แคร์สุขภาพ

ปวดหลังตรงไหน เสี่ยงเป็นโรคอันตรายอะไรได้บ้าง?

ผู้เขียน : ใบไม้ร่าเริง
ใบไม้ร่าเริง

มีประสบการณ์สร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ 10 ปี เขียนด้านเงิน การลงทุน บทความวิเคราะห์สถานการณ์การเงินในประเทศ และฝากผลงานไว้ที่ Rabbit Care ถึง 4 ปี

close
แก้ไขโดย : Nok Srihong
Nok Srihong

มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี เป็นนักเขียนด้านประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อสุขภาพที่ Rabbit Care และ Asia Direct และ 12 ปี ในอุตสาหกรรม OTA อย่าง Laterooms.com , Expedia.com จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาการจัดการการเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

close
linkedin icon
 
Published: January 28,2021
  
Last edited: March 19, 2024
ปวดหลัง

เมื่อเกิดอาการปวดหลังขึ้นมา อย่างคิดว่าเป็นเรื่องปกติเพียงแค่กินยา แล้วพักผ่อนก็หาย แต่อาจะเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงก็ได้ ซึ่งอาการปวดหลังมีหลากหลายโรค ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจจะไม่ดีอย่างแน่นอน ฉะนั้นแล้วเมื่อเกิดอาการปวดหลังควรหมั่นสังเกตว่าเป็นที่จุดใด บริเวณใด แล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ได้ทำการวินิจฉัยต่ออย่างถูกต้อง แต่วันนี้ Rabbit Care มีข้อมูลเบี้องต้นของอาการปวดหลัง ว่ามาจากสาเหตุอะไรได้บ้าง 

ปวดหลัง

อาการปวดหลังส่อแววเป็นโรคอะไรได้บ้าง 

1.ปวดหลังช่วงต้นคอ หรือท้ายทอย 

มักเกิดจากการนั่งทำงานกับโต๊ะทำงาน หรือเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน ๆ จึงทำให้ท่านั่งในการทำงานนั้นผิดปกติไปจากเดิม ส่งผลให้ระหว่างการทำงานนั้นกับโต๊ะ เก้าอี้ไม่มีความสมดุลกับร่างกาย เช่น อาจเกิดจากอาการต้องยกไหล่ทำงานอยู่ตลอดเวลา อาจส่งผลให้เกิดการปวดเมื่อยช่วงหัวไหล่  และลามมาที่ต้นคอ หรือท้าทอยได้ ฉะน้ันอาการดังกล่าวหากเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจส่งผลให้เป็นโรคกระดูกสันหลังเสื่อม หรือโรคกระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม ดังนั้นถ้ามีอาการดังกล่าวติดต่อกันเกินหนึ่งสัปดาห์จึงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยของโรคต่อไป 

2.ปวดหลังร้าวลงขา 

เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการทำงานนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ อาจเป็นสัญญาณของโรคออฟฟิศซินโดรม หรือต้องยกของหนักๆ หรือก้มๆ เงยๆ บ่อยๆ และปวดหลังร้าวลงไปที่ขา อาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งต้องคอยสังเกตให้ดีถ้ามีอาการปวดหลังถึงขั้นรุนแรง ปวดมากจนไม่อาจขยับตัวได้ เป็นสัญญาณว่าหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นออกมาไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง หรือรากประสาททำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังรุนแรงได้ อย่างไรก็ตามถ้ามีอาการดังกล่าวต้องไม่นิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์เป็นการด่วน 

ปวดหลัง

3.ปวดตึงไปทั้งหลัง

เป็นอาการของกล้ามเนื้อหลังที่ถูกใช้งานมากจนเกินไป หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุโดนกระแทกที่บริเวณส่วนหลังโดยตรง จนทำให้กล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน ทั้งนี้โรคนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของกระดูกสันหลังโดยตรง แต่เกิดจากกล้ามเนื้อหลังซึ่งสภาวะกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉี่ยบพลันจะมีอาการคล้ายๆ กับหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขา อาการที่พบบ่อยๆ คือปวดเกร็งหลัง จนต้องแอ่นหลังตลอดเวลา และกล้ามเนื้อหลังหดเกร็งเป็นลำชัดเจน

4.ปวดหลังเหนือบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง

อาจเกิดจากการใช้งานหนักบริเวณกล้าเนื้อช่วงนั้น เช่นออกกำลังเป็นเวลานาน ๆ เช่น ตีกอล์ฟ เป็นต้น หรือยกของหนัก หรืออาจเกิดจากการอุ้มท้องหรือตั้งครรภ์ หรือได้รับอุบติเหตุ จึงทำให้กล้ามเนื้อช่วงดังกล่าวเกิดอาการตึงเพราะขาดการยืดหยุ่น หรืออีกสาเหตุอาจเกิดจากการเป็นโรคไต หรือโรคนิ่วในถุงน้ำดี นอกจากนี้อาจะยังรวมไปถึงโรคภายในสตรี เช่น มดลูก รังไข ปีกมดลูก ก็จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังบริเวณดังกล่าวได้เช่นกัน 

ปวดหลัง

5.ปวดหลังไม่ทราบสาเหตุและมีไข้

หากมีอาการปวดหลังโดยที่ไม่ทราบสาเหตุและมีอาการเป็นไข้ร่วมด้วย และร่างกายมีอาการอ่อนเพลีย ซีดร่วมด้วย อาจมีการติดเชื้อจากแบคทีเรีย หรือเกิดจากวัณโรคกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ทำให้เป็นวัณโรคปอด หรือที่ต่อมน้ำเหลืองและได้ทำการแพร่กระจายเชื้อไปที่กระดูกสันหลัง ถ้าปล่อยทิ้งไว้เนิ่นนานโดยไม่ไปพบแพทย์อาจเกิดอาการกดทับประสาทที่ไขสันหลังจนทำให้เป็นอัมพาตที่ขาหรือที่แขนได้ ฉะนั้นแล้วหากมีอาการปวดดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์จะดีที่สุด เพื่อตรวจและทำการรักษาโรคต่อไป 

6.ปวดหลังแนวกระดูกสันหลัง

เป็นอาการของความผิดปกติที่อาจส่งสัญญาณว่าคุณกำลังเป็นโรคหมอนรองกระดูก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะพบกับผู้ที่ประกอบอาชีพช่างภาพ คนงานก่อสร้าง ผู้ใช้แรงงานเป็นระยะเวลานาน ๆ จนทำให้เกิดอาการปวดร้าวบริเวณกลางหลัง ฉะนั้นแล้วถ้าเราเลี่ยงการทำงานไม่ได้ก็ควรที่จะเป็นอิริยาบถในท่าอื่น ๆ เพื่อเป็นการยืดเส้นยืดสาย เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ เชื่อว่าคงไม่ดีต่อสุขภาพหลังของเราอย่างแน่นอน 

ปวดหลัง

ประกันสุขภาพตัวช่วยเมื่อมีอาการปวดหลัง 

อาการปวดหลังเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสาเหตุที่มาของโรคต่าง ๆ ได้ ฉะนั้นแล้วเราไม่ควรละเลยต่ออาการดังกล่าว จึงควรสังเกตอาการปวดหลังของตัวเองให้มาก ถ้ามีอาการปวดหลังเกิด 1 เดือนให้รีบไปหาหมอ เพื่อทำการหาสาเหตุที่แท้จริง ฉะนั้นแล้วถ้ามีประกันสุขภาพไว้กับตัวเอง เมื่อเจ็บป่วยก็สามารถเข้ารักษาได้ทันที เพราะในบางท่านอาจจะพะวงต่อค่ารักษาพยาบาลที่แพง จนไม่กล้าที่จะไปพบแพทย์  

ประกันสุขภาพถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่จะมาเติมเต็มการดูแลสุขภาพของเราให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเจ็บป่วยเล็กน้อย หรือมากแค่ไหน เพราะถ้าเรามีประกันสุขภาพจะเป็นเกราะป้องก้นด่านแรกที่จะสกัดกั้นโรคร้ายไม่ให้มาเยือนร่างกายของเราได้ หากใครที่กำลังมองหาประกันสุขภาพ สามารถเข้ามาได้ที่ช่องทางออนไลน์ Rabbit Care ที่จะให้คุณสามารถเปรียบเทียบประกันได้หลากหลายในแบบที่คุณต้องการ


 

บทความแคร์สุขภาพ

Rabbit Care Blog Image 89748

แคร์สุขภาพ

โรคพุ่มพวงคืออะไร มีอาการอย่างไร อันตรายถึงชีวิตหรือไม่ ?

โรคที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่าโรคพุ่มพวง เนื่องจากคนไทยเรารู้จักโรคนี้กันอย่างแพร่หลายเมื่อศิลปินชื่อดังอย่างคุณพุ่มพวง ดวงจันทร์
Nok Srihong
23/05/2024