แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ผู้เขียน : Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare และ Asia Direct โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
linkedin icon
 
 
Published: April 11,2024
ผ่อนบ้าน

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว กลายเป็นปัญหาที่หลายคนต้องแบกรับ เพราะคนส่วนใหญ่ มักจะลงเงินไปกับการดาวน์บ้านในเรทที่ไม่สูงนัก จนทำให้ต้องแบกรับภาระการผ่อนรายเดือนเป็นระยะเวลานาน จนทำให้เกิดปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารก็ทำไม่ได้ จนเกิดความยุ่งยากตามมามากมาย

ซึ่งหากต้องรับภาระผ่อนบ้าน แรบบิท แคร์ แนะนำว่า ควรมีเงินสำรองเตรียมไว้ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน และจำเป็นต้องใช้เงิน เพื่อให้มีเงินสำหรับผ่อนบ้านได้ชั่วคราว หรืออาจจะปรับลดค่าใช้จ่ายบางส่วน และหารายได้เพิ่มเติม เพื่อป้องกันปัญหาการผ่อนบ้านไม่ไหว

ผ่อนบ้านไม่ไหว เจรจาประนอมหนี้ได้ไหม ทำอย่างไรดี?

เมื่อเกิดปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว การหาทางออกร่วมกันกับธนาคารผู้ให้สินเชื่อ นับเป็นทางออกที่ควรทำมากที่สุด เพราะหากมีแนวโน้มว่าจะผ่อนบ้านไม่ไหว เนื่องจากสภาพคล่องทางการเงินลดลง ผู้กู้สามารถเจรจาขอประนอมหนี้กับธนาคารได้ ก่อนที่จะถูกฟ้อง จนทำให้ประวัติเสีย หรือติดเครดิตบูโร จนแก้ไขปัญหาหนี้ยากขึ้นไปอีก

การขอประนอมหนี้ เมื่อผ่อนบ้านไม่ไหว นับเป็นการเจรจาข้อตกลงเรื่องหนี้สินกับเจ้าหนี้หรือผู้ให้กู้ ซึ่งอาจจะจบลงด้วยการผ่อนผัน ลดหย่อน หรือปรับเปลี่ยนข้อตกลงระหว่างกัน เพื่อไม่ให้เกิดการฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ จากเจ้าหนี้ และช่วยลดภาระการชำระหนี้ ในช่วงที่ลูกหนี้กำลังขาดสภาพคล่องทางการเงิน หรือกำลังประสบปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหวนั่นเอง

ผ่อนบ้านไม่ไหว คืนได้ไหม หมดเงินผ่อนต่อ ต้องทำอย่างไร?

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม คงเป็นคำถามในใจใครหลายคน ที่กำลังประสบกับปัญหาทางการเงิน จนไม่สามารถรับภาระผ่อนบ้านต่อไปได้ ซึ่งวิธีแก้ปัญหาในกรณีที่ไม่สามารถหาเงินมาผ่อนต่อได้ ก็คือการเจรจาประนอมหนี้กับธนาคารดังที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • ขอลดอัตราดอกเบี้ย สามารถทำได้เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงกว่าเมื่อแรกกู้
  • ขอชำระค่าผ่อนบ้านต่ำกว่าปกติ จะทำได้ก็ต่อเมื่อยอดชำระต่อเดือนนั้นสูงกว่ายอดดอกเบี้ยต่อเดือนอย่างน้อย 500 บาท โดยสามารถขอประนอมหนี้ในลักษณะนี้ได้เพียงครั้งเดียว
  • ขอขยายเวลาชำระหนี้ วิธีการนี้จะช่วยลดยอดผ่อนต่อเดือน และสามารถขยายเวลากู้ได้จนอายุไม่เกิน 70 ปี
  • ขอกู้เพิ่ม เพื่อนำมาชำระดอกเบี้ยที่ค้างไว้ เป็นการแก้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหวที่สามารถทำได้ แต่จะต้องชำระค่าบ้านอย่างสม่ำเสมอ ก่อนขอกู้เงินเพิ่มอย่างน้อย 3 เดือน
  • ขอจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย พักชำระเงินต้น โดยเลือกผ่อนผันด้วยวิธีนี้ได้เพียงครั้งเดียว และจะผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยได้นานสูงสุดเพียง 12 เดือน
  • ขอผ่อนผันการค้างชำระ เป็นวิธีแก้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว ที่ช่วยให้ผู้กู้มีเวลาจัดการปัญหาทางการเงินในระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 36 เดือน จากนั้น จึงชำระเงินต่อในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ชำระเป็นเงินก้อนเล็กทุกเดือน ชำระเป็นเงินก้อนโดยแบ่งเป็นงวด ๆ หรือชำระเงินคงค้างทั้งหมดภายในระยะเวลาที่กำหนด
  • ขอโอนหลักทรัพย์เป็นของธนาคารชั่วคราว และซื้อคืนภายหลัง เป็นการแก้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว ที่เปรียบเหมือนการเช่าบ้านตนเองอยู่ โดยมีค่าเช่าหลักทรัพย์อยู่ที่ 0.4-0.6% ของมูลค่าหลักทรัพย์ และมักทำสัญญาเช่าเป็นรายปี

ทั้งหมดนี้ เป็นการเจรจาประนอมหนี้ในกรณีที่เกิดปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว ซึ่งช่วยคลายข้อสงสัยของผู้ที่กำลังเกิดคำถามที่ว่า ผ่อนบ้านไม่ไหว ควรทำอย่างไรดี และสำหรับคนที่ยังสับสนว่า ในกรณีที่ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้หรือไม่นั้น แรบบิท แคร์ มีคำตอบ

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารนั้นไม่สามารถทำได้ แต่สามารถขายต่อให้ผู้อื่นได้ แม้ว่าจะเป็นบ้านติดธนาคาร ก็สามารถขายต่อได้ ในกรณีที่ผ่อนบ้านไม่ไหว โดยจะต้องนำเงินจากผู้ซื้อมาปิดบัญชีหนี้ ก่อนจะโอนกรรมสิทธิ์ เพราะเมื่อนำเงินที่ขายได้ มาดำเนินการปลอดจำนองกับธนาคารแล้ว ก็จะสามารถโอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้ซื้อรายใหม่ได้ทันที

ถูกลดเงินเดือน ถูกเลิกจ้าง ถูกฟ้อง ยึดทรัพย์ ทำอย่างไรให้ผ่อนบ้านต่อได้?

หากถูกลดเงินเดือน หรือมีรายได้น้อยลงจนอาจทำให้ผ่อนบ้านไม่ไหว สิ่งแรกที่ควรทำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว คือการเข้าไปขอคำปรึกษาจากธนาคาร ซึ่งธนาคารจะให้ความช่วยเหลือด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ เพราะจะช่วยให้เราสามารถชำระหนี้ต่อได้โดยไม่ผิดนัดชำระหนี้ เพราะหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ อาจจะต้องเสียค่าปรับ ถูกคิดดอกเบี้ย หรือติด blacklist ในข้อมูลเครดิตบูโรอีกด้วย

แต่หากผู้กู้ ถูกเลิกจ้าง จนทำให้ไม่มีรายได้ ขาดสภาพคล่องทางการเงิน และผ่อนบ้านไม่ไหวในที่สุด ธนาคารจะเยียวยาด้วยการพักหนี้ หรือพักชำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่หากธนาคารให้ความช่วยเหลือจนถึงที่สุดแล้ว ผู้กู้ยังประสบปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหวอยู่ การขายบ้าน ก็นับเป็นทางเลือกที่ควรทำมากที่สุด เพราะจะช่วยให้หมดภาระในส่วนนี้ไปได้ ทั้งยังอาจจะได้เงินบางส่วนกลับมาจากการขายบ้านอีกด้วย

ผ่อนบ้านไม่ไหว ปล่อยยึดเลยดีไหม มีผลเสียอะไรบ้าง?

หากผู้กู้ผ่อนบ้านไม่ไหว ขาดส่งค่างวดกับธนาคารหลายงวด จนเกิดการฟ้องร้องต่อศาล และถูกดำเนินการยึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาด ผู้กู้ที่อยู่ในสถานะของลูกหนี้ สามารถเจรจาขอไกล่เกลี่ยกับธนาคาร ที่อยู่ในสถานะของเจ้าหนี้ได้ทุกเมื่อ ทั้งในช่วงก่อน และระหว่างถูกฟ้อง หรือแม้แต่ในขั้นตอนยึดทรัพย์ เพื่อไม่ให้ถูกยึดทรัพย์ และเกิดความเสียหายตามมามากมาย ทั้งติดเครดิตบูโร เสียประวัติ เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี เป็นต้น

ปล่อยทิ้งไปเฉยๆ ไม่จ่ายเงินผ่อนบ้าน ส่งผลกระทบมากกว่าที่คิด

หากเกิดปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคาร ก็ไม่สามารถทำได้ หลายคนจึงเลือกที่จะขาดส่งค่างวดไปเฉย ๆ โดยไม่ไปเจรจาขอความช่วยเหลือจากธนาคาร และรอวันโดนยึดทรัพย์ไปเรื่อย ๆ ซึ่งวิธีนี้นับเป็นวิธีที่ผิด และจะก่อให้เกิดผลกระทบตามมาต่อตัวผู้ประสบปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว จนยากจะแก้ไข

หากแก้ปัญหาด้วยการลดค่าใช้จ่าย หรือหารายได้เพิ่มก็แล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอให้ผู้กู้จบปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว จนเกิดปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารก็ทำไม่ได้ตามมาในที่สุด แนะนำให้เข้าไปขอคำปรึกษาและเจรจากับธนาคารเพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะในมุมมองของธนาคาร ที่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้แล้ว หากผู้กู้ผ่อนต่อไม่ไหว สิ่งที่ธนาคารต้องการ คือ การได้รับยอดเงินที่กู้ไปคืนมา ไม่ใช่การยึดทรัพย์ ธนาคารจึงจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือผู้กู้ให้สามารถผ่อนชำระหนี้คืนได้ ธนาคารจะไม่ปล่อยให้เกิดหนี้เสีย อีกทั้งหากจะต้องดำเนินการฟ้อง และยึดทรัพย์ จะมีความยุ่งยาก และต้องจัดการหลายขั้นตอน เท่ากับว่าธนาคารจะมีภาระเพิ่มมากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายตามมาในทุกครั้งที่ลูกหนี้ผ่อนบ้านไม่ไหวและต้องทำการยึดทรัพย์ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการขายบ้านทอดตลาดไม่ได้อีกด้วย ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว แนะนำให้เข้าไปปรึกษาธนาคารที่ให้สินเชื่อ และหาทางออกร่วมกันจะดีที่สุด

รีไฟแนนซ์บ้าน

เคล็ดลับที่ช่วยให้ผ่อนบ้านหมดไว จบปัญหาการผ่อนบ้านไม่ไหว

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว เป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับตนเอง แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย ประกอบกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว ยังคงเป็นปัญหาที่หลายคนต้องเผชิญอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีการจัดการทางการเงินที่ดีพอ เพราะแม้ว่าจะผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคาร ก็ยังไม่สามารถทำได้เช่นกัน การเจรจาประนอมหนี้ ตลอดจนการรีไฟแนนซ์ จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุด

แต่นอกจากการรีไฟแนนซ์แล้ว ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว สามารถป้องกันได้ด้วยการผ่อนบ้านให้หมดไว ด้วยวิธีดังนี้

  • ผ่อนให้เกินค่างวดทุกงวด
  • ใช้เงินก้อนมาโปะให้ผ่อนหมดไว
  • สร้างวินัยทางการเงินด้วยการไม่ก่อหนี้เพิ่ม
  • ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว

การเลือกรีไฟแนนซ์บ้านกับ UOB โดยสมัครผ่านแรบบิท แคร์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะจะช่วยลดภาระการจ่ายค่างวด ผ่อนสบายขึ้นด้วยดอกเบี้ยคงที่ เฉลี่ย 2 ปีแรก กู้เพิ่มง่าย อนุมัติด่วนใน 3 วัน เงื่อนไขการสมัครน้อย ช่วยจบปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหวได้อย่างแน่นอน


สรุป

สรุปบทความ

การรีไฟแนนซ์ ในกรณีที่ผ่อนบ้านไม่ไหว เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ผ่อนบ้านมาแล้วอย่างน้อย 3 ปีก่อนจะเกิดปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว นับเป็นการย้ายสินเชื่อบ้านไปอีกธนาคารหนึ่งที่ให้ดอกเบี้ยถูกลง โดยไม่โดนเบี้ยปรับ เพื่อให้ผู้ที่ผ่อนบ้านไม่ไหว สามารถผ่อนต่อไปได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะได้โปรโมชันดอกเบี้ยที่ถูกลงจากธนาคารใหม่ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้กู้ต้องเตรียม เช่น ค่าจดจำนอง ค่าประเมินมูลค่าหลักประกัน เป็นต้น ซึ่งผู้กู้จะต้องพิจารณาว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะคุ้มกับดอกเบี้ยที่ลดลงไป จนช่วยจบปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหวได้หรือไม่

จบสรุปบทความ

ที่มา


 

บทความแคร์การเงิน

Rabbit Care Blog Image 94185

แคร์การเงิน

ไม่มีรถคืนไฟแนนซ์ ต้องเจอปัญหาใหญ่แค่ไหน

พอถึงเวลาที่เราผิดสัญญาไฟแนนซ์ต่อเนื่อง มีโอกาสถูกยึดรถสูงมาก แต่ถ้าไม่มีรถคืนไฟแนนซ์จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยิ่งใหญ่แค่ไหน
Natthamon
03/09/2024
Rabbit Care Blog Image 93664

แคร์การเงิน

มรดกหนี้ คืออะไร ? เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ลูกต้องใช้หนี้ต่อหรือไม่ ?

เคยได้ยินคำว่ามรดกหนี้หรือไม่ ? เคยสงสัยไหมว่าเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตไปแล้วหนี้ที่มีอยู่จะต้องทำอย่างไร ใครต้องรับภาระเหล่านั้นเอาไว้ ? วันนี้ แรบบิท แคร์
คะน้าใบเขียว
22/08/2024
Rabbit Care Blog Image 90939

แคร์การเงิน

ถูกยืมเงินบ่อย ๆ ควรปฏิเสธอย่างไร เพราะอะไรเราถึงมักตกเป็นเหยื่อการขอยืมเงิน ?

ปัญหาชวนปวดหัวอย่างการถูกยืมเงินถือเป็นปัญหาที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากเผชิญ ไม่ว่าจะด้วยเพราะสถานการณ์การเงินที่เป็นอยู่ลำพังเอาตัวเองให้รอดก็ลำบาก
คะน้าใบเขียว
23/07/2024