แคร์การเงิน

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม?

ผู้เขียน : Thirakan T

Thirakan Thongseenual เป็นนักเขียนที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี ที่ RabbitCare โดยมีความชำนาญในประกันรถยนต์ เน้นเขียนบทความที่เผยแพร่บน Blog และมีความเชี่ยวชาญด้าน SEO กว่า 4 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอได้ใช้ในการสร้างความรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ RabbitCare อย่างมีประสิทธิภาพ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปริญญาตรี สาขา Information Technology

close
Published April 11, 2024

เรื่องหนี้สิน เป็นเรื่องละเอียดอ่อนสำหรับคู่สมรส โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่เกิดจากการใช้จ่ายของทั้งสองฝ่าย ทั้งในกรณีที่ใช้จ่ายร่วมกัน และกรณีใช้จ่ายส่วนตัว แต่เมื่อแต่งงานมีคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องเรียบร้อยแล้ว หลายคนอาจจะเกิดคำถามในใจว่า เมื่อเป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม? วันนี้ แรบบิท แคร์ จะพามาดูกันว่า เมื่อเป็นหนี้บัตรเครดิต ทำไมจึงถูกยึดทรัพย์ และสามารถยึดทรัพย์คู่สมรสได้หรือไม่

ซึ่งเมื่อเริ่มใช้งานบัตรเครดิต ผู้ใช้งานจะต้องมีการวางแผนการเงินที่ดีขึ้นมาอีกระดับ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ชำระยอดบัตรเครดิตไม่เต็มจำนวน จะกลายเป็นผู้ผิดนัดชำระเงินค่าบัตรเครดิตทันที ส่งผลให้ขาดความน่าเชื่อถือทางการเงิน โดยสถาบันการเงินเจ้าของบัตรเครดิตจะเปลี่ยนสถานะของผู้ใช้งานบัตรเครดิต จากลูกหนี้ชั้นดี กลายเป็นลูกหนี้ค้างชำระ หรือที่เรียกกันว่า ติด Blacklist และจะรายงานข้อมูลค้างชำระเหล่านี้ไปยังข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือ เครดิตบูโร จนทำให้ผู้ใช้งานเสียประวัติทางการเงิน และขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินยากขึ้นในอนาคต

เป็นหนี้บัตรเครดิต จะถูกยึดทรัพย์ไหม

เมื่อมีการฟ้องศาลเกิดขึ้นหลังจากที่ลูกหนี้ไม่ชำระคืน หรือชำระคืนไม่ตรงกำหนด ลูกหนี้มีสิทธิถูกอายัดเงิน หรือถูกยึดทรัพย์ เพื่อนำเงินไปจ่ายหนี้ที่คงค้างอยู่ได้ โดยหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดี หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้คืนตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์ หรืออายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้ โดยสามารถอายัดเงินเดือน ตลอดจนเงินต่าง ๆ ที่ลูกหนี้ได้มา ไม่ว่าจะเป็นเงินโบนัส เงินตอบแทนการออกจากงาน เงินในบัญชีเงินฝาก ฯลฯ รวมไปถึงทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง อย่างอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้มีชื่อถือครองกรรมสิทธิ์อยู่

สามีเป็นหนี้บัตรเครดิต ภรรยาต้องรับผิดชอบหรือไม่

สำหรับคู่สมรสที่แต่งงานและจดทะเบียนสมรสถูกต้อง หลายคนอาจจะเกิดข้อสงสัยที่ว่า เมื่อสามีเป็นหนี้บัตรเครดิต ภรรยาต้องรับผิดชอบหรือไม่? หรือแม้กระทั่ง ในกรณีที่เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม? อีกฝ่ายต้องร่วมรับผิดชอบด้วยหรือไม่?

คำตอบก็คือ หากเป็นหนี้บัตรเครดิตก่อนจดทะเบียนสมรส เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว อีกฝ่ายจะไม่ต้องร่วมรับผิดชอบหนี้ในส่วนนี้ หากมีการฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ จะยึดได้แค่ทรัพย์สินส่วนตัวของคู่สมรสที่เป็นหนี้ หรือสินสมรสครึ่งหนึ่ง (ของลูกหนี้) แต่ไม่สามารถยึดทรัพย์ส่วนตัวของคู่สมรสได้ หรือหากเป็นหนี้หลังจดทะเบียนสมรส อย่างหนี้บัตรเครดิตส่วนตัวของคู่สมรสที่นำมาใช้จ่ายเพื่อเรื่องส่วนตัว ไม่ได้นำมาใช้ในครัวเรือน จะไม่นับเป็นหนี้ร่วม ไม่ต้องชำระร่วมกัน ซึ่งก็ตอบคำถามในประเด็นที่ว่า เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม? ได้ว่า หากพิสูจน์ได้ว่าหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่นำไปใช้จ่ายในเรื่องส่วนตัว จะไม่สามารถยึดทรัพย์คู่สมรสได้ และคู่สมรสไม่ต้องมีส่วนรับผิดชอบหนี้ในส่วนนี้

ใช้เงินอย่างไร ไม่ให้เป็นหนี้บัตรเครดิต

หากไม่อยากเป็นหนี้บัตรเครดิต ก็ควรจะวางแผนการใช้เงินให้ถูกวิธี ไม่มองว่าการใช้บัตรเครดิตเป็นการนำเงินจากอนาคตมาใช้ เพราะจะทำให้เราเสียวินัยในการใช้จ่าย และสร้างหนี้ขึ้นโดยไม่รู้ตัว มาดูกันว่า จะมีวิธีการใช้งานบัตรเครดิตอย่างไรให้เกิดผลดี ไม่สร้างหนี้ จนสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ใช้งาน

  • ใช้เท่าไหร่ จ่ายเท่านั้น สร้างวินัยในการชำระเงิน ด้วยการชำระแบบเต็มจำนวน ไม่ชำระแค่ยอดขั้นต่ำ เพราะนั่นเท่ากับว่าเป็นการเริ่มสร้างหนี้ทีละน้อย กว่าจะรู้ตัว ก็อาจมีหนี้มากจนเกินจะรับไหว
  • ไม่ใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินสด เพราะจะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทั้งค่าธรรมเนียมการเบิก รวมไปถึงดอกเบี้ยบัตรเครดิต
  • จำกัดการใช้ให้ตนเอง หากไม่ต้องการเป็นหนี้ แนะนำว่าให้กำหนดยอดเงินการรูดบัตรเครดิตในแต่ละเดือนเอาไว้ เช่น ใช้บัตรเครดิตเพียง 10% ของรายได้ ไม่ว่าจะนำไปใช้จ่ายในส่วนใด ก็ไม่ควรเกินยอดเงินที่กำหนดไว้ และชำระเต็มจำนวนทุกเดือน เพียงเท่านี้ก็จะไม่เป็นการสร้างหนี้อย่างแน่นอน
  • ปิดหนี้ยอดเก่าให้หมด โดยไม่สร้างหนี้เพิ่ม หากมีหนี้บัตรเครดิตอยู่จำนวนหนึ่งที่ยังชำระไม่ครบ ควรหาเงินมาจ่ายหนี้ในส่วนนี้ให้หมดก่อน โดยไม่สร้างหนี้เพิ่ม

ข้อดี ข้อเสียของบัตรเครดิต ใช้ไม่ถูกวิธีเป็นหนี้ไม่รู้ตัว

อย่างที่ทราบกันแล้วว่า บัตรเครดิตมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากใช้งานไม่ถูกวิธี อาจสร้างหนี้และภาระมากมายให้เราไม่รู้จบ มาดูกันว่า บัตรเครดิตจะมีข้อดี ข้อเสีย อะไรบ้าง

ข้อดี

  • สะดวก ไม่ต้องพกเงินสด สามารถใช้จ่ายซื้อสินค้าได้ทันที แม้ว่าจะไม่มีเงินสดอยู่กับตัว
  • ช่วยเลื่อนการชำระเงินออกไปได้ก่อน เพราะสามารถใช้บัตรรูดซื้อสินค้าได้ และนำเงินมาจ่ายให้กับธนาคารในภายหลัง ช่วยเพิ่มเวลาในการบริหารเงินให้มีสภาพคล่องได้ทันเวลาจ่ายบิล
  • มีโปรโมชัน คะแนนสะสม และเครดิตเงินคืน ซึ่งนับเป็นสิทธิพิเศษ และผลตอบแทนที่ผู้ใช้บัตรจะได้ประโยชน์ตลอดระยะเวลาการใช้บัตรเครดิต

ข้อเสีย

  • สร้างนิสัยทางการเงินที่ไม่ดี เพราะหากผู้ใช้บัตรเครดิต ไม่มีวินัยทางการเงินมากพอ อาจทำให้เกิดการใช้จ่ายโดยไม่คิด รูดบัตรซื้อสินค้าและบริการทั้งที่ไม่มีเงินในกระเป๋า เมื่อถึงเวลาจ่ายบิลบัตรเครดิต ก็ไม่สามารถจ่ายได้
  • เสียดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม หากไม่ชำระยอดบัตรเครดิตเต็มจำนวน จะต้องจ่ายดอกเบี้ยบัตรเครดิต อีกทั้งบัตรเครดิตบางธนาคารยังมีค่าธรรมเนียมรายปี ที่นับเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นสำหรับผู้ใช้งาน

หนี้บัตรเครดิต กับผลทางกฎหมาย

หนี้บัตรเครดิต ตามกฎหมายแล้วจะนับเป็นคดีแพ่ง ซึ่งจะต้องบังคับคดีชำระหนี้ และชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อเจ้าหนี้แจ้งกำหนดการชำระหนี้ และลูกหนี้ไม่ชำระในเวลาที่กำหนด จะเริ่มนับอายุความทันทีในวันถัดไป โดยมีอายุความ 2 ปี นับจากวันผิดนัดชำระหนี้ หากในระยะเวลา 2 ปีนี้ ธนาคารไม่ได้ฟ้องร้อง ก็เท่ากับขาดอายุความ

เป็นหนี้บัตรเครดิตเท่าไหร่ ถึงถูกฟ้อง

ปกติแล้ว การดำเนินการฟ้องศาลในกรณีหนี้บัตรเครดิต จะต้องมีจำนวนหนี้ขั้นต่ำอยู่ที่ 2,000 บาทขึ้นไป จึงจะสามารถส่งฟ้องขอหมายศาลได้ แต่ไม่ใช่ว่าธนาคารจะดำเนินการฟ้องทันทีหลังผิดนัดชำระหนี้ แต่จะต้องส่งหนังสือทวงถามหนี้ (Notice) ไปยังลูกหนี้ก่อน ซึ่งหากลูกหนี้ปล่อยให้มีหนี้ค้างชำระนานเกิน 3 เดือน สถานะของผู้ถือบัตรหรือลูกหนี้ จะเปลี่ยนเป็นลูกหนี้ที่มีประวัติค้างชำระ หรือติดเครดิตบูโรทันที ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความน่าเชื่อถือ และการขอสินเชื่อในอนาคต

ก่อนที่จะโดนฟ้องร้องดำเนินคดี ลูกหนี้สามารถเจรจากับธนาคารเพื่อช่วยกันหาทางออกได้ แต่หากลูกหนี้เพิกเฉย ไม่ดำเนินการใด ๆ และไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ก็จะถูกธนาคารฟ้องร้องดำเนินคดีบัตรเครดิต จนเป็นที่มาของปัญหาต่าง ๆ และหลากหลายคำถามตามมา ทั้งคำถามที่ว่า เมื่อโดนฟ้องแล้ว จะต้องดำเนินการอย่างไร? หรือในกรณีของคู่สมรส ที่ยังคงสงสัยว่า เมื่อเป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม อีกฝ่ายจะได้รับผลกระทบหรือเปล่า?

ติดหนี้บัตรเครดิตหลายปีแล้ว แล้วเราจดทะเบียนสมรส จะมีผลทางกฎหมายอย่างไร

เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม? อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นหนี้ทั้งก่อน และหลังจดทะเบียนสมรส ก็ไม่สามารถยึดทรัพย์ของคู่สมรสได้ แม้ว่าลูกหนี้บัตรเครดิตจะถูกฟ้อง ยึดทรัพย์ ก็จะสามารถยึดทรัพย์ได้เพียงแค่ของตัวผู้ก่อหนี้ หรือยึดได้เฉพาะสินสมรสครึ่งหนึ่ง (ของฝ่ายผู้ก่อหนี้เท่านั้น) ไม่สามารถยึดทรัพย์ของคู่สมรสได้ เว้นแต่ว่า อีกฝ่ายจะให้สัตยาบันว่าจะรับผิดชอบหนี้ร่วมกัน

ทั้งหมดที่กล่าวมา นับเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า เป็นหนี้บัตรเครดิต ยึดทรัพย์ คู่สมรสได้ไหม? ซึ่งน่าจะช่วยคลายข้อสงสัย และทำให้คู่สมรสวางใจเรื่องหนี้สินของอีกฝ่ายไปได้ระดับหนึ่ง

หรือหากใครที่กำลังมองหาวิธีแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิต สามารถขอสินเชื่อส่วนบุคคล จาก แรบบิท แคร์ ได้ สะดวก ง่าย ช่วยลดภาระดอกเบี้ยต่อเดือน อยากผ่อนกี่เดือนก็เลือกได้ ไม่ต้องค้ำประกันก็กู้ได้ เมื่อจำเป็นต้องใช้เงินก็ถอนเงินก้อนออกมาใช้ได้ตามต้องการ


สรุป

สรุปบทความ

เป็นหนี้บัตรเครดิตยึดทรัพย์คู่สมรสได้ไหม? ขอตอบว่าไม่ว่าจะเป็นหนี้ทั้งก่อน และหลังจดทะเบียนสมรส ก็ไม่สามารถยึดทรัพย์ของคู่สมรสได้ แม้ว่าลูกหนี้บัตรเครดิตจะถูกฟ้องยึดทรัพย์ ก็จะสามารถยึดทรัพย์ได้เพียงแค่ของตัวผู้ก่อหนี้ หรือยึดได้เฉพาะสินสมรสครึ่งหนึ่งของฝ่ายผู้ก่อหนี้เท่านั้น ไม่สามารถยึดทรัพย์ของคู่สมรสได้ เว้นแต่ว่า อีกฝ่ายจะให้สัตยาบันว่าจะรับผิดชอบหนี้ร่วมกัน

จบสรุปบทความ

ที่มา


 

บทความแคร์การเงิน

แคร์การเงิน

ไฟแนนซ์ คืออะไร จัดไฟแนนซ์รถ รีไฟแนนซ์บ้าน ทำได้อย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า จัดไฟแนนซ์ ขอไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อกันมาพอสมควร แต่อาจจะยังไม่เข้าใจรายละเอียดเรื่องการจัดไฟแนนซ์ ว่ามีขั้นตอนอย่างไร
Thirakan T
11/04/2024

แคร์การเงิน

ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารได้ไหม หรือควรทำอย่างไรดี

ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่น่าหนักใจสำหรับใครหลายคน เพราะดอกเบี้ยบ้านที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาผ่อนบ้านไม่ไหว
Thirakan T
11/04/2024

บริการอื่น ๆ, แคร์การเงิน

บัญชีสะสมทรัพย์ กับออมทรัพย์ เหมือนกันไหม

การเปิดบัญชีฝากธนาคารเพื่อออมเงิน เป็นวิธีการออมเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ และได้รับความนิยมสูง ซึ่งเมื่อความเสี่ยงต่ำ
Thirakan T
11/04/2024