เพิ่มขึ้น เมื่อเงินบาทอ่อนค่า

- บริษัทนำเข้า


  • สินค้านำเข้ามีราคาถูกลง เมื่อเงินบาทแข็งค่า
  • สินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้น เมื่อเงินบาทอ่อนค่า

- บริษัทส่งออก


  • เงินที่ได้รับจากคู่ค้าต่างประเทศ มีมูลค่าลดลง เมื่อเงินบาทแข็งค่า
  • เงินที่ได้รับจากคู่ค้าต่างประเทศ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เมื่อเงินบาทอ่อนค่า

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราอาจดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลาย ๆ คน แต่แท้จริงแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความผันผวนของค่าเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศย่อมส่งผลกระทบในทางบวกหรือทางลบให้กับทุกคนไม่ต่างกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน เป็นเรื่องที่ทุกคนควรศึกษาไว้ เพื่อเตรียมปรับตัวหรือรับมือกับสภาพเศรษฐกิจไม่แน่นอนดังเช่นในปัจจุบัน และถ้าใครที่กำลังมองหาว่า แลกเงินต่างประเทศที่ไหนดี ก็มีหลายสถานที่ให้เลือกสรรด้วย

บัตรเครดิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

บัตรเครดิต วีซ่า แพลทินัมบัตรเครดิต วีซ่า แพลทินัม

ธ. กรุงเทพ / วีซ่า

  • รับคะแนนสะสม ทุก 25 บาท ใช้จ่ายใน-นอกประเทศ
  • สะสมไมล์เดินทาง ด้วยคะแนนจากบัตร
  • คุ้มครองอุบัติเหตุ เดินทางทั้งในและต่างประเทศ
  • ช่วยเหลือรถยนต์ฉุกเฉิน ครอบคลุม 24 ชม.
  • ช่วยเหลือซ่อมฉุกเฉินในบ้าน เขต กทม.-ปริมณฑล
  • บริการผู้ช่วยส่วนตัว จองบริการทุกที่ทุกเวลา
บัตรเครดิต ยูเนี่ยนเพย์ แพลทินัมบัตรเครดิต ยูเนี่ยนเพย์ แพลทินัม

ธ. กรุงเทพ / ยูเนี่ยนเพย์

  • ทุกการใช้จ่าย 25 บาท รับ 1 คะแนน แลกได้เร็ว
  • แลกไมล์ง่าย ๆ จากคะแนนสะสม ทั้งไทย-บางกอกแอร์
  • รับความคุ้มครองอุบัติเหตุ สูงสุด $500,000
  • ประกันกระเป๋าล่าช้า คุ้มครองสูงสุด $200
  • คุ้มครองความเสียหายกระเป๋าเดินทาง สูงสุด $200
  • บริการเลขาส่วนตัว จองทุกบริการ ครบครันตลอดวัน
บัตรเครดิตยูโอบี รอยัล ออร์คิด พลัสบัตรเครดิตยูโอบี รอยัล ออร์คิด พลัส

ธ. ยูโอบี / มาสเตอร์การ์ด

  • ทุกการใช้จ่าย 20 บาท รับ 1 คะแนนยูโอบี
  • บริการ Royal Silk Lounge ฟรี 2 ครั้ง/ปี
  • รับสิทธิ์ใช้รถลีมูซีน เมื่อซื้อบัตรโดยสารต่างประเทศ
  • รับเพิ่ม 20% ไมล์สะสมจากการใช้จ่ายบัตรยูโอบี
  • รับสิทธิ์บัตรหนังราคาพิเศษ 69 บาท/ที่นั่ง
  • รับสิทธิ์ช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 2 ครั้ง/ปี
บัตรเครดิต เคทีซี เจซีบี อัลติเมทบัตรเครดิต เคทีซี เจซีบี อัลติเมท

เคทีซี / เจซีบี

  • คะแนนต่างประเทศ x2 ไม่มีวันหมดอายุ
  • ห้องรับรอง MIRACLE LOUNGE 2 ครั้ง/ปี สำหรับสมาชิก KTC
  • ใช้บริการห้องรับรองสนามบินในหลายประเทศ รวมญี่ปุ่น
  • ประกันอุบัติเหตุ KTC สูงสุด 300,000 บาท
  • ชำระ 0% สูงสุด 10 เดือน ง่ายผ่าน KTC
  • คะแนน KTC FOREVER ทุก 25 บาท ใช้แลกสินค้า

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา