Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้

เปรียบเทียบสินเชื่อ ง่าย ๆ ภายใน 30 วินาที กับ

Rabbit Care

วิธีคิดดอกเบี้ย
user profile image
เขียนโดยPaweennuch W.วันที่เผยแพร่: Mar 15, 2022

การคิดดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด คิดอย่างไร มีกี่แบบ?

บัตรกดเงินสดถือเป็น “เงินกู้” ประเภทสินเชื่อหมุนเวียนแบบไม่มีหลักประกัน ใช้กดเงินสดออกมาใช้จ่ายได้ทันที โดยมีดอกเบี้ยคิดตามยอดที่เบิก ที่เขาเรียกกันว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ นั่นเอง

ดอกเบี้ยเงินกู้ คือ เงินตอบแทนที่ผู้ปล่อยกู้ได้จากผู้ขอกู้ โดยการคิดดอกเบี้ยนั้น สามารถแบ่งชนิดของดอกเบี้ยเงินกู้ได้ ดังนี้

การคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ หมายถึง สินเชื่อหรือเงินกู้ที่จะทำคิดอัตราดอกเบี้ยมาให้อย่างเสร็จสรรพตั้งแต่วันที่เริ่มเซ็นสัญญา และจะนำไปเฉลี่ยในค่างวดที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน พบได้บ่อยในการคิดดอกเบี้ยจากบัตรเครดิต, สินเชื่อส่วนบุคคล

การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก คือ สินเชื่อหรือในรูปแบบที่เมื่อเงินต้นลดลง อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็จะลดลงไปตาม ซึ่งในการผ่อนชำระค่างวดแต่ละครั้งก็จะมีการคิดค่างวดที่แตกต่างกันออกไปตามจำนวนของเงินต้นที่เหลืออยู่ พบได้บ่อยในการคิดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เป็นต้น

การคิดดอกเบี้ยแบบลอยตัว คือ อัตราดอกเบี้ยจะเปลี่ยนแปลงไปตามประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารแต่ละช่วงเวลา โดยทั่วไปธนาคารจะใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำอย่าง MLR (อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนดเรียกเก็บลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี) และ MRR (อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี) เป็นอัตราอ้างอิงสำหรับอัตราดอกเบี้ยลอยตัว

การคิดดอกเบี้ยแบบผสม เป็นสินเชื่อที่คิดดอกเบี้ยแบบคงที่และแบบลอยตัวผสมกัน โดยส่วนใหญ่ธนาคารมักจะให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยแบบผสม แบ่งออกได้อีก 2 ประเภท คือ

  1. อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นในช่วงแรกแล้วปรับเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัวสำหรับระยะเวลาที่เหลือ เช่น 4 ปีแรกดอกเบี้ยคงที่ 3.5% หลังจากนั้นเป็นดอกเบี้ยลอยตัว
  2. อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นแบบขั้นบันได แล้วปรับเป็นดอกเบี้ยลอยตัว เช่น 2 ปีแรกดอกเบี้ย 2% ปีที่ 3 ดอกเบี้ย 3% ปีที่ 4 และ 5 ดอกเบี้ย 4% หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยลอยตัว เป็นต้น

โดยการคิดดอกเบี้ยแต่ละแบบล้วนมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป และนิยมใช้ในรูปแบบสินเชื่อที่แตกต่างกันออกไป และเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้กู้ ควรเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยต่าง ๆ ให้เหมาะกับการกู้ของตน เช่น หากต้องการกู้ซื้อบ้าน สินเชื่อบางแห่งแม้จะไม่ใช่การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก แต่เปรียบเทียบแล้วออกมาให้ดอกเบี้ยที่คุ้มค่ากว่า เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ทางการเงินของเรา เป็นต้น

 

โปรแกรมคำนวณดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด


การคิดดอกเบี้ยรายวันของบัตรกดเงินสด คิดอย่างไรบ้าง?

บัตรกดเงินสดนั้น แม้จะมีการคิดดอกเบี้ยที่ก่อให้เกิดหนี้สินง่าย เนื่องจากเป็นการคิดดอกเบี้ยแบบรายวัน แต่ข้อดีของการคิดดอกเบี้ยรายวันนั้นก็มีข้อดีอยู่! เพราะยิ่งคุณสามารถคืนเงินได้เร็ววันเท่าไหร่ ดอกเบี้ยที่ถูกคิดก็จะน้อยตามจำนวนวันที่คืน

ดังนั้น หากต้องการเงินก้อน เงินสดด่วน ใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ และมีกำหนดการคืนเงินในเร็ววัน บัตรกดเงินสดจะตอบโจทย์ได้มากกว่า นอกจากนี้บัตรกดเงินสดยังไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมในการกดอีกด้วย!

โดยสูตรการคิดดอกเบี้ยของบัตรกดเงินสดนั้น มีดังนี้ : เงินต้นคงเหลือ x ดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดที่กำหนดไว้ x จำนวนวันในแต่ละรอบบัญชี / 365 (จำนวนวันใน 1 ปี)

ตัวอย่าง 10,000 x ดอกเบี้ย 15% x 10 วัน / 365 (จำนวนวันใน 1 ปี) = ดอกเบี้ย 41.09 บาท

หมายความว่า คุณกดเงินสดจากบัตรกดเงินสดมา 10,000 บาท และจะคืนเงินตามจำนวนวันในรอบบัญชี 10 วัน คุณจะต้องจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินที่กดมา 41.09 บาท หรือ 42 บาท รวมทั้งหมดเป็นเงินที่ต้องคืน 10,042 บาท นั่นเอง

แต่ข้อเสียของบัตรกดเงินสดนั้น หากคุณต้องการยืมเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้ดอกเบี้ยพอกพูนจนกลายเป็นหนี้สินก้อนโตได้

วิธีการใช้บัตรกดเงินสดแบบไม่ให้เป็นหนี้

บัตรกดเงินสดอาจเป็นตัวช่วยฉุกเฉินทางการเงินที่ดี แต่ถ้าใช้อย่างไม่ระวัง ก็เสี่ยงกลายเป็นภาระหนี้สะสมโดยไม่รู้ตัว มาดูเทคนิคการใช้บัตรกดเงินสดแบบฉลาดๆ ที่จะช่วยให้คุณ “ไม่เป็นหนี้” กันดีกว่า

1. ใช้เฉพาะเวลาจำเป็นเท่านั้น

อย่าใช้บัตรกดเงินสดเพื่อซื้อของฟุ่มเฟือยหรือของที่ไม่จำเป็น เพราะดอกเบี้ยสูงมากกว่าการกู้เงินประเภทอื่น ควรใช้เฉพาะเวลาฉุกเฉิน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ซ่อมบ้าน หรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจริงๆ

2. รู้วงเงิน และไม่ใช้จนเต็มวง

คุณควรเช็ควงเงินคงเหลือก่อนใช้ และพยายามใช้ไม่เกิน 30-50% ของวงเงิน เพื่อป้องกันการชำระคืนที่หนักเกินไป และยังช่วยให้เครดิตสกอร์ของคุณดีขึ้นด้วย

3. ชำระคืนเต็มจำนวน ไม่ผ่อนขั้นต่ำ

การเลือกผ่อนขั้นต่ำจะทำให้คุณจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้น ทางที่ดีควรวางแผนจ่ายคืนเต็มจำนวนภายในรอบบัญชี เพื่อไม่ให้เกิดดอกเบี้ยสะสม

4. เปรียบเทียบก่อนกด ว่าค่าธรรมเนียมเท่าไหร่

บางบัตรอาจมีค่าธรรมเนียมในการกดเงิน หรือดอกเบี้ยเริ่มนับตั้งแต่วันที่กดไม่ใช่รอบบัญชี ถ้าต้องใช้จริงๆ ควรเลือกบัตรที่คิดดอกเบี้ยรายวันต่ำและไม่มีค่าธรรมเนียม

5. หลีกเลี่ยงการกดหลายครั้งในเดือนเดียว

การกดเงินหลายครั้งอาจดูเหมือนจำนวนน้อย แต่เมื่อรวมกันแล้วอาจกลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่แบบไม่รู้ตัว ควรกำหนดจำนวนครั้งที่ใช้ต่อเดือน เช่น ไม่เกิน 1-2 ครั้ง

6. ใช้เพื่อเสริมสภาพคล่องเท่านั้น

หากคุณใช้บัตรกดเงินสดเหมือนเป็นเงินเดือนที่สอง คุณจะตกอยู่ในวังวนของการใช้ก่อน ผ่อนทีหลัง ซึ่งจะทำให้หนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่สามารถหยุดได้

บัตรกดเงินสดไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ถ้าคุณรู้จักวิธีใช้อย่างมีวินัย ใช้เท่าที่จำเป็น จดบันทึกการใช้ และจ่ายคืนให้ครบทุกเดือน เท่านี้คุณก็สามารถใช้ประโยชน์จากบัตรได้โดยไม่เป็นหนี้!

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา