Rabbit Care Logo
ใช้ใจแคร์ ดูแลครบ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งาน และเพื่อเก็บข้อมูลสถิติ ท่านสามารถศึกษารายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่นโยบายคุกกี้
user profile image
เขียนโดยNok Srihongวันที่เผยแพร่: Jul 12, 2023

โปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้ส่วนบุคคล

คลังความรู้ด้านภาษี รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้ จบในที่เดียว

ภาษี หรือ Tax ในภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่ผูกพันกับตัวเราชนิดที่ว่าจะแยกอย่างไรก็แยกไม่ออก จนขนาดที่มีคำกล่าวที่ว่า “บนโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน นอกจากความตายและภาษี” ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ยืนยันได้อย่างดีว่าภาษีมีความสำคัญและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับชีวิตของเราแค่ไหน

ซึ่งเรื่องของภาษีเองก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สร้างความปวดหัวจนหลาย ๆ คนต้องเบือนหน้าหนีก็มาแล้ว ขอให้มั่นใจเถอะว่าไม่ใช่แค่คุณคนเดียวที่จะต้องเผชิญกับปัญหานี้ ยังมีผู้คนอีกมากมายต้องทรมานเรื่องภาษีไม่แพ้คุณ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการคำนวณภาษี, วิธีการยื่นภาษี, การขอคืนภาษี ซึ่งหลาย ๆ คนพออ่านมาถึงจุดนี้ก็อาจจะปิดและหนีจากบทความนี้กันไปแล้ว

ปล่อยให้เรื่องปวดหัวเกี่ยวกับภาษีเป็นหน้าที่ของน้องแคร์เอง โดยวันนี้น้องแคร์ขออาสาเข้ามาแก้ปัญหานี้ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคน โดยการสรุปย่อเรื่อง Tax ให้เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษีรูปแบบต่าง ๆ ที่เรา ๆ ทั่วไปจะต้องพบเจอ สรุปเรื่องการคำนวณภาษี ยื่นภาษี ขอคืนภาษี ในรูปแบบที่ย่อยง่าย ใคร ๆ ก็สามารถเข้าใจได้ และอีกหลากหลายเรื่องมากมายเกี่ยวกับ Tax ที่รับรองได้เลยว่าจะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องนี้ได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

ภาษีคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรบ้าง

เรามาทำความรู้จักกับภาษีกันก่อนดีกว่าว่าคืออะไร ภาษี (Tax) คือ เงินหรือทรัพย์สินที่รัฐเรียกเก็บจากประชาชนหรือภาคเอกชน ซึ่งถือเป็นภาระหน้าที่สำหรับประชาชนทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งผู้ที่เสียภาษีอาจจะไม่ได้รับผลประโยชน์ตามจำนวนเงินที่จ่าย

แล้วทำไมต้องจ่ายภาษีในเมื่ออาจจะไม่ได้รับผลประโยชน์กลับมา โดย Tax มีความสำคัญอย่างไร ต้องบอกตรงนี้เลยว่าภาษีมีความสำคัญและเครื่องมือทางการคลังชนิดหนึ่ง ซึ่งนี่ถือว่าเป็นแหล่งรายได้ของรัฐ โดยทางภาครัฐจะนำเงินส่วนนี้มาถูกนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในระบบราชการด้านต่าง ๆ

พัฒนาประเทศไม่ว่าจะเป็นในด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา เป็นสวัสดิการของรัฐ และอีกมากมาย เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ

ภาษีจึงจัดว่าเป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญของรัฐบาลเพื่อใช้ในการระดมทุนและสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐ มีผลต่อการกระจายรายได้และการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว

ประเภทของภาษี

หลังจากที่ได้ไปรู้จักกับความหมายและความสำคัญของ Tax กันมาแล้ว ในส่วนนี้เราจะมาทำความรู้จักกันให้มากขึ้นว่าภาษีในประเทศไทยมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีอะไรบ้าง เพื่อที่ทุกคนจะได้รู้ว่าตัวเองจะต้องทำการเสียภาษีประเภทไหนนั่นเอง

โดยหลักแล้วระบบของไทยนั้นแบ่งได้ออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ตามการผลักภาระทางภาษีโดยจะแบ่งออกได้เป็นภาษีทางตรง กับ ภาษีทางอ้อม โดยที่ทั้ง 2 ชนิดนี้จะความหมาย รูปแบบการจัดการ และประเภทย่อยดังต่อไปนี้

ภาษีทางตรง

ภาษีทางตรง (Direct Tax) คือ ภาษีอากรรูปแบบหนึ่ง ที่ภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะทำการจัดเก็บรายได้ต่าง ๆ จากประชาชนหรือภาคเอกชนโดยไม่สามารถผลักภาระไปยังผู้อื่นได้

ภาษีทางตรงมีอะไรบ้าง

โดยที่ภาษีทางตรงยังสามารถแบ่งย่อยเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  • ภาษีบำรุงท้องถิ่น
  • ภาษีป้าย
  • ภาษีการโอนที่ดิน
  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
  • ภาษีมรดก
  • ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

ภาษีทางอ้อม

ภาษีทางอ้อม (Indirect Tax) คือ ภาษีที่ทางภาครัฐหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทำการเก็บภาษีโดยผลักภาระทั้งหมดหรือบางส่วนไปให้กับผู้บริโภคเป็นผู้ที่ต้องทำการชำระภาษีทางอ้อมแทนผู้ขาย

ภาษีทางอ้อมมีอะไรบ้าง

ภาษีทางอ้อมยังสามารถแบ่งย่อย ๆ ออกได้เป็นอีกหลายชนิดด้วยกันได้แก่

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • ภาษีสรรพสามิต
  • ภาษีศุลกากร
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • อากรแสตมป์

โดยปกติแล้วภาษีทั่วไปที่มีความเกี่ยวข้องกับประชาชนธรรมดา และเราควรที่จะรู้จักได้แก่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีเงินได้นิติบุคคล, ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT), ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คนทำงานทุกคนจะต้องพบเจอ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเปรียบดั่งศัตรูตัวร้ายของพวกเราเหล่ามนุษย์เงินเดือน หรือผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษีที่สร้างความปวดหัวในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำเรื่องยื่นภาษี การคำนวณภาษี รวมไปถึงการเดินเรื่องคืนภาษีและอีกมากมายที่ตามมา วันนี้เราจะมาช่วยให้ทุกคนได้รู้จักกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันให้มากขึ้น ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ แล้วภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีความเรียบง่ายจนน่าตกใจเลยทีเดียว

• ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีส่วนบุคคลที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากบุคคลอื่น ๆ หรือที่เรียกว่าหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ โดยเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดจากเกณฑ์ทางรายได้ต่าง ๆ ซึ่งการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นมีการจัดเก็บเป็นรายปี ตามรายได้ที่เกิดในปีนั้น ๆ โดยผู้ที่มีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดจะต้องทำหน้าที่ยื่นภาษีประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแสดงรายการตนเอง ตามแบบฟอร์มที่กำหนด

• ใครบ้างที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ตามกฎหมายได้มีการระบุรายละเอียดของผู้ที่จะต้องเสียภาษีส่วนบุคคลหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้ดังต่อไปนี้

  • บุคคลธรรมดา
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  • ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  • กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  • วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

• รายได้ประเภทไหนบ้างที่จะต้องมีการเสียภาษี

รายได้ที่จะต้องถูกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือที่เรียกว่าเงินได้พึงประเมินได้มีแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ด้วยกันดังนี้

  • เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 : รายได้จากการจ้างงาน รวมไปถึงเบี้ยเลี้ยงและโบนัสต่าง ๆ
  • เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 : รายได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงาน
  • เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 : ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น
  • เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 : ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกําไร รวมไปถึงผลประโยชน์เกี่ยวกับหุ้น
  • เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 : รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
  • เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 : เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
  • เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 : เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสําคัญนอกจากเครื่องมือ
  • เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 : เงินได้จากธุรกิจ พาณิชย์ การเกษตร อุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1-7

และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของภาษีส่วนบุคคลหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกได้ว่าพอที่จะทำให้เพื่อน ๆ ได้เข้าใจ และมองเห็นภาพรวมของระบบภาษีคร่าว ๆ กันบ้างแล้ว

ภาษีทางตรง ภาษีทางอ้อม

ไปทำความรู้จักกับการยื่นภาษีให้มากขึ้น

กระบวนการยื่นภาษีที่หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก ต้องมีเอกสารที่ซับซ้อน แต่เราต้องบอกเลยว่าขั้นตอนการยื่นภาษีไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่หลาย ๆ คนคิด วันนี้เราจะมาแนะนำให้ทุกคนได้มารู้จักกับกระบวนนี้ให้มากขึ้น รับรองได้เลยว่าตอบปัญหา “ยื่นภาษี ยังไง?” ได้อย่างแน่นอน

• การยื่นภาษีคืออะไร

การยื่นภาษี คือ การยื่นรายงานแบบแจกแจงรายได้รวมถึงการลดหย่อน ให้กับกรมสรรพากรได้ทราบถึงรายละเอียดต่าง ๆ เมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด แม้ว่าเมื่อคำนวณภาษี (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) แล้ว จะต้องมีต้องชำระ ได้รับการลดหย่อนเพิ่มขึ้นหรือไม่ก็ตาม

• ไม่ยื่นภาษี จะมีโทษอย่างไรบ้าง

อยากที่เราได้บอกไปว่าการยื่นภาษีเป็นหน้าที่ตามกฎหมายเมื่อคุณมีรายได้ในปีนั้น ๆ ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด ซึ่งหากคุณไม่ได้ยื่นภาษีตามกำหนดเวลาต้องระวางโทษค่าปรับที่ไม่เกิน 2,000 บาท ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 35 แต่สามารถขอลดค่าปรับได้

ในกรณีที่มีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องชำระ แต่ไม่ได้ทำการยื่นภาษีจะต้องชำระเงินเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน พร้อมทั้งรวมกับค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 35

ดังนั้นหากรู้ว่าตัวเองมีเกณฑ์รายเข้าข่ายขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนดอย่าลืมที่จะยื่นแบบฟอร์มนี้ให้กับกรมสรรพากรด้วย จะได้ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มรวมถึงค่าปรับที่จะตามมาอีกด้วยนั่นเอง

• ใครบ้างที่จะต้องมีหน้าที่ในการยื่นภาษี

หลาย ๆ คนที่มีรายได้ในแต่ละปี (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) อาจจะสงสัยแล้วว่าตัวเองจะต้องทำการยื่นภาษีให้กับสรรพากรหรือไม่? อย่างที่เราได้บอกไปในตอนต้นว่าคนที่จะยื่นภาษี (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) นั้นจะต้องมีรายได้เข้าข่ายในเกณฑ์ขั้นต่ำ ไม่ใช่ที่ทุกคนที่มีรายได้จะต้องยื่นแบบฟอร์มนี้ ไปดูกันว่าคุณสมบัติของผู้ที่จะต้องยื่นจะมีอะไรบ้าง

คนโสด
  • รายได้เป็นเงินเดือนตั้งแต่ 10,000 บาทต่อเดือนหรือ 120,000 บาทต่อปี : ภ.ง.ด. 91
  • รายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนตั้งแต่ 5,000 บาทต่อเดือน หรือ 60,000 บาท ต่อปี : ภ.ง.ด. 90

คนแต่งงานมีคู่สมรสแล้ว
  • รายได้เป็นเงินเดือนตั้งแต่ 18,333 บาท ต่อเดือน หรือ 220,000 บาท ต่อปี : ภ.ง.ด. 91
  • รายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนตั้งแต่ 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาท ต่อปี : ภ.ง.ด. 90

ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล
  • มีเงินได้เกิน 60,000 บาท

กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  • มีเงินเกิน 60,000 บาท

ภ.ง.ด. คืออะไร?

ภ.ง.ด. คือ แบบยื่นภาษี โดยคำว่า ภ.ง.ด. ย่อมาจากคำว่าภาษีเงินได้ ซึ่งการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องยื่นให้ตรงกับประเภทของแบบยื่น ซึ่งตัวภ.ง.ด. เองก็ได้มีการแบ่งประเภทออกมาหลากหลายชนิดด้วยกัน โดยตัวภ.ง.ด. ที่เราควรรู้จักมีดังต่อไปนี้

  • ภ.ง.ด. 90 - แบบยื่นสำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป เช่น ค้าขาย
  • ภ.ง.ด. 91 - แบบยื่นสำหรับคนที่ได้รับเงินเดือนอย่างเดียว
  • ภ.ง.ด. 93 - แบบยื่นสำหรับขอชำระล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบตามปกติ
  • ภ.ง.ด. 94 - แบบยื่นสำหรับครึ่งปีหรือที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก

ต้องยื่นภาษีเมื่อไหร่

สำหรับระยะเวลาในการยื่นภาษีจะต้องทำการยื่นภายในเดือนมกราคม-มีนาคมในรอบปีภาษีถัดไป (ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด.91) ยกตัวอย่างเช่น หากเราจะยื่นเรื่องของปีพ.ศ. 2566 เราจะต้องทำการยื่นเรื่องในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคมในปีพ.ศ. 2567นั่นเอง

โดยภ.ง.ด. 93 จะต้องทำการยื่นก่อนถึงกำหนดเวลาในการยื่นแบบตามปกติ และภ.ง.ด. 94 หรือการยื่นภาษีครึ่งปีจะต้องยื่นในช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายนของปีภาษีนั้น

ยื่นภาษีใช้เอกสารอะไรบ้าง

โดยในการยื่นเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นั้นจะต้องเตรียมเอกสารเพื่อใช้ประการในการยื่นภาษีตามดังต่อไปนี้่

  • เอกสารแสดงรายได้หรือหนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ)
  • เอกสารลดหย่อน : ไม่ว่าจะเป็นใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกัน, ใบเสร็จกองทุนลดหย่อน, ทะเบียนสมรส หรือค่าเลี้ยงดูบิดา มารดา และบุตร เป็นต้น

ทำความรู้จักใบทวิ 50 ให้มากขึ้น

เราได้มีการพูดถึงไปในส่วนก่อนหน้าเกี่ยวกับการใช้ใบทวิ 50 ยื่นภาษีกันไปแล้ว หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าใบทวิ 50 คืออะไร? ใบทวิ50 ใช้ทําอะไร? รวมไปถึงใบทวิ 50 ขอได้ที่ไหนบ้างในส่วนนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับใบทวิ 50 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับ Tax กันให้มากขึ้น

• ใบ 50 ทวิคืออะไร?

ใบ 50 ทวิ คือ หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ใบ 50 ทวิเป็นเอกสารที่ออกให้กับผู้รับเงินซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเก็บไว้เป็นหลักฐานเรื่องการหักภาษี โดยผู้จ่ายเงินได้ทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้บางส่วนแล้ว

• ใบทวิ50 ใช้ทําอะไร?

ใบทวิ50 ใช้เป็นหนึ่งในเอกสารหลักฐานในการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลประจำปี (ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91) หรือก็คือใช้ใบทวิ 50 ยื่นภาษี นอกจากนี้ยังใช้ใบทวิ 50 ในการคำนวณภาษีและความถูกต้องในเรื่องรายการต่าง ๆ ที่ต้องชำระอีกด้วย

• ใบทวิ 50 ขอได้ที่ไหน?

สำหรับใบทวิ 50 หากเป็นพนักงานเงินเดือนคุณจะได้รับจากนายจ้างหรือบริษัทที่เป็นผู้จ่ายเงินเดือนให้ ในส่วนของฟรีแลนซ์สามารถขอใบทวิ 50 ได้จากผู้จ้างงานที่เป็นคนง่ายเงินค่าจ้างให้นั่นเอง

ยื่นภาษีได้ที่ไหนบ้าง

ในปัจจุบันการยื่นภาษีเป็นเรื่องสะดวกสบาย เราสามารถยื่นเรื่องได้หลากหลายช่องทาง ดังต่อไปนี้

  • สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
  • ที่การไปรษณีย์ (ผู้มีเงินได้มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ)
  • ยื่นภาษีออนไลน์ : ผ่านเว็บไซต์ที่ www.rd.go.th หรือแอปพลิเคชัน RD Smart Tax ทั้งใน iOS และ Android

วิธียื่นภาษีออนไลน์ ยื่นสบาย ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา

หนึ่งในวิธีการยื่นที่ได้รับความนิยม และสวกสบายมากที่สุดในปัจจุบันนี้นั่นก็คือการยื่นภาษีออนไลน์นั่นเอง สำหรับใครที่ยังไม่เคยยื่นแบบออนไลน์แล้วล่ะก็วันนี้น้องแคร์จะมาสอนให้ทุกคนดูว่าการยื่นภาษีออนไลน์นั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ต้องบอกเลยว่ามีขั้นตอนต่าง ๆ ที่ไม่ซับซ้อนสามารถทำตามได้อย่างง่าย ๆ

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ www.rd.go.th TG300S หรือผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax

  2. ให้เลือกยื่นภาษีออนไลน์ที่ e-FILING หรือ “ยื่นแบบทุกประเภท”

  3. กดเลือกที่ “ยื่นแบบออนไลน์”

  4. ระบบจะให้กดเข้าสู่ระบบ หากใช้งานยื่นภาษีออนไลน์ครั้งแรกทำการสมัครให้เรียบร้อย

  5. คลิก “ยื่นแบบ” ภ.ง.ด. 90/91 สำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไป

  6. ดึงข้อมูลการลดหย่อนอัตโนมัติ

    • กรอก Laser ID เลขควบคุมหลังบัตรประจำตัวประชาชน
    • หากไม่ใช้ให้เลือก “ไม่ต้องการใช้ข้อมูล”
  7. ตรวจสอบและกรอกข้อมูลผู้ชำระ

  8. กรอกเงินได้ โดยระบบยื่นภาษีออนไลน์จะมีเงินได้ในประเภทต่าง ๆ ให้เลือกกรอก

    • พนักงานรับเงินเดือยให้เลือกมาตรา 40(1)
    • ฟรีแลนซ์หรืออาชีพอื่น ๆ ให้เลือกมาตรา 40(2)
  9. กรอกค่าลดหย่อนต่าง ๆ

  10. ตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ โดยระบบจะทำการคำนวณภาษีให้
    กรณีไม่มีต้องชำระ

    • ระบบจะแจ้งผลและหมายเลขอ้างอิง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบฯ
    • กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทันที
      กรณีมีต้องชำระ
    • ชำระผ่าน e-payment ให้เลือกธนาคารและทำตามขั้นตอนต่าง ๆ
    • ชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ระบบจะดำเนินการแบบ Real Time ระหว่างกรมสรรพากรกับธนาคาร
    • ชำระ ณ เคาน์เตอร์ ไปรษณีย์อัตโนมัติ (Pay at Post) จะเป็นระบบแบบ Real Time เหมือนกัน ยกเว้น ไปรษณีย์. โสกเชือก จ. ร้อยเอ็ด และ ปณ. ชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก

กระบวนยื่นภาษีออนไลน์ก็เป็นอันเสร็จสิ้น เรียกได้ว่าการยื่นแบบในปัจจุบันเป็นอะไรที่สะดวกและง่ายดายเหมาะกับวิถีชีวิตในปัจจุบันเป็นอย่างมาก

วิธีคำนวณภาษีไม่ยากอย่างที่คิด

เรียกได้ว่าการคำนวณภาษีเป็นอีกหนึ่งยาขมของใครหลาย ๆ คนที่ทำให้เกิดภาพจำเกี่ยวกับภาษีว่าเป็นเรื่องที่ยากและไม่อยากที่จะพูดถึง ซึ่งในความเป็นจริงกระบวนการนี้การไม่ได้ยากอย่างที่คิด ซึ่งวันนี้น้องแคร์จะพาเพื่อน ๆ ไปดูสูตรการคำนวณภาษีว่าใช้อย่างไรกันบ้าง และยังมีอีกหลายเรื่องสำคัญที่เพื่อน ๆ ห้ามพลาด

รายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี

เป็นอีกหนึ่งข่าวดีเล็ก ๆ ก่อนที่เราจะไปดูวิธีการคำนวณภาษีกัน โดยสำหรับเพื่อน ๆ ที่มีรายได้ตลอดทั้งปีเกิน 150,000 บาทขึ้นไป ต้องเสียภาษี ส่วนคนที่ไม่เกิน 150,000 บาทไม่ต้องเสียแต่จะต้องยื่นภาษีไปที่กรมสรรพากรนั่นเอง

สิ่งที่คุณจะต้องรู้ก่อนที่จะทำการคำนวณภาษี?

ก่อนที่จะไปรู้จักกับวิธีคำนวณภาษี ทุกคนควรจะรู้จักคำศัพท์รวมไปถึงการลดหย่อนต่าง ๆ ที่จะทำให้เรื่องเกี่ยวกับ Tax เรื่องนี้เป็นเรื่องง่ายขึ้น จะมีอะไรกันบ้าง ไปดูกันได้เลย

1.รายได้รวมตลอดทั้งปี

สำหรับรายได้รวมตลอดทั้งปีจะนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ซึ่งในทางกฎหมายเรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” อาทิเช่น เงินเดือน เงินจากการทำงานพิเศษ ฯลฯ

2.ค่าใช้จ่าย

ในส่วนของค่าใช้จ่ายก็เช่น ต้นทุนในการทำธุรกิจ ฯลฯ และถ้าหากเป็นเงินเดือนสามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยที่ไม่เกิน 100,000 บาท

3.ค่าลดหย่อน

โดยสิทธิค่าลดหย่อนต่างๆ มีรายละเอียด(เบื้องต้น) ดังนี้

กลุ่มส่วนตัวและครอบครัว
  • ส่วนตัว ลดหย่อนได้ 60,000 บาท
  • คู่สมรส ลดหย่อนได้ 60,000 บาท
  • ค่าคลอดบุตร ลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนบุตร ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
  • กรณีมีเฉพาะบุตรบุญธรรม ลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท สูงสุด 3 คน
  • กรณีเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองหรือคู่สมรส ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
  • กรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพพลภาพ ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท

กลุ่มบริจาค
  • เงินบริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา/กีฬา/พัฒนาสังคม ประโยชน์สาธารณะและสถานพยาบาลของรัฐ ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค
  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามจริง

กลุ่มเงินออมและการลงทุน
  • กองทุน RMF ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุน SSF ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ ไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้ 15%
  • เบี้ยประกันสุขภาพ / ประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง

กลุ่มอสังหาฯ
  • ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยสามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท

กลุ่มประกันชีวิต
  • ประกันชีวิต, สะสมทรัพย์ : ลดหย่อนตามจริงได้ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ประกันสุขภาพ : ลดหย่อนตามจริงได้ไม่เกิน 25,000 บาท
  • ประกันสุขภาพบิดามารดา : ลดหย่อนตามจริงได้ไม่เกิน 15,000 บาท
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ : ลดหย่อนตามจริงได้ไม่เกิน 200,000 บาท และต้องมีความคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป
  • เงินสมทบกองทุนประกันสังคม : ลดหย่อนได้ตามจริงไม่เกิน 6,300 บาท

4. เงินได้สุทธิ

รายได้ หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนทั้งหมดแล้ว

วิธีคำนวณภาษีของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีกี่รูปแบบ

สำหรับรูปแบบการคำนวณหลัก ๆ ของคนธรรมดาทั่วไปไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน ฟรีแลนซ์ หรืออาชีพอื่น โดยวิธีคำนวณภาษีมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ โดยแต่ละมีวิธีคำนวณและการใช้งานเกี่ยวกับภาษีที่แตกต่างกันออกไป

  • การคำนวณภาษีแบบขั้นบันได
  • การคำนวณภาษีแบบเหมาจ่าย

วิธีคำนวณภาษีแบบขั้นบันได

สูตรคำนวณภาษีแบบขั้นบันได

ภาษีที่ต้องเสีย = [(เงินได้สุทธิ-เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้น) x อัตราภาษี] + ภาษีสะสมสูงสุดของขั้นก่อนหน้า

อัตราภาษีเงินได้ แบบขั้นบันได
  1. เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท (อัตราภาษี 0% หรือได้รับการยกเว้น) ภาษี = 0
  2. เงินได้สุทธิ 150,000 - 300,000 บาท (อัตราภาษี 5%) ภาษี = (เงินได้สุทธิ - 150,000) x5%
  3. เงินได้สุทธิ 300,001 - 500,000 บาท (อัตราภาษี 10%) ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ - 300,000) x10% ] + 7,500
  4. เงินได้สุทธิ 500,001 - 750,000 บาท (อัตราภาษี 15%) ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ - 500,000) x15% ] + 27,500
  5. เงินได้สุทธิ 750,001 - 1 ล้านบาท (อัตราภาษี 20%) ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ - 750,000) x20% ] + 65,000
  6. เงินได้สุทธิ 1,000,001 - 2,000,000 บาท (อัตราภาษี 25%) ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ - 1,000,000) x25% ] + 115,000
  7. เงินได้สุทธิ 2,000,001 - 5,000,000 บาท (อัตราภาษี 30%) ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ - 2,000,000) x30% ] + 365,000
  8. เงินได้สุทธิมากกว่า 5 ล้านบาท (อัตราภาษี 35%) ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ - 5,000,000) x35% ] + 1,265,000

ตัวอย่างคำนวณภาษีแบบขั้นบันได
  • สมมติว่าน้องแคร์มีเงินเดือน 60,000 บาท จะต้องชำระเท่าไหร่
  • รายได้รวมทั้งปีน้องแคร์จะเป็น 60,000 x 12 = 720,000 บาท
  • กำหนดให้น้องแคร์สามารถลดหย่อนค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท
  • น้องแคร์จะมีรายได้สุทธิคิดเป็น 720,000 - 100,000 - 100,000 = 520,000 บาท
  • ซึ่งรายได้สุทธิหรือเงินได้สุทธิ จะตกอยู่ในช่วงที่ 4 ของการคำนวณ
  • ของต้องเสียภาษีเป็นเงิน [ ( 520,000 - 500,000) x15% ] + 27,500 = 30,500 บาท

การคำนวณภาษีแบบเหมาจ่าย

เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการคิดภาษี ซึ่งจะคิดแบบเหมาจ่ายก็ต่อเมื่อมีรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากเงินได้ประเภทที่ 1 หรือเงินเดือน โดยรายได้จากทางอื่นทั้งหมดมีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป ให้คำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเดิมคือ

  • เป็นการคิดคำนวณจากรายได้ทางอื่น ๆ ลบด้วยเงินเดือน
  • หากภาษีที่เกิดจากการที่การคิดแบบเหมาจ่ายไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นการคิดในวิธีนี้

สูตรคำนวณภาษีแบบเหมาจ่าย

ภาษีแบบเหมาจ่าย = (เงินได้ทุกประเภท – เงินเดือน) x 0.5%

ภาษีแบบขั้นบันไดกับภาษีแบบเหมาจ่ายเลือกแบบไหนดี

ในการคิดภาษีแบบปกติมีรายได้ทางเดียวให้คิดในแบบขั้นบันได แต่ถ้ามีรายได้มากกว่า 1 ทางให้คิดแบบเหมาจ่ายด้วย แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน ถ้าภาษีไหนมีค่ามากกว่าให้เลือกใช้วิธีคำนวณภาษีแบบนั้น

คืนภาษี

คืนภาษีทำได้ไม่ยาก พร้อมวิธีตรวจสอบสถานะการขอคืนภาษี

รู้หรือไม่ว่าเราสามารถขอเงินคืนภาษีได้ด้วย เพื่อน ๆ อาจเกิดความสงสัยว่าแล้วจะขอคืนภาษี กรณีไหน? สามารถขอคืนภาษี ยังไง? หรือว่าจะขอคืนภาษี กี่วันได้? น้องแคร์เลยรวมข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องของการคืนภาษีมาสรุปให้ทุกคนได้เข้าใจกระบวนการขอคืนภาษีกันให้มากขึ้น ไปดูกันดีกว่าว่าการคืนภาษีเป็นอย่างไรมีขึ้นตอนอย่างไรบ้าง

คืนภาษีคืออะไร ใครสามารถขอคืนภาษีได้บ้าง

การขอคืนภาษี คือ กระบวนการคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายระหว่างปีเกินกว่ามูลค่าภาษีที่ต้องจ่ายจริง ซึ่งทางกรมสรรพากรจะพิจารณาตามเงื่อนไข ข้อมูล หลักฐานต่าง ๆ และคืนภาษีในส่วนที่เกินกว่ากลับมาให้ โดยการขอคืนภาษี ภงด.91 และ ภงด.90 เป็นสิทธิที่ผู้เสียภาษีทุกสามารถทำได้

สามารถตรวจสอบคืนภาษีได้อย่างไรบ้าง

สำหรับการตรวจสอบคืนภาษีนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยกัน 2 วิธีนั่นก็คือ

  1. การคำนวณภาษี
  2. การตรวจขอคืนภาษี ออนไลน์

โดยหลังจากยื่นเรื่องออนไลน์เสร็จแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายของการยื่นภาษีออนไลน์จะข้อความมีขึ้นว่าเราสามารถคืนภาษีได้เท่าไหร่ในช่อง “ยอดภาษีสุทธิชำระไว้เกิน” ผ่านหน้าเว็บของสรรพากร จากนั้นให้มาที่ส่วน “ต้องการขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกินไหม” แล้วเลือก “ต้องการขอคืน”

จากนั้นหน้าเว็บไซต์จะถามเราว่า “ต้องการขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกินไหม” นี่แหละ เป้าหมายของเราในครั้งนี้ ให้คลิกได้เลยตรง “ต้องการขอคืน” แล้วใส่เบอร์โทรศัพท์ลงทะเบียนเพื่อรอรับผล โดยจะมีรายละเอียดให้ตรวจสอบแสดงอยู่ด้านล่าง

วิธีการขอขอคืนภาษีมีกี่วิธี

หลังจากที่รู้แล้วว่าสามารถได้คืนภาษีจากการชำระเกินที่ต้องจ่ายจริง การติดต่อขอคืนภาษีจึงเป็นอีกสิ่งที่ต้องดำเนินการ โดยวิธีการเดินเรื่องรับขอคืนภาษีหลัก ๆ แล้วสามารถทำได้ด้วยกัน 3 วิธีคือ

  • เว็บไซต์ของกรมสรรพากร
  • Call Center : เบอร์ 1161
  • สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

ตรวจสอบคืนภาษีด้วยวิธีขอคืนภาษี ออนไลน์ 2566 ทำอย่างไร?

สำหรับในปัจจุบันการทำเรื่องขอเงินคืนภาษีเป็นเรื่องที่สะดวกสบาย โดยที่สรรพากรได้ปรับปรุงระบบการขอคืนภาษีได้อย่างง่าย ซึ่งหลังจากที่ทำการตรวจสอบคืนภาษีแล้ว เราสามารถทำเรื่องขอคืนภาษี ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ได้อย่างง่าย ๆ ซึ่งจะมีวิธีการอย่างไรบ้างนั้น น้องแคร์ได้สรุปมาให้ทุกคนเข้าใจง่าย ๆ แล้วดังนี้

  1. เข้าหน้าเว็บหลักของสรรพากร

  2. แล้วเลือกที่ “e-Refund” หรือ “สอบถาม/ส่งเอกสารคืนภาษี”

  3. เข้าไปที่ My Tax Account เพื่อดำเนินเรื่องคืนภาษี

  4. ลงเชื่อเข้าสู่ระบบ สามารถเลือกเข้าระบบได้โดย

    • เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือ ชื่อผู้ใช้งาน e-filing
    • NDID
    • ThaID
    • เป๋าตัง
  5. เช็กสถานะการตรวจสอบคืนภาษี เลือกที่ “ติดตามสถานะและส่งเอกสาร”

  6. ระบบจะโชว์สถานะการยื่นภาษีโดยสถานะต่าง ๆ มีความหมายดังนี้

    • ยื่นแบบภาษี : ยื่นแบบสำเร็จแล้ว
    • นำส่งข้อมูล : ข้อมูลที่ส่งไปอยู่ในการตรวจสอบ
    • พิจารณาคืนภาษี : ข้อมูลกำลังถูกพิจารณาคืนภาษี เจ้าหน้าที่อาจมีขอเอกสารเพิ่มเติมได้
    • ส่งคืนภาษี : ข้อมูลได้รับผ่านพิจารณาให้ได้รับเงินคืนภาษี โดยในพร้อมเพย์จะได้รับเงินคืน 3-5 วัน ส่วนคนที่ไม่ได้ผูกพร้อมเพย์จะได้รับหนังสือเงินคืน (ค.21) แล้วไปติดต่อธนาคารกรุงไทย หรือ ธกส. ใช้เวลารอเงินคืนภาษี 15 วัน
    • ได้รับคืนภาษี : เราได้เงินคืนภาษีเราแล้ว

ช่องทางรับเงินของการขอคืนภาษีมีอะไรบ้าง

เมื่อการยื่นเรื่องขอคืนภาษีได้ถูกพิจารณาจากเจ้าหน้าที่สรรพากรและได้รับการอนุมัติแล้ว เราสามารถเลือกช่องทางการได้รับเงินส่วนเกินหรือเงินคืนภาษีได้ 3 ช่องทางด้วยกันดังนี้

  • พร้อมเพย์ที่ผูกกับบัญชีธนาคารออนไลน์
  • รับเงินคืนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือ ธ.ก.ส.
  • รับเงินคืนภาษีจาก e-Money หรือ e-Wallet (แอปฯ เป๋าตัง) เฉพาะธนาคารกรุงไทย

อยากได้เงินขอคืนภาษีเร็วต้องทำอย่างไร?

  • ใช้พร้อมเพย์เป็นช่องทางรับเงินส่วนเกินคืน
  • เตรียมเอกสารเกี่ยวกับภาษีและส่งให้กับกรมสรรพากรให้ครบถ้วน

ส่งเอกสารให้กรมสรรพากรพิจารณาคืนภาษีเพิ่มเติมได้ที่ไหนบ้าง?

การส่งเอกสารเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการพิจารณาเงินคืนสามารถส่งได้ 4 ช่องทางดังนี้

  1. ส่งด้วยตนเอง
  2. โทรสาร (FAX)
  3. ไปรษณีย์
  4. ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th
    • JPG, BMP, PNG, TIF, PDF
    • ขนาดไฟล์ไม่เกินไฟล์ละ 3 MB
    • รวมขนาดของไฟล์ต้องไม่เกิน 20 MB

ระยะเวลาขอคืนภาษี กี่วันได้?

สำหรับเงินส่วนนี้กรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินภายใน 3 เดือน สำหรับในกรณีมีเอกสารต่าง ๆ ชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่ามีการเสียภาษีเกิน, ผิด, ซ้ำหรือไม่ได้มีหน้าที่ต้องเสีย นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอคืนภาษี ภงด.91 หรือภงด.90

ข้อมูล “ภาษี” ที่น้องแคร์ได้รวบรวมมาในวันนี้คงจะช่วยคลายความมึนงงให้กับทุกคนในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, การยื่นภาษีออนไลน์, การคำนวณภาษีรูปแบบต่าง ๆ ไปจนถึงเรื่องของการคืนภาษี เรียกได้ว่าครบในหัวเรื่องใหญ่ที่หลาย ๆ คนให้ความสนใจ และถ้าเพื่อน ๆ มีรายได้ที่เข้าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดของกรมสรรพากร ก็อย่าลืมทำการยื่นภาษีในช่องทางต่าง ๆ ที่น้องแคร์ได้แนะนำไว้ด้วยหล่ะ

ประกันชีวิตที่ แรบบิท แคร์ แนะนำ

 แฮปปี้มีเงินใช้แฮปปี้มีเงินใช้

ไทยประกันชีวิต

  • จ่ายเบี้ย 5 ปี คุ้มครอง 15 ปี
  • รับเงินคืน 521% ตลอดสัญญา
  • การันตีเงินคืน 3% ทุก 2 ปี
  • ลดหย่อนภาษี สูงสุด 100,000 บาท
  • สมัครได้ อายุ 1 เดือน - 65 ปี
  • ชำระเบี้ยได้ รายเดือน, 3 เดือน, ปี
  • สมัครได้ทุกอาชีพ อายุผู้สมัคร
Gen Life Plus 10 GeneraliGen Life Plus 10

Generali

  • คุ้มครอง 20 ปี จ่ายเบี้ย 10 ปี
  • เสียชีวิต รับเงิน 270% มีชีวิต 310%
  • รับเงินคืน 3% ทุกปี ตลอดสัญญา
  • ลดหย่อนภาษีสูงสุด 100,000 บาท
  • สมัครได้ อายุ 1 เดือน - 65 ปี
  • ค่าเบี้ยคงที่ ไม่ปรับตามอายุ
  • สมัครได้ทุกอาชีพ ตอบโจทย์ทุกวัย
ประกันบำนาญ 90/2 ทิพยประกันชีวิตประกันบำนาญ 90/2

ทิพยประกันชีวิต

  • รับบำนาญ สูงสุด 465%
  • จ่ายเบี้ย 2 ปี รับบำนาญ 31 ปี
  • ค่าเบี้ยเริ่มต้นต่ำ จ่าย 2 ปี
  • ลดหย่อนภาษี 300,000 บาท ต่อปี
  • อายุ 20-54 ปี สมัครได้
  • ชดเชยรายได้ รพ. เลือกรับบำเหน็จ
  • เบี้ยสั้น รับเงินนาน
ฟอร์ เพนชัน 85/7 เอฟดับบลิวดีฟอร์ เพนชัน 85/7

เอฟดับบลิวดี

  • เกษียณง่าย จ่ายเบี้ย 7 ปี คุ้มครองถึง 85 ปี
  • บำนาญเพิ่มตามอายุ สูงสุด 24%
  • รับเงินก้อน 110% กรณีเสียชีวิต
  • สิทธิลดหย่อนภาษี 300,000 บาท
  • สมัคร 20-52 ปี เบี้ยสั้น 7 ปี
  • เลือกทุนประกันขั้นต่ำ 50,000 บาท
  • รับบำนาญ 60-85 ปี

ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของเรา