แคร์สุขภาพ

นั่งนาน ปวดหลังร้าวลงขา ระวัง! เป็นโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท

ผู้เขียน : Mayya Style
Mayya Style

เป็นนักเขียนสายสุขภาพและการเงินที่มีประสบการณ์ในการเขียนมากมาย โดยได้ฝากผลงานในหลากหลายรูปแบบที่เน้นด้านบริหารร่างกายและจิตใจ ทำงานที่ Rabbit Care และ Asia Direct ได้อย่างมืออาชีพ

close
linkedin icon
แก้ไขโดย : Natthamon
Natthamon

ทำงานเกี่ยวข้องกับวงการประกันรถยนต์และยานยนต์มาตั้งแต่ปี 2019 ในหลากหลายตำแหน่งทั้ง SEO Specialist, Senior Executive, SEO / Web Analytics และ SEO Content Writer ในบริษัทประกันรถยนต์่และรถมือสองชั้นนำ นอกจากนั้น ยังเคยอยู่ในแวดวงสื่อมวลชนนานถึง 3 ปีในตำแหน่งนักข่าวไอทีนิตยสารชื่อดังแวดวง E-Commerce ด้านการศึกษาจบระดับชั้นปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

close
linkedin icon
 
Published: August 29,2023
  
Last edited: July 30, 2024
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

มนุษย์ออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ และนั่งไม่ถูกท่า มีอาการปวดหลังหรือหนักถึงขั้นปวดหลังร้าวลงขาบ่อย ๆ รู้ตัวหรือไม่! ว่ากำลังมีความเสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทอยู่ แล้วทำไมมนุษย์ออฟฟิศถึงมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้กันล่ะ? อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคนี้บ้าง? ถ้าเป็นแล้วจะต้องรักษาตัวอย่างไร? น้องแคร์จะพาไปหาคำตอบ

ประกันสุขภาพที่คุณเลือกเองได้ พร้อมชำระได้หลากหลายช่องทาง
icon angle up or down

เลือกแผนประกันสุขภาพที่คุณสนใจ

    ชื่อนามสกุล

    หมายเลขโทรศัพท์

    หมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท คืออะไร? 

    ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่าหมอนรองกระดูกของมนุษย์เรานั้นจะอยู่บริเวณแนวกระดูกสันหลังคั่นอยู่ระหว่างตัวกระดูกแต่ละชั้น มีหน้าที่หลักเป็นตัวช่วยในการรับน้ำหนักของร่างกายคนเรา เป็นเสมือนตัวประคองระหว่างชั้นของกระดูกสันหลังในการเคลื่อนไหวร่างกาย

    ส่วนอาการหมอนรองกระดูกปลิ้นนั้น ก็คือ ลักษณะอาการที่เยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกมีการฉีกขาดเกิดขึ้น จนทำให้บริเวณชั้นในของกระดูกสันหลังที่มีลักษณะหยุ่น ๆ คล้ายวุ้นเคลื่อนตัวออกมากดเส้นประสาท จึงเกิดเป็นอาการปวดหลังหรือปวดหนักถึงขั้นปวดหลังร้าวลงขาชาไปจนถึงปลายเท้าเลยทีเดียว ซึ่งในการเกิดอาการหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทนี้ส่วนมากจะเกิดขึ้นใน 3 รูปแบบ ได้แก่

    1. Protusion : เป็นลักษณะอาการหมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาทที่ตัวนิวเคลียสด้านในทะลักออกมา แต่ขอบด้านนอกยังไม่เกิดการฉีกขาด
    2. Extrusion : เป็นลักษณะที่ขอบด้านนอกมีการขาดออกจนนิวเคลียสด้านในทะลักออกมา แต่เป็นการทะลักออกมาโดยที่ยังติดอยู่ด้านใน ไม่ได้หลุดแยกออกเป็นชิ้นอิสระ
    3. Sequestration : อาการหมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาทที่ขอบด้านนอกมีการขาดออก และนิวเคลียสปลิ้นหลุดออกมาเป็นชิ้นอิสระจากด้านใน

    จึงทำให้เกิดอาการปวดหลังหรือปวดหลังร้าวลงขาในช่วงแรกค่อนข้างมาก เนื่องจาก 2 ปัจจัย คือ การอักเสบเพราะการแตกปลิ้นของหมอนรองกระดูกและปริมาณการกดทับของเส้นประสาท จึงทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงอาการปวดดังกล่าวได้

    สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท มีอะไรบ้าง?

    ดังที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่าหมอนรองกระดูกมีหน้าที่สำคัญในการช่วยประคองและกระจายแรงรับน้ำหนักที่กระดูกสันหลังต้องรับ ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้จึงเป็นเรื่องของการรับน้ำหนักและการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีความรุนแรงและรวดเร็วจนทำให้หมอนรองกระดูกมีโอกาสแตกปลิ้นออกมามากขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยสาเหตุสำคัญ ๆ ของการเกิดอาการมีดังนี้

    • น้ำหนักตัวที่หนักเกินไป : น้ำหนักที่หนักเกินไปสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นได้ การมีน้ำหนักเกินมักทำให้มีแรงกดทับที่มากขึ้นต่อกระดูกสันหลัง ส่งผลให้หมอนรองกระดูกมีโอกาสที่จะแตกหลุดหรือปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทได้มากขึ้น
    • การใช้งานบริเวณกระดูกสันหลังที่ไม่เหมาะสม : เช่น การนั่งก้มหลังเป็นเวลานาน, การยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากแบบไม่ถูกท่า พฤติกรรมเหล่านี้จะไปเพิ่มแรงดันที่หมอนรองกระดูกซ้ำ ๆ จนไม่สามารถรองรับได้อีกต่อไป จึงแตกปลิ้นออกมา
    • การนั่งทำงานนาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนท่า : สำหรับมนุษย์ออฟฟิศแล้วพฤติกรรมในการนั่งทำงานถือเป็นเรื่องที่มีความสุ่มเสี่ยงมากที่สุด วัยทำงานจึงมักจะมีโอกาสที่จะเกิดหมอนรองกระดูกปลิ้น ทั้งหมอนรองกระดูกคอเสื่อม หรือส่วนอื่นๆ แต่ช่วงบริเวณเอวจะเป็นมากที่สุดจากการนั่งนาน ๆ ติดต่อกันหลายชั่วโมง เนื่องจากกระดูกสันหลังในบริเวณนั้นรับน้ำหนักร่างกายทั้งหมดและทั้งวันทุกวัน
    • การไอหรือจามแรง ๆ : การไอหรือจามแรง ๆ จะไปเพิ่มแรงดันภายในท้องและลำตัวของคุณซึ่งมีผลทำให้แรงกดทับบนหมอนรองกระดูกเพิ่มขึ้นชั่วขณะ ถ้ากระดูกบริเวณนั้นมีสภาพที่อ่อนแออยู่แล้วการไอหรือจามแรง ๆ อาจทำให้ปลิ้นแตกได้
    • สิงห์อมควัน สูบบุหรี่จัด : การสูบบุหรี่จัดมีผลทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วกว่าคนทั่วไปที่ไม่สูบบุหรี่ จึงมีส่วนทำให้มีโอกาสแตกปลิ้นมากขึ้น
    • กรรมพันธุ์ : ในบางกรณี การมีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคนี้ก็ทำให้คุณมีความเสี่ยงมากขึ้น

    อาการของหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท เป็นอย่างไร?

    อันที่จริงอาการของโรคนั้นนี้นั้นค่อนข้างกว้างมาก ผู้ป่วยโรคนี้บางรายอาจจะเริ่มต้นจากอาการแค่ปวดหลังธรรมดา ๆ  หรือมีอาการปวดหลังเรื้อรัง หรือบางรายอาจมีอาการปวดสะโพก แต่หากมีการสังเกตอาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นอย่างจริงจังก็จะสามารถพบอาการบ่งชี้ที่ชัดเจน ๆ ที่สามารถบ่งบอกได้ว่าคุณอาจกำลังเป็นหมอนรองกระดูกปลิ้น ดังต่อไปนี้

    • แน่นอนว่าอาการบ่งชี้ที่ค่อนข้างชัดเจนก็คือ มีอาการปวดหลังร้าวลงขา
    • ขณะไอ หรือจาม มักจะมีอาการปวดหลังร่วมด้วย
    • หากไม่มีอาการปวดหลัง ก็จะมีอาการชา โดยเฉพาะหากมีการเบ่งในขณะขับถ่าย
    • หากมีอาการปวด หรือชารุนแรง อาจทำให้ขา และเท้าเกิดการอ่อนแรงได้
    • มีอาการปวดหลังร้าวลงขา และมีอาการชา รวมทั้งอ่อนแรง ร่วมกับภาวะท้องผูก และปัสสาวะไม่ออก

    ทำไมเมื่อเป็นหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท จึงรู้สึกปวดร้าวลงขา

    สาเหตุสำคัญที่เมื่อเป็นหมอนรองกระดูกปลิ้นแล้วจะทำให้มีอาการปวดหลังร้าวลงขาร่วมด้วย คือ ตรงบริเวณที่หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นออกมาทางด้านข้างแบบเอนไปทางฝั่งใดฝั่งหนึ่งแทนที่จะปลิ้นออกมาตรงกลาง จะเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาทพาดผ่านอยู่ นั่นจึงทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดร้าวชาลงขาเพียงข้างใดข้างหนึ่งจากการสัมผัสกับเส้นประสาทข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไปนั่นเอง

    จะรักษาอาการปวดหลัง ปวดหลังร้าวลงขาจากหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทได้อย่างไร?

    สำหรับการรักษาอาการหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทส่วนมากจะมีแนวทางในการรักษาอยู่ 3 วิธี คือ การรักษาด้วยการใช้ยา การรักษาด้วยการฟื้นฟูทางกายภาพหรือกายภาพบำบัดและการรักษาด้วยการผ่าตัด

    1. การรักษาด้วยการใช้ยา : การรักษาด้วยยาเป็นวิธีการรักษาเบื้องต้นสำหรับโรคนี้ โดยจะใช้ยากลุ่มบรรเทาอาการปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาลดการอักเสบที่เกิดมาจากเส้นประสาท รวมไปถึงการใช้ฉีดยาเพื่อระงับอาการปวดหลัง ปวดหลังร้าวลงขา หรือปวดอักเสบที่เส้นประสาทร่วมด้วย
    2. การรักษาหมอนรองกระดูกปลิ้นโดยการทำกายภาพบำบัด : หากการรักษาด้วยการใช้ยายังไม่ช่วยทำให้การปวดหลัง ปวดหลังร้าวลงขา หรือปวดอักเสบดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้มีการทำกายภาพบำบัด เช่น การนวด การทำช็อกเวฟคลายกล้ามเนื้อ ฯลฯ หรือการออกกำลังกายเฉพาะที่ที่เหมาะสมรวมถึงการเปลี่ยนแปลงท่านั่งเพื่อฟื้นฟูสุขภาพของหมอนรองกระดูกสันหลังให้ดีขึ้นร่วมด้วย ทำให้ได้รับแรงกดทับน้อยลง และช่วยลดปวด
    3. การรักษาด้วยการผ่าตัด : สำหรับบางรายที่มีอาการหนักหรือไม่ดีขึ้น แม้ว่าได้รับการรักษาด้วยยาและการกายภาพบำบัดแล้ว การผ่าตัดหมอนรองกระดูกอาจเป็นวิธีการรักษาที่จำเป็นที่สุดเพื่อทำให้กระดูกกลับสู่สภาวะปกติ แต่อย่างไรก็ตามจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ สภาพร่างกายทั่วไปของผู้ป่วยและแผนการรักษาที่แพทย์และผู้ป่วยตกลงร่วมกันเป็นหลัก

    หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเรื่องใหญ่ มีประกันสุขภาพไว้ก่อนเป็นอุ่นใจกว่า!

    เป็นเรื่องใหญ่แน่ ๆ หากวันนึงเราเกิดเป็นผู้ป่วยหมอนรองกระดูกปลิ้นขึ้นมาจริง ๆ เพราะด้วยอาการและผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของเรานั้นค่อนข้างจะรุนแรงอยู่ไม่น้อย การมีประกันสุขภาพที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลสำหรับการรักษาโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นหรือโรคอื่น ๆ ที่มีความรุนแรงพอ ๆ กันจึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงการรักษาและลดความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายเพราะเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง ใช้เงินมาก เราสามารถสร้างความอุ่นใจเราในอนาคตของเราได้ง่าย ๆ ด้วยการซื้อประกันสุขภาพที่มีวงเงินค่ารักษาครอบคลุม จากแรบบิท แคร์ ความคุ้มครองทางการเงินค่ารักษาจากประกันสุขภาพที่มีนั้นสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีแล้ว ยังช่วยเซฟเงินเก็บส่วนตัวของเราไม่ให้หมดไปกับค่ารักษาทั้งหมดด้วย

    เพราะการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงทีเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับคนที่กำลังป่วยทุกคน ประกันสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่แตกต่างที่ช่วยทำให้เราสามารถเข้าถึงการรักษาได้ดียิ่งขึ้น ช่วยคุณจัดการกับความเสี่ยงเหล่านี้ เพราะสุขภาพที่ดี คือ อนาคตที่ดี ไม่ว่าจะอย่างไรน้องแคร์ยังเชื่อเสมอว่าการไม่มีโรคก็ยังคงเป็นลาภอันประเสริฐของมนุษย์เราทุกคน แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงการเป็นโรคไม่ได้ การมีประกันสุขภาพดี ๆ สักเล่มก็ถือเป็นลาภอันประเสริฐสำหรับคนเป็นโรคเช่นกัน


     

    บทความแคร์สุขภาพ

    Rabbit Care Blog Image 89748

    แคร์สุขภาพ

    โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

    โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
    Nok Srihong
    23/05/2024